“วิถีสตรีอมควัน” กำเนิดแฟชั่นเก๋า เขย่าสังคม !!!
ปัจจุบันปริมาณของผู้หญิงที่สูบบุหรี่มีให้เห็นบ่อยมากขึ้น สมัยนี้เราสามารถเห็นผู้หญิงสูบบุหรี่ตามที่สาธารณะจนถือเป็นเรื่องปกติของสังคม แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นชอบและยอมรับในการสูบบุหรี่ของผู้หญิง ซึ่งส่วนใหญ่อ้างถึงความไม่เหมาะสม ไม่เป็นที่พึงกระทำของสุภาพสตรี แต่ในอดีตไม่เป็นเฉกเช่นนั้น?
นับย้อนไปในสมัยรัชกาลที่ 5 สังคมไทยเริ่มเปิดรับวัฒนธรรมของชาติตะวันตก ซึ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงหลายๆ ด้านในสังคมไทย
จุดเริ่มต้น
ปลายสมัยรัชกาลที่ 6 ประมาณ พ.ศ. 2468 วัฒนธรรมตะวันตกเริ่มเข้ามามีอิทธิพลมาก เกิดการซึมซับวัฒนธรรมของตะวันตกในสังคมไทย ประมาณใน ค.ศ. 1920 (พ.ศ. 2463) แฟชั่นคีบบุหรี่กำลังเป็นที่นิยมของสาวตะวันตกอย่างมาก สาวไทยจึงรับเอาแฟชั่นดังกล่าวเข้ามาและเป็นที่นิยมมากของผู้หญิงในสังคม เห็นได้จากการโฆษณาเชิญชวนให้ผู้หญิงหันมาสูบบุหรี่[1]
การสูบบุหรี่ของผู้หญิงในยุคก่อนที่ถือกำเนิดขึ้นช่วงทศวรรษ 1920 และเป็นที่นิยมสูงสุดในช่วงทศวรรษ 1960 ถือเป็นแฟชั่นแบบหนึ่งในสังคม หากผู้หญิงคนใดสูบบุหรี่จะถือเป็นสาวยุคใหม่ ที่มีความ “เก๋เท่” น่าสนใจ โดยมีความเชื่อว่าบุหรี่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของการปลดปล่อย อิสระภาพ และความเท่าเทียมของผู้หญิง นอกจากนี้สรรพคุณของบุหรี่ที่กล่าวอ้างในชาติตะวันตกให้คุณมากกว่าโทษ อาทิเช่น สูบแล้วผอม ช่วยในการย่อยอาหาร หรือแม้แต่บุหรี่ดีต่อสุขภาพ ฯลฯ และอีกปัจจัยที่ทำให้บุหรี่กลายเป็นแฟชั่นคือภาพลักษณ์ รูปจำ จากดาราดัง นักดนตรี คนมีชื่อเสียง ในยุคนั้นที่ส่วนใหญ่จะสูบบุหรี่กันแทบทั้งสิ้น บุหรี่จึงกลายเป็นแฟชั่นร้อนแรงแห่งยุคกันเลยทีเดียว
คำโฆษณาชวนเชื่อของบุหรี่ในยุคนั้นถือเป็นสิ่งที่แตกต่างจากยุคปัจจุบันและยังเชื้อเชิญให้กลุ่มผู้หญิงสูบบุหรี่อีกด้วย ได้แก่ “สุภาพสตรีควรสูบ… เพราะก้นกรองของ…จะเพิ่มความสวยสง่า ในสังคมเสมอ” โฆษณาชวนเชื่อเหล่านี้เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้แฟชั่นผู้หญิงสูบบุหรี่เป็นที่นิยมในสังคม
การสูบบุหรี่ของผู้หญิงที่เห็นกันมากในปัจจุบัน ไม่ถือเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทยแต่อย่างใดเพราะหากดูตามข้อมูลแล้ว จะเห็นได้ว่าแฟชั่นดังกล่าวเกิดขึ้นนานแล้วในสังคม อย่างน้อยๆ ก็ปลายทศวรรษ 2460 เพียงแต่บางช่วงเวลาแฟชั่นดังกล่าวถูกลดบทบาทหรือถูกแทนที่ด้วยสิ่งใหม่ๆ ฉะนั้นหากคุณเห็นผู้หญิงสูบบุหรี่ “จงรู้ไว้” ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ถึงอย่างนั้นการสูบบุหรี่ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในเพศใดก็ตาม ล้วนแต่ก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีทั้งสิ้น
The post “วิถีสตรีอมควัน” กำเนิดแฟชั่นเก๋า เขย่าสังคม !!! appeared first on Thailand News.
More Stories
คนไทยเห็น “จิงโจ้” ครั้งแรกเมื่อใด? ทำไม “แกงการู” ในไทยถึงเรียกว่า “จิงโจ้”?
ภาพจิงโจ้เกาะหัวเรือสำเภาจิตรกรรมลายรดน้ำในวัดโพธิ์ ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกุมภาพันธ์ 2525 ผู้เขียน เอนก นาวิกมูล เผยแพร่ วันพฤหัสที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 แกงการู ถูกบัญญัติว่าคือจิงโจ้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 หลักฐานเก่าสุดเท่าที่ค้นได้ส่อให้เห็นว่า ตัวแกงการู ในภาษาอังกฤษ...
ข้าวมาบุญครอง ยี่ห้อข้าวสารบรรจุถุงรายแรกที่จำหน่ายในประเทศไทย
ข้าวสารบรรจุถุงในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2551 (AFP PHOTO/Pornchai KITTIWONGSAKUL) ก่อนปี 2527 การซื้อข้าวสารมาบริโภคโดยทั่วไปไม่ได้ซื้อกันเป็นถุงอย่างทุกวันนี้ ครอบครัวใหญ่ หรือร้านอาหารจะซื้อข้าวครั้งละกระสอบ หรือครึ่งกระสอบ (ข้าวสาร 1 กระสอบ หนัก 100 กิโลกรัม) ครอบครัวเล็กซื้อทีละถัง...
ก่อนมีน้ำแข็งในสยาม คนโบราณทำน้ำให้เย็นอย่างไร?
ล้อมวงดื่มเหล้า จิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนที่น้ำแข็งจะเข้ามาสู่สยาม การทำให้น้ำเย็นนั้นไม่ได้ใช้วิธีซับซ้อนอะไร ชาวต่างชาติมีชื่อว่า เฟรดเดอริก อาร์เธอร์ นีล ที่เดินทางเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 3 บันทึกถึงการทำน้ำให้เย็น โดยเฉพาะจำพวกน้ำเมาอย่างแชมเปญ เขาบันทึกถึงเรื่องนี้ ขณะที่ได้รับเชิญไปงานเลี้ยงของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ วิธีทำให้น้ำเย็นนี้ ใช้วิธีเดียวกับที่ทำในอินเดีย...
ไกลบ้าน “ฉบับราษฎร์” เขียนดีจนได้คำนิยมจากรัชกาลที่ 5
พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพาธส่งเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 พ.ศ. 2450 บนเรือพระที่นั่งมหาจักรี เมื่อพูดถึง “ไกลบ้าน” มักถึงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หากยังมีหนังสืออีกเล่มที่ชื่อ “ไกลบ้าน” เหมือนกัน เนื้อหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเสด็จประพาสยุโรปของพระพุทธเจ้าหลวงเช่นกัน แต่ผู้เขียนเป็นมหาดเล็กคนหนึ่งที่มีโอกาสเสด็จฯ ในครั้งนั้น นอกจาก “คนเขียน” แล้ว...
วัดร้างบางบอน? (วิหารหลวงพ่อขาว) วัดนิรนามอันศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนหลงลืมไปตามเวลา
ภายในวิหารหลวงพ่อขาว ได้รับการปรับปรุงจนสะอาดหมดจด มีหลังคาโค้งกันแดดฝนแก่องค์พระพุทธรูปและผู้มากราบไหว้บูชา ด้านหลังเคยมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ด้วยแต่หักโค่นไปแล้ว ที่มา นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับตุลาคม 2556 ผู้เขียน ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 ในพื้นที่ที่เรียกกันว่า “บางขุนเทียน” ในปัจจุบัน...
