ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

เจ้าจอมเอิบ ช่างถ่ายรูปประจำพระราชสำนักในรัชกาลที่ 5

เจ้าจอมเอิบ ช่างถ่ายรูปประจำพระราชสำนักในรัชกาลที่ 5

เจ้าจอมเอิบกำลังเตรียมการถ่ายภาพเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ผู้เป็นบิดา (ภาพจาก สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

ผู้เขียน
โชติกา นุ่นชู
เผยแพร่
วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2563

เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ท่านเป็นผู้ที่มีความสามารถในการเล่นกล้องและเทคนิคการถ่ายรูปมากท่านหนึ่งในพระราชสำนัก นับเป็นนักถ่ายรูป (สมัครเล่นที่มีความสามารถด้านการถ่ายรูปและล้างรูปเองได้อย่างชำนาญ จนเป็นที่พอพระราชหฤทัยของรัชกาลที่ 5 เป็นอันมาก

อีกทั้ง เจ้าจอมเอิบยังได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นช่างถ่ายรูปที่ถวายงานช่วยล้างและอัดรูปให้รัชกาลที่ 5 และเจ้าจอมเอิบยังเป็นผู้ถ่ายพระรูปรัชกาลที่ 5 ไว้หลายรูป โดยเฉพาะเมื่อทรงอยู่ในชุดลำลองหรือกำลังทรงตั้งกล้องถ่ายรูปเล่น

เจ้าจอมเอิบเกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.. 2422 เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรพันธุ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาคกับท่านผู้หญิงอู่ สุรพันธุ์พิสุทธิ์ มีพี่น้องร่วมบิดาและมารดา 4 คน และได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 เช่นเดียวกับเจ้าจอบเอิบ คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน เรียกเจ้าจอมกลุ่มนี้ว่า เจ้าจอมก๊กออ

เจ้าจอมเอิบเป็นที่โปรดปรานเป็นพิเศษ เนื่องจากท่านมีรูปโฉมงดงาม มีคุณสมบัติตรงตามตำราหญิงงาม และมีกิริยาที่สอดคล้องกับความนิยมสมัยนั้นเป็นอย่างมาก การเป็นคนโปรดนี้เห็นได้จากการตามเสด็จแปรพระราชฐานประพาสหัวเมืองเหนือ เมื่อ พ.2444 หรือไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน เมื่อ พ.2445 และเสด็จประพาสต้นเมื่อ พ.2447 นับเป็นผู้ถวายงานรับใช้เบื้องพระยุคคลบาทอย่างใกล้ชิดจนกระทั่งสิ้นรัชกาล

เจ้าจอมเอิบชื่นชอบการถ่ายภาพมาก ในหนังสือ หญิงชาวสยาม เขียนโดยคุณเอนก นาวิกมูล ได้อธิบายว่า ได้พบอัลบั้มรูปถ่ายจำนวนหนึ่ง ซึ่งบอกไว้อย่างแน่ชัดว่าเป็นฝีมือของเจ้าจอมเอิบ ภาพชุดนี้พบเมื่อกลางปี พ.. 2521 ที่หอสมุดดำรงราชานุภาพ เรียกตามบัญชีของหนังสือว่า . 97” หรือก็คือสมุดรูปหมายเลข 97 นั่นเอง

สมุดรูปดังกล่าวเป็นอัลบั้มเก็บรูปที่เป็นฝีมือของเจ้าจอมเอิบทั้งสิ้น ซึ่งในหอสมุดดำรงราชานุภาพก็มีอยู่มากมายหลายเล่ม รวมทั้งที่เป็นรูปถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นักเล่นกล้องอีกพระองค์หนึ่งด้วย อัลบั้มนี้มีขนาดวัดแล้วกว้าง 6 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว ปกสีแดง พิมพ์หน้าปกเดินทองทำอักษรประดิษฐ์ว่า “ทรงถ่าย

