
ป้อมเมืองบางกอก เดิมฝั่งซ้ายเคยมี “ป้อมวิไชยเยนทร์” ตั้งอยู่?
ภาพ “ป้อมบางกอก” ปัจจุบัน (ภาพถ่ายโดย จารุวรรณ ด้วงคำจันทร์)
ป้อมบางกอก เป็นป้อมที่เจ้าพระยาวิไชยเยนทร์เป็นแม่กองควบคุมการสร้าง สร้างขึ้นบริเวณปากคลองบางหลวง (คลองบางกอกใหญ่) เนื่องจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเห็นว่า เมืองบางกอกนอกจากจะตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาระหว่างปากแม่น้ำกับกรุงศรีอยุธยา และเป็นเมืองด่านสำคัญทางการค้าแล้ว ยังมีชัยภูมิที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ด้วย เนื่องจากตรงบริเวณบางกอกมีลักษณะเป็นหัวโค้งเลี้ยวของแม่น้ำ พระองค์จึงโปรดให้สร้างป้อมบางกอก เพื่อใช้ป้องกันทางทะเลและใช้ระมัดระวังเหตุทางแม่น้ำ ตามคำกราบบังคมทูลของเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์
นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอักษรศาสตร์ กรมศิลปากร ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับป้อมเมืองบางกอก ไว้ว่า ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เจ้าพระยา วิไชยเยนทร์ กราบบังคมทูลแนะนำให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงสร้างป้อมขึ้นที่เมืองบางกอกโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ป้อมดังกล่าวตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งซ้ายชื่อ “ป้อมวิไชยเยนทร์” (อยู่บริเวณโรงเรียนราชินี) ฝั่งขวาชื่อ “ป้อมวิไชยประสิทธิ์” (อยู่ระหว่างพระราชวังเดิมกรุงธนบุรีกับวัดโมลีโลกยาราม) ในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ ระบุว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาตั้งที่ฝั่งตะวันออกหรือฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๕ โปรดเกล้าฯ ให้รื้อป้อมวิไชยเยนทร์ เมืองบางกอก จึงเหลือป้อมวิไชยประสิทธิ์เพียงป้อมเดียว ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน
ขอบคุณที่มาข้อมูล
เว็บไซต์ ห้องสมุด มสธ. “แผ่นดินนี้ที่บางกอก”. https://library.stou.ac.th/odi/bang-kok/index.html
“ป้อมเมืองบางกอก” จากเพจ กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
Source: https://www.silpa-mag.com/history/article_16529
The post ป้อมเมืองบางกอก เดิมฝั่งซ้ายเคยมี “ป้อมวิไชยเยนทร์” ตั้งอยู่? appeared first on Thailand News.
More Stories
แรกมี ‘น้ำมันก๊าด’ ใช้ในสยาม ราษฎรไม่คุ้นชินจนเกิดไฟไหม้หลายคดี
วัดชนะสงคราม ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณหน้าวัดมีรถรางไฟฟ้าวิ่งบนถนนจักรพงษ์ ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤษภาคม 2558 ผู้เขียน ดร. นนทพร อยู่มั่งมี เผยแพร่ วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ.2565 การให้แสงสว่างแก่ที่พักอาศัย ในยุคที่กรุงเทพฯ ยามค่ำคืนปราศจากแสงไฟฟ้าซึ่งต้องพึ่งพาแสงสว่างจากตะเกียงน้ำมันเป็นหลัก และแม้จะมีไฟฟ้าในกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2427 แต่แสงสว่างชนิดนี้จำกัดอยู่เฉพาะการใช้งานของรัฐ เช่น ตามท้องถนนบางสาย กับตามบ้านเรือนของผู้มีฐานะซึ่งต้องซื้อหาอุปกรณ์และจ่ายค่าไฟในราคาสูง การที่แสงสว่างจำกัดส่งผลต่อกิจวัตรของผู้คน เช่น ความบันเทิง และการสัญจรของราษฎร เช่นที่ขุนวิจิตรมาตรากล่าวถึงวิถีชีวิตในกรุงเทพฯ ยามค่ำคืน ดังนี้ “มหรสพสมัยโน้น (ยังไม่มีไฟฟ้า) แสดงแต่วันข้างขึ้น ราวขึ้น 8 ค่ำ ไปจนถึงประมาณสามทุ่ม พระจันทร์ยังสว่างอยู่ ข้างแรมเดือนมืดไม่มีแสดง โรงละครนฤมิตรที่วัดสระเกศเท่าที่ข้าพเจ้าจำได้แสดงตอนบ่าย พอถึงเย็นก็เลิก ต่อมาเมื่อข้าพเจ้าเริ่มไปอยู่กรุงเทพฯ มีไฟฟ้าแล้ว คือเพิ่งเริ่มจะมีโดยเฉพาะตามถนนนั้นขึงสายไฟฟ้าขวางระหว่างตึก ดวงโคมไฟฟ้าห้อยติดกับสายอยู่กลางถนนแต่สูงมาก แสงไฟก็ริบหรี่ไม่สว่าง คนเดินอาศัยร้านเจ๊กเขียนหวย ซึ่งมีตะเกียงกระจกตั้งโต๊ะสว่างไปสองข้างถนนระยะห่างๆ กันไปสว่างมากกว่าไฟฟ้า ไฟฟ้าเมื่อแรกมีนี้ ถ้าเป็นข้างขึ้นพระจันทร์สว่าง ไฟดับหมด พอถึงข้างแรมพระจันทร์มืดจึงเปิดไฟ สลับไปอย่างนี้ทุกข้างขึ้นข้างแรม ส่วนตามตึกบ้านเรือนที่ต้องการใช้ไฟฟ้า คิดค่าเช่าเป็นดวงๆ ละ 6 สลึง (หนึ่งบาทห้าสิบสตางค์) ดวงหนึ่งไฟ 10 แรงเทียน จะติดกี่ดวงก็ได้ตามราคาที่คิดเป็นดวง เท่าที่เห็นใช้กันเพียงหนึ่งหรือสองดวงเท่านั้น ไฟฟ้าดีอย่างหนึ่งเป็นการบอกเวลา คือเวลาสองทุ่มตรง ไฟจะดับแวบหนึ่งให้รู้ว่าสองทุ่ม ใครมีนาฬิกาก็ตั้งจากไฟฟ้าได้ทันที”...
เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนที่ใช้เวลาถึง 5 แผ่นดิน จึงได้ก่อสร้าง?
เขื่อนเจ้าพระยาทอดขวางแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาท มีสะพานเชื่อมพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำ และประตูน้ำติดกับเขื่อนเพื่อให้เรือล่องผ่านเขื่อนไปมาได้ ภาพถ่ายเมื่อเขื่อนเปิดใช้งาน พ.ศ. 2500 (ภาพจาก “ประวัติศาสตร์ชัยนาท”) เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนทดน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างอยู่บนแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จังหวัดชัยนาท ในโครงการชลประทานใหญ่เจ้าพระยาใหญ่ ที่มีแนวคิดในการก่อสร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ก็มีอันต้องเลื่อนโครงการออกไปถึง 2 ครั้ง กว่าจะได้ลงมือดำเนินและแล้วเสร็จก็ผ่านมาถึงสมัยรัชกาลที่ 9 เหตุขัดข้องในการสร้าง...
เปิดชีวิต ฟรานซิส จิตร ช่างภาพรุ่นแรกของสยาม ช่างภาพหลวงถ่ายรูป ร.4-ร.5 สวยงาม
หลวงอัคนีนฤมิต (จิตร จิตราคนี) หรือ ฟรานซิส จิตร ช่างภาพหลวง ช่างภาพรุ่นแรกในสยาม ไม่ทราบปีที่ถ่าย (ภาพต้นฉบับจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, เผยแพร่ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกันยายน 2526) ภาพถ่ายไม่ได้เป็นเพียงแค่วัตถุบันทึกความทรงจำเบื้องหน้าในแง่มุมต่างๆ เท่านั้น ในเส้นทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ การถ่ายภาพสะท้อนทัศนคติ ความเชื่อ เทคโนโลยี...
เมืองพิษณุโลก เคยมีอีกชื่อว่า “เมืองชัยนาท” จริงหรือ? เรื่องนี้มีที่มาอย่างไร
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก ศูนย์กลางศักดิ์สิทธิ์ของราชวงศ์สุโขทัยที่เมืองสองแคว-พิษณุโลก (ภาพถ่ายทางอากาศเมื่อ พ.ศ.2489 โดย วิลเลียมส์ ฮันท์) เมืองพิษณุโลก ในทางประวัติศาสตร์มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกสองชื่อ คือเมืองสองแควกับเมืองชัยนาท “สองแคว” เป็นชื่อที่รู้จักกันดีโดยทั่วไปว่าเป็นชื่อดั้งเดิมของเมืองพิษณุโลก เพราะมีแม่น้ำสองสายไหลผ่านเมือง คือแม่น้ำน่านกับแม่น้ำแควน้อย แม่น้ำน่านที่ไหลผ่านตัวเมืองนั้นเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน แม่น้ำแควน้อยนั้นไหลจากเทือกเขาทางทิศตะวันออกลงแม่น้ำน่านเหนือตัวเมืองขึ้นไปประมาณ 20 กิโลเมตร แต่ในอดีตแม่น้ำแควน้อยก่อนที่จะไหลลงแม่น้ำน่านนั้น ได้ไหลวกลงใต้ขนานกับแม่น้ำน่านโดยผ่านเมืองสองแคว มีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุหรือวัดพระพุทธชินราชเป็นศูนย์กลางเมือง ตั้งอู่ระหว่างกลางขนาบโดยแม่น้ำทั้งสองสาย แม่น้ำแควน้อยไหลลงแม่น้ำน่าน...
เหลือเชื่อ! เมื่อชาวโพลินีเซียนสามารถย้าย “อารยธรรม” ของตนเองได้ด้วยเรือเพียงลำเดียว
ชาวตาฮิติผู้สืบเชื้อสายมาจากโพลินีเซียน ภาพจากWikimedia ผู้เขียน ศิวกร โรจน์ขจรนภาลัย เผยแพร่ วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2565 โพลินีเซีย (Polynesia) คือ กลุ่มหมู่เกาะกว่า 1,000 เกาะ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคโอเชียเนีย หมู่เกาะเหล่านี้อยู่กระจัดกระจายไปทั่วทั้งในบริเวณตอนกลาง และตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก โดยในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศเอกราช เช่น นิวซีแลนด์,...
ทางรถไฟสายมรณะ อยู่ในไทย แต่ไม่ใช่ของไทย และไทย[จำต้อง]ซื้อ
สะพานข้ามแม่น้ำแคว (ภาพจาก “หนังสือพิมพ์โรงพิมพ์การรถไฟ พ.ศ. 2514” ของคุณประวิทย์ สังข์มี) ที่มา เสมียนนารี เผยแพร่ วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2565 หากกล่าวถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ่งหนึ่งที่หลายคนคิดถึงกันก็คือ “ทางรถไฟสายมรณะ” ที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งปัจจุบันการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย...
ตามรอย “วัดท่าทราย” บริเวณที่ตั้ง ปืนใหญ่ปราบหงสา วัดเก่าแก่ที่ถูกลืมในอยุธยา
ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤศจิกายน 2550 ผู้เขียน ปวัตร์ นวะมะรัตน เผยแพร่ วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2565 วัดท่าทราย ตั้งอยู่ริมคลองประตูข้าวเปลือกฝั่งตะวันออก ด้านทิศเหนือของเกาะเมืองศรีอยุธยา ตรงข้ามกับวัดราชประดิษฐาน ไม่พบประวัติว่าสร้างขึ้นแต่เมื่อใด แต่สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นวัดเดียวกับที่ปรากฏชื่ออยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ....
นิสิตคนที่ 1 ของจุฬาลงกรณ์ ผู้ไม่เคยเข้าเรียนที่จุฬาฯ ?!?
ท่านเจ้าคุณราชเสนากำลังรับพระราชทานปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2510 ผู้เขียน คนไกล วงนอก เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2565 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ ในปี 2510 เป็นปีที่ครบ 50 ปี พระยาราชเสนา...
ความเป็นกรุงเทพฯ ที่แท้จริง เริ่มสมัยรัชกาลที่ 3
กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณพระบรมมหาราชวัง เห็นพื้นที่สนามหลวงอยู่มุมซ้ายบน ตอนล่าง คือท่าราชวรดิษฐ์ (ภาพจาก กรุงเทพฯ 2489-2539) ที่มา กรุงเทพฯ มาจากไหน?, สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ 2548 ผู้เขียน สุจิตต์ วงษ์เทศ. เผยแพร่...
พระเจ้าตากสินฯ สถาปนากรุงธนบุรี เมืองสุพรรณ “ตกสำรวจ” ต้องรกร้างกว่า 80 ปี
วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ วัดเขานางบวช อำเภอเดิมบางนวช จังหวัดสุรรณบุรี (ภาพจาก หนังสือประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณโดย มนัส โอภากุล สำนักพิมพ์มติชน) ในปัจจุบันจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นจังหวัดที่ถนนหนทางดีจนคนหลายอิจฉา อาหารการกินไม่ว่าจะเป็น สาลี่, กุ้งแม่น้ำเผา ฯลฯ ก็อร่อยจนประเภทกินแล้วระลึกชาติได้ ย้อนกลับไปเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาเมืองสุพรรณก็มีฐานะเป็นหนึ่งในเมืองหน้าด่านสำคัญ แต่เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรี เมืองสุพรรณกลับ “ตกสำรวจ” ต้องรกร้างเป็นเวลากว่า 80...
“เขมร” ไม่เรียกตัวเองว่า “ขอม” ไม่มีคำว่าขอมในภาษาเขมร คำว่า “ขอม” มาจากไหน?
ภาพวาดนครวัดจากหนังสือ Voyage d’exploration en Indo-Chine เมื่อ ค.ศ. 1866 ผู้เขียน เสมียนอารีย์ เผยแพร่ วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2565 “ขอม เป็นคำภาษาไทย กลายจากภาษาเขมร ใช้เรียกกลุ่มคนพวกที่อยู่ตอนล่าง (ในไทย)...
บันทึกชาวต่างชาติเผยสภาพคนกรุงเทพฯ ในอดีต ช่วงเปลี่ยนวิถีชีวิตจากบนน้ำสู่บก
คลองรอบกรุงผ่านตำบลบางลำพู สมัยรัชกาลที่ 5 บ้านเรือนตั้งเรียงรายสองฝากคลอง (ภาพจากหนังสือชื่อบ้านนามเมืองในกรุงเทพฯ) ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้คนในกรุงเทพฯ ยังมีวิถีชีวิตที่พึ่งพาแม่น้ำลำคลองอยู่เสมอ ดังที่ จอห์น ครอว์เฟิร์ด บันทึกสภาพการสัญจรของกรุงเทพฯ เมื่อปลายรัชกาลที่ 2 ความว่า “จากจำนวนเรือต่าง ๆ ทุกขนาดและทุกลักษณะ ซึ่งกำลังผ่านไปมา...