ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

ราชภัฏยะลา ร่วม ศอ.บต. ขับเคลื่อน JAPO Model ครึ่งไร่ครึ่งล้าน

ราชภัฏยะลา ร่วม ศอ.บต. ขับเคลื่อน JAPO Model ครึ่งไร่ครึ่งล้าน

ราชภัฏยะลา หารือ ร่วมกับ รองเลขาธิการ ศอ.บต. ขับเคลื่อน JAPO Model ครึ่งไร่ครึ่งล้าน เดินหน้าบูรณาการทำงานพัฒนาท้องถิ่นและงานบริการวิชาการตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยฯ

ที่ ห้องประชุมสถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาชายแดนภาคใต้ อาคาร 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานเปิดประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนโครงการ ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยนวัตกรรมเกษตรแบบผสมผสาน (JAPO Model) ครึ่งไร่ครึ่งล้าน ให้ครัวเรือนยากจนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี อาจารย์ ดร.นิรันดิ์เกียรติ ลิ่วคุณูปการ รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน และคณะทำงาน กล่าวรายงานผลการดำเนินโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการนำศาสตร์ องค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และศักยภาพ/ทุนที่มีความพร้อมในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ สู่การบูรณาการทำงานร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่

โดยได้รับเกียรติจาก นายศรัทธา คชพลายุกต์ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พร้อม ภริยา นางจันทรียา คชพลายุกต์ และนางสาวอัญชลี วงศ์ศรีสมบูรณ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ เข้าร่วมการประชุมหารือเพื่อแนวทางการบูรณาการทำงานพัฒนาท้องถิ่นและงานบริการวิชาการตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในทุกมิติการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม

โดยดูแลพื้นที่ให้บริการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น และยกระดับคุณภาพการศึกษา มุ่งลดปัญหาความเหลี่ยมล้ำทุกมิติในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ บูรณาการเชื่อมโยงแผนการทำงานขับเคลื่อนโครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีแผนงานของโครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายนั้น

อาจารย์ ดร.นิรันดิ์เกียรติ ลิ่วคุณูปการ รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กล่าวผลการดำเนินงานบริการวิชาการรับใช้สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมแก้ไขปัญหาความยากจน ยกระดับระบบเศรษฐกิจฐานรากในท้องถิ่น ด้วยการนำเอาศาสตร์/องค์ความรู้สู่การพัฒนาท้องถิ่น ทำงานร่วมกันระหว่างนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญ หน่วยงานภาคีในพื้นที่ ประชาชน ผู้นำชุมชน เพื่อพัฒนาและสร้างประชาชนต้นแบบ เพื่อขยายผลการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผลผลิตที่ได้สามารถนำมาลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ในครัวเรือน ต่อยอดพัฒนาทักษะอาชีพให้แก่ผู้อื่นในชุมชน เพื่อสร้างให้เป็นนวัตกรชุมชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดการพึ่งตนเอง

เป้าหมายเพื่อกระจายการพัฒนาอาชีพให้ครัวเรือนรายได้น้อง และประชาชนที่สนใจในท้องถิ่น เกิดการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติ เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม คือ ในท้องถิ่นเกิดการสร้างอาชีพ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และเกิดการพัฒนารากฐานทางเศรษฐกิจ ขยายผลไปสู่ผู้ที่มีรายได้น้อยในพื้นที่ การทำเกษตรแบบผสมผสาน แบบครบวงจร ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มุ่งให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อลดต้นทุนการผลิตของรัฐและประชาชนเข้าใกล้ศูนย์ (Near Zero Cost) ไปสู่จุดคุ้มทุน และเกิดสังคมแห่งการเกื้อกูลผลผลิตทางการเกษตร และเกิดความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจฐานรากในท้องถิ่นอย่างยั่งยืนต่อไป

ข้อมูล 

https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220419122036318

 

Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร : Read More