ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 2 ชี้แจงโครงการวิจัย “การศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของชุมชนต้นแบบในการประยุกต์ใช้มาตรการลดการเผาในที่โล่งของจังหวัดลำปาง”

สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 2 ชี้แจงโครงการวิจัย “การศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของชุมชนต้นแบบในการประยุกต์ใช้มาตรการลดการเผาในที่โล่งของจังหวัดลำปาง”

สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 2 นำโดย นายระพีศักดิ์ มาลัยรุ่งสกุล ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 2 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ จัดการประชุมชี้แจงโครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของชุมชนต้นแบบในการประยุกต์ใช้มาตรการลดการเผาในที่โล่งของจังหวัดลำปาง” ณ ห้องประชุมอาลัมภางค์ ศาลากลางจังหวัดลำปาง โดยมี นายสันติ รังษิรุจิ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานในการประชุม และมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในศูนย์รวบรวมข้อมูลและสั่งการ (War room) ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ และผู้นำจากชุมชนต้นแบบในพื้นที่จังหวัดลำปาง เข้าร่วมประชุม

โครงการวิจัย “การศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของชุมชนต้นแบบในการประยุกต์ใช้มาตรการลดการเผาในที่โล่งของจังหวัดลำปาง” เป็นความร่วมมือระหว่างคณะนักวิจัยจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1-3 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 2 เป็นหัวหน้าโครงการ นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และนายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นที่ปรึกษาโครงการ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เพื่อค้นหาปัจจัยความสำเร็จของชุมชนต้นแบบในการประยุกต์ใช้มาตรการลดการเผาในที่โล่งของรัฐจนประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม มีพื้นที่ศึกษาต้นแบบ ได้แก่ ชุมชนบ้านต้นต้อง ต.พิชัย อ.เมืองลำปาง ชุมชนบ้านขอใต้ ต.บ้านขอ อ.เมืองปาน ชุมชนบ้านสามขา ต.หัวเสือ อ.แม่ทะ และชุมชน ต.นายาง อ.สบปราบ โดยในการดำเนินงานมีกลไกสำคัญ คือ “ความร่วมมือกันในการลดการเผาในที่โล่ง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของปัญหาไฟป่าและหมอกควันของจังหวัดลำปาง” อย่างเป็นระบบ ทั้งจากบทบาทหน่วยงานใน War Room ความเข้มแข็งของชุมชนต้นแบบ และภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้อย่างยั่งยืนในระยะยาวต่อไป

หลังจากประชุมชี้แจงโครงการวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว คณะผู้ทำการวิจัยได้เดินทางลงพื้นที่ต้นแบบ (บ้านต้นต้อง) เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ความสำเร็จของชุมชนในการจัดการไฟป่า และร่วมแลกเปลี่ยนซักถาม แสดงข้อคิดเห็น โดยผู้นำชุมชนได้บรรยายความเป็นมาและปัจจัยความสำเร็จของการจัดการไฟป่าในพื้นที่ป่าชุมชนแก่คณะวิจัยเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะได้ทำการศึกษาวิจัยในเชิงลึกต่อไป

ข้อมูล 

https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220723085959405

 

Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร : Read More