
2469 รถไฟมาถึงจังหวัดสุรินทร์ ความเจริญ-ของอร่อย ของแปลกที่มาพร้อมกัน
ชาวบ้านเดินเลียบทางรถไปที่อยู่บนเนินดินสูง (ภาพจาก หนังสือ100 เรื่องเมืองสุรินทร์)
เรื่องการเดินรถไฟถึงจังหวัดสุรินทร์เป็นครั้งแรกนั้นเป็นอย่างไร ไพบูลย์ สุนทรารักษ์ เขียนไว้ในบทความชื่อ ข่าวรถไฟ เมื่อปี 2469 ว่าเมื่อ 90 กว่าปีก่อน ความเจริญก็ดี, ของใหม่แปลกก็ดี ที่มาพร้อมกับรถไฟจากกรุงเทพมหานครมีอะไรบ้าง
ไพบูลย์ สุนทรารักษ์ นั้นเป็นชาวสุรินทร์ เกิดในช่วงปลายรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2454-2467) เริ่มเรียนหนังสือในปี 2469 ซึ่งในปีนั้นรถไฟมาถึงจังหวัดสุรินทร์ บันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับรถไฟนี้จึงเป็นประสบการณ์ตรงของเขา ซึ่งในที่นี้ขอสรุปบางส่วนมานำเสนอ
ไพบูลย์เล่าว่า เมื่อรถไฟมาถึงจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้คนในเมือง (สุรินทร์) ต่างก็พูดคุยกันว่า อีกไม่นานรถไฟจะมาถึงจังหวัดสุรินทร์ ประเด็นสนทนาในเวลาจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับรถไฟ และสิ่งที่จะมากับรถไฟ เป็นสำคัญ
วันที่ 1 พฤษภาคม 2469 รถไฟก็แล่นมาถึงจังหวัดสุรินทร์ ผู้คนแตกตื่นไปดูกันแน่นขนัด พร้อมกับเสียงเล่าลือว่า รถไฟหลวงมีผีสิง เพราะทับคนตายบ่อย ไหนจะคนขับที่เป็นคนแขก หน้าตาน่ากลัว ในระยะแรกรถไฟจึงเป็นของน่ากลัวที่ใครๆ ก็ไม่กล้าเข้าใกล้
รถไฟหัวรถจักรไอน้ำในยุคแรกๆ ที่ลือกันว่ามีผีสิง เพราะทับคนตายบ่อย (ภาพจาก หนังสือ100 เรื่องเมืองสุรินทร์)
ก่อนรถไฟจะมาถึง ผู้ใหญ่บอกว่า รถไฟจะมาพร้อมกับของกินจากกรุงเทพฯ เช่น ปลาทูเค็ม ปลาทูนึ่ง ส้มโอหวาน ทุเรียนกวน ฯลฯ และเมื่อรถไฟมาถึงจริง ก็เป็นเช่นนั้น ทั้งที่จังหวัดสุรินทร์ก็มีส้มโอกิน แต่ก็ไม่หวานอร่อยสู้ส้มโอบางกอก ราคาลูกละ 10 สตางค์ ที่มาพร้อมกับรถไฟไม่ได้ หรืออาหารทะเลอย่าง ปลาทูนึ่ง เข่งละ 5 สตางค์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าอร่อยก็เริ่มให้กิน ฯลฯ
ของประหลาด หรือจริงๆ คือสัตว์หน้าตาประหลาดอีกอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ได้รู้จักกันเมื่อรถไฟถึงสุรินทร์ก็คือ ปูทะเล ที่ชาวจีนนำมาขาย คนพากันมุงดูปูทะเลด้วยความแปลกใจ ว่ามันคืออะไรหน้าตาดูประหลาด ยิ่งเห็นเชือกที่มัดทั้งขาและตัว ทำให้ยิ่งดูน่ากลัวมากกว่าน่ากิน ถึงกลับมีบางคนบอกว่าถ้าเชือกที่มัดขาปูขาด ต้องรีบวิ่งช้าไม่ได้ เพราะมันจะกินคน [สันนิษฐานว่าคงเป็นการพูดหยอกเด็กๆ]
รถไฟยังนำพาความเจริญอื่นๆ มาด้วย เช่น คนจีนเดินทางมายังจังหวัดสุรินทร์มากขึ้น, พื้นที่หลังสถานีรถไฟเดิมเป็นท้องนา ก็กลายเป็นตลาด มีห้องแถวไม้ปลูกสร้างขึ้นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีสิ่งอื่นๆ ที่ตามมากับรถไฟ เช่น โสเภณี, ร้านกาแฟ, ร้านขายสินค้าต่างๆ, โรงแรม มีการขุดดินตัดถนน (เป็นถนนดินไม่ลงหิน) จากสถานีรถไฟเข้าไปในเมือง ถนนสายนี้ปัจจุบันคือ ถนนธนสาร
ผู้คนจำนวนมากยืนอยู่หน้าเรือนแถวไม้ที่สร้างเป็นแถวยาวซึ่งเป็นบ้านและร้านค้า สองฟากถนนธนธนสาร ที่ปลายทางเป็นสถานีรถไฟ (ภาพจาก หนังสือ100 เรื่องเมืองสุรินทร์)
สุรินทร์กลายเป็นเมืองคึกคักอยู่นาน เพราะเป็นชุมทางรถไฟชั่วคราว หลายจังหวัดในภาคอีสานต้องเดินทางมาขึ้นรถไฟที่จังหวัดสุรินทร์เพื่อเดินทางไปโคราชหรือกรุงเทพฯ รถไฟเป็นเรื่องใหญ่ของคนยุคนั้นอยู่นาน มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับรถไฟมากมาย จนเมื่อทางรถไฟผ่านเมืองสุรินทร์ไปแล้ว ความสนุกสนาน ความตื่นเต้นต่างๆ ก็ลดลง เพราะปลายทางรถไฟไปอยู่ที่เมืองศรีสะเกษและอุบลราชธานี
ข้อมูลจาก: ไพบูลย์ สุนทรารักษ์. “ข่าวรถไฟ เมื่อปี 2469” ใน, 100เรื่องเมืองสุรินทร์ (1), สำนักพิมพ์เมืองสุรินทร์, เมษายน 2551
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 10 สิงหาคม 2563
Source: https://www.silpa-mag.com/history/article_53930
The post 2469 รถไฟมาถึงจังหวัดสุรินทร์ ความเจริญ-ของอร่อย ของแปลกที่มาพร้อมกัน appeared first on Thailand News.
More Stories
ฝนตกหนัก-น้ำท่วมใหญ่ ในเมืองหลวง ที่คนกทม. แต่ละรุ่นต้องเผชิญมา
น้ำท่วมสี่แยกบางพลัด ต้นเดือนพฤศจิกายน 2554 (ภาพจากห้องสมุดภาพมติชน) ผู้เขียน เสมียนนารี เผยแพร่ วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2565 ฝนตกน้ำท่วม ดูจะกลายเป็นคำและส่วนขายที่อยู่คู่กันจนคุ้นเคย เพราะฝนตกเมื่อใด ก็มักมีน้ำท่วมขังตามมาบ่อยครั้ง แต่ประสบการณ์ฝนตกน้ำท่วมของคนกรุงเทพฯ แต่ละรุ่น แต่ละยุค ย่อมจดจำต่างกันไป คนหนุ่มสาวอายุ...
ตู้เย็น มาจากไหน มาตั้งแต่เมื่อไหร่
ตู้เย็นของบริษัทเคลวิเนเตอร์ พ.ศ. 2469 ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะ John and Mable Ringling ฟลาริดา อเมริกา ผู้เขียน คนไกล วงนอก เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ.2565 ในวันที่อุณหภูมิความร้อนพุ่งสูงเสมือนจะทะลุปรอท ถ้าเปิด...
ถนน “พัฒน์พงษ์” มาจากไหน?
ภาพถ่ายป้ายถนนพัฒน์พงศ์ โดย Harrison Forman ราวทศวรรษ 1960 (ภาพจาก University of Wisconsin-Milwaukee Libraries) ถนนพัฒน์พงษ์ เป็นถนนสายสั้น ๆ เชื่อมระหว่างถนนสุรวงศ์ และถนนสีลม ชื่อถนนสายนี้มีที่มามาจากชื่อบรรดาศักดิ์ของ “หลวงพัฒน์พงศ์พาณิช” หลวงพัฒน์พงศ์พาณิชเป็นชาวจีนไหหลำ เดิมชื่อ จีนพัด...
คลอง “แสนแสบ” ชื่อนี้มาจากไหน หรือจะมาจากยุง?
คลองแสนแสบ ภาพจาก “ห้องสมุดภาพศิลปวัฒนธรรม” ผู้เขียน พัชรเวช สุขทอง เผยแพร่ วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ.2565 “คลองแสนแสบ” เมื่อคนส่วนใหญ่ได้ยินชื่อนี้ ก็จะนึกถึงนวนิยายชื่อดังของไม้ เมืองเดิม อย่างเรื่อง “แผลเก่า” หรือบทเพลงอมตะของชาลี อินทรวิจิตร ที่ชื่อเพลงว่า “แสนแสบ” คลองแห่งนี้ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ฉากในวรรณกรรมหรือเนื้อร้องในบทเพลงเท่านั้น แต่เป็นคลองที่มีอยู่จริง...
คำสาปของสายน้ำ “น้ำของ-น้ำโขง” และ “น้ำคง-น้ำสาละวิน” เคยเป็นเพื่อนรักกัน?
แม่น้ำโขงที่ไหลผ่านเมืองเชียงแสน ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ มีนาคม 2547 เผยแพร่ วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2565 มีเรื่องที่เล่ากันมานานในหมู่คนแห่งลุ่มน้ำโขงและสาละวินว่า แม่น้ำโขงและสาละวินไม่ถูกกัน หากเดินทางในแม่น้ำโขงห้ามพูดถึงแม่น้ำสาละวิน หากเดินทางในแม่น้ำสาละวินห้ามพูดถึงแม่น้ำโขง คนท้องถิ่นมักเรียกแม่น้ำโขงว่า “ของ” และเรียกแม่น้ำสาละวินว่า “คง” ชาวไทยใหญ่เล่ากันว่า...
แรกมี ‘น้ำมันก๊าด’ ใช้ในสยาม ราษฎรไม่คุ้นชินจนเกิดไฟไหม้หลายคดี
วัดชนะสงคราม ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณหน้าวัดมีรถรางไฟฟ้าวิ่งบนถนนจักรพงษ์ ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤษภาคม 2558 ผู้เขียน ดร. นนทพร อยู่มั่งมี เผยแพร่ วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ.2565 การให้แสงสว่างแก่ที่พักอาศัย ในยุคที่กรุงเทพฯ ยามค่ำคืนปราศจากแสงไฟฟ้าซึ่งต้องพึ่งพาแสงสว่างจากตะเกียงน้ำมันเป็นหลัก และแม้จะมีไฟฟ้าในกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2427 แต่แสงสว่างชนิดนี้จำกัดอยู่เฉพาะการใช้งานของรัฐ เช่น ตามท้องถนนบางสาย กับตามบ้านเรือนของผู้มีฐานะซึ่งต้องซื้อหาอุปกรณ์และจ่ายค่าไฟในราคาสูง การที่แสงสว่างจำกัดส่งผลต่อกิจวัตรของผู้คน เช่น ความบันเทิง และการสัญจรของราษฎร เช่นที่ขุนวิจิตรมาตรากล่าวถึงวิถีชีวิตในกรุงเทพฯ ยามค่ำคืน ดังนี้ “มหรสพสมัยโน้น (ยังไม่มีไฟฟ้า) แสดงแต่วันข้างขึ้น ราวขึ้น 8 ค่ำ ไปจนถึงประมาณสามทุ่ม พระจันทร์ยังสว่างอยู่ ข้างแรมเดือนมืดไม่มีแสดง โรงละครนฤมิตรที่วัดสระเกศเท่าที่ข้าพเจ้าจำได้แสดงตอนบ่าย พอถึงเย็นก็เลิก ต่อมาเมื่อข้าพเจ้าเริ่มไปอยู่กรุงเทพฯ มีไฟฟ้าแล้ว คือเพิ่งเริ่มจะมีโดยเฉพาะตามถนนนั้นขึงสายไฟฟ้าขวางระหว่างตึก ดวงโคมไฟฟ้าห้อยติดกับสายอยู่กลางถนนแต่สูงมาก แสงไฟก็ริบหรี่ไม่สว่าง คนเดินอาศัยร้านเจ๊กเขียนหวย ซึ่งมีตะเกียงกระจกตั้งโต๊ะสว่างไปสองข้างถนนระยะห่างๆ กันไปสว่างมากกว่าไฟฟ้า ไฟฟ้าเมื่อแรกมีนี้ ถ้าเป็นข้างขึ้นพระจันทร์สว่าง ไฟดับหมด พอถึงข้างแรมพระจันทร์มืดจึงเปิดไฟ สลับไปอย่างนี้ทุกข้างขึ้นข้างแรม ส่วนตามตึกบ้านเรือนที่ต้องการใช้ไฟฟ้า คิดค่าเช่าเป็นดวงๆ ละ 6 สลึง (หนึ่งบาทห้าสิบสตางค์) ดวงหนึ่งไฟ 10 แรงเทียน จะติดกี่ดวงก็ได้ตามราคาที่คิดเป็นดวง เท่าที่เห็นใช้กันเพียงหนึ่งหรือสองดวงเท่านั้น ไฟฟ้าดีอย่างหนึ่งเป็นการบอกเวลา คือเวลาสองทุ่มตรง ไฟจะดับแวบหนึ่งให้รู้ว่าสองทุ่ม ใครมีนาฬิกาก็ตั้งจากไฟฟ้าได้ทันที”...
เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนที่ใช้เวลาถึง 5 แผ่นดิน จึงได้ก่อสร้าง?
เขื่อนเจ้าพระยาทอดขวางแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาท มีสะพานเชื่อมพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำ และประตูน้ำติดกับเขื่อนเพื่อให้เรือล่องผ่านเขื่อนไปมาได้ ภาพถ่ายเมื่อเขื่อนเปิดใช้งาน พ.ศ. 2500 (ภาพจาก “ประวัติศาสตร์ชัยนาท”) เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนทดน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างอยู่บนแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จังหวัดชัยนาท ในโครงการชลประทานใหญ่เจ้าพระยาใหญ่ ที่มีแนวคิดในการก่อสร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ก็มีอันต้องเลื่อนโครงการออกไปถึง 2 ครั้ง กว่าจะได้ลงมือดำเนินและแล้วเสร็จก็ผ่านมาถึงสมัยรัชกาลที่ 9 เหตุขัดข้องในการสร้าง...
เปิดชีวิต ฟรานซิส จิตร ช่างภาพรุ่นแรกของสยาม ช่างภาพหลวงถ่ายรูป ร.4-ร.5 สวยงาม
หลวงอัคนีนฤมิต (จิตร จิตราคนี) หรือ ฟรานซิส จิตร ช่างภาพหลวง ช่างภาพรุ่นแรกในสยาม ไม่ทราบปีที่ถ่าย (ภาพต้นฉบับจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, เผยแพร่ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกันยายน 2526) ภาพถ่ายไม่ได้เป็นเพียงแค่วัตถุบันทึกความทรงจำเบื้องหน้าในแง่มุมต่างๆ เท่านั้น ในเส้นทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ การถ่ายภาพสะท้อนทัศนคติ ความเชื่อ เทคโนโลยี...
เมืองพิษณุโลก เคยมีอีกชื่อว่า “เมืองชัยนาท” จริงหรือ? เรื่องนี้มีที่มาอย่างไร
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก ศูนย์กลางศักดิ์สิทธิ์ของราชวงศ์สุโขทัยที่เมืองสองแคว-พิษณุโลก (ภาพถ่ายทางอากาศเมื่อ พ.ศ.2489 โดย วิลเลียมส์ ฮันท์) เมืองพิษณุโลก ในทางประวัติศาสตร์มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกสองชื่อ คือเมืองสองแควกับเมืองชัยนาท “สองแคว” เป็นชื่อที่รู้จักกันดีโดยทั่วไปว่าเป็นชื่อดั้งเดิมของเมืองพิษณุโลก เพราะมีแม่น้ำสองสายไหลผ่านเมือง คือแม่น้ำน่านกับแม่น้ำแควน้อย แม่น้ำน่านที่ไหลผ่านตัวเมืองนั้นเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน แม่น้ำแควน้อยนั้นไหลจากเทือกเขาทางทิศตะวันออกลงแม่น้ำน่านเหนือตัวเมืองขึ้นไปประมาณ 20 กิโลเมตร แต่ในอดีตแม่น้ำแควน้อยก่อนที่จะไหลลงแม่น้ำน่านนั้น ได้ไหลวกลงใต้ขนานกับแม่น้ำน่านโดยผ่านเมืองสองแคว มีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุหรือวัดพระพุทธชินราชเป็นศูนย์กลางเมือง ตั้งอู่ระหว่างกลางขนาบโดยแม่น้ำทั้งสองสาย แม่น้ำแควน้อยไหลลงแม่น้ำน่าน...
เหลือเชื่อ! เมื่อชาวโพลินีเซียนสามารถย้าย “อารยธรรม” ของตนเองได้ด้วยเรือเพียงลำเดียว
ชาวตาฮิติผู้สืบเชื้อสายมาจากโพลินีเซียน ภาพจากWikimedia ผู้เขียน ศิวกร โรจน์ขจรนภาลัย เผยแพร่ วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2565 โพลินีเซีย (Polynesia) คือ กลุ่มหมู่เกาะกว่า 1,000 เกาะ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคโอเชียเนีย หมู่เกาะเหล่านี้อยู่กระจัดกระจายไปทั่วทั้งในบริเวณตอนกลาง และตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก โดยในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศเอกราช เช่น นิวซีแลนด์,...
ทางรถไฟสายมรณะ อยู่ในไทย แต่ไม่ใช่ของไทย และไทย[จำต้อง]ซื้อ
สะพานข้ามแม่น้ำแคว (ภาพจาก “หนังสือพิมพ์โรงพิมพ์การรถไฟ พ.ศ. 2514” ของคุณประวิทย์ สังข์มี) ที่มา เสมียนนารี เผยแพร่ วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2565 หากกล่าวถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ่งหนึ่งที่หลายคนคิดถึงกันก็คือ “ทางรถไฟสายมรณะ” ที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งปัจจุบันการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย...
ตามรอย “วัดท่าทราย” บริเวณที่ตั้ง ปืนใหญ่ปราบหงสา วัดเก่าแก่ที่ถูกลืมในอยุธยา
ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤศจิกายน 2550 ผู้เขียน ปวัตร์ นวะมะรัตน เผยแพร่ วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2565 วัดท่าทราย ตั้งอยู่ริมคลองประตูข้าวเปลือกฝั่งตะวันออก ด้านทิศเหนือของเกาะเมืองศรีอยุธยา ตรงข้ามกับวัดราชประดิษฐาน ไม่พบประวัติว่าสร้างขึ้นแต่เมื่อใด แต่สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นวัดเดียวกับที่ปรากฏชื่ออยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ....