
สำเพ็ง เป็นภาษามอญ? สำรวจความเป็นมาของชื่อที่มีหลายข้อสันนิษฐาน
ภาพถ่ายทางอากาศย่าน สำเพ็ง บริเวณวัดปทุมคงคา โดย นายปีเตอร์ วิลเลียมส์ ฮันต์ เมื่อ พ.ศ. 2489
สำรวจความเป็นมาของชื่อ สำเพ็ง ฤาจะเป็นภาษามอญ? แต่ก็มีข้อสันนิษฐานถึงที่มาของคำนี้หลายประการ
“บางจีน” ย่านคนจีนก่อนย้ายไป สำเพ็ง
“บางจีน” เป็นย่านคนจีนสมัยอยุธยา-ธนบุรี น่าจะมีตั้งแต่หลังขุดคลองลัดบางกอกในแผ่นดินสมเด็จพระไชยราชา ราว พ.ศ. 2080 พื้นที่บางจีนน่าจะมีอาณาบริเวณตั้งแต่ท่าช้างวังหน้า, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ท่าพระจันทร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ), ท่าช้างวังหลวง, ท่าเตียน
หัวหน้าชุมชนจีน ชื่อตำแหน่งว่า “พระยาราชาเศรษฐี”
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จะสร้างพระราชวังใหม่ ฝั่งตะวันออกกรุงธนบุรี จึงให้พวกคนจีนไปอยู่ที่ใหม่เรียก สำเพ็ง มีในพระราชพงศาวดารว่า
“ให้พระยาราชาเศรษฐี ยกพวกจีนลงไปตั้งบ้านเรือนใหม่ ณ ที่สวนตั้งแต่คลองใต้วัดสามปลื้ม ลงไปจนถึงคลองเหนือวัดสามเพ็ง” [พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กรมศิลปากร พิมพ์ พ.ศ. 2542 หน้า 231]
ชาวจีนที่ถูกย้ายจากบางจีนไปอยู่ย่านใหม่ ปัจจุบันรู้จักทั่วไปชื่อ “สำเพ็ง” เป็นบริเวณกว้างตั้งแต่วัดจักรวรรดิ [วัดสามปลื้ม] วัดสัมพันธวงศ์ [วัดเกาะ] ถึงวัดปทุมคงคา [วัดสำเพ็ง]
แผนที่กรุงเทพฯ สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แสดงชุมชนคนจีนสมัยอยุธยา, ธนบุรี, รัตนโกสินทร์
ชื่อ “สำเพ็ง” หลายข้อสันนิษฐาน
สำหรับชื่อ “สำเพ็ง” มีหลายข้อสันนิษฐานถึงที่มาของชื่อนี้ เช่น เชื่อว่าเป็นชื่อที่เพี้ยนมาจากคำว่า “สามเพ็ง” ซึ่งเป็นชื่อวัดและชื่อคลองที่อยู่ละแวกนั้น คนจีนในย่านเดียวกันชินกับการออกเสียงสั้น จึงทำให้จาก “สามเพ็ง” กลายเป็น “สำเพ็ง” ในทุกวันนี้
หรืออีกข้อสันนิษฐานเชื่อว่า เพี้ยนมาจาก “สามแผ่น” ที่หมายถึงลักษณะภูมิประเทศของย่านที่มีคลองขวาง 2 คลอง ได้แก่ คลองเหนือวัดสำเพ็ง และคลองวัดสามปลื้ม ทำให้ตัดแผ่นดินเป็นสามตอน หรือสามแผ่น ต่อมาจึงเพี้ยนไปตามสำเนียงคนจีนกลายเป็น “สำเพ็ง” หรืออาจเพี้ยนมาจากคำว่า “สามแพร่ง” ที่เป็นลักษณะของภูมิประเทศเช่นกัน
หรืออีกข้อสันนิษฐานว่า มาจากชื่อพืชตระกูลเฟิร์นชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายใบโหระพา เรียกว่า “ลำเพ็ง” ซึ่งพบเห็นมากในบริเวณนี้ ผู้คนจึงเรียกกันว่า “ลำเพ็ง” และเพี้ยนมาเป็น “สำเพ็ง” ในภายหลัง
“สำเพ็ง” เป็นภาษามอญ
จิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวว่า สำเพ็งเป็นภาษามอญ หมายถึง เจ้าขุนมูลนาย เจ้าใหญ่นายโต, ผู้มีอำนาจวาสนาบารมี, เสนาบดี [ความเป็นมาของคำสยามฯ ของ จิตร ภูมิศักดิ์ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2519]
น่าเชื่อว่าเดิมสมัยอยุธยา “สำเพ็ง” เป็นชุมชนมอญ-เขมร
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก เมื่อ 25 มกราคม พ.ศ.2563
Source: https://www.silpa-mag.com/history/article_44692
The post สำเพ็ง เป็นภาษามอญ? สำรวจความเป็นมาของชื่อที่มีหลายข้อสันนิษฐาน appeared first on Thailand News.
More Stories
เมืองเชียงทอง ในขุนช้างขุนแผน อยู่ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
“พลายแก้ว(ขุนแผน) ได้นางลาวทองกลับกรุงศรีอยุธยา” จิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องขุนช้างขุนแผนที่ระเบียงคดรอบวิหารหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี จิตรกรผู้วาดภาพ เมืองสิงห์ จันทร์ฉาย ผู้เขียน สุจิตต์ วงษ์เทศ เผยแพร่ วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ.2565 “เมืองเชียงทอง” ในกลอนเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นเมืองในจินตนาการของคนแต่งปัจจุบันคือบ้านจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่...
ทำไม “เจ้านายไทย” สมัยก่อนใช้ชีวิตกลางคืนตื่นบรรทม 6 โมงเย็นแม้ราชการใช้เวลาออฟฟิศแล้ว
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ในรัชการที่ 5 (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) ราชการไทยเริ่มทำงานแบบเต็มเวลาในระบบแบบ “ออฟฟิศ” ตามตะวันตกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่เมื่อบุคลากรจากต่างแดนเข้ามาประสบตารางเวลาทำงานของเจ้านายไทยในราชวงศ์จักรีแล้วก็ยังแปลกใจกับการทำงานที่ เจ้านาย หลายพระองค์ทรงใช้ชีวิต (ทั้งทรงงานและการส่วนพระองค์) ในเวลากลางคืน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นช่วงที่เริ่มนำระบบทำงานแบบเต็มเวลาในออฟฟิศมาใช้ในระบบราชการเป็นครั้งแรกเมื่อ...
ทูตต่างประเทศ ยุคก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 พำนักอยู่บริเวณไหนในกรุงเทพ?
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เซอร์จอห์น เบาริ่ง อัครราชทูตอังกฤษ เข้าเฝ้า (ภาพจิตรกรรมเทิดพระเกียรติกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ วาดโดย นคร หุราพันธ์ ปัจจุบันแขวนอยู่ภายในอาคารรัฐสภา) “แขกรัฐบาล” ที่เป็นทูตต่างประเทศ เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ ในสมัยก่อนรัชกาลที่ 5 พำนักอยู่บริเวณไหน? ในสมัยรัชกาลที่ 1 ไม่มีการบันทึกถึงที่พำนักของทูตในกรุงเทพฯ...
แรกมี “คลองมหาสวัสดิ์” คลองแห่งพระราชศรัทธาของรัชกาลที่ 4
คลองมหาสวัสดิ์ บริเวณวัดสาลวัน ไม่ระบุปีที่ถ่าย (ภาพจากหนังสือ มหาสวัสดี 150 ปี มหานทีพระราชทาน, โครงการศิลปศาสตร์อาสา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2553) ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาชว์ภูริชญ์ น้อมเนียน ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยแพร่...
แรกมีน้ำบาดาลใช้ บ่อแห่งแรกของไทยที่เจาะกันกลางกรุงเทพฯ อยู่ตรงไหน?
การขุดเจาะบ่อบาดาล พื้นที่หมู่ 8 ต.ชัยนาม อ.วังทอง จ.พิษณุโลก เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้งกว่า 300 หลังคาเรือน วันที่ 7 พฤษภาคม 2563 (ภาพจากห้องสมุดภาพมติชน) การใช้น้ำบาดาล เริ่มต้นจากประเทศในแถบเอเซียกลาง ทั้งในประเทศอียิปต์ และอิหร่าน ซึ่งมีมาตั้งแต่ประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช...
ตีแผ่ขุนนาง-เจ้านายข่มเหงราษฎรสมัยร.4 ชาวบ้านไร้ที่พึ่ง ต้องพึ่งพระเจ้าแผ่นดิน
ภาพประกอบเนื้อหา – ฉากทะเลาะในละครเรื่องไกรทอง (ภาพจากหนังสือ “ร้องรำทำเพลง : ดนตรีและนาฏสิลป์ชาวสยาม”) ในยุคสมัยที่ยังมีระบบไพร่และทาสอยู่ เอกสารบันทึกหลักฐานต่างๆ ปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับการข่มเหงไพร่ทาสราษฎรให้เห็นกันอยู่หลายส่วน เอกสารอย่างพระราชพงศาวดารยังปรากฏเนื้อหาเล่าถึงเรื่องเจ้านายและเจ้าหน้าที่ในราชการกระทำตามอำเภอใจเรื่อยมาจนถึงในสมัยรัชกาลที่ 4 พระราชพงศาวดารรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 มีใจความตอนหนึ่งว่า “ในแผ่นดินนั้น พระเจ้าลูกเธอและตำรวจมีอำนาจเที่ยวเกาะกุมราษฎรชาวบ้านมาชำระความตามอำเภอใจ แล้วฉุกบุตรหลานหญิงสาวชาวบ้านเอาไปเป็นห้าม ทำดังนี้เนือง ๆ...
ร้านขายข้าวแกงมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่?
ร้านข้าวราดแกงในกรุงเทพฯ ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2007 (Photo by PORNCHAI KITTIWONGSAKUL / AFP) ส. พลายน้อย เขียนอธิบายใน “กระยานิยาย” ว่า คนไทยในอดีตไม่นิยมกินข้าวนอกบ้าน เพราะสมัยก่อนทำงานนอกบ้านเช่นทำไรทำนาก็เตรียมข้าวไปกินเอง หรือมีคนเอาไปส่ง คนที่กินข้าวนอกบ้านมีแต่พวกข้าราชการ ปรากฏหลักฐานในสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า “ร้านชำหุงข้าวแกงขายคนราชการ” โดยตั้งร้านอยู่บริเวณใกล้กับพระราชวัง ข้าวแกงในอดีตจึงนิยมกินกันในหมู่ข้าราชการ...
กรุงเทพมหานคร เมื่อประมาณร้อยปีก่อนหน้าเมืองเป็นอย่างไร
บริเวณปากคลองบางลำพู ในสมัยรัชกาลที่ 7 (ภาพจาก สมุดภาพประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์, กรมศิลปากร) กรุงเทพมหานคร หรือ จังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี ที่มีทั้งสิ้น 21 อำเภอ ในสมัยรัชกาลที่ 7 หรือเมื่อร้อยกว่าปีก่อน เมืองมีหน้าตาเป็นอย่างไร พอมีเค้าว่าจะเป็นอย่าง 50 เขต...
วัดกลางนา-วัดโพธาราม-วัดสะแก วัดเก่าสมัยอยุธยาอยู่ที่ไหนใน กทม.
ภาพถ่ายเก่า วัดชนะสงครามฯ หรือวัดกลางนา เมื่อราวปลายรัชกาลที่ 5 – ต้นรัชกาลที่ 6 วัดเก่าแก่ของบางลำพู ผู้เขียน คนไกล วงนอก เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ.2565 เมืองบางกอก หรือ กรุงเทพฯ...
คนอยุธยาผ่าน “เกาะเซนติเนลเหนือ” จริงหรือ? “สุนทรภู่” ได้ชื่อเกาะจากไหนใส่ “พระอภัยมณี”
(ซ้าย) ชาวเซนติเนล ในเกาะเซนติเนลเหนือ เล็งธนูมาที่เฮลิคอปเตอร์ของทางการอินเดีย เมื่อปี 2004 (ขวา) อนุสาวรีย์สุนทรภู่ จ.ระยอง เรื่องราวของเกาะเซนติเนลเหนือในหมู่เกาะอันดามัน เป็นเรื่องที่คนทั่วโลกสนใจ และเมื่อสืบค้นข้อมูลในช่วงปลายอยุธยาก็พบว่ามีคณะสงฆ์จากสยามเดินทาง “ผ่าน” หมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะนิโคบาร์ แต่ยังไม่พบหลักฐานชัดเจนว่าผ่านเกาะเซนติเนลเหนือ ขณะที่ชื่อเสียงของชนพื้นเมืองในหมู่เกาะแถบนี้ก็นำมาสู่ชื่อเกาะใน “พระอภัยมณี” ของสุนทรภู่ ข่าวจอห์น...
“ตุ่มสามโคก” หมายความว่าอย่างไร ทำไมต่อท้าย “ตุ่ม” ว่า “สามโคก” ?
หญิงสาวชาวสยามกับ ตุ่มสามโคก ภาพถ่ายเก่าสมัยรัชกาลที่ 5 (ฉากหลังเป็นทุ่งหญ้า ภาพประกอบเนื้อหาเท่านั้น) ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับมิถุนายน 2552 ผู้เขียน ภาษิต จิตรภาษา เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ.2565 สมัยเมื่อผมเป็นเด็ก เคยได้ยินผู้ใหญ่ท่านเปรียบเปรยผู้หญิงคนหนึ่งว่า...
กรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ 1 ผ่านฟ้าเปลี่ยวสุด พญาไทมีโขลงช้าง
บริเวณ “ผ่านฟ้า” ช่วงปลายรัชกาลที่ 4 ผู้เขียน คนไกล วงนอก เผยแพร่ วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ.2565 ผ่านฟ้า วันนี้เป็นแหล่งชุมชน ที่มีวัดวาอาราม, หน่วยงานราชการ, บ้านเรือนประชาชน, ร้านอาหารเจ้าอร่อย ฯลฯ และรถติด...