พระพุทธสำคัญของล้านช้าง? ที่สยามเชิญมาประดิษฐานในประเทศ
(จากซ้าย) พระแซกคำ, พระแสน (เมืองมหาชัย), พระฉันสมอ พระพุทธรูปสำคัญในไทย จำนวนหนึ่งเชิญมาแต่เขตล้านช้างคือเมืองเวียงจันท์ และเมืองอื่นทางตะวันออกหลายองค์ เป็นพระพุทธรูปสร้างที่อื่น ตกไปอยู่ในอาณาเขตล้านช้าง โดยประวัติบ้าง สร้างขึ้นในเขตล้านช้าง แต่เมื่อยังเป็นประเทศศรีสัตนาคนหุตบ้าง พระพุทธรูปที่สร้างทางเขตล้านช้างมักเรียกกันว่าฝีมือช่างลาวพุงขาว นอกจาก พระแก้วมรกต (เดิมประดิษฐานอยู่ล้านนา ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาเชิญไปล้านช้าง) และพระบาง (ภายหลังเชิญกลับล้านช้าง) ที่เชิญมาสยามในสมัยกรุงธนบุรีแล้ว ช่วงรัชกาลที่...
ทางรถไฟสยาม สมัยรัชกาลที่ 5 ถึง รัชกาลที่ 7 สู่ยุคความเร็วและย่นเวลาเดินทาง
ชานชาลารถไฟ สถานีกรุงเทพฯ เมื่อก่อสร้างครั้งแรก (ภาพจาก หนังสือการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๔๓๙-๒๕๑๒) นับตั้งแต่มีการนำเครื่องจักรไอน้ำมาติดตั้งในพาหนะ การขนส่งในศตวรรษที่ 19 ก็เข้าสู่ยุคสมัยของการปฏิวัติ พาหนะแรกที่เดินด้วยกำลังเครื่องจักรไอน้ำอย่าง “เรือกลไฟ” ได้ท่องไปทั่วมหาสมุทร และเข้าไปมีบทบาทเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศตามการใช้งานของชาติมหาอำนาจ สำหรับประเทศสยาม เรือกลไฟลำแรกที่แล่นเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 จากความสนใจในหมู่ชนชั้นนำทำให้เกิดการวิจัยและพัฒนาในช่วงสั้นๆ...
นานาทัศนะตำนานรัก “มะเมียะ” กับ “เจ้าน้อยศุขเกษม” สังคมไทยคิดเห็นอย่างไร?
เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) หรือเจ้าน้อยศุขเกษม ถ่ายภาพกับเจ้าบัวชุม ณ เชียงใหม่ ผู้เป็นภรรยา (ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ) ตำนานความรักคลาสิกในสังคมไทยเรื่องหนึ่งคงหนีไม่พ้นเรื่อง “มะเมียะ” ที่ผู้เขียนอย่างคุณปราณี ศิริธร ณ พัทลุง เผยแพร่ลงในหนังสือ “เพ็ชรล้านนา” และ “ชีวิตรักเจ้าเชียงใหม่” กระทั่งดังเป็นพลุแตกเมื่อจรัล มโนเพ็ชร นำมาแต่งเป็นเพลงจนตำนานรักเรื่องนี้เป็นที่จดจำของผู้คนมาจนถึงทุกวันนี้ คุณธเนศวร์ เจริญเมือง...
รัชกาลที่ 4 ทรง “เอาใจใส่” ธรรมยุตนิกาย จนเกิดพระราชนิยมใหม่? ในหมู่เจ้านาย
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างการผนวช 27 พรรษา รัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนา “ธรรมยุตินิกาย” เมื่อพระองค์เสวยราชสมบัติธรรมยุตินิกายก็เฟื่องฟู และเป็นที่ศรัทธาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เจ้านายและพระบรมวงศานุวงศ์ รัชกาลที่ 4 ทรงกําหนดให้เจ้านายและพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงผนวชเฉพาะธรรมยุติกนิกาย และทรงกําหนดความแตกต่างของ ตำแหน่ง “สมเด็จพระสังฆราช” ที่มาจากสามัญชนและเจ้านาย...
สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ “เจ้าฟ้าปัญญาดี” ความหวังของรัชกาลที่ 5
สมเด็จ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ “เจ้าฟ้าปัญญาดี” ความหวังของรัชกาลที่ 5 “…ความหวังใจอยู่ในลูก ว่าจะมาช่วยแบกหามความลำบากของพ่อ เมื่อเวลาแก่และโทรมลงพอให้เปนที่เบาใจบ้าง เปนความจริงพ่อรู้สึกความชรามาถึงบ้างแล้ว จึงทำให้มีความวิตกวิจารณ์ในการภายน่ามาก…” เป็นข้อความหนึ่งในพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่โปรดพระราชทาน จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระราชโอรสขณะกำลังทรงศึกษาวิชาการทหารอยู่ในประเทศเยอรมนี ข้อความตอนนี้แสดงถึงความหวังของพระองค์ที่ทรงมีต่อพระราชโอรสพระองค์นี้ในการที่จะทรงสำเร็จการศึกษาเสด็จกลับมาช่วยแบ่งเบาพระราชภาระ และความหวังของพระองค์ก็ทรงได้รับการตอบสนองจากพระราชโอรสพระองค์นี้อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเรื่องราชการบ้านเมือง หรือเรื่องส่วนพระองค์...
ค้นร่องรอยญาติอินจัน ปรากฏชายชื่อ “นายชู/ลุงบัด” ในสมุดภาพของทายาทแฝดสยาม
(ซ้าย) ภาพถ่าย อิน-จัน (ขวา) ภาพที่พบในสมุดภาพของลูกสาวคนหนึ่งของอิน-จัน ไม่มีคำบรรยายกำกับข้างหลังภาพ ภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม, ฉบับกันยายน 2548 ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกันยายน 2548 ผู้เขียน วิลาส นิรันดร์สุขศิริ เผยแพร่ วันพุธที่ 15...
การรับมือโรคระบาดสมัย ร.5 รัฐยุคใหม่เลิกไล่ผี-พิธีสวด เปลี่ยนมาใช้การแพทย์ตะวันตก
ผู้เขียน อ.ดร. ชาติชาย มุกสง อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เผยแพร่ วันพฤหัสที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2564 เมื่อรัชกาลที่ 5 ไม่ทรงเชื่อว่าพิธีอาพาธพินาศมาจากพระพุทธเจ้า แล้วเลิกไล่ผีเปลี่ยนมาจัดการด้วยการแพทย์ตะวันตกในอรุณรุ่งของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การแก้ไขจัดการโรคระบาดที่มนุษย์เผชิญในทุกสังคมนั้นต่างมีความเปลี่ยนแปลงมาตามรูปแบบของรัฐและบทบาทหน้าที่ของรัฐ ดังนั้น ก่อนหน้ารัฐสมัยใหม่แม้รัฐจะไม่ได้มีหน้าที่ป้องกัน ควบคุม และรักษาเยียวยาความเจ็บป่วยคนในสังคมภาวะปกติ ซึ่งเป็นหน้าที่ของครอบครัวชุมชนเป็นหลัก แต่ในสถานการณ์ไม่ปกติอย่างเกิดโรคระบาดรุนแรง รัฐมีหน้าที่สำคัญในการจัดการผู้คนจากโรคระบาดกันทั้งสิ้น สมัยโบราณโรคระบาดรวดเร็วรุนแรงที่ส่งผลให้คนตายมาก ๆ คนไทยเรียกว่า โรคห่า แต่เดิมหมายถึง 3 โรคคือ ทรพิษเก่าแก่สุด ต่อมาใช้เรียกอหิวาตกโรคและกาฬโรคที่ระบาดหนักหน่วงช่วงเปลี่ยนผ่านสยามเป็นรัฐสมัยใหม่ตรงกับยุคสมัยอาณานิคม...