คอนเทนต์ดิจิทัลของไทยได้รับการยอมรับอย่างต่อเนื่องในเวทีโลก
“โฮมสวีตโฮม” (Home Sweet Home) เกมแนวผจญภัยสยองขวัญซึ่งเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2560 ได้กลายเป็นเกมฮิตในระดับโลก และยังคงสร้างประสบการณ์สุดท้าทายและน่าตกตะลึงให้ผู้เล่นในซีซัน 3 เมื่อปี
2564 ขณะที่ “ซี ออฟ เลิฟ” (Sea of Love) แอนิเมชันสำหรับเด็ก ๆ ที่บอกเล่าเรื่องราวมิตรภาพระหว่างวาฬ กระเบน ม้าน้ำ และฉลาม ก็กำลังสตรีมอยู่บนเน็ตฟลิกซ์ ส่วน “เด็กใหม่” (Girl From
Nowhere) ซีรีส์แนวลึกลับระทึกขวัญได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดยที่ซีซันสองติดอันดับหนึ่งในชาร์