
จับได้ “คาหนังคาเขา” สำนวนนี้มีที่มาอย่างไร?
ภาพเด็กชายขี่ควายที่จังหวัดสุโขทัย ถ่ายเมื่อ ค.ศ. 1936 (ภาพจาก University of Wisconsin-Milwaukee Libraries)
ปศุสัตว์ที่เลี้ยงไว้เป็นแรงงานและบริโภคอย่าง “วัว” และ “ควาย” มีความสำคัญต่อสังคมเกษตรกรรมมาแต่โบราณ มันจึงเป็นสัตว์ที่มีค่ามาก โจรผู้ร้ายจึงมักลักวัวควายไปขาย-เชือด จนเป็นที่มาของสำนวน “คาหนังคาเขา”
“คาหนังคาเขา” เป็นสำนวนที่ใช้เมื่อจับผู้ร้ายลักวัวควายไปเชือด เจ้าทรัพย์ตามจับได้ขณะเชือดพร้อมทั้ง “หนัง” และ “เขา” จึงเป็นที่มาของสำนวนดังกล่าว บ้างใช้ผิดว่า “คาหลังคาเขา” ที่ถูกคือ “คาหนังคาเขา” ใช้สำนวนนี้กันมาตั้งแต่ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ [1]
สำหรับเรื่องการลักวัวควายนั้น ในหนังสือ “ชาติเสือไว้ลาย” [2] ที่ศึกษาเรื่อง “เสือ” หรือ “โจร” ในสยามสมัยรัชกาลที่ 5 ได้อธิบายว่า มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ การปล้นในเวลากลางวัน และการปล้นในเวลากลางคืน ดังนี้
การปล้นในเวลากลางวัน จะกระทำกันในตอนที่เจ้าทรัพย์ต้อนวัวควายไปเลี้ยงนอกบ้าน มีการเตรียมตัวเหมือนกับการปล้นเรือน ต่างกันที่เมื่อไปถึงที่หมายแล้ว โจรจะยิงปืนให้คนเลี้ยงตกใจหนีไป ผู้เป็นสายจะหลบอยู่ในป่าในพงข้างทาง เมื่อได้วัวควายแล้วจะต้อนไปในเส้นทางที่นิยมต้อนฝูงเดิน เพื่อไม่ให้ใครตามรอยเท้าได้ อาจมีการวางกับดักขวากหนามไว้คอยสกัดผู้ติดตาม เมื่อแน่ใจว่าไม่มีผู้ใดตามทันแล้ว โจรจะปันส่วนควายกัน ส่วนใหญ่การปล้นในเวลากลางวันนี้จะปล้นในเวลาบ่าย ทั้งนี้เวลาต้อนวัวควายหนี วัวควายจะไม่หอบและเหนื่อยมาก
การปล้นในเวลากลางคืน จะปล้นวัวควายที่ขังคอกบริเวณบ้าน เนื่องจากวัวควายอยู่ใกล้เจ้าทรัพย์จึงต้องปล้นในเวลาดึก เจ้าทรัพย์จะได้ไม่เห็นหน้าโจร เมื่อไปถึงบริเวณคอก โจรจะยิงปืนให้เจ้าทรัพย์หรือคนเฝ้าหนีไป จากนั้นก็ถอดคอกแล้วต้อนวัวควายหนีไป บางครั้งอาจแสร้งทำอุบายอย่างอื่นให้เกิดความโกลาหลทำให้สะดวกในการปล้น เช่น การลอบวางเพลิง เป็นต้น
ส่วนวัวควายที่ปล้นได้จะต้องขายทอดไปโดยเร็ว เพราะเจ้าทรัพย์มักออกติดตาม เมื่อได้วัวควายแล้วโจรมักขายต่อกันเป็นทอด ๆ รีบขายโดยไวเพื่อไม่ให้เจ้าทรัพย์ติดตามได้ทันการณ์ ก่อนที่จะเอาวัวควายมาใช้แรงงานหรือเชือดสำหรับบริโภค วัวควายลักษณะนี้เป็น “ของร้อน” ดังนั้น ก่อนการปล้นจึงต้องติดต่อผู้ซื้อไว้ก่อน
หากเมื่อเจ้าทรัพย์ไปเจอวัวควายของตน (ทั้งมีชีวิตหรือเป็นซาก) อยู่กับโจรผู้ร้ายหรือโรงเชือด จับได้ขณะกำลังทำผิด หรือมีของกลางอยู่ที่ตัว จึงเรียกตามสำนวนที่ว่า (จับได้) “คาหนังคาเขา”
อ้างอิง :
[1] ความหมายของคำ. (2516). ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์, อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสว่าง เจริญวิทย์ ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม วันพฤษหัสบดีที่ 5 เมษายน พุทธศักราช 2516. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.
[2] ชาติเสือไว้ลาย. (2551). พีรศักดิ์ ชัยได้สุข. กรุงเทพฯ : มติชน.
เผยแพร่เนื้อหาในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565
Source: https://www.silpa-mag.com/history/article_82929
The post จับได้ “คาหนังคาเขา” สำนวนนี้มีที่มาอย่างไร? appeared first on Thailand News.
More Stories
เมืองเชียงทอง ในขุนช้างขุนแผน อยู่ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
“พลายแก้ว(ขุนแผน) ได้นางลาวทองกลับกรุงศรีอยุธยา” จิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องขุนช้างขุนแผนที่ระเบียงคดรอบวิหารหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี จิตรกรผู้วาดภาพ เมืองสิงห์ จันทร์ฉาย ผู้เขียน สุจิตต์ วงษ์เทศ เผยแพร่ วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ.2565 “เมืองเชียงทอง” ในกลอนเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นเมืองในจินตนาการของคนแต่งปัจจุบันคือบ้านจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่...
ทำไม “เจ้านายไทย” สมัยก่อนใช้ชีวิตกลางคืนตื่นบรรทม 6 โมงเย็นแม้ราชการใช้เวลาออฟฟิศแล้ว
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ในรัชการที่ 5 (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) ราชการไทยเริ่มทำงานแบบเต็มเวลาในระบบแบบ “ออฟฟิศ” ตามตะวันตกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่เมื่อบุคลากรจากต่างแดนเข้ามาประสบตารางเวลาทำงานของเจ้านายไทยในราชวงศ์จักรีแล้วก็ยังแปลกใจกับการทำงานที่ เจ้านาย หลายพระองค์ทรงใช้ชีวิต (ทั้งทรงงานและการส่วนพระองค์) ในเวลากลางคืน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นช่วงที่เริ่มนำระบบทำงานแบบเต็มเวลาในออฟฟิศมาใช้ในระบบราชการเป็นครั้งแรกเมื่อ...
ทูตต่างประเทศ ยุคก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 พำนักอยู่บริเวณไหนในกรุงเทพ?
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เซอร์จอห์น เบาริ่ง อัครราชทูตอังกฤษ เข้าเฝ้า (ภาพจิตรกรรมเทิดพระเกียรติกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ วาดโดย นคร หุราพันธ์ ปัจจุบันแขวนอยู่ภายในอาคารรัฐสภา) “แขกรัฐบาล” ที่เป็นทูตต่างประเทศ เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ ในสมัยก่อนรัชกาลที่ 5 พำนักอยู่บริเวณไหน? ในสมัยรัชกาลที่ 1 ไม่มีการบันทึกถึงที่พำนักของทูตในกรุงเทพฯ...
แรกมี “คลองมหาสวัสดิ์” คลองแห่งพระราชศรัทธาของรัชกาลที่ 4
คลองมหาสวัสดิ์ บริเวณวัดสาลวัน ไม่ระบุปีที่ถ่าย (ภาพจากหนังสือ มหาสวัสดี 150 ปี มหานทีพระราชทาน, โครงการศิลปศาสตร์อาสา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2553) ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาชว์ภูริชญ์ น้อมเนียน ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยแพร่...
แรกมีน้ำบาดาลใช้ บ่อแห่งแรกของไทยที่เจาะกันกลางกรุงเทพฯ อยู่ตรงไหน?
การขุดเจาะบ่อบาดาล พื้นที่หมู่ 8 ต.ชัยนาม อ.วังทอง จ.พิษณุโลก เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้งกว่า 300 หลังคาเรือน วันที่ 7 พฤษภาคม 2563 (ภาพจากห้องสมุดภาพมติชน) การใช้น้ำบาดาล เริ่มต้นจากประเทศในแถบเอเซียกลาง ทั้งในประเทศอียิปต์ และอิหร่าน ซึ่งมีมาตั้งแต่ประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช...
ตีแผ่ขุนนาง-เจ้านายข่มเหงราษฎรสมัยร.4 ชาวบ้านไร้ที่พึ่ง ต้องพึ่งพระเจ้าแผ่นดิน
ภาพประกอบเนื้อหา – ฉากทะเลาะในละครเรื่องไกรทอง (ภาพจากหนังสือ “ร้องรำทำเพลง : ดนตรีและนาฏสิลป์ชาวสยาม”) ในยุคสมัยที่ยังมีระบบไพร่และทาสอยู่ เอกสารบันทึกหลักฐานต่างๆ ปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับการข่มเหงไพร่ทาสราษฎรให้เห็นกันอยู่หลายส่วน เอกสารอย่างพระราชพงศาวดารยังปรากฏเนื้อหาเล่าถึงเรื่องเจ้านายและเจ้าหน้าที่ในราชการกระทำตามอำเภอใจเรื่อยมาจนถึงในสมัยรัชกาลที่ 4 พระราชพงศาวดารรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 มีใจความตอนหนึ่งว่า “ในแผ่นดินนั้น พระเจ้าลูกเธอและตำรวจมีอำนาจเที่ยวเกาะกุมราษฎรชาวบ้านมาชำระความตามอำเภอใจ แล้วฉุกบุตรหลานหญิงสาวชาวบ้านเอาไปเป็นห้าม ทำดังนี้เนือง ๆ...
ร้านขายข้าวแกงมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่?
ร้านข้าวราดแกงในกรุงเทพฯ ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2007 (Photo by PORNCHAI KITTIWONGSAKUL / AFP) ส. พลายน้อย เขียนอธิบายใน “กระยานิยาย” ว่า คนไทยในอดีตไม่นิยมกินข้าวนอกบ้าน เพราะสมัยก่อนทำงานนอกบ้านเช่นทำไรทำนาก็เตรียมข้าวไปกินเอง หรือมีคนเอาไปส่ง คนที่กินข้าวนอกบ้านมีแต่พวกข้าราชการ ปรากฏหลักฐานในสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า “ร้านชำหุงข้าวแกงขายคนราชการ” โดยตั้งร้านอยู่บริเวณใกล้กับพระราชวัง ข้าวแกงในอดีตจึงนิยมกินกันในหมู่ข้าราชการ...
กรุงเทพมหานคร เมื่อประมาณร้อยปีก่อนหน้าเมืองเป็นอย่างไร
บริเวณปากคลองบางลำพู ในสมัยรัชกาลที่ 7 (ภาพจาก สมุดภาพประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์, กรมศิลปากร) กรุงเทพมหานคร หรือ จังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี ที่มีทั้งสิ้น 21 อำเภอ ในสมัยรัชกาลที่ 7 หรือเมื่อร้อยกว่าปีก่อน เมืองมีหน้าตาเป็นอย่างไร พอมีเค้าว่าจะเป็นอย่าง 50 เขต...
วัดกลางนา-วัดโพธาราม-วัดสะแก วัดเก่าสมัยอยุธยาอยู่ที่ไหนใน กทม.
ภาพถ่ายเก่า วัดชนะสงครามฯ หรือวัดกลางนา เมื่อราวปลายรัชกาลที่ 5 – ต้นรัชกาลที่ 6 วัดเก่าแก่ของบางลำพู ผู้เขียน คนไกล วงนอก เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ.2565 เมืองบางกอก หรือ กรุงเทพฯ...
คนอยุธยาผ่าน “เกาะเซนติเนลเหนือ” จริงหรือ? “สุนทรภู่” ได้ชื่อเกาะจากไหนใส่ “พระอภัยมณี”
(ซ้าย) ชาวเซนติเนล ในเกาะเซนติเนลเหนือ เล็งธนูมาที่เฮลิคอปเตอร์ของทางการอินเดีย เมื่อปี 2004 (ขวา) อนุสาวรีย์สุนทรภู่ จ.ระยอง เรื่องราวของเกาะเซนติเนลเหนือในหมู่เกาะอันดามัน เป็นเรื่องที่คนทั่วโลกสนใจ และเมื่อสืบค้นข้อมูลในช่วงปลายอยุธยาก็พบว่ามีคณะสงฆ์จากสยามเดินทาง “ผ่าน” หมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะนิโคบาร์ แต่ยังไม่พบหลักฐานชัดเจนว่าผ่านเกาะเซนติเนลเหนือ ขณะที่ชื่อเสียงของชนพื้นเมืองในหมู่เกาะแถบนี้ก็นำมาสู่ชื่อเกาะใน “พระอภัยมณี” ของสุนทรภู่ ข่าวจอห์น...
“ตุ่มสามโคก” หมายความว่าอย่างไร ทำไมต่อท้าย “ตุ่ม” ว่า “สามโคก” ?
หญิงสาวชาวสยามกับ ตุ่มสามโคก ภาพถ่ายเก่าสมัยรัชกาลที่ 5 (ฉากหลังเป็นทุ่งหญ้า ภาพประกอบเนื้อหาเท่านั้น) ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับมิถุนายน 2552 ผู้เขียน ภาษิต จิตรภาษา เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ.2565 สมัยเมื่อผมเป็นเด็ก เคยได้ยินผู้ใหญ่ท่านเปรียบเปรยผู้หญิงคนหนึ่งว่า...
กรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ 1 ผ่านฟ้าเปลี่ยวสุด พญาไทมีโขลงช้าง
บริเวณ “ผ่านฟ้า” ช่วงปลายรัชกาลที่ 4 ผู้เขียน คนไกล วงนอก เผยแพร่ วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ.2565 ผ่านฟ้า วันนี้เป็นแหล่งชุมชน ที่มีวัดวาอาราม, หน่วยงานราชการ, บ้านเรือนประชาชน, ร้านอาหารเจ้าอร่อย ฯลฯ และรถติด...