ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

ตะกรุดพญาจระเข้มหาลาภ เฝ้าทรัพย์ ปลุกเสก ๗ พิธี ๗ เกจิอาจารย์

รหัส : c1652

ราคา : 300.00

วิชาจระเข้ เป็นวิชาโบราณที่คณาจารย์ผู้เรืองเวทย์มักจะร่ำเรียนกัน มีเล่าขานกันมาในตำนานประวัติของหลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า พระเกจิอาจารย์ผู้มีพระเวทย์สูงส่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสแก่อนุชนรุ่นหลังเป็นอย่างมาก มีเล่ากันว่าในสมัยที่กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ได้พาลูกน้องไปเยี่ยมหลวงปู่ และหลวงปู่ได้แสดงวิชานี้ให้ดู โดยให้พลทหารจ๊อกเป็นผู้ทำการทดลอง โดยที่กรมหลวงชุมพรได้ใช้เชือกผูกพลทหารจ๊อกๆไว้อย่างหนาแน่น แล้วให้ลงไปในสระในวัด โดยมีมหาดเล็กจับปลายเชือกไว้หลายคน จากนั้นหลวงปู่ได้ทำพิธีปลุกเสกน้ำมนต์แล้วราดลงไปที่ตัวพลทหารจ๊อก เมื่อถูกน้ำมนต์ พลทหารจ๊อกก็ค่อยๆกลายเป็นจระเข้ว่ายไปมาในสระ พลทหารจ๊อกในร่างจระเข้ก็ดิ้นเพื่อให้หลุดจากเชือกมหาดเล็กก็ช่วยกันดึงกันอย่างเอาเป็นเอาตาย พอสมควรแก่เวลาหลวงปู่ก็ได้ทำน้ำมนต์อีกขันหนึ่งมาราดตัวพลทหารจ๊อกกลายเป็นพลทหารตามเดิม นี่ก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างวิชาจระเข้สมัยโบราณที่เป็นเรื่องเล่า

ต่อมีพระเกจิอาจารย์ได้สร้างจระเข้ขึ้นเป็นตัว ทำการปลุกเสกด้วยเวทย์มนต์คาถาจนมีความเข้มขลังให้ลูกศิษย์นำไปบูชา มีประสบการณ์เข่าขานกันมากถึงความศักดิ์สิทธิ์ ยกตัวอย่างเช่นวิชาจระเข้อาคม หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย ท่านเรียนสำเร็จวิชาเสกจระเข้ ท่านสามารถเสกจระเข้หล่อให้มีชีวิตตัวใหญ่เท่าพญาชาละวันว่ายน้ำตีหางไปมาดังโครมคราม จระเข้อาคมของท่านว่ากันว่าดีทางปกป้องคุ้มครอง แคล้วคลาดภัย ภูตผีปีศาจเกรงกลัว ป้องกันสัตว์เลื้อยคลาน ถอดถอนเสน่ห์ยาแฝดต่างๆ

นอกจากนั้นยังมีเครื่องรางประเภทจระเข้ ของเกจิอาจารย์ท่านอื่นที่สร้างขึ้นได้ขลังได้แก่ จระเข้อาคมของหลวงปู่สุภา มีประวัติเล่าว่า หลวงปู่สุภาเล่าให้ลูกศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า หลังจากท่านได้เรียนวิชาจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า สำเร็จแล้ว ท่านตั้งใจธุดงค์ต่อไปทางภาคเหนือแล้วมาพบกับบ้านคหบดีหลังใหญ่มีของมีค่ามากมาย แต่เปิดบ้านเปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ ท่านจึงแวะสนทนาธรรมด้วย

เจ้าของบ้านเป็นเศรษฐีใหญ่ใจบุญอายุประมาณ 70 ปี ออกมาต้อนรับถวายน้ำปานะ เมื่อฉันแล้วได้สนทนา หลวงปู่สุภาถามว่าบ้านของท่านมีของมีค่าเยอะอย่างนี้เปิดบ้านทิ้งไว้ไม่กลัวขโมยหรือ ท่านเศรษฐีตอบว่าไม่กลัวหรอกครับเพราะผมมีของดี ว่าแล้วก็หยิบจระเข้ขึ้นมาโชว์

ตั้งแต่นั้นมาหลวงปู่สุภาจึงได้เรียนวิชาจระเข้อาคมจากตำราจนเชี่ยวชาญ และสร้างจระเข้อาคมเป็นขนาดบูชาด้วยไม้ทองหลางทองให้ศิษย์ไว้บูชา วิชานี้ดีทางป้องกันคุ้มครองตัวเรา บริวาร ทรัพย์สิน และยังเป็นโภคทรัพย์เงินทองงอกงามเพิ่มพูลขึ้นอย่างทันตา

ในปี พ.ศ.๒๕๕๓ ได้มีการสร้างตะกรุดพญาจรเข้มหาลาภ เฝ้าทรัพย์ขึ้น โดยทำเป็นตะกรุดจารอักขระยันต์ตามตำรา ภายในตะกรุดอุดด้วยหนังจรเข้าและผงวิเศษต่างๆ และจัดพิธีปลุกเสกขึ้น ๗ ครั้ง(ปลุกเสกพร้อมตะกรุดพญาเสือ และตะกรุดพญางูเหลือม) โดยพระเกจิอาจารย์ผู้มีสายพระเวทย์เข้มขลัง จากสายล้านนา และเขมรอย่างเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก

พิธีกรรมและพระเกจิอาจารย์ที่ปลุกเสก
1.พิธีปลุกเสกโดย หลวงปู่ศวัส ศิริมงฺคโล วัดเกษตรสุข จ.พะเยา
2.พิธีปลุกเสกโดยครูบาเดช กิตติญาโณ สำนักสงฆ์ป่าช้าบ้านรัตนโกสินทร์ จ.ลำปาง
3.พิธีปลุกเสกโดยครูบาน้อย สิริวิชโย วัดบุญโยง จ.พะเยา
4.พิธีปลุกเสกโดยหลวงปู่จัน ขันติโก กำปงธม กัมพูชา
5.พิธีปลุกเสกโดยหลวงปู่น้อย ญาณฑีโป วัดป่าดอนประดู่ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร
6.พิธีปลุกเสกโดย ครูบาอาจารย์สายล้านนาและสายอีสานอีกหลายรูป …ฯลฯ
7.พิธีปลุกเสกโดยอาจารย์สมราชฐ์ ปลุกเสกแบบบินเดี่ยวปิดท้าย

ตะกรุดพญาจรเข้ มีอิทธิคุณความศักดิ์สิทธิ์หลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านคุ้มครองป้องกันภัย เสริมทางด้านโชคลาภ ทำมาหากิน หาเงินทอง กันแก้สิ่งอาถรรพณ์และพลังไม่ดี

คาถาบูชา อิติปิโสภควา นะชาลิติ พุทธะสังมิ อิสวาสุ

Other items you may be interested in:

ผงเทวดาหลงห้อง อ.สมราชฐ์
พระสมเด็จไม้งิ้วดำรุ่นแรก ฐาน 5 ชั้น ปี 2528 หลวงปู่เลี้ยง สุชาโต จ.ลพบุรี
เหรียญแปดเหลี่ยม หลังยันต์ดวง หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ จ.นครสวรรค์
ปลัดขิกกระดูกแกะ หลวงปู่เหลือ วัดท่าไม้เหนือ จ.อุตรดิตถ์
พระพิฆเณศมหาเทพไอยรา รุ่นมหาราชาโชค เนื้อผงดำ วัดโบสถ์ จ.ปทุมธานี
เหรียญพระพุทธสิหิงค์ลายสือไท ภปร. หลวงพ่อเกษม เขมโก ปี 2562 (2)
ขุนแผนนางเหลียว เนื้อผงมวลสารพิเศษ กดพิมพ์ในฤกษ์ แจกกรรมการ สีเหลือง อาจารย์สมราชฐ์
เหรียญที่ระลึกในงานพระราชทานสมศักดิ์ ปี 2535 กะไหล่ทอง หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
ไม้มงคล 9 อย่าง และชุดเครื่องรางเสริมมงคลโชคลาภ
เหรียญพระครูเมธา รุ่นแรก ปี 2504 วัดโพธิ์บัลลังก์ จ.ราชบุรี
แพะมหาเฮง รุ่นมหาเศรษฐี ปี 2544 เนื้อทองแดง หลวงปู่เหลือ วัดท่าไม้เหนือ จ.อุตรดิตถ์
ขุนแผนนางเหลียว สุดยอดแห่งเมตตามหานิยม เนื้อว่านมหาเสน่ห์สีดำ อาจารย์สมราชฐ์