คุณเอนก นาวิกมูล ได้สำรวจดูรูป ปรากฏว่า “เป็นรูปงาม คมชัดดีมากทั้ง 12 รูป ส่วนมากเป็นขนาดโปสการ์ด สียังเป็นสีดำ ไม่จาง มีรูปที่เคยตีพิมพ์แพร่หลายก็หลายรูป แต่ไม่เคยมีใครบอกว่าเจ้าจอมเอิบเป็นผู้ถ่าย” อย่างเช่น รูปรัชกาลที่ 5 ทรงกำลังทำกับข้าวที่พระตำหนักน้ำ พระราชวังสวนดุสิต ทรงไม่สวมฉลองพระองค์ประทับนั่งทำท่าเหมือนกำลังจะคนอะไรในกระทะ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงประกอบอาหาร

 

หรือรูปรัชกาลที่ 5 ทรงฉายกับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้านิภานภดลในพระราชวังดุสิต รูปนี้ไม่ได้บรรยายในอัลบั้ม แต่เทียบได้จากการที่ไปลงในหนังสือพระราชนิพนธ์เรื่อง ไกลบ้าน ที่รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้

รูปทรงเล่นน้ำตกที่เกาพะงัน รูปนี้ก็เคยพิมพ์แพร่หลายในอัลบั้ม ถ่ายขนาดใหญ่กว่าโปสการ์ด มีคำบรรยายว่าเจ้าจอมเอิบเป็นผู้ถ่าย และรูปอื่น ๆ เช่น รัชกาลที่ 5 ทรงฉลองพระองค์แบบราชปะแตน     รูปทรงกำลังจะยกกระจกภาพขึ้นส่องดู และที่สำคัญมีรูปถ่ายฝีมือเจ้าจอมเอิบถึง 5 รูป ที่ถ่ายรูปรัชกาลที่ 5 กำลังทรงถ่ายรูปอีกทีหนึ่ง อัลบั้มรูปถ่ายฝีมือเจ้าจอมเอิบอยู่ในสภาพดี ไม่กรอบ หรือชำรุด

นอกจากนี้ในพระราชหัตถเลขาถึง “ชายบริพัตร คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตร ตอนหนึ่งทรงกล่าวถึงเจ้าจอมเอิบว่าเป็นผู้ถ่ายรูปให้ ความในพระราชหัตถเลขาดังกล่าวช่วยเสริมให้เห็นว่า เจ้าจอมเอิบนั้นถวายงานถ่ายรูปใกล้ชิดรัชกาลที่ 5 ไม่น้อยเลย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยพระกระยาหารร่วมกับพระเจ้าลูกยาเธอ ภาพจากอัลบั้มฝีมือเจ้าจอมเอิบ บุนนาค ถ่ายบนโต๊ะเสวย พระกระยาหารนี้น่าจะมีปลาทูทอดฝีมือเจ้าจอมเอิบด้วย

 

เมื่อรัชกาลที่ 5 สวรรคต เจ้าจอมเอิบได้พำนักอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ต่อมาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.. 2475 ได้ย้ายไปอยู่ที่เรือนสร้างใหม่ริมคลองสามเสน กับถนนสามเสน โดยท่านสร้างบนที่ดินพระราชทานแก่เจ้าจอมก๊กออ (ได้รับพระราชทานคนละแปลงเป็นสัดส่วน เรียกว่า สวนนอก แต่ละสวนจะมีชื่อเรียกต่างกัน สำหรับสวนของเจ้าจอมเอิบ เรียกว่า สวนท่านเอิบ

เจ้าจอมเอิบถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.. 2487 ตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 8 มีอายุ 65 ปี

 

อ้างอิง :

เอนก นาวิกมูล. (2547พฤษภาคม). หญิงชาวสยามสำนักพิมพ์แสงดาวพิมพ์ครั้งที่ 2 : 137-140.

ดร.กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ. (2558). เจ้าจอมก๊กออ ในรัชกาลที่ 5สำนักพิมพ์อัมรินทร์พิมพ์ครั้งที่ 4 : 409-414.

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 26 มิถุนายน 2562

Source: https://www.silpa-mag.com/history/article_34670

The post เจ้าจอมเอิบ ช่างถ่ายรูปประจำพระราชสำนักในรัชกาลที่ 5 appeared first on Thailand News.