
ประวัติศาสตร์ต้องบันทึก ครั้งหนึ่งญี่ปุ่น “กู้เงิน” จากไทยกว่า 1,500 ล้านบาท
กองทัพญี่ปุ่นซึ่งเข้ามาใช้สวนลุมพินีเป็นค่ายทหาร บันทึกเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2485 (ภาพจาก ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ )
เห็นชื่อเรื่องแล้วท่านผู้อ่านอาจคิดว่า นี่เป็นเรื่องขายขำ เพื่อให้กดไลค์ กดแชร์ แต่ต้องยืนยันว่านี้เป็นเรื่องจริง ไม่ได้โม้ “ญี่ปุ่น” หนึ่งในประเทศพัฒนาแล้วระดับแนวหน้าในปัจจุบัน ครั้งหนึ่งเคยกู้เงินจากประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย
แต่ได้โปรดอย่าเพิ่งด่วนดีใจ/ภาคภูมิใจ กรุณาอ่านให้จบก่อน
การกู้เงินของดังกล่าวเกิดขึ้นในระหว่างปี 2484-2488 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รายละเอียดการกู้เงินมีดังนี้ ระหว่างปี 2484-2485 ญี่ปุ่นกู้เงินจากไทยกว่า 23 ล้านบาท, ปี 2486 กู้เงิน 192 ล้านบาท, ปี 2487 กู้เงิน 514 ล้านบาท และปี 2488 กู้เงิน 799 ล้านบาท รวมทั้งหมดญี่ปุ่นได้กู้เงินจากไทยประมาณ 1,530 ล้านบาท
ทำไมมหาอำนาจอย่างญี่ปุ่นที่กล้าท้ารบกับชาติตะวันตกต้องกู้เงินไทย
คำตอบก็คือ เพราะเมื่อกองทัพญี่ปุ่นเข้าในประเทศไทย (8 ธันวาคม 2484) รัฐบาลไทยประกาศเป็น “พันธมิตร” กับญี่ปุ่น
ดังนั้น ญี่ปุ่นจึงใช้วิธีกู้เงินบาทของไทยที่เรียกว่า “เงินเยนพิเศษ” เพื่อใช้จ่ายสำหรับนายทหารจำนวน 50,000 คนในไทย แทนการพิมพ์ธนบัตรของตนเอง (invasion notes) ซึ่งเป็นวิธีปกติที่ญี่ปุ่นใช้ในดินแดนอื่นๆ ที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครอง
นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในเวลานั้น ซึ่งไม่เห็นด้วยและคัดค้านเรื่องนี้ กลับถูกปลดในทันที และโยกย้ายให้ไปเป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ (16 ธันวาคม 2484)
ขณะที่รัฐบาลไทยกับกองทัพญี่ปุ่นยังเดินหน้าสานความสัมพันธ์กันต่อไป ในวันที่ 21 ธันวาคม 2484 ทั้งสองฝ่ายมีการลงนามในกติกาสัญญาพันธมิตรกับญี่ปุ่น ที่ทําให้ไทยต้องให้ความช่วยเหลือญี่ปุ่นในฐานเป็นพันธมิตรในทางการเมือง การเศรษฐกิจ และการทหาร
ปัญหา 2-3 ประการก็ตามมาก็คือ ปริมาณเงินบาทที่เคยสะพัดอยู่ตามปกติ เพิ่มจํานวนขึ้นอย่างมหาศาลและรวดเร็ว เป็นผลให้สินค้าที่ขาดแคลนในช่วงสงครามมีราคาสูงขึ้น ขณะที่ค่าเงินบาทก็ถูกปรับลดลง 33 เปอร์เซ็นต์ อัตราการแลกเปลี่ยน 1 บาท ต่อ 1 เยน (ก่อนสงครามโลกนั้นเงินบาทมีค่าสูงกว่าเงินเยน คือ อัตราแลกเปลี่ยน 100 บาท ต่อ 150-160 เยน) ทำให้ไทยจึงต้องซื้อสินค้าจากญี่ปุ่น ในราคาที่แพงกว่าเดิม ขณะเดียวกันก็ต้องขายสินค้าให้ญี่ปุ่นถูกกว่าเดิมด้วย
นอกจากนี้เกิดปัญหา “ธนบัตรไม่พอใช้” ธนบัตรปกติที่รัฐบาลสั่งพิมพ์กับ บริษัท โธมัสเดอลารู ประเทศอังกฤษ ไม่สามารถจะสั่งพิมพ์เพิ่มได้ รัฐบาลไทยแก้ปัญหาด้วยการพิมพ์ธนบัตรเองในประเทศ แต่ด้วยคุณภาพการพิมพ์และกระดาษที่ไม่ได้มาตรฐาน ธนบัตรที่พิมพ์ออกมาจึงได้รับฉายาว่า “แบงก์กงเต๊ก”
บางครั้งการเป็น “เจ้าหนี้” ก็ไม่ได้เรื่องน่าดีใจ แต่เป็นสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกอย่างยิ่ง ที่สำคัญคือ “การลงทุนมีความเสี่ยง…”
ข้อมูลจาก
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ประวัติศาสตร์การเมืองไทย 2475-2500, มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2544
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 28 เมษายน 2564
Source: https://www.silpa-mag.com/history/article_66554
The post ประวัติศาสตร์ต้องบันทึก ครั้งหนึ่งญี่ปุ่น “กู้เงิน” จากไทยกว่า 1,500 ล้านบาท appeared first on Thailand News.
More Stories
“เจ้าจอมพิศว์” ในร.5 สตรีชาววังคนแรกๆในสยามที่ชอบเลี้ยงสุนัขเป็นชีวิตจิตใจ
“เจ้าจอมพิศว์” อีกหนึ่งเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 ที่น้อยคนจะรู้จัก นอกจากท่านจะเป็นผู้ถวายงานรับใช้ในพระราชสำนักฝ่ายในแล้ว ท่านยังเป็นคนที่ขึ้นชื่อเรื่ิองรักสัตว์มากคนหนึ่ง และเป็นบุคคลแรก ๆ ของไทยที่สั่งซื้อสัตว์พันธุ์แปลกใหม่เข้ามาเลี้ยงในสยาม “คุณพิศว์” เป็นธิดาของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) และท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ (สกุลเดิมชูโต) เกิดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2413 เมื่อครั้งอายุ 13 ปี ได้ติดตามบิดาที่เข้าไปรับราชการในพระราชสำนักเสมอ...
กำเนิดวัฒนธรรมพันปี เมื่อมนุษย์รู้จักดื่ม “ไวน์” แพร่หลายเข้าสู่ไทยเมื่อใด?
คนงานในฟาร์มสั่งถังในห้องเก็บไวน์ ระหว่างการเก็บเกี่ยวองุ่นในเมือง Champagne ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1945 (Photo by – / AFP) มนุษย์รู้จักองุ่นมานานกว่าหมื่นปีที่แล้ว นำมาใช้ประโยช์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกินผลสด ตากแห้งเป็นลูกเกด คั้นเป็นน้ำองุ่นสำหรับดื่ม กระทั่งเรียนรู้นำองุ่นมาหมักจนเกิดเป็นเหล้าองุ่นหรือ “ไวน์” ต้นกำเนิดขององุ่นย้อนไปราว 9,000...
คอคอดกระ-โครงการอมตะนิรันดร์กาลตั้งแต่สมัยพระรายณ์ที่ไม่ได้ลงมือสักที
แผนที่ต้นแบบและแผนภูมิคอคอดกระ ฉบับนายเอดลองก์ วิศวกรชาวฝรั่งเศส ที่ได้รับพระบรมราชานุญาตให้สำรวจคอคอดกระอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2424 โครงการขุดคอคอดกระ เพื่อเชื่อมทะเลอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน เป็นหนึ่งในโครงการอมตะนิรันดร์กาล ที่มีความคิดที่จะสร้างครั้งแรกเมื่อ 300 กว่าปี ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินพระนารายณ์ แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าได้มากกว่าการสำรวจ ที่จบลงด้วยการยุติ และล้มเลิก โครงการขุดคอคอดกระมีลำดับเหตุการณ์ดังนี้ สมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ....
ทำไมเครื่องจักรกลการเกษตรที่ทดลองใช้ครั้งแรกสมัย ร. 5 ไม่เวิร์ค ?
รถไถ-คราดพลังไอน้ำ(ยังไม่ได้ต่อกับไถและคราด) ณ ทุ่งรังสิต สมัยรัชกาลที่ 5 พงศ. 2450 (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ) การเปิดประเทศภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริ่ง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ส่งผลให้การส่งออกสินค้าทางการเกษตรของไทยเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่การส่งออกข้าว เมื่อความต้องการมากขึ้น กระบวนการผลิตก็ต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกัน จึงเริ่มปรากฏการทดลองนำเครื่องจักรกลการเกษตร เช่น เครื่องไถนา, เครื่องเกี่ยวข้าว ฯลฯ...
หลักฐานใหม่แย้งข้อมูลเก่า “เบื้องหลัง เบื้องลึก” ของสาเหตุการสร้าง พระบรมรูปทรงม้า ร.๕
รัชกาลที่ 5 เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีชักผ้าแพรคลุมเปิดพระบรมรูปทรงม้า เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2451 (ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร) ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับตุลาคม 2547 ผู้เขียน ไกรฤกษ์ นานา เผยแพร่ วันพฤหัสที่ 11 พฤศจิกายน...
แฟชั่นไว้หนวดของไทยมาจากไหน? เมื่อโกนทิ้งก็ไม่ดี ปล่อยไว้ก็ไม่ดี
พระยาอภัยสงคราม (ภาพจากหนังสือ “ประชุมภาพประวัติศาสตร์แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” โดย กรมศิลปากร จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๘) ผู้เขียน ดำ บ้านญวน เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 หนวด เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นชายที่สำคัญอย่างหนึ่งไม่แพ้มัดกล้ามเนื้อและรูปร่างอันบึกบึน เพราะการไว้หนวดของผู้ชายนั้นเป็นการเสริมความคมเข้มของใบหน้าและสร้างเสน่ห์ได้อย่างดี การมีหนวดของผู้ชายยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ใหญ่ที่น่าเชื่อถือเกรงขามได้อีกด้วย แต่ที่มาของการไว้หนวดในไทยมาจากไหน? ท่ามกลางกระแสแฟชั่นของผู้ชายที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานั้น...
การจัดการน้ำในเมืองโบราณของไทย ดูวิทยาการและคติเรื่องน้ำของคนในอดีต
ภาพวาดของชาวตะวันตกแสดงภาพกรุงศรีอยุธยาประมาณรัชกาลพระเจ้าปราสาททอง ในฤดูน้ำหลากที่น้ำท่วมพื้นที่โดบรอบ เหลือแต่เพียงเกาะเมือง “พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน… เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนาม ลักษณะดังกล่าวจะทำให้ประเทสไทยมีฝนตกหนัก ถึงหนักมาทั่วประเทศ พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มมากขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาค… และฝนที่ตกสะสมอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือบริเวณอันดามัน ทะเลมีคลื่นลมแรงความคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง…”...
สยามสมัย ร.6 เคยมี “สมาคมลับ” ลักษณะเดียวกันกับกลุ่ม “ฟรีเมสัน”
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์สภานายก กับสมาชิกจิตลดาสโมสร ถ่ายที่สวนสราญรมย์ราว พ.ศ. 2457 (ภาพจากหนังสือ เรื่องของเจ้าพระยามหิธร. ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยามหิธร ณ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 15 พฤศจิกายน 2499) [เอื้อเฟื้อภาพโดย ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์] ผู้เขียน...
“สุโขทัยไม่ใช่ราชธานีแห่งแรก” : สุจิตต์ วงษ์เทศ
วัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ผู้เขียน สุจิตต์ วงษ์เทศ เผยแพร่ วันพฤหัสที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 สุโขทัย เป็นรัฐขนาดเล็กรัฐหนึ่ง มีดินแดนทางทิศใต้แค่เมืองพระบาง (นครสวรรค์) เท่านั้นดินแดนใต้ลงไปอีกเป็นของรัฐอยุธยาและรัฐสุพรรณภูมิ บริเวณคาบสมุทรเป็นของรัฐมลายูปัตตานี ฉะนั้นสุโขทัยจึงไม่ใช่ราชธานีแห่งแรกของไทย เพราะก่อนหน้านั้นมีรัฐหลายแห่ง และร่วมสมัยสุโขทัยก็มีรัฐอื่นๆ อีกหลายแห่งที่สำคัญคือรัฐอโยธยา-ละโว้ ที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง...
คนไทยเห็น “จิงโจ้” ครั้งแรกเมื่อใด? ทำไม “แกงการู” ในไทยถึงเรียกว่า “จิงโจ้”?
ภาพจิงโจ้เกาะหัวเรือสำเภาจิตรกรรมลายรดน้ำในวัดโพธิ์ ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกุมภาพันธ์ 2525 ผู้เขียน เอนก นาวิกมูล เผยแพร่ วันพฤหัสที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 แกงการู ถูกบัญญัติว่าคือจิงโจ้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 หลักฐานเก่าสุดเท่าที่ค้นได้ส่อให้เห็นว่า ตัวแกงการู ในภาษาอังกฤษ...
ข้าวมาบุญครอง ยี่ห้อข้าวสารบรรจุถุงรายแรกที่จำหน่ายในประเทศไทย
ข้าวสารบรรจุถุงในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2551 (AFP PHOTO/Pornchai KITTIWONGSAKUL) ก่อนปี 2527 การซื้อข้าวสารมาบริโภคโดยทั่วไปไม่ได้ซื้อกันเป็นถุงอย่างทุกวันนี้ ครอบครัวใหญ่ หรือร้านอาหารจะซื้อข้าวครั้งละกระสอบ หรือครึ่งกระสอบ (ข้าวสาร 1 กระสอบ หนัก 100 กิโลกรัม) ครอบครัวเล็กซื้อทีละถัง...
ก่อนมีน้ำแข็งในสยาม คนโบราณทำน้ำให้เย็นอย่างไร?
ล้อมวงดื่มเหล้า จิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนที่น้ำแข็งจะเข้ามาสู่สยาม การทำให้น้ำเย็นนั้นไม่ได้ใช้วิธีซับซ้อนอะไร ชาวต่างชาติมีชื่อว่า เฟรดเดอริก อาร์เธอร์ นีล ที่เดินทางเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 3 บันทึกถึงการทำน้ำให้เย็น โดยเฉพาะจำพวกน้ำเมาอย่างแชมเปญ เขาบันทึกถึงเรื่องนี้ ขณะที่ได้รับเชิญไปงานเลี้ยงของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ วิธีทำให้น้ำเย็นนี้ ใช้วิธีเดียวกับที่ทำในอินเดีย...