ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

“หมอนทอง-ดี” เรียนหรอย- เรียนดี ยะลา เตรียมเปิดจองออนไลน์ ปลายสิงหานี้

“หมอนทอง-ดี” เรียนหรอย- เรียนดี ยะลา เตรียมเปิดจองออนไลน์ ปลายสิงหานี้

เปิดตัวทุเรียนคุณภาพ “หมอนทอง-ดี” หอม อร่อย ปลอดสารพิษ แปลงต้นแบบเกษตรกร ชาว ต.บุดี อ.เมืองยะลา พร้อมเปิดจองผ่านออนไลน์ปลายเดือนสิงหาคม นี้

เปิดสวนสวย ทุเรียนคุณภาพแปลงใหม่ ในเนื้อที่ 5 ไร่ หมอนทอง-ดี บุดี อ.เมืองยะลา ซึ่งขณะนี้กำลังให้ผลผลิตโตสวยงาม เตรียมเก็บเกี่ยวปลายเดือนสิงหาคม พร้อมเปิดออนไลน์สั่งจองให้ลองลิ้มชิมรสชาติ

โดยเกษตรกรผู้ปลูกมือใหม่ ได้ดูแล บำรุงรักษา แปลงต้นแบบเรียนรู้ตามระบบ กระบวนการโรงเรียนเกษตรกร เพื่อการพัฒนาคุณภาพผลิตจนเก็บเกี่ยว ตามมาตรฐาน GAP รับรองคุณภาพปลอดสารพิษ 100% ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ เกษตรอำเภอ เกษตรตำบล ได้ลงมาให้ความรู้ ให้คำแนะนำ ตั้งแต่ การปลูก การดูแลบำรุงต้น ผล การตัดแต่งกิ่ง การให้ปุ๋ย การใช้เทคโนโลยีระบบการให้น้ำอัจฉริยะ เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ตลอดจน การใช้สารเคมีกำจัดโรคครากเน่าและโคนเน่า

นายนิติศักดิ์ ไพเราะ เจ้าของแปลง ม.4 ต.บุดี ได้เล่าให้ฟังว่า พื้นที่ตรงนี้เดิม เป็นนาร้าง ทุ่งนา จากนั้นได้มีโครงการขุดลอก เป็นร่องของรัฐบาลเข้ามา ซึ่งตนเองก็สนใจที่จะลองปลูกทุเรียนดู ทุเรียนก็ขึ้น แต่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เป็นดินทุ่งนา ดินเหนียว บางที่ดินทราย ได้เพียงเล็กน้อย พื้นที่ 5 ไร่ ก็ปลูกทุเรียนหมอนทอง 140 ต้น ทั้งเล็ก ใหญ่ปลูกเรื่อยๆ ปีนี้อายุทุเรียน 8 ปีกว่า ถึงกันยา ก็จะครบ 9 ปี ออกดอกตั้งแต่ ระยะ 5 ปีแรกให้เห็น ปีที่ 6 ติดลูก 2 ลูก ปีที่ 7 ปีที่แล้วได้กิน พอมาปีนี้ออกดอกเยอะมาก แต่จากสภาพภูมิอากาศ มีฝน มีน้ำเยอะ ทำให้ต้นที่สมบูรณ์แตกยอด ตอนช่วงออกดอกเต็มออกทุกกิ่งสมบูรณ์มากฝนมามาก เยอะร่วงหมดเลย ทางเจ้าหน้าที่เกษตรก็ได้เข้ามาให้คำแนะนำการฉีดพ่นยา พยายามทำตาม ทำให้มีลูกเหลือให้เห็น บ้าง ประมาณ ต้นละ 30 ลูก ไม่กี่ต้น เช่นเดียวกับสวนทุเรียนที่อื่น ซึ่งจะมีผลผลิตไม่มาก หลังได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

ตอนนี้ทางสำนักงานเกษตร ได้ให้คำแนะนำการทำแปลงใหญ่ทุเรียน ด้วย ของตนเองมีพื้นที่ปลูกอยู่ 5 ไร่ ใกล้เคียงมีอยู่หลายแปลง อนาคตก็จะเป็นแปลงใหญ่ ซึ่งข้อดีของแปลงใหญ่ ก็จะได้รับความรู้ ได้รับคำแนะนำในด้านการทำทุเรียนคุณภาพ การตลาดต่างๆ สำหรับการปลูกทุเรียนต้องใช้ความรู้จากทางเจ้าหน้าที่ เข้ามาสอนด้วย อย่างทุเรียนเป็นโรค การบำรุงรักษา เราเป็นชาวบ้าน ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ปลูกแบบชาวบ้าน เดิมๆ ตายหลายรอบแล้ว ทางเกษตรก็เข้ามาช่วยต้นที่จะตายด้วยโรครากเน่าโคนเน่า มาฉีดยาต้นทุเรียน 2 ต้น ที่กำลังจะตาย ตอนนี้ก็ออกดอกให้เห็น และออกลูกมาไม่งั้นเราจะต้องเสียเวลาปลูกใหม่ ชาวบ้านแถวนี้ก็ ไม่รู้เหมือนกัน เป็นมือใหม่ในการปลูก

ในขณะที่ นางสาววันวิสาข์ จั่นเพชร เกษตรอำเภอเมืองยะลา บอกว่า เริ่มต้นแปลงนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนเป็นแปลงระบบน้ำอัจฉริยะ จะทำงานอัตโนมัติ ในการรดน้ำ ให้ปุ๋ย และทางเกษตรอำเภอเมือง ได้เข้ามาทำเป็นโรงเรียนเกษตรกร ด้วย มีการไลฟ์ facebook ให้ทางแฟนเพจของ สำนักงานเกษตร อ.เมืองยะลา ได้ดูวิธีการดูแลรักษา เนื่องจากแปลงนี้เป็นโรครากเน่าโนเน่า 2 ต้น เจ้าของก็ถอดใจแล้ว ทางเราก็ได้มาทดลองกันโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ นำลงสู่พื้นที่เพื่อขยายให้เกษตรกรรอบๆ ได้ดูด้วย รวมไปถึงทำเป็นแปลงต้นแบบ โดยใช้หลักการ แนวคิดการตลาดนำการผลิตเข้ามาจับ แปลงนี้จะเป็นแปลงเดียวที่มีผลผลิตออกมาบริเวณนี้ ก็เลยทำแบรนด์หมอนทอง-ดี โดยทางเกษตรตำบล ได้ทำโลโก้ เปิดจองปลายเดือนสิงหาคม นี้ อันนี้ ถือว่าเป็นทุเรียนคุณภาพตั้งแต่ต้น การดูแลรักษา ติดผล ห่อผล เป็นการทดลองไปด้วย อาทิ การให้เนื้อ ก็จะห่อด้วยถุงสีแดง เปลือกจะบางเนื้อจะหนาขึ้น ซึ่งเป็นระยะทดลองด้วยในแปลงนี้

สำหรับผู้ที่สนใจจะชิมรสชาติ แบรนด์หมอนทอง-ดี จริงๆ ก็เป็นพันธุ์หมอนทอง มาผสมกับ คำว่า บุดี ก็จะมาเป็นหมอนทอง-ดี สามารถติดต่อเพิ่มเติมได้ที่ facebook หมีดำ เกษตร หรือ 089-7393276 ส่วนราคาตอนนี้ ยังไม่ได้ตั้ง ต้องรอดูเปอร์เซ็นต์ความสุกก่อน ว่าขนาดไหน ขณะเดียวกันทุกลูก สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้

นอกจากนี้ ทางเกษตรอำเภอเมืองยะลา ยังได้ให้คำแนะนำ ผู้ปลุกทุเรียนให้หมั่นดูแลสังเกต ต้นทุเรียน ระวังโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งจะพบตามลำต้น มีน้ำเยิ้มๆ ออกมา ในช่วงที่มีฝนมาก หากมีข้อสงสัยให้ติดต่อสอบถามขอคำแนะนำ การดูแลรักษา ได้ที่ทางเจ้าหน้าที่เกษตรในพื้นที่ได้

ข้อมูล 

https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220618074240966

 

Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร : Read More