พระสมเด็จนางพญา เฉลิมพระชนพรรษา 6 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ (สีเขียว)
รหัส : c1931
ราคา : 300.00
พระสมเด็จนางพญา เฉลิมพระชนพรรษา 6 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
ประวัติและพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่
เพื่อให้การจัดสร้างวัตถุมงคลฯ ครั้งนี้ได้มีความสมบูรณ์พร้อมตามวัตถุประสงค์คณะกรรมการดำเนิน
โครงการฯ จึงได้กำหนดวิธีการประกอบพิธีอย่างถูกต้องตามประเพณีโบราณ ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา
เพื่อให้ได้วัตถุมงคลที่เข้มขลังเอกอุไปด้วยพลังแห่งพุทธาภิเษกมวลสาร ชนวนโลหะ ที่ใช้ในการสร้างวัตถุมงคลฯ พิธีเททอง
และพิธีมหาพุทธาภิเษกรวมทั้งสิ้น 16 ครั้ง
พิธีพุทธาภิเษกมวลสารพระเนื้อผง การลงทอง และจารแผ่นพระยันต์จะประกอบพิธีพุทธาภิเษก 7 เสาร์
7 อังคาร ณ พระอุโบสถวัดสำคัญรวม 15 วัด
ครั้งที่ 1 วันอังคาร ที่ 6 มกราคม ประกอบพิธี ณ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 2 วันอังคาร ที่ 27 มกราคม ประกอบพิธี ณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 3 วันอังคาร ที่ 3 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ครั้งที่ 4 วันเสาร์ ที่ 7 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา
ครั้งที่ 5 วันเสาร์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 6 วันเสาร์ ที่ 6 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 7 วันเสาร์ ที่ 27 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 8 วันอังคาร ที่ 30 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดพระเชตุพนวิมงมังคลาราม (วัดโพธิ์) ก.ท.ม.
ครั้งที่ 9 วันเสาร์ ที่ 17 เมษายน ประกอบพิธี ณ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 10 วันอังคาร ที่ 27 เมษายน ประกอบพิธี ณ วัดห้วยมงคล จังหวัดประจวบศีรีขันธ์
ครั้งที่ 11 วันเสาร์ ที่ 15 พฤษภาคม ประกอบพิธี ณ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 12 วันเสาร์ ที่ 29 พฤษภาคม ประกอบพิธี ณ วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 13 วันอังคาร ที่ 1 มิถุนายน ประกอบพิธี ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 14 วันอังคาร ที่ 29 มิถุนายน ประกอบพิธี ณ วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
ครั้งที่ 15 พิธีเททองและพุทธาภิเษกทองชนวนโลหะ
คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม
ราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินเททองและเสด็จเป็นองค์ประธานประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดา
ราม ซึ่งได้นำความกราบบังคมทูลแล้วในราวเดือนมกราคม 2547 สำหรับทองชนวนโลหะที่นำมาจัดสร้างวัตถุมงคลฯ ใน
ครั้งนี้ คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ได้รับความเมตตาจากพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธีรวมเป็นจำนวน 2,588 แผ่น ซึ่งได้
จารแผ่นพระยันต์เพื่อพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ และสังฆานุภาพ อย่างถูกต้องตามโบราณพิธี
ครั้งที่ 16 พิธีมหาพุทธาภิเษก
กำหนดประกอบพิธีเมื่อการจัดสร้างวัตถุมงคฯ ทุกชนิดเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วจะนำไปประกอบ
พิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในราวเดือน มิถุนายน 2547 คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ
จะนำความกราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ ต่อไป สำหรับโลหะที่นำมาจัดสร้างในครั้งนี้ นอกจากการลงแผ่นพระยันต์ทองคำ นาก
เงิน และทองแดงอย่างละ 108 แผ่น รวมทั้งนะปถมังอย่างละ 14 แผ่น แล้วยังได้ลงดวงประสูติ และดวงตรัสรู้ ของสมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกชุดละ 2 แผ่น อีกทั้งยังได้นำชนวนโลหะจากโครงการสร้างพระสำคัญๆ มารวมในการสร้างวัตถุ
มงคลฯ ในครั้งนี้ด้วย
สำหรับมวลสารและชนวนโลหะที่จะนำมาสร้างพระกริ่งและพระเนื้อผงนั้น คณะกรรมการ
ดำเนินโครงการฯ ได้รับความเมตตาอย่างดียิ่งจากพระคณะจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทุกจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดละ 9 รูป
รวม 684 รูป ได้เมตตาอธิษฐานจิตและลงจารแผ่นโลหะรวมทั้งได้รับมวลสารผงเถ้าธูปและดินจากสังเวชนียสถานอันศักดิ์
สิทธิ์ ในประเทศอินเดีย เนปาล และสถานที่ประดิษฐานองค์เจ้าแม่กวนอิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากประเทศจีน รวมทั้งชนวน
โลหะจากการสร้างพระกริ่ง 90 พรรษาสมเด็จย่า ปี 2533 ชนวนโลหะ จากการสร้างวัตถุมงคลเฉลิมพระเกียรติ 5 รอบ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ปี 2535 และชนวนโลหะจากการสร้างวัตถุมงคลเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ปี 2542
พระดีมีคุณค่าน่าบูชาสะสม