ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

ไทยเล็งผสานรวมความคิดสร้างสรรค์เข้ากับเทคโนโลยี ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่มองหาสินค้าไลฟ์สไตล์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ไทยเล็งผสานรวมความคิดสร้างสรรค์เข้ากับเทคโนโลยี ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่มองหาสินค้าไลฟ์สไตล์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เจ้าหน้าที่จากภาครัฐและนักธุรกิจในไทย ได้เปิดเผยในการประชุมและงานจัดแสดงสินค้าว่าด้วย BCG ซึ่งมีขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ที่กรุงเทพฯ ว่า บรรดาผู้ผลิตของตกแต่ง เฟอร์นิเจอร์ สินค้าแฟชั่น และสินค้าไลฟ์สไตล์อื่น ๆ ในไทย ต่างพร้อมใจขานรับความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นที่หมายตาของผู้บริโภคทั่วโลก โดยได้สร้างสรรค์โซลูชันล้ำสมัยตามทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่น และเข้ามามีบทบาทในการรีไซเคิลกันมากขึ้น ตามโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green หรือ BCG) และวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน

รัฐบาลไทยได้ยกให้โมเดลเศรษฐกิจแบบ BCG เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และช่วยบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศ นอกจากนี้ ไทยยังได้ประกาศให้ BCG เป็นจุดสำคัญเนื่องในโอกาสที่ไทยเป็นประธานการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (APEC) ตลอดทั้งปี 2565

ม.ล.คฑาทอง ทองใหญ่ เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า “ไทยอยู่แถวหน้าในฐานะผู้บุกเบิกหลักการ BCG เราสนับสนุนและส่งเสริมดีไซเนอร์ชาวไทย ธุรกิจเกี่ยวกับการออกแบบ เช่นเดียวกับสตาร์ทอัพสัญชาติไทย เพื่อเป็นแบบอย่างให้อุตสาหกรรมนี้ได้เดินตาม”

ผู้บริโภคและบริษัทหลายแห่งทั่วโลกหันมาเปลี่ยนตัวเองเป็นพลเมืองที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยผลการสำรวจด้านความยั่งยืนทั่วโลก (Global Sustainability Study) ประจำปี 2564 เผยให้เห็นว่า ผู้ตอบแบบสำรวจ 85% ได้เปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อของให้มีความยั่งยืนมากขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

บริษัทไทยซึ่งขึ้นชื่อในด้านงานฝีมือนั้น กำลังงัดใช้การออกแบบและเทคโนโลยีในการพลิกโฉมขยะจากธรรมชาติและอุตสาหกรรม ให้เป็นสินค้านานาประเภทที่ผู้บริโภคชื่นชอบแต่ขณะเดียวกันก็ยั่งยืนด้วย

คุณจิรชัย ตั้งกิจงามวงศ์ กรรมการผู้จัดการด้านการตลาดวิจัยและพัฒนา บริษัท อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์และวัสดุพื้นห้อง ซึ่งได้ร่วมจัดแสดงสินค้าคอลเลกชันใหม่ที่งานมิลาน ดีไซน์ วีค (Milan Design Week) กล่าวว่า “เราได้นำเศษวัสดุ เศษไม้ และขี้เลื่อยมาใช้ในสินค้าที่เราส่งออกไปญี่ปุ่นและที่อื่น ๆ มาระยะหนึ่งแล้ว แต่สิ่งที่เราทำในตอนนี้คือการมองปัญหาตั้งแต่ต้นลม โดยวางเป้าหมายในการลดขยะเหลือศูนย์ตั้งแต่ในขั้นการออกแบบ”

บริษัทอุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ยังเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับฉลาก DEWA/DEWI ด้วย ซึ่งย่อมาจาก Design from Waste of Agriculture (ออกแบบจากผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตร) และ Design from Waste of Industry (ออกแบบจากผลผลิตเหลือใช้ทางอุตสาหกรรม) ซึ่งรัฐบาลไทยได้คิดค้นขึ้นเพื่อส่งเสริมความริเริ่มในการรีไซเคิลอย่างสร้างสรรค์และพัฒนาวัสดุใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการผลิตสินค้าไลฟ์สไตล์

บริษัทอีกแห่งที่ได้รับฉลากนี้เช่นกันคือบริษัทนิว อาไรวา เจ้าของแบรนด์ควอลี่ (Qualy) ซึ่งผลิตของตกแต่งที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ ข่ายจับปลา ถุงและขวดพลาสติกเหลือใช้ที่นำมารีไซเคิลใหม่ บริษัทนิว อาไรวา ซึ่งเป็นขาประจำในงานแสดงสินค้าตกแต่งบ้านทั่วโลก ส่งออกสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ไปยังกว่า 50 ประเทศ

ด้านแบรนด์ UPCYDE ซึ่งเป็นผู้ผลิตรองเท้าแฟชั่นโดยนำผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตรจำนวนมากมาอัพไซเคิล เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนในอุตสาหกรรมแฟชั่นและการเกษตร ก็ได้รับฉลากนี้เช่นกัน โดย UPCYDE นำใบตองแห้งมาผสมกับยาง เพื่อสร้างวัสดุที่ทนทานขึ้นในรูปแบบวัสดุทดแทนหนังจากใบไม้

เมื่อความยั่งยืนกลายเป็นเป้าหมายของสังคมในการสร้างอนาคต ผู้สร้างสรรค์สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคจึงมีโอกาสที่สดใสรออยู่ ซึ่งทำให้ความหวังในการสร้างโลกที่เขียวชอุ่มปรากฏให้เห็นชัดเจนขึ้น

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1843905/BetheChange_DITP2.jpg

 

 

Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร : Read More