
“สุโขทัยไม่ใช่ราชธานีแห่งแรก” : สุจิตต์ วงษ์เทศ
วัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ผู้เขียน สุจิตต์ วงษ์เทศ
เผยแพร่ วันพฤหัสที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2564
สุโขทัย เป็นรัฐขนาดเล็กรัฐหนึ่ง มีดินแดนทางทิศใต้แค่เมืองพระบาง (นครสวรรค์) เท่านั้นดินแดนใต้ลงไปอีกเป็นของรัฐอยุธยาและรัฐสุพรรณภูมิ บริเวณคาบสมุทรเป็นของรัฐมลายูปัตตานี
ฉะนั้นสุโขทัยจึงไม่ใช่ราชธานีแห่งแรกของไทย เพราะก่อนหน้านั้นมีรัฐหลายแห่ง และร่วมสมัยสุโขทัยก็มีรัฐอื่นๆ อีกหลายแห่งที่สำคัญคือรัฐอโยธยา-ละโว้ ที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง สนับสนุนผลักดันให้เกิดรัฐสุโขทัย เพื่อกว้านทรัพยากรภายในส่งให้อโยธยา-ละโว้กับนานาชาติในยุคนั้น
มณฑป “พระอจนะ” วัดศรีชุม สุโขทัย ก่อนการบูรณะ ภาพถ่ายในราวสมัยรัชกาลที่ 6
สื่อสารด้วยภาษาไทย เมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชอาณาจักรสยามแห่งแรก ย่อมมีไพร่ฟ้าประชาราษฎรเป็นประชาชาติหลายชาติพันธุ์และหลายชาติภาษาตั้งหลักแหล่งอยู่ด้วยกัน แล้วสื่อสารด้วยภาษากลาง คือ ภาษาไทย
ภาษาเขมรเป็นราชาศัพท์ ส่วนราชสำนักกรุงศรีอยุธยายุคแรกเริ่มใช้ภาษาเขมร เพราะเป็นภาษาชั้นสูงสืบต่อมาจากทวารวดีและละโว้ที่ลพบุรี แล้วได้รับการยกย่องเป็นราชาศัพท์สืบจนถึงทุกวันนี้
คนไทย เมื่อภาษาไทยเป็นภาษากลาง อย่างน้อยทางการค้าภายใน ภาษาไทยจึงเป็นพลังสำคัญผลักดันทีละน้อยให้มีสำนึกตัวตนความเป็นไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
อักษรไทย ด้วยเหตุที่สื่อสารด้วยภาษาไทย แล้วเรียกตัวเองว่าคนไทย มีชนชั้นปกครองพูดภาษาไทย ฯลฯ จำเป็นต้องมีอักษรของตัวเอง
ส่งผลให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตในราชสำนักลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง (ก่อนยุคกรุงศรีอยุธยา) ยกย่องอักษรเขมร (ที่รู้จักทั่วไปว่าอักษรขอม) เป็นต้นแบบ จึงดัดแปลงเป็นอักษรไทยเขียนลงบนสมุดข่อย ที่เป็นเทคโนโลยีก้าวหน้าในยุคนั้น
ขณะเดียวกันก็ยังยกย่องอักษรเขมรเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์สืบต่อกันมา ใช้เขียนข้อความและเรื่องศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา เช่น ลงอักขระ และวรรณคดีชั้นสูงของราชสำนัก ฯลฯ แต่เรียกอักษรขอม
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก เมื่อ 25 มีนาคม พ.ศ.2562
Source: https://www.silpa-mag.com/history/article_29827
The post “สุโขทัยไม่ใช่ราชธานีแห่งแรก” : สุจิตต์ วงษ์เทศ appeared first on Thailand News.
More Stories
สัญลักษณ์แห่งตัวตน อนุสรณ์สถานการประท้วง กรณีเปรียบเทียบพม่า-ไทย
ลักษณะโดดเด่นประการหนึ่งของสมัยหลังอาญานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทุกวันนี้ คือการพยายามของชนชั้นปกครองที่จะ “ฟื้นฟูธรรมเนียมประเพณี” การฟื้นฟูนี้เป็นเสมือนการออกกำลังขุดหาอดีตเพื่อสืบหาจุดกำเนิดของรัฐชาติ เป็นผลจากความวิตกว่าธรรมเนียมประเพณีจะ “สูญหาย” ไปในกระบวนการพัฒนาและปรับประเทศให้ทันสมัย ความพยายามฟื้นฟูและอนุรักษ์ธรรมเนียมประเพณี หมายความว่าจะต้องมีคน (หรือองค์กรหน่วยงานราชการ) ตรวจสอบความแท้จริง (authenticity) ของธรรมเนียมประเพณีที่ฟื้นฟูแล้ว การรับรองความแท้จริงของธรรมเนียมประเพณี (หรือของอดีต) ต้องทำโดยผู้มีอำนาจหรือผู้ที่อ้างว่ามีอำนาจในการรับรองธรรมเนียมประเพณี ปัจจุบันนี้ ความแท้จริง (authenticity) มีความเกี่ยวข้องกับวาทกรรม (discourses) ด้านเอกลักษณ์ของชาติอย่างมาก เนื่องจากคุณค่าทางสัญลักษณ์และการพาณิชย์ของมรดกวัฒนธรรม มีคุณค่าด้านความหมายต่อโครงการสร้างชาติที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ประชาชนแต่ละสมัยจำเป็นต้องได้รับการศึกษาและปลูกฝังผ่านเรื่องเล่าของชาติ (narratives of nations) ซึ่งสำคัญต่อความทรงจำร่วมกัน (collective memories) ของทุกชุมชนในชาติ...
พระเจ้าหย่อนตีน กับ พระเจ้าจงกรม ที่วัดพระพายหลวง เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติตอนไหน?
พระเจ้าหย่อนตีนกับพระเจ้าจงกรมเป็นคำที่ปรากฏในจารึกวัดสรศักดิ์ พ.ศ. 1960 หมายถึง พระพุทธรูปลีลา ตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์และตอนยมกปาฏิหาริย์ พระพุทธรูปลีลาของสุโขทัยที่พบเป็นงานปูนปั้นประดับผนัง มักแสดงพุทธประวัติสองตอนนี้เสมอ เช่นที่ปรากฏบนผนังมณฑปของวัดตระพังทองหลางและมณฑปของวัดตึกในบริเวณเมืองเก่าสุโขทัย ที่มณฑปพระสี่อิริยาบถทางด้านทิศตะวันออกของวัดพระพายหลวง มีพระพุทธรูปลีลาขนาดใหญ่สององค์ก่ออิฐถือปูนติดไปกับแกนกลางของมณฑป ซึ่งนับว่าพิเศษกว่ามณฑปพระสี่อิริยาบถของวัดอื่นที่มีพระพุทธรูปลีลาเพียงองค์เดียว พระพุทธรูปลีลาบนผนังด้านทิศตะวันตกพังทลายจนหมดแต่เคยพบเศษเทวดาปูนปั้น ส่วนบนผนังทางด้านทิศตะวันออกยังคงเห็นเค้าโครงของพระวรกาย ทรงย่างพระบาทและยกพระกรซ้าย ผินพระวรกายไปทางด้านทิศเหนือ ด้านข้างมีภาพปูนปั้นรูปพระสาวกที่เหลือเพียงเท้า พระพุทธรูปลีลาบนผนังด้านทิศตะวันออกน่าจะหมายถึง “พระเจ้าจงกรม” ตอนแสดงมหาปาฏิหาริย์เพื่อสั่งสอนพวกเดียรถีย์ที่เมืองสาวัตถี อรรถกถาของนิกายเถรวาทระบุว่าพระพุทธองค์เสด็จขึ้นไปจงกรมแก้วบนต้นมะม่วง ที่ทรงปลูกไว้ท่ามกลางพุทธบริษัทเป็นลำดับแรก และเน้นอิริยาบถจงกรมของพระพุทธองค์มากกว่าอื่นใด การพบพบปูนปั้นรูปกิ่งก้านและผลของต้นมะม่วงอยู่ที่ซอกภายในมณฑปด้านทิศเหนือ จึงเป็นเครื่องยืนยันเป็นอย่างดีว่าพระพุทธรูปลีลาบนผนังด้านนี้คือพระเจ้าจงกรม ชวนให้นึกถึงพระพิมพ์ชินภาพยมกปาฏิหาริย์จากกรุปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ อยุธยา แสดงภาพพระพุทธรูปลีลาจงกรมแก้วอยู่โคนต้นมะม่วงพร้อมพระสาวกยืนพนมเรียงกัน หรือไม่ก็จงกรมบนยอดมะม่วงและมีพระสาวกยืนอยู่ที่โคนต้นมะม่วง พระพุทธรูปลีลาบนผนังด้านทิศตะวันตกจึงควรได้แก่ “พระเจ้าหย่อนตีน” ตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์ที่เมืองสังกัสสะ...
ข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า ทำไม รามเกียรติ์ (เรื่องราวในศาสนาพราหมณ์) ถึงมาวาดในวัดพระแก้ว (พุทธเถรวาท)
รามเกียรติ์ “พุทธ” ในวัดพระแก้ว ความรับรู้ที่มีต่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ของจิตรกรรมภาพรามเกียรติ์รอบพระระเบียงวัดพระแก้ว ซึ่งวาดขึ้นตามบทพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 1 ส่วนใหญ่มุ่งไปที่การเฉลิมพระเกียรติยศและแสดงพระบุญญาธิการของพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงเป็นองค์อวตารของพระนารายณ์ เพราะสอดคล้องกับทั้งตำแหน่งของวัดพระแก้วในฐานะพระอารามประจำพระบรมมหาราชวังทั้งการวาดภาพโดยอาศัยเค้าโครงจากบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 รวมไปถึงงานศิลปกรรมในรัชกาลที่ 1 ก็เต็มไปด้วยภาพรามเกียรติ์ แต่การอธิบายดังกล่าวก็ยังไม่อาจคลายข้อสงสัยได้ว่าเหตุใดภาพรามเกียรติ์อันเป็นเรื่องราวของพระเป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ จึงเป็นส่วนหนึ่งของงานประดับตกแต่งพระอารามในพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งมีความเคร่งครัดในตัวบทพระอรรถกถาบาลีเป็นสรณะ นักวิชาการด้านพุทธศาสนศึกษาผู้เชี่ยวชาญเรื่องนิกายเถรวาทอุษาคเนย์อย่างฟรองซัว บิซอท (François Bizot) ศึกษาความหมายเชิงสัญลักษณ์ของภาพรามเกียรติ์รอบระเบียงคดของวัดพระแก้ว...
พระพุทธชินราช พระพุทธรูปงามที่กษัตริย์ตั้งแต่กรุงศรีฯ-กรุงเทพฯ ทรงศรัทธา
“…ตั้งแต่ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธมานักแล้ว ไม่เคยรู้สึกว่าดูปลื้มใจจำเริญตาเท่าพระพุทธชินราชเลย…ถ้าพระพุทธชินราชยังคงอยู่ที่พิษณุโลกตราบใด เมืองพิษณุโลกจะเป็นเมืองที่ควรไปเที่ยวอยู่ตราบนั้น ถึงในเมืองพิษณุโลกจะไม่มีชิ้นอะไรเหลืออีกเลย ขอให้มีแต่พระพุทธชินราชเหลืออยู่แล้ว ยังคงจะอวดได้อยู่แล้ว ยังคงจะอวดได้อยู่เสมอว่ามีของควรดูควรชมอย่างยิ่งอย่างหนึ่งในเมืองเหนือหรือจะว่าในเมืองไทยทั้งหมดก็ว่าได้…” พระราชปรารภของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงความงามของพระพุทธชินราช จึงไม่น่าแปลกใจที่พระประธานในโบสถ์หรือวิหารทั่วไป มักจำลองแบบพระพุทธชินราชจำลอง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ไปประดิษฐาน และความงามนี้เอง พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์จึงเสด็จมาทรงสักการะ สมัยกรุงศรีอยุธยา หลังชนะศึกที่เมืองหงษาวดี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จพระราชดำเนินนมัสการพระพุทธชินราช และทรงเปลืองเครื่องต้น ทรงถวายเป็นสักการะบูชาพระพุทธชินราช...
พระที่นั่งอนันตสมาคม “สถาปัตยกรรมหินอ่อนแห่งสยาม”
พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งหินอ่อนองค์เดียวในสยาม พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งหินอ่อนองค์เดียวในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับพระราชวังดุสิต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๐ ซึ่งเป็นวันเดียวกับงานพิธีรัชมังคลาภิเษกสมโภชสิริราชสมบัติครบ ๔๐ ปีบริบูรณ์ของพระองค์ท่านโดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เขียนกระแสพระบรมราชโองการบรรจุในศิลาพระฤกษ์ด้วย เมื่อการก่อสร้างดำเนินไปได้ ๒ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างจนแล้วเสร็จในปี...
อิทธิพล “ความสว่าง” ยามค่ำ เมื่อแรกมีไฟฟ้าในสยาม สู่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชาวกรุงเทพฯ
โรงแรมโทรคาเดโร สถานบันเทิงยามค่ำคืนของกรุงเทพฯ (ภาพจาก วิลาส บุนนาค 1910-2000. กรุงเทพฯ, 2000 ใน “กรุงเทพฯ ยามราตรี” (สำนักพิมพ์มติชน, 2557) หน้า 6) ในหนังสือ กรุงเทพฯ ยามราตรี โดยวีระยุทธ ปีสาลี ได้ศึกษาประวัติศาสตร์สังคมของคนในกรุงเทพฯ ตั้งแต่รัชกาลที่ 5...
เมืองเชียงทอง ในขุนช้างขุนแผน อยู่ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
“พลายแก้ว(ขุนแผน) ได้นางลาวทองกลับกรุงศรีอยุธยา” จิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องขุนช้างขุนแผนที่ระเบียงคดรอบวิหารหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี จิตรกรผู้วาดภาพ เมืองสิงห์ จันทร์ฉาย ผู้เขียน สุจิตต์ วงษ์เทศ เผยแพร่ วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ.2565 “เมืองเชียงทอง” ในกลอนเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นเมืองในจินตนาการของคนแต่งปัจจุบันคือบ้านจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่...
ทำไม “เจ้านายไทย” สมัยก่อนใช้ชีวิตกลางคืนตื่นบรรทม 6 โมงเย็นแม้ราชการใช้เวลาออฟฟิศแล้ว
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ในรัชการที่ 5 (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) ราชการไทยเริ่มทำงานแบบเต็มเวลาในระบบแบบ “ออฟฟิศ” ตามตะวันตกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่เมื่อบุคลากรจากต่างแดนเข้ามาประสบตารางเวลาทำงานของเจ้านายไทยในราชวงศ์จักรีแล้วก็ยังแปลกใจกับการทำงานที่ เจ้านาย หลายพระองค์ทรงใช้ชีวิต (ทั้งทรงงานและการส่วนพระองค์) ในเวลากลางคืน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นช่วงที่เริ่มนำระบบทำงานแบบเต็มเวลาในออฟฟิศมาใช้ในระบบราชการเป็นครั้งแรกเมื่อ...
ทูตต่างประเทศ ยุคก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 พำนักอยู่บริเวณไหนในกรุงเทพ?
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เซอร์จอห์น เบาริ่ง อัครราชทูตอังกฤษ เข้าเฝ้า (ภาพจิตรกรรมเทิดพระเกียรติกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ วาดโดย นคร หุราพันธ์ ปัจจุบันแขวนอยู่ภายในอาคารรัฐสภา) “แขกรัฐบาล” ที่เป็นทูตต่างประเทศ เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ ในสมัยก่อนรัชกาลที่ 5 พำนักอยู่บริเวณไหน? ในสมัยรัชกาลที่ 1 ไม่มีการบันทึกถึงที่พำนักของทูตในกรุงเทพฯ...
แรกมี “คลองมหาสวัสดิ์” คลองแห่งพระราชศรัทธาของรัชกาลที่ 4
คลองมหาสวัสดิ์ บริเวณวัดสาลวัน ไม่ระบุปีที่ถ่าย (ภาพจากหนังสือ มหาสวัสดี 150 ปี มหานทีพระราชทาน, โครงการศิลปศาสตร์อาสา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2553) ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาชว์ภูริชญ์ น้อมเนียน ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยแพร่...
แรกมีน้ำบาดาลใช้ บ่อแห่งแรกของไทยที่เจาะกันกลางกรุงเทพฯ อยู่ตรงไหน?
การขุดเจาะบ่อบาดาล พื้นที่หมู่ 8 ต.ชัยนาม อ.วังทอง จ.พิษณุโลก เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้งกว่า 300 หลังคาเรือน วันที่ 7 พฤษภาคม 2563 (ภาพจากห้องสมุดภาพมติชน) การใช้น้ำบาดาล เริ่มต้นจากประเทศในแถบเอเซียกลาง ทั้งในประเทศอียิปต์ และอิหร่าน ซึ่งมีมาตั้งแต่ประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช...
ตีแผ่ขุนนาง-เจ้านายข่มเหงราษฎรสมัยร.4 ชาวบ้านไร้ที่พึ่ง ต้องพึ่งพระเจ้าแผ่นดิน
ภาพประกอบเนื้อหา – ฉากทะเลาะในละครเรื่องไกรทอง (ภาพจากหนังสือ “ร้องรำทำเพลง : ดนตรีและนาฏสิลป์ชาวสยาม”) ในยุคสมัยที่ยังมีระบบไพร่และทาสอยู่ เอกสารบันทึกหลักฐานต่างๆ ปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับการข่มเหงไพร่ทาสราษฎรให้เห็นกันอยู่หลายส่วน เอกสารอย่างพระราชพงศาวดารยังปรากฏเนื้อหาเล่าถึงเรื่องเจ้านายและเจ้าหน้าที่ในราชการกระทำตามอำเภอใจเรื่อยมาจนถึงในสมัยรัชกาลที่ 4 พระราชพงศาวดารรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 มีใจความตอนหนึ่งว่า “ในแผ่นดินนั้น พระเจ้าลูกเธอและตำรวจมีอำนาจเที่ยวเกาะกุมราษฎรชาวบ้านมาชำระความตามอำเภอใจ แล้วฉุกบุตรหลานหญิงสาวชาวบ้านเอาไปเป็นห้าม ทำดังนี้เนือง ๆ...