คำว่า “เจ้าคุณ” ที่ใช้เรียกสตรีฝ่ายในเมื่อครั้งอดีตสมัย ร.1-6 จากหนังสือ “สาส์นสมเด็จ”
เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 5)
ผู้เขียน
ธนโชติ เกียรติณภัทร
เผยแพร่
วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ.2565
สรุปคำว่า “เจ้าคุณ” ที่ใช้เรียกสตรีฝ่ายในเมื่อครั้งอดีตในสมัยรัชกาลที่ 1-6 จากหนังสือ “สาส์นสมเด็จ”
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่า
เจ้าครอก หมายความว่าเป็นเจ้าโดยกำเนิด
เจ้าคุณ หมายความว่าเป็นเจ้าโดยคุณ
เจ้าคุณที่ใช้เรียกผู้หญิงมีใช้ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ครั้งรัชกาลพระเจ้าเสือ ที่กรมพระเทพามาตย์ไปทูลขอพระราชทานอภัยโทษแก่เจ้าฟ้าเพชรเจ้าฟ้าพร เมื่อครั้งถมบึงหูกวาง พระเจ้าเสือตรัสถามว่า “เจ้าคุณขึ้นมาด้วยกิจธุระอันใด”
สมัยรัชกาลที่ 1 เรียกท่านผู้หญิงนวล ภรรยาเจ้าพระยามหาเสนาฯ (บุนนาค) (ซึ่งท่านยังเป็นพี่น้องของสมเด็จพระอัครมเหสี) ว่า “เจ้าคุณ” เพราะสูงกว่าท่านผู้หญิงภริยาข้าราชการคนอื่นๆ เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล มีธิดา 3 คน เรียกเป็นเจ้าคุณคือ เจ้าคุณวังหลวง (นุ่น) เจ้าคุณวังหน้า (คุ้ม) เจ้าคุณปราสาท (ต่าย)
สมัยรัชกาลที่ 2 ทรงยกย่องพี่น้องของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีเป็นราชินิกูล เป็น เจ้าคุณราชินิกูล นับเป็นเจ้าคุณชั้นที่ 1 (มีลูกลงมาให้เป็นเจ้าคุณชั้นที่ 2) และยังมีการเรียกผู้ที่มิใช่ราชินิกูลเป็นเจ้าคุณอีก 3 ท่าน คือ
– เจ้าจอมมารดาตานี ในรัชกาลที่ 1 (ธิดาเจ้าพระยามหาเสนาบุนนาคกับภรรยาเดิม) เรียกว่า เจ้าคุณวัง
– เจ้าจอมมารดาสี ในรัชกาลที่ 2 (ธิดาเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (บุญรอด)) เรียกว่า เจ้าคุณพี
– ท้าวศรีสัจจา (มิ) เรียกว่า “เจ้าคุณประตูดิน”
สมัยรัชกาลที่ 3 มีการเรียกเจ้าจอม 2 ท่านในรัชกาลที่ 2 ว่าเจ้าคุณ คือ เจ้าจอมมารดาปรางใหญ่ (พระมารดากรมหลวงวงศาธิราชสนิท) และเจ้าจอมมารดาศิลา (พระมารดากรมพระพิทักษ์เทเวศร์) ด้วยเหตุที่ว่าเป็นเชื้อสายราชินิกูลบางช้าง ทำให้เป็นเหตุเข้าใจผิดว่าเจ้าจอมมารดาของเจ้านายผู้ใหญ่เป็นเจ้าคุณ
ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงบัญญัติให้เรียกใช้ได้เฉพาะสตรีที่ทรงแต่งตั้งเอง เนื่องจากมีการเรียกกันอย่างแพร่หลายจนฟั่นเฝือ ทรงบัญญัติชั้นเจ้าคุณราชินีกูลที่มีมาแล้ว 3 ชั้นคือ
ชั้นที่ 1 เจ้าคุณพระอัยยิกา
ชั้นที่ 2 เจ้าคุณพระประพันธวงศ์
ชั้นที่ 3 เจ้าคุณ
ทั้งนี้ ทรงตั้งธิดาสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ 3 คน คือ เจ้าคุณแข (เจ้าคุณตำหนักใหม่) เจ้าคุณปุก (เจ้าคุณกลาง) และเจ้าคุณหรุ่น (เจ้าคุณน้อย) และทรงตั้งธิดาสมเด็จเจ้าพระยาองค์นัอยที่เกิดจากท่านผู้หญิง 3 คน คือ เจ้าคุณนุ่ม (เจ้าคุณตำหนักใหม่) เจ้าคุณเป้า และเจ้าคุณคลี่ ชุดนี้นับเป็นเจ้าคุณชั้นที่ 3
สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงตั้งเจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ 4 เป็นเจ้าคุณ คือเจ้าคุณจอมมารดาสำลี เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม ทรงตั้งเจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ 5 เป็น เจ้าคุณจอมมารดาแพ ทรงตั้งเจ้าจอมมารดาเอมในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชนนีกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเป็นเจ้าคุณจอมมารดาเอม
ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระบรมราชโองการเลื่อนบรรดาศักดิ์เจ้าคุณจอมมารดาแพ ขึ้นเป็นเจ้าคุณพระประยูรวงศ์
เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 5)
ที่มาของข้อมูล : นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา. และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. สาส์นสมเด็จ. เล่ม 12. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา, 2504.
Source: https://www.silpa-mag.com/history/article_36382
เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ เมื่อ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2562
The post คำว่า “เจ้าคุณ” ที่ใช้เรียกสตรีฝ่ายในเมื่อครั้งอดีตสมัย ร.1-6 จากหนังสือ “สาส์นสมเด็จ” appeared first on Thailand News.
More Stories
“ระบบการศึกษา” เครื่องมือผนวก “ล้านนา” ให้กลายเป็นไทยในสมัยรัชกาลที่ 6
เด็กนักเรียนโรงเรียนประชาบาลเมืองเชียงแสน พ.ศ. 2466 (ภาพจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) ต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ในสยามกำเนิดรัฐแบบใหม่ที่บริหารงานแบบรวมศูนย์ ทำให้จำเป็นต้องสลายอำนาจท้องถิ่นเพื่อดึงทรัพยากรและผู้คนมาเป็นของรัฐบาลส่วนกลาง สำหรับกรณีของล้านนา สยามเลือกใช้วิธีของเข้าอาณานิคมผสมผสานกับธรรมเนียมของรัฐจารีต หากยังขาดจิตสำนึกร่วมชาติ รัชกาลที่ 6 จึงทรงใช้ “การศึกษา” เป็นเครื่องมือในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้ ผศ.ดร. เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว ได้ค้นคว้าและเรียบเรียงไว้...
โรงเรียนทหารบกโอกาสของ “สามัญชน” และสถานที่สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
“โรงเรียนทหารสราญรมย์” ที่ภายหลังเปลี่ยนเป็น “โรงเรียนทหารบก” (ภาพจากหนังสือ 2475:เส้นทางคนแพ้) แม้จะมีการวางรากฐานให้กับการผลิตนายทหารตามหลักสูตรสมัยใหม่ด้วยการจัดตั้ง “โรงเรียนทหารสราญรมย์” มาตั้งแต่ พ.ศ. 2430 แต่การรับเข้าเป็น “คะเด็ด” ก็จำกัดเฉพาะพระบรมวงศานุวงศ์ และบุตรนายทหารชั้นสัญญาบัตรเท่านั้น แต่เนื่องจากความจำเป็นที่ต้องขยายกิจการทหารให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของบ้านเมืองโดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ “ร.ศ.112” ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2437 ที่เป็นการคุกคามจากฝรั่งเศส และลัทธิล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตก ทางราชการจึงต้องการนายทหารเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากให้ได้ส่วนสัมพันธ์กับขนาดของกองทัพที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว...
ทหารญี่ปุ่นตบหน้าพระไทย สู่วิกฤตการณ์บ้านโป่ง 18 ธ.ค. 2485
ภาพประกอบเนื้อหา – ทหารญี่ปุ่นเรียงแถวปลดอาวุธต่อหน้านายทหารโซเวียต ช่วงกองทัพรัสเซียเข้าปลดปล่อยแมนจูเรียจากญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ภาพถ่ายเมื่อ ส.ค. 1945 (ภาพจาก AFP) เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2485 พระเพิ่ม สิริพิบูล (เอกสารบางรายการระบุว่าเป็นเณร) จากวัดห้วยกระบอก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม...
โอรสแห่งสวรรค์ ไยจึงมีชีวิตที่แสนสั้น? เมื่อจักพรรดิ “จีน” ดื่มยาอายุวัฒนะ แต่ยิ่งตายไว!
ภาพประกอบเนื้อหา – ภาพเขียน เง็กเซียนฮ่องเต้ (Jade Emperor) ในจินตนาการ ภาพจาก Daoist deity: Jade Emperor. Boston: Museum of Fine Arts สิทธิใช้งาน public domain...
ปริศนาเจ้าแม่วัดดุสิต ต้นราชวงศ์จักรี “เจ้า” หรือ “สามัญชน”???
พระบรมรูปพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ประดิษฐานภายในปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระราชวงศ์จักรีเป็นพระราชวงศ์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติ ทั้งพระราชพงศาวดารและตำราประวัติศาสตร์ มีให้ศึกษาประวัติโดยละเอียดจำนวนมาก โดยเฉพาะพระบรมเดชานุภาพ พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ แต่หากสังเกตอย่างดีก็จะพบว่าในบรรดาประวัติพระราชวงศ์หรือพระราชประวัติพระมหากษัตริย์ เรายังขาดแคลนข้อมูลที่กล่าวถึงบางช่วงบางตอน เช่นในภาคปฐมวัยแห่งพระมหากษัตริย์บางพระองค์ เท่ากับว่าเรายังขาดความรู้เรื่อง “วัยเด็ก” ของพระมหากษัตริย์ไทย โดยเฉพาะพระองค์ก่อนรัชกาลที่ ๕ ขึ้นไป ทั้งนี้เป็นเพราะการจดพงศาวดารในยุคก่อนได้เว้นที่จะกล่าวถึงพระราชประวัติก่อนเสวยราชย์ จะด้วยธรรมเนียมหรือด้วยเหตุไม่บังควรอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ทำให้ประวัติศาสตร์ในช่วงดังกล่าวเป็นแต่เพียงภาพรางๆ...
ภาพเขียนสีที่เพิงผา “ตอแล” ภูเขายะลา ถึงภาพใน “ถ้ำศิลปะ” กับข้อมูลเมื่อแรกเริ่มค้นพบ
(ซ้าย) ภาพมุมสูงเมืองยะลา เมื่อราวปี พ.ศ. 2547 (ขวาบน-ล่าง) ภาพเขียนสีที่เพิ่งผา “ตอแล” จ.ยะลา (ภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม เม.ย. 2542) “ตอแล” หรือ “ตอหลัง” เป็นเพิงผาหนึ่งของภูเขายะลา อยู่ในเขตหมู่ 2 บ้านกูเบ ตําบลยะลา อําเภอเมือง จังหวัดยะลา...
ประวัติศาสตร์การนั่งจากกรุงศรีฯ-กรุงเทพฯ คนไทยนั่งกันท่าไหน
สตรีชั้นสูงนั่งบนตั่ง ขณะที่บริวารนั่งบนพื้น ถ่ายราวยุค 2410 (ANP-0002-123 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ) “การนั่ง” เป็นหนึ่งในอริยาบถสุดเบสิกมนุษย์เราในปัจจุบันคุ้นเคยกันจนคิดว่าเป็นกิริยาอาการแสนสามัญธรรมดาแต่นั่นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่คนสมัยอยุธยาคิด เมื่อ 300 กว่าปีที่แล้ว ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตจากราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสเดินทางมาถึงอยุธยา ราว 3 เดือนที่พำนักอยู่ดินแดนที่ไม่คุ้นเคยเขาได้บันทึกเรื่องราวหลายแง่มุมที่ประสบพบเจอในสยามอย่างละเอียด บันทึกเล่มนี้ได้กลายเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์อันประมินค่ามิได้กาลต่อมา...
เมืองปากสิงห์ (สิงห์ สิงหเสนา) วีรบุรุษเมืองร้อยเอ็ด ผู้ร่วมปราบฮ่อ และ ร.ศ. 112
อนุสาวรีย์สิงห์เมืองปาก (สิงห์ สิงหสนา) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ปู่เมืองปาก” ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดจักรวาลภูมิพินิจ ตำบลหนองหมื่นถ่าน อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด (ภาพสิมวัดจักรวาลภูมิพินิจ จาก www.qrcode.fineart.go.th) สิงห์ สิงหเสนา มีนามสกุลคล้ายๆ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แต่ทั้งสองไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดกัน “สิงห์ สิงหเสนา” ผู้นี้เป็นใคร ผู้ใช้นามปากกาว่า เสมา ไชยกำแหง จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เขียนอธิบายเรื่องนี้ไว้ใน “สิงห์เมืองปาก...
มอง “พม่า” ผ่านสายตา “สำหรุดปาน” ชาวสงขลาที่เดินทางไปแสวงบุญเมื่อร้อยปีก่อน
เจดีย์ชเวดากอง ภาพถ่ายราวปี คงศ. 1895-1915 นิราศพระธาตุเมืองย่างกุ้ง สะท้อนให้เห็นโลกทรรศน์ของสำหรุดปานที่ทับซ้อนกันสองโลก โลกด้านหนึ่งคือโลกในระดับโลกิยะ การมองโลกเชิงประจักษ์ ดังจะเห็นได้จากการที่สำหรุดปานให้ความสำคัญกับการบรรยายรายละเอียดการเดินทาง สภาพบ้านเมืองและสิ่งต่าง ๆ ที่ตนได้ประสบพบเห็นด้วยตนเอง โลกอีกด้านหนึ่งที่สำหรุดปานให้ความสำคัญสูงกว่าคือโลกในระดับโลกุตระ ดังจะเห็นได้จากความมุ่งมั่นตั้งใจในการเดินทางจาริกแสวงบุญนมัสการพระบรมธาตุยังดินแดนพม่า และยิ่งไปกว่านั้นได้แต่งหนังสือสวดนี้ไว้เพื่อให้นำไปใช้อ่านและสวดให้ญาติพี่น้องมิตรสหายที่ไม่มีโอกาสได้เดินทางมานมัสการพระธาตุด้วยตนเองได้ร่วมฟังและตั้งจิตอนุโมทนาบุญร่วมกัน พม่าในวิถีโลกย์ ดินแดนพม่าเมื่อครั้งสำหรุดปานเดินทางไปนั้นเป็นช่วงเวลาที่ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษและสูญสิ้นราชวงศ์พม่าแล้ว พระเจ้าธีบอกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์คองบองของพม่าถูกอังกฤษถอดจากราชบัลลังก์และนำตัวไปคุมขังไว้ที่เมืองรัตนคีรี บริติชอินเดีย สภาพการณ์ความเป็นไปของพม่าเช่นนี้ไม่ได้เกินเลยความรับรู้ของสำหรุดปาน สันนิษฐานได้ว่าการที่เขาเป็นคนสะเดา...
ตำนานคู่ปรับวงการมวย โพล้ง เลี้ยงประเสริฐ vs สุวรรณ นิวาสะวัต
(ซ้าย) โพล้ง เลี้ยงประเสริฐ, (ขวา) สุวรรณ นิวาสะวัต (ภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม ฉบับมีนาคม 2564) โพล้ง เลี้ยงประเสริฐ นักมวยดังจากบ้านท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ เจ้าของฉายา “ยอดมวยเตะ” เป็นนักชกที่มีชื่อเสียงรุ่นเดียวกับ สุวรรณ นิวาสะวัต นักมวยพระนครจากสำนักสวนกุหลาบ เจ้าของฉายา “เอลโมมีฤทธิ์” (เอลโมเป็นชื่อดาราพระเอกภาพยนตร์สมัยนั้น...
ปัญหาน้ำมันแพงปี 2522 ที่มาของเป็น “เพลงน้ำมันแพง”
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ (ภาพจาก ฯพณฯ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ หนังสืออนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์) ที่ผ่านมาไทยต้องเผชิญกับปัญหา “น้ำมันแพง” หลายครั้ง เช่น พ.ศ. 2516 รัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร,...
“ภูเขาทอง” กองอิฐใหญ่ที่ถูกทิ้งร้าง มูลเหตุการขุด “คลองผดุงกรุงเกษม” ป้องกันพระนคร
ภูเขาทอง วัดสระเกศ (ภาพจาก หนังสือ ประชุมภาพประวัติศาสตร์ แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชดำริให้สร้าง “ภูเขาทอง” ที่วัดสระเกศ ให้สร้างเป็นพระปรางค์ขนาดใหญ่อย่างภูเขาทองที่อยุธยา แต่เนื่องด้วยชั้นดินอ่อนตัว รับน้ำหนักจำนวนมหาศาลของพระปรางค์ไม่ได้ กระทั่งทรุดลง จึงหยุดก่อสร้างค้างอยู่เพียงฐาน ถูกปล่อยให้รกร้าง กลายเป็นกองอิฐขนาดใหญ่นอกกำแพงพระนคร ตำแหน่งที่ตั้งของภูเขาทองนั้น นับเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของพระนคร เพราะตั้งอยู่ริมคลองมหานาคเชื่อมต่อกับคลองรอบกรุงและคลองหลอด (คลองหลอดวัดราชนัดดาฯ)...