ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

พระนางพญาพิษณุโลก (1)

รหัส : c185

ราคา 400.-

พระนางพญาเป็นชื่อพิมพ์พระกรุโบราณ ที่ได้รับการจัดให้อยู่ในชุดหนึ่งในเบญจภาคี สุดยอดพระเครื่องหนึ่งในห้า ของไทย ประวัติของพระนางพญาคือเป็นพระกรุที่มีการขุดพบครั้งแรกในปี พ.ศ.2444 โดยทางวัดนางพญาจังหวัดพิษณุโลก มีการสร้างสร้างศาลาขึ้นบริเวณด้านหน้าของวัด เพื่อเป็นที่พระทับในการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก เพื่อทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลองในครั้งนั้น พอขุดหลุมจะลงเสาของศาลาก็ได้พบพระเครื่องจำนวนมาก ที่มีลักษณะเป็นพระเนื้อดินผสมผงทรงสามเหลี่ยม ปางมารวิชัย ทางวัดจึงได้เก็บรวบรวมไว้ และเมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปถึงวัดนางพญา ทางวัดจึงได้นำพระจำนวนหนึ่งทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระองค์ท่าน พระองค์ทรงนำพระเครื่องนี้แจกจ่ายแก่ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จกันโดยถ้วนกัน

ครั้นต่อมาในราวปี พ.ศ.2470 สมัย พระอธิการถนอม เป็นเจ้าอาวาส องค์พระเจดีย์ด้านตะวันออกของวัดได้พังลง ก็ปรากฏพบพระนางพญาอีกจำนวนหนึ่ง ดังบทความที่ “ท่านตรียัมปวาย” ได้เขียนไว้ในหนังสือ “ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ เล่มที่ 2 เรื่อง นางพญาและพระเครื่องสำคัญ ว่า ‘… มีโอกาสได้พบผู้ใหญ่เลี่ยว ปาลิวณิช นักพระเครื่องอาวุโสของจังหวัดพิษณุโลก ท่านเล่าว่า “กรุพระนางพญา” เป็นพระเจดีย์ที่พังทลายฝังจมดินอยู่บริเวณด้านหน้าของวัด ตรงหน้ากุฏิท่านสมภารถนอม มีการขุดพบพระนางพญา ได้พระเป็นจำนวนมาก ในคราวนั้นปรากฏว่าชาวเมืองพิษณุโลกไม่ได้ให้ความสนใจ ดังนั้น พระนางพญาที่ถูกค้นพบจึงถูกเก็บไว้ที่วัดนางพญา และบางส่วนอาจถูกนำไปบรรจุกรุยังที่อื่นๆ อีกด้วย …’

ตามประวัติความเป็นมาต่างๆ ของ “พระนางพญา วัดนางพญา” เป็นมูลเหตุสำคัญในการอ้างอิงถึงการพบพระนางพญาในกรุอื่นๆ ที่ จ.พิษณุโลก รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการพบพระพิมพ์ที่มีเนื้อหาและพิมพ์ทรงแบบเดียวกันกับพระนางพญาจากกรุวัดนางพญาทุกประการในหลายๆ กรุ อาทิ วัดอินทรวิหาร และวัดเลียบ เป็นต้น สันนิษฐานว่าเป็นพระได้มาในคราวปี พ.ศ.2444 แล้วได้นำมาบรรจุตามกรุพระเจดีย์ต่างๆ ซึ่งจะมีจำนวนมากบ้างน้อยบ้าง และเมื่อผ่านกาลเวลา สภาพองค์พระก็จะแตกต่างกันไปตามสภาพกรุที่บรรจุ

ลักษณะของพระ นางพญา เป็นพระเนื้อดินเผา องค์พระจึงมีหลายสีและหลายขนาดตามลักษณะของพระเนื้อดินเผาทั่วไป พุทธศิลปะเป็นศิลปะผสมผสานระหว่างสุโขทัยและอยุธยา พิมพ์ทรงรูปสามเหลี่ยม มีการตัดขอบแม่พิมพ์ด้วยตอกชิดองค์พระ องค์พระพุทธประทับนั่งงปางมารวิชัย พระเกศเมาลีมีลักษณะคล้ายปลีกล้วย พระหัตถ์ขวาพาดที่พระชานุ (หัวเข่า) พระหัตถ์ซ้ายวางตรงหน้าพระเพลา (หน้าตัก) ในลักษณะอ่อนช้อย ส่วนด้านหลังเป็นหลังเรียบ แต่ด้วยผ่านกาลเวลามาเนิ่นนาน จึงมีรอยเหี่ยวย่นจากการหดตัวของเนื้อมวลสาร โดยสามารถแบ่งแยกพิมพ์ได้ 6 พิมพ์ คือ พิมพ์เข่าโค้ง, พิมพ์เข่าตรง, พิมพ์อกนูนใหญ่, พิมพ์สังฆาฏิ, พิมพ์เทวดา และ พิมพ์อกนูนเล็ก

พระนางพญาที่นำมาให้บูชานี้เป็นพระนางพญาคาดว่าสร้างขึ้นในภายหลังและบรรจุกรุที่วัดนางพญา ซึ่งทางวัดได้เปิดกรุ นำออกให้บูชา มีเนื้อหาสาระของพระดี ถือเป็นพระนางพญาที่บูชาทดแทนรุ่นเก่าได้

Other items you may be interested in:

ลูกแก้วมหาจินดามณี หลวงปู่ครูบาแก้ว กมฺมสุทโธ วัดร่องดู่ จ.พะเยา
ตะกรุดสามพันตึง(สัมพันธ์ตึง) ตำรับหลวงปู่หล้า วัดโพรงเข้ จ.ลพบุรี
พระขุนแผนกุมารทอง ตำรับเขมรโบราณ อาจารย์สรายุทธ สำนักติคญาโณ
ขุนแผนนางเหลียว เนื้อผงมวลสารพิเศษ กดพิมพ์ในฤกษ์ แจกกรรมการ สีเหลือง อาจารย์สมราชฐ์
พระพิฆเณศนะมหาสำเร็จ อาจารย์สมราชฐ์
ล็อคเก็ต หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง จ.ภูเก็ต
ชูชกเสาร์ 5 มหาเศรษฐี ปี 53 เนื้ออัลปาก้า หลวงพ่อเพี้ยน
ผ้ายันต์ม้าเสพนาง(อิ่นคู่ม้าเสพนาง)ตำรับล้านนาโบราณ อาจารย์สมราชฐ์ จ.เชียงใหม่
พระปิดตามหาลาภ รุ่นมหาลาภเขมโก ปี 2536 หลวงพ่อเกษม เขมโก
เหรียญพระธรรมญาณมุนี ปี 2515 วัดเขาวงพระจันทร์ จ.ลพบุรี
เหรียญแซยิด 6 รอบ ปี 2537 หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา
เหรียญหลวงพ่ออุตตมะ รุ่นสร้างเจดีย์ วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี