“มัดหมี่” เทคนิคการสร้างลายผ้าที่มีต้นแบบมาจากอินเดีย
ลวดลายในผ้าไหมไทยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.ลวดลายจากกรรมวิธีการทอ เช่น จก ยก ขิด ขัด 2.ลวดลายจากกรรมวิธีการเตรียมลวดลายเส้นด้ายก่อนทอ เช่น การมัดหมี่ 3.ลวดลายจากกรรมวิธีการทำลวดลายหลังจากเป็นผืนผ้า เช่น การย้อม การมัดย้อม บางครั้งก็จำแนกผ้าไหมไทยตามกรรมวิธีเทคนิคการทอสามารถจำแนกได้โดยสังเขป ดังนี้ การทอขัด, มัดหมี่, จก, ขิด, ยกและการควบเส้น
ผ้าไหมจึงมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามกระบวนการผลิตนั่นเอง
สำหรับผ้ามัดหมี่ หรือผ้าที่ได้จากการ “มัดหมี่” พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทออธิบายคำว่า
“มัดหมี่ กรรมวิธีการทอผ้าอย่างหนึ่งที่สร้างลวดลายก่อนย้อม โดยเอาเชือกมัดด้ายหรือไหมเป็นเปลาะๆ ตามลาย เมื่อย้อมสีจะไม่ติดตามส่วนที่มัดไว้ ทำให้เกิดลวดลาย ถ้าต้องการให้มีหลายสีก็ต้องย้อมหลายครั้งจนครบสีที่ต้องการ การย้อมทำได้ 2 วิธีคือ การย้อมเส้นยืนตามความยาวของผ้า และการย้อมเส้นพุ่งซึ่งสามารถสร้างลายได้ไม่จำกัดความยาวของผ้า…”
กรรมวิธีมัดหมี่ที่กล่าวมานั้น โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียมี “อินเดีย”เป็นต้นแบบ
อินเดียนั่นเป็นแหล่งผลิตสิ่งทอที่สำคัญของโลกตั้งแต่โบราณ เช่น การทอผ้าฝ้าย, การพิมพ์ลายผ้าด้วยมือ รวมถึงการมัดหมี่ ผ้ามัดหมี่ในอินเดียเรียกว่า “ผ้าปาโตลา” มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแคว้นคุชราต สร้างลวดลายด้วยการมัดหมี่ทั้งเส้นยืนและเส้นพุ่ง (ขณะทีการมัดหมี่ส่วนใหญ่จะเลือกมัดบนเส้นพุ่ง หรือเส้นยืนอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น) ลวดลายของผ้าปาโตลาจึงคมชัด ผ้าปาโตลาจัดเป็นผ้าไหมมัดหมี่ที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย
ภาพจิตรกรรมผ้านุ่งของชายหญิงที่เป็นลวดลายมัดหมี่บนฝาผนังในถ้ำอาชันตายืนคือหลักฐานที่ยืนยันว่า อินเดียมีการทอผ้าที่ใช้การมัดหมี่ตั้งมากว่าพันปี โดยเข้ามาในเมืองไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คงมาพร้อมๆ กับการเผยแผ่ศาสนาพุทธ
แต่เทคนิคการสร้างลายผ้าด้วยการมัดหมี่ มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ผ้าปาโตลา-อินเดีย, ผ้าโฮล-กัมพูชา, ผ้าลีมา-มาเลเซีย, ผ้ากาซือริ-ญี่ปุ่น, ผ้าแจสเป-กัวเตมาลา, ผ้าซินเหม่-เมียนมา เป็นต้น ในประเทศไทยแม้ชื่อ “มัดหมี่” จะรู้จักกันโดยทั่วไป แต่ในภาคเหนือก็ชื่อที่ท้องถิ่นนิยมเรียกว่า “มัดก่าน” หรือ “คาดก่าน”
ส่วนลวดลายที่สร้างนั้น ล้วนแต่มีพื้นฐานจากลวดลายเรขาคณิต การมัดหมี่ทุกชนิดของทุกประเทศต้องมีหลักการคำนวณตั้งแต่การเรียบเรียงเส้นด้าย เพื่อกำหนดความกว้างยาวของหน้าผ้า, การมัดเส้นด้ายแบ่งเป็นกลุ่มๆ เพื่อเป็นการกำหนดจำนวนเส้นด้านแต่ละลวดลาย ฯลฯ
ลวดลายมัดหมี่จึงประกอบด้วย เส้นตรง, เส้นทแยง, หักมุม, ซิกแซ็ก ฯลฯ แต่ก็มีความพยายามที่จะสร้างลวดลายที่โค้งมนและอ่อนช้อย เลียนแบบสิ่งของต่างๆในธรรมชาติ เช่น ก้อนเมฆ, คลื่น, ดอกไม้ ด้วยการมัดหมี่เส้นพุ่ง, มัดหมี่เส้นยืน หรือการมัดหมี่ทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน
ข้อมูลจาก
ระบบสารสนเทศศูนย์อนุรักษ์ผ้าไหม เว็บไซต์ กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ศ.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ.พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทออธิบาย, สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, พฤษภาคม 2559
เผ่าทอง ทองเจือ, ผศ.ดร.กิตติกรณ์ นพอุดมพันธ์. มัดหมี่สายสัมพันธ์แห่งเอเชีย, ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์กรมหาชน), กันยายน 2559
เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์เมื่อ 31 มีนาคม 2563
Source: https://www.silpa-mag.com/history/article_47717
The post “มัดหมี่” เทคนิคการสร้างลายผ้าที่มีต้นแบบมาจากอินเดีย appeared first on Thailand News.
More Stories
คนไทยเห็น “จิงโจ้” ครั้งแรกเมื่อใด? ทำไม “แกงการู” ในไทยถึงเรียกว่า “จิงโจ้”?
ภาพจิงโจ้เกาะหัวเรือสำเภาจิตรกรรมลายรดน้ำในวัดโพธิ์ ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกุมภาพันธ์ 2525 ผู้เขียน เอนก นาวิกมูล เผยแพร่ วันพฤหัสที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 แกงการู ถูกบัญญัติว่าคือจิงโจ้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 หลักฐานเก่าสุดเท่าที่ค้นได้ส่อให้เห็นว่า ตัวแกงการู ในภาษาอังกฤษ...
ข้าวมาบุญครอง ยี่ห้อข้าวสารบรรจุถุงรายแรกที่จำหน่ายในประเทศไทย
ข้าวสารบรรจุถุงในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2551 (AFP PHOTO/Pornchai KITTIWONGSAKUL) ก่อนปี 2527 การซื้อข้าวสารมาบริโภคโดยทั่วไปไม่ได้ซื้อกันเป็นถุงอย่างทุกวันนี้ ครอบครัวใหญ่ หรือร้านอาหารจะซื้อข้าวครั้งละกระสอบ หรือครึ่งกระสอบ (ข้าวสาร 1 กระสอบ หนัก 100 กิโลกรัม) ครอบครัวเล็กซื้อทีละถัง...
ก่อนมีน้ำแข็งในสยาม คนโบราณทำน้ำให้เย็นอย่างไร?
ล้อมวงดื่มเหล้า จิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนที่น้ำแข็งจะเข้ามาสู่สยาม การทำให้น้ำเย็นนั้นไม่ได้ใช้วิธีซับซ้อนอะไร ชาวต่างชาติมีชื่อว่า เฟรดเดอริก อาร์เธอร์ นีล ที่เดินทางเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 3 บันทึกถึงการทำน้ำให้เย็น โดยเฉพาะจำพวกน้ำเมาอย่างแชมเปญ เขาบันทึกถึงเรื่องนี้ ขณะที่ได้รับเชิญไปงานเลี้ยงของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ วิธีทำให้น้ำเย็นนี้ ใช้วิธีเดียวกับที่ทำในอินเดีย...
ไกลบ้าน “ฉบับราษฎร์” เขียนดีจนได้คำนิยมจากรัชกาลที่ 5
พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพาธส่งเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 พ.ศ. 2450 บนเรือพระที่นั่งมหาจักรี เมื่อพูดถึง “ไกลบ้าน” มักถึงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หากยังมีหนังสืออีกเล่มที่ชื่อ “ไกลบ้าน” เหมือนกัน เนื้อหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเสด็จประพาสยุโรปของพระพุทธเจ้าหลวงเช่นกัน แต่ผู้เขียนเป็นมหาดเล็กคนหนึ่งที่มีโอกาสเสด็จฯ ในครั้งนั้น นอกจาก “คนเขียน” แล้ว...
วัดร้างบางบอน? (วิหารหลวงพ่อขาว) วัดนิรนามอันศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนหลงลืมไปตามเวลา
ภายในวิหารหลวงพ่อขาว ได้รับการปรับปรุงจนสะอาดหมดจด มีหลังคาโค้งกันแดดฝนแก่องค์พระพุทธรูปและผู้มากราบไหว้บูชา ด้านหลังเคยมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ด้วยแต่หักโค่นไปแล้ว ที่มา นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับตุลาคม 2556 ผู้เขียน ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 ในพื้นที่ที่เรียกกันว่า “บางขุนเทียน” ในปัจจุบัน...
พระพุทธสำคัญของล้านช้าง? ที่สยามเชิญมาประดิษฐานในประเทศ
(จากซ้าย) พระแซกคำ, พระแสน (เมืองมหาชัย), พระฉันสมอ พระพุทธรูปสำคัญในไทย จำนวนหนึ่งเชิญมาแต่เขตล้านช้างคือเมืองเวียงจันท์ และเมืองอื่นทางตะวันออกหลายองค์ เป็นพระพุทธรูปสร้างที่อื่น ตกไปอยู่ในอาณาเขตล้านช้าง โดยประวัติบ้าง สร้างขึ้นในเขตล้านช้าง แต่เมื่อยังเป็นประเทศศรีสัตนาคนหุตบ้าง พระพุทธรูปที่สร้างทางเขตล้านช้างมักเรียกกันว่าฝีมือช่างลาวพุงขาว นอกจาก พระแก้วมรกต (เดิมประดิษฐานอยู่ล้านนา ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาเชิญไปล้านช้าง) และพระบาง (ภายหลังเชิญกลับล้านช้าง) ที่เชิญมาสยามในสมัยกรุงธนบุรีแล้ว ช่วงรัชกาลที่...
ทางรถไฟสยาม สมัยรัชกาลที่ 5 ถึง รัชกาลที่ 7 สู่ยุคความเร็วและย่นเวลาเดินทาง
ชานชาลารถไฟ สถานีกรุงเทพฯ เมื่อก่อสร้างครั้งแรก (ภาพจาก หนังสือการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๔๓๙-๒๕๑๒) นับตั้งแต่มีการนำเครื่องจักรไอน้ำมาติดตั้งในพาหนะ การขนส่งในศตวรรษที่ 19 ก็เข้าสู่ยุคสมัยของการปฏิวัติ พาหนะแรกที่เดินด้วยกำลังเครื่องจักรไอน้ำอย่าง “เรือกลไฟ” ได้ท่องไปทั่วมหาสมุทร และเข้าไปมีบทบาทเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศตามการใช้งานของชาติมหาอำนาจ สำหรับประเทศสยาม เรือกลไฟลำแรกที่แล่นเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 จากความสนใจในหมู่ชนชั้นนำทำให้เกิดการวิจัยและพัฒนาในช่วงสั้นๆ...
นานาทัศนะตำนานรัก “มะเมียะ” กับ “เจ้าน้อยศุขเกษม” สังคมไทยคิดเห็นอย่างไร?
เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) หรือเจ้าน้อยศุขเกษม ถ่ายภาพกับเจ้าบัวชุม ณ เชียงใหม่ ผู้เป็นภรรยา (ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ) ตำนานความรักคลาสิกในสังคมไทยเรื่องหนึ่งคงหนีไม่พ้นเรื่อง “มะเมียะ” ที่ผู้เขียนอย่างคุณปราณี ศิริธร ณ พัทลุง เผยแพร่ลงในหนังสือ “เพ็ชรล้านนา” และ “ชีวิตรักเจ้าเชียงใหม่” กระทั่งดังเป็นพลุแตกเมื่อจรัล มโนเพ็ชร นำมาแต่งเป็นเพลงจนตำนานรักเรื่องนี้เป็นที่จดจำของผู้คนมาจนถึงทุกวันนี้ คุณธเนศวร์ เจริญเมือง...
รัชกาลที่ 4 ทรง “เอาใจใส่” ธรรมยุตนิกาย จนเกิดพระราชนิยมใหม่? ในหมู่เจ้านาย
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างการผนวช 27 พรรษา รัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนา “ธรรมยุตินิกาย” เมื่อพระองค์เสวยราชสมบัติธรรมยุตินิกายก็เฟื่องฟู และเป็นที่ศรัทธาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เจ้านายและพระบรมวงศานุวงศ์ รัชกาลที่ 4 ทรงกําหนดให้เจ้านายและพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงผนวชเฉพาะธรรมยุติกนิกาย และทรงกําหนดความแตกต่างของ ตำแหน่ง “สมเด็จพระสังฆราช” ที่มาจากสามัญชนและเจ้านาย...
สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ “เจ้าฟ้าปัญญาดี” ความหวังของรัชกาลที่ 5
สมเด็จ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ “เจ้าฟ้าปัญญาดี” ความหวังของรัชกาลที่ 5 “…ความหวังใจอยู่ในลูก ว่าจะมาช่วยแบกหามความลำบากของพ่อ เมื่อเวลาแก่และโทรมลงพอให้เปนที่เบาใจบ้าง เปนความจริงพ่อรู้สึกความชรามาถึงบ้างแล้ว จึงทำให้มีความวิตกวิจารณ์ในการภายน่ามาก…” เป็นข้อความหนึ่งในพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่โปรดพระราชทาน จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระราชโอรสขณะกำลังทรงศึกษาวิชาการทหารอยู่ในประเทศเยอรมนี ข้อความตอนนี้แสดงถึงความหวังของพระองค์ที่ทรงมีต่อพระราชโอรสพระองค์นี้ในการที่จะทรงสำเร็จการศึกษาเสด็จกลับมาช่วยแบ่งเบาพระราชภาระ และความหวังของพระองค์ก็ทรงได้รับการตอบสนองจากพระราชโอรสพระองค์นี้อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเรื่องราชการบ้านเมือง หรือเรื่องส่วนพระองค์...
ค้นร่องรอยญาติอินจัน ปรากฏชายชื่อ “นายชู/ลุงบัด” ในสมุดภาพของทายาทแฝดสยาม
(ซ้าย) ภาพถ่าย อิน-จัน (ขวา) ภาพที่พบในสมุดภาพของลูกสาวคนหนึ่งของอิน-จัน ไม่มีคำบรรยายกำกับข้างหลังภาพ ภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม, ฉบับกันยายน 2548 ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกันยายน 2548 ผู้เขียน วิลาส นิรันดร์สุขศิริ เผยแพร่ วันพุธที่ 15...
การรับมือโรคระบาดสมัย ร.5 รัฐยุคใหม่เลิกไล่ผี-พิธีสวด เปลี่ยนมาใช้การแพทย์ตะวันตก
ผู้เขียน อ.ดร. ชาติชาย มุกสง อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เผยแพร่ วันพฤหัสที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2564 เมื่อรัชกาลที่ 5 ไม่ทรงเชื่อว่าพิธีอาพาธพินาศมาจากพระพุทธเจ้า แล้วเลิกไล่ผีเปลี่ยนมาจัดการด้วยการแพทย์ตะวันตกในอรุณรุ่งของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การแก้ไขจัดการโรคระบาดที่มนุษย์เผชิญในทุกสังคมนั้นต่างมีความเปลี่ยนแปลงมาตามรูปแบบของรัฐและบทบาทหน้าที่ของรัฐ ดังนั้น ก่อนหน้ารัฐสมัยใหม่แม้รัฐจะไม่ได้มีหน้าที่ป้องกัน ควบคุม และรักษาเยียวยาความเจ็บป่วยคนในสังคมภาวะปกติ ซึ่งเป็นหน้าที่ของครอบครัวชุมชนเป็นหลัก แต่ในสถานการณ์ไม่ปกติอย่างเกิดโรคระบาดรุนแรง รัฐมีหน้าที่สำคัญในการจัดการผู้คนจากโรคระบาดกันทั้งสิ้น สมัยโบราณโรคระบาดรวดเร็วรุนแรงที่ส่งผลให้คนตายมาก ๆ คนไทยเรียกว่า โรคห่า แต่เดิมหมายถึง 3 โรคคือ ทรพิษเก่าแก่สุด ต่อมาใช้เรียกอหิวาตกโรคและกาฬโรคที่ระบาดหนักหน่วงช่วงเปลี่ยนผ่านสยามเป็นรัฐสมัยใหม่ตรงกับยุคสมัยอาณานิคม...