ลูกสะกดกันภัย หลวงพ่อโฉม วัดตำหนัก จ.ปทุมธานี
รหัส : c1695
ราคา : 300.00
ปทุมธานี หรือ เมืองสามโคก ในอดีตเป็นอีกจังหวัดหนึ่งซึ่งมีประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค้า ควบคู่กับกรุงศรีอยุธยา มีชาวมอญที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารแห่งองค์พระพุทธเจ้าหลวงเมื่อครั้งในอดีต ดังนั้นศิลปะหลายแขนงยังมีการสืบทอดจนถึงปัจจุบัน และอีกแขนงที่กล่าวถึงนั้นก็คือสายวิชาพระเวชวิทยาคม การลงอักขระ ปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ซึ่งยังมีการสืบทอดพระเวทย์สายรามัญ จนถึงปัจจุบันจากรุ่นสู่รุ่นมิได้น้อยไปกว่าที่อื่นเลย เช่น เจ้าคุณรามัญมุณี วัดบางหลวง หลวงพ่อช้าง วัดเขียนเขต หลวงพ่อญัติ วัดสายไหม หลวงปู่ด๊วด วัดคลองสี่ หลวงพ่อเทียน วัดโบสถ์ และอีกมากมายหลายท่าน
หลวงพ่อโฉม เตชวโร หรือ พระครูปทุมอรรถสุนทร ท่านมีนามเดิม ว่า นายบุญถม นามสกุล ภู่ห้อย เกิดวัดเสาร์ เดือน ๓ ปีกุล พ.ศ.๒๔๖๖ เป็นบุตรคนโตในบรรดาพี่น้อง ๓ คนของคุณพ่อฉิน(หลวงพ่อฉิน) คุณแม่แจ๋ว ภู่ห้อย จบการศึกษาระดับ ป.๔ จากโรงเรียนสามมัคคิยาราม จากนั้นเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ท่านได้สมัครเป็นทหารรับใช้ชาติอยู่ ๒ ปี จากนั้นอายุ ๒๒ จึงได้อุปสมบท ณ วัดป่างิ้ว โดยมีพระครูถาวรกิจโกศล (ฟ้อน โชติปาโล) เป็นพระอุปฌาย์ จากนั้นเพียง๑ พรรษา ท่านก็ลาสิกขาออกมาช่วยโยมพ่อ โยมแม่ทำนาเลี้ยงน้องในฐานะพี่ชายคนโต และท่านได้สมรสและมีบุตรธิดา ทำอาชีพสุจริต
ยามว่างท่านมักจะไปขอเรียนวิชากับหลวงพ่อฉิน (บิดาของท่าน เสมอ) และมักไปต่อวิชากับหลวงพ่อหอม วับางเตยกลาง สองศิษย์เอกแห่งหลวงพ่อจ่างวัดไผ่ล้อม อยู่เป็นประจำจนชำนาญ และหลวงพ่อท่านได้นำวิชาที่ร่ำเรียนมาสงเคราะห์ชาวบ้านในละแวกนั้นตั้งแต่ยังเป็นฆราวาส จนกระทั่งเมื่อครั้งที่ท่านอายุ ๔๐ ปี ท่านเกิดเจ็บหนักจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด ท่านจึงอธิษฐานว่า หากท่านรอดไปได้ ท่านจะใช้ชีวิตที่เหลือ ขอถวายพระศาสนา เมื่อท่านหายป่วย จึงได้อุปสมบทอีกครั้งที่วัดดอกไม้ โดยมีพระครูธีรานุวัตร (หลวงพ่อหอม) วัดบางเตยกลาง เป็นพระอุปฌาย์
หลังจากอุปสมบท แล้วท่านก็ยังไปศึกษาเพิ่มเติมในบางวิชาและฝึกกรรมฐานขั้นสูง จากทั้ง หลวงพ่อฉิน และหลวงพ่อจ่าง วัดไผ่ล้อม โดยอาศัยการลงตัว นะ เพียงตัวเดียวเท่านั้น และหลวงพ่อโฉม ท่านได้ลงตะกรุด แบบนี้แล้วแจกให้ลูกศิษย์ ไว้ใช้จนเป็นที่ประจักษ์ ด้านแคล้วคลาด คงกระพันในพื้นที่แถบสามโคก
หลวงพ่อโฉม อธิบายว่า “นะ” ของท่านว่า ตัว นะ นี้เป็นต้นแบบเป็นประธานแห่งมนต์ทั้งหมด มนต์สำคัญๆ ก็ต้องขึ้นต้นด้วยนะทั้งนั้น เวลาพระเจริญพุทธมนต์ท่านต้องตั้งนะ ก่อนคือนะโมทุกครั้งและที่สำคัญไม่ว่าจะเป็น นะใดๆ ทั้ง๑๐๘ นะ ที่ท่านได้ศึกษามาก็ล้วนปลุกเสกด้วยคาถาแม่บทซึ่งกล่าวถึงตัว นะไว้หมดสิ้นคือ “นะรานะระหิตังเทวัง นะระเทเวหิปูชิตัง นะรานังภามะยังเภหิ นะมามิสุคะตังชินัง”
เมื่อเรานำตัวนะตัวแม่ของ นะ มาเป็นต้นเป็นประธานแล้ว อาราธนา นะตัวลูกทั้ง ๑๐๘ ประการ ดีกว่าใช้ นะเฉพาะ ซึ่งจะมีฤทธิ์ เพียงด้านเดียวไปครอบคลุมในทุกๆ ด้าน เมื่อนำ นะ มาลงในโลหะม้วนเป็นตะกรุดแล้วตะกรุดนั้น ก็จะมีพุทธคุณมากมายดุจฝอยท้วมหลังช้างเรียก ว่า ๑๐๘ นะ ทั้งเมตา มหาเสน่ห์ มหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน กันอาวุธ
ในเรื่องการปลุกเสก หลวงพ่อโฉม บอกว่า อักขระเลขยันต์นั้นจะมากน้อยไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่จิตผู้เสกจิตดีปกติแจ่มใส สุขภาพดี เป็นสมาธิ แน่แน่ว เรื่องเวลานั้นไม่สำคัญสัก ๑๐ ถึง ๒๐ นาที ก็ใช้ได้ แต่ถ้าจิตไม่ดี ไม่มีสมาธิ นั่งเสกกันทั้งวันก็ไม่เกิดประโยชน์ และอีกอย่างคือ ปฏิภาคนิมิต คือนิมิตที่เราขึ้นตามจิตแห่งตน ลงอักขระเลขยันต์เยอะแยะมากมาย แต่นิมิตปฏิภาคไม่เกิดก็เท่านั้น สู้ลงนะตัวเดียว ปฏิภาคนิมิตเกิดเห็น นะ นั้นชัดเจน ปรากฏขึ้นไม่ได้เป็นว่า มันอยู่ที่จิต สมาธิเป็นสำคัญ
ส่วนเรื่องการทำเครื่องรางของขลัง ของหลวงพ่อโฉม โดยเฉพาะตะกรุด หลวงพ่อท่านนิยมแบบโบราณคือเขียนทีละแผ่นเรียกสูตรกันทีละตัวซึ่งท่านจะให้ความสำคัญมากมีลูกศิษย์แนะนำให้ท่านใช้วิธีการปั๊มตะกรุดแต่ ท่านบอกปฏิเสธไม่เอาเป็นอันขาด ท่านว่า มันไม่ได้เรียกได้เสมอไป ทำหลอกเขา ข้าไม่เอา ถึงแม้ว่าปัจจุบัน หลวงพ่อท่าน ชราภาพมากแล้วก็ตาม แต่ตะกรุดของท่านยังใช้การจาร ยันต์ด้วยมือ ถึงท่าน มิได้จารด้วยตัวท่านเอง ทั้งหมด ทุกดอก แต่ท่านมอบหมายให้ลูกศิษย์ที่ท่านครอบครูแล้ว เป็นคนช่วยจารแล้ว ท่านจะลง ครอบและเสกกำกับ ด้วยตัวท่านเองทุกครั้ง เพราะหลวงพ่อท่านบอกว่ายังไงก็ดีกว่าปั๊มเอา เพราะมันทำและจารด้วยใจ จึงไมน่าแปลกว่า ตะกรุดของท่านมีประสบการณ์กันมากมาย
หลวงพ่อโฉมท่านเป็นพระที่สมถะเรียบง่ายไม่สะสมทรัพย์สินใดๆ ใครให้ท่านทำอะไร ถ้าไม่เหนือบ่ากว่าแรงท่านสงเคาระห์ให้หมด ท่านเป็นพระโบราณ ที่พูดจริงทำจริง เวลาทำวัตถุมงคลต้องดูฤกษ์ มงคล ต้องทำพิธีกรรมตามแบบโบราณ ไม่สุกเอาเผากิน ดังนั้นวัตถุมงคลของหลวงพ่อ จึงออกมาไม่กี่รุ่น และบางอย่างก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙
ลูกสะกดเป็นหนึ่งในตำนานเครื่องรางของขลังของไทย ที่มีตำรับตำราบันทึกถึงขั้นตอนวิธีการสร้างเอาไว้ ตลอดจนอุปเท่ห์วิธีการนำไปใช้ ลูกกสะกด คำว่าสะกดหมายถึงการข่มหรือ การทำให้เคลิบเคลิ้มอยู่ภายใต้อำนาจ วิชานี้ในสมัยก่อนพวกเสือหรือขุนโจรจะนิยมเรียนกัน เพื่อบังคับหรือสะกดคน แต่การที่จะสำเร็จวิชานี้จริงๆต้องมีพลังจิตแก่กล้าจึงจะสำเร็จได้ แม้แต่ลทเสภาในเรื่องขุนช้างขุนแผนก็มีกล่าวถึงมนต์มหาสะกดนี้ไว้
อันเรื่องราวกล่าวความพลายงามน้อย ค่อยเรียบร้อยเรียนรู้ครูทองประศรี
ทั้งขอมไทยได้สิ้นก็ยินดี เรียนคัมภีร์พุทธเพทพระเวทมนตร์
ปัถมังตั้งตัวนะปัดตลอด แล้วถอนถอดถูกต้องเป็นล่องหน
หัวใจกริดอิทธิเจเสน่ห์กล แล้วเล่ามนต์เสกขมิ้นกินน้ำมัน
เข้าในห้องลองวิชาประสาเด็ก แทงจนเหล็กแหลมลู่ยู่ขยั้น
มหาทะมื่นยืนยงคงกระพัน ทั้งเลขยันต์ลากเหมือนไม่เคลื่อนคลาย
แล้วทำตัวหัวใจอิติปิโส สะเดาะโซ่ตรวนได้ดังใจหมาย
สะกดคนมนต์จังงังกำบังกาย เมฆฉายสูรย์จันทร์ขยันดี
ทั้งเรียนธรรมกรรมฐานนิพพานสูตร ร้องเรียกภูตพรายปราบกำราบผี
ผูกพยนต์หุ่นหญ้าเข้าราวี ทองประศรีสอนหลานชำนาญมา
แต่ผู้เรียนวิชานี้จะนำไปใช้พร่ำเพรื่อไม่ได้ หากนำไปใช้ในทางที่ผิด จะเป็นโทษกับตัวเอง
หลวงพ่อโฉม ท่านมีความเชี่ยวชาญทางด้าน การสร้างลูกสะกด ลูกสะกดที่หลวงพ่อปลุกเสกนั้นขลังยิ่งนัก และลูกสะกดของหลวงนั้นมีอิทธิคุณโดดเด่นมากทางด้าน กันภัย คงกระพันชาตรีเป็นยิ่งนัก ลูกสะกดเนื้อตะกั่วสร้างและปลุกเสกอย่างเข้มขลัง บูชาจากวัดส่งตรงถึงมือผู้บูชา