รามเกียรติ์ ตอนที่ 13 ท้าวสหมลิวัน รบพญานาค
ย้อนกลับไปในครั้งก่อนที่ สหบดีพรหมผู้สร้างกรุงพิชัยลงกา, แต่เดิมเกาะ ทวีปรังกา ปกครองโดยท้าวสหมลิวัน, ผู้เป็นเจ้าแห่งอสูรสืบเชื้อสายพรหม, มีเชื้อสาย มาจาก มาลีวัคพรหม ซึ่งต่อมาพระอิศวรประทานนามให้ใหม่ว่า “ท้าวมาลีวราช”, และธาดาพรหม (จตุรพักตร์) เป็นอสูรที่เกิดบาดหมางกับพระนารายณ์, พระนารายณ์เห็นว่าอสูรเหล่านี้ต่อไปจะเป็นภัยแก่โลกจึงยกทัพมาปราบเสีย, สหมลิวันพลาดพลั้งมิอาจเอาชนะพระนารายณ์ได้ จึงจำใจทิ้งเมืองบนรังกา ทวีป, แล้วหลบหนีไปอยู่ยังบาดาล แล้วตั้งเมืองขึ้นใหม่ และเป็นปฐมวงศ์อสูรแห่งเมืองบาดาล, ส่วนทวีปรังกานั้นก็ร้างไปไม่มีผู้ใดปกครอง จนสหบดีพรหม สร้างกรุงพิชัยลงกา ตั้งให้ธาดาพรหมเป็นกษัตริย์ครองกรุงลงกา, นามว่า “จตุรพักตร์” เป็นปฐม กษัตริย์เชื้อสาย อสูรผู้มีเชื้อสายพรหม ซึ่งเป็นต้นตระกูลของทศกัณฐ์
การที่ท้าวสหมลิวัน ย้ายเหล่า อสูร บริวารทั้งหมดหลบไปอยู่ยังเมืองบาดาล อันเป็นแดนของพญานาค, พญานาคเมื่อถูกอสูร รุกรานก็ไม่พอใจ และหาทางที่จะขับไล่, พญากาลนาคราช ผู้เป็นใหญ่แห่งนาค เห็นว่าต่อไปภายภาคหน้า อสูรเหล่านี้จะเป็นภัยแก่เหล่าพญานาค เมื่อดำริดังนั้นพญากาลนาคราชจึงยกทัพของเหล่าพญานาคไป ยังกรุงสหมลิวันที่เป็นเมืองของอสูรที่ตั้งในเมืองบาดาล
การจัดทัพนั้น พญากาลนาคราช สั่งให้สี่ขุนพล บริวาร เป็นผู้นำในการจัดกระบวนทัพนาค โดยในการจัดทัพไปรบกับยักษ์ ในครั้งนี้ ได้สั่งให้เหล่าพญานาคต่างแปลงกายเป็นรูปร่างต่างๆ
-พญานาคกลุ่มแรก แปลงเป็นคนธรรพ์ (เป็น อมนุษย์ แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นเป็นเทพบุตร มักรูปงามและเจ้าชู้) ใบหน้าเป็นสิงห์,
-กลุ่มสอง แปลงเป็นยักษ์ แต่มีลำตัวเป็นพญานาคราชยาวใหญ่,
-กลุ่มสาม แปลงใบหน้าเป็น จรเข้ ขนาดใหญ่ ส่วนลำตัวนั้นเป็นควาย,
-กลุ่มสี่ แปลงร่างกายเป็นตัว วานร แต่หน้าตากลับเป็นมังกร น่าเกรงขาม,
-กลุ่มที่ห้าแปลงกายเป็นผีโป่ง แต่หน้าเป็นเสือโคร่งเกรี้ยวกราด,
โดยทั้งหมดเตรียมยกทัพไปยังกรุงสหมลิวัน โดยทำการบุกทำลายค่ายด่านของอสูรยักษ์ต่างๆ แตกโดยง่ายดายจนถึงประตูเมือง, ท้าวสหมลิวันจึงจัดทัพไปต่อต้านแต่ก็พลาดท่าเสียทีแก่เหล่านาค, ขุนพลทหารยักษ์ล้มตายไปเสียจำนวนมาก หากปล่อยไว้เช่นนี้ต่อไปเห็นทีจะต้องเสียเมืองให้แก่พวกพญานาคเป็นแน่, จึงคิดว่าควรจะไปขอความช่วยเหลือจากใคร, เพราะ จตุรพักตร์ นั้นก็ตายไปเสียแล้วมีแต่เพียงลัสเตียนผู้เป็นบุตรของจตุรภักตร์ เพียงองค์เดียว, ที่อาจจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบา อาจจะช่วยรักษาเมืองเอาไว้ได้, เพราะว่าได้ยินชื่อมาว่าท้าวลัสเตียนมีความสามารถในการรบและการใช้ธนูเป็นอย่างมาก, ว่าแล้วสั่งมหากายยักษ์ บากหน้าแทรกพื้นแผ่นดินไปยังกรุงลงกาส่งสาส์นขอร้องให้ท้าวลัสเตียนมาช่วยรบกับพญานาค
ท้าวลัสเตียน (พ่อของทศกัณฑ์) ผู้ครองกรุงพิชัยลงกา, ได้รับทราบข่าวก็ได้จัดกองทัพไปช่วย ท้าวสหมลิวันรบกับพญากาลนาคราช, โดยเมื่อจัดทัพแล้วก็ยกทัพมาถึงเมืองบาดาล
พบว่าพญากาลนาคราช ได้ล้อมเมืองไว้ทั้งหมดแล้ว, จึงสั่งให้เหล่าทหารยักยกทัพตีกระหนาบทัพนาค, โดยทัพลงกาตีเข้ามาจาด้านนอก ฝ่าย “มหายมยักษ์” แม่ทัพของสหมลิวันก็นำทัพตีกระหนาบฝ่าออกไปจากด้านใน, ทำให้กองทัพของนาคแตกพ่าย พญากาลนาคราชเมื่อเห็นเสียที จึงกลายร่างกลับไปเป็นพญานาคเจ็ดเศียร และก็ตรงเข้ารบกับท้าวลัสเตียน, เมื่อลัสเตียนเห็นพญากาลนาคราชคืนสู่ร่างนาค ก็หยิบศร “วิษณุเวท” ขึ้นพาดสายแล้วยิงออกไป, ศรนั้นกลับกลายเป็นร่างพญาครุฑใหญ่, บินโฉบจับคอนาคไว้ ด้วยความเจ็บปวดจนแทบสิ้นใจ, พญากาลนาคราชจึงร้องขอชีวิตออกไปอย่างไม่รู้สึกอับอาย กลายร่างเป็นมนุษย์ตัวน้อยเข้าไปถวายบังคม และทูลถวายราชธิดานาคของตนให้แก่ลัสเตียนเป็นสิ่งตอบแทน, แล้วยกทัพกลับเมืองนาคไป แล้วนำราชธิดาผู้มีสิริโฉมขึ้นมาเฝ้าถวายตัวแก่ท้าวลัสเตียนยังกรุงลงกา,
เมื่อมาถึงกรุงลงกา ลัสเตียนเองก็อายุมากแล้ว, มเหสีและสนมก็มีอยู่จำนวนมาก เมื่อได้เห็นโฉมนางนาคีผู้งดงามจึงคิดที่จะมอบให้เป็นชายาของทศกัณฐ์ผู้บุตร , จึงแจ้งแก่พญากาลนาคราชไปตามความคิดนั้น ว่า “นางอัคคีวรนาฏ” ผู้นี้เราจะแต่งตั้งให้เป็นมเหสีสูงศักดิ์, กว่านางสนมทั้งปวงของทศกัณฐ์ แล้วก็เรียกบรรดา โอรส ธิดาออกมาสั่งเสีย, ก่อนที่จะสละราชสมบัติ โดยแต่งตั้งทศกัณฐ์ครอง กรุงพิชัยลงกาสืบต่อไป, และมีนางอัคคีเป็น อัครมเหสีสูงศักดิ์กว่านางสนมทั้งแปดหมื่นสี่พันตนของทศกัณฐ์, จากนั้นก็ยกบุษบกแก้ว วิเศษที่สามารถนำทางไปได้ทุกหนแห่งดั่งใจนึกให้กับ “กุเปรัน”, ตั้งเป็นกษัตริย์ครองกรุงกาลจักร ที่ป่าหิมพาน ส่วน “ทัพนาสูร”, น้องรองลงมาให้ไปครองกรุงจักวาล, “ธาดา”, ให้ครองเมืองมัทวัน, “มารัน” ได้ครองกรุงโสรส , “พญาขร” ครองเมืองโรมคัน, “พญาทูต” ครองนครชนบท, ส่วน “ตรีเศียร” น้องชายคนเล็กให้ครองมัชวารี, และให้ “นางสำมะนักขา” ธิดาองค์เดียวแต่งงานกับ “ชิวหา”, ส่วน “พิเพก ผู้เก่งเรื่องโหรา การทำนาย ให้อยู่ช่วยทศกัณฐ์พี่ชายอยู่ในกรุงลงกา, ลัสเตียนมีอายุขัยได้หกหมื่นปีก็เสด็จสู่สวรรคาลัย, ทศกัณฐ์จึงได้ครองกรุงพิชัยลงกาสืบต่อมาจากพระราชบิดา, ทศกัณฐ์นั้นมีเพื่อนสนิทอยู่เจ็ดตนที่มีฤทธิ์เดชเก่งกล้า, คือ “อัชกรรณ” “ไพจิตรา” “สัทนาสูร” “มูลพลำ” “จักรวรรดิ” “สัตลุง” ,และ “มหาบาล”, ทศกัณฑ์ได้เชื้อเชิญสหาย สนิททั้งเจ็ด, มาร่วมเป็นเหล่าเสนาชั้นสูงครองกรุงพิชัยลงกาสืบมา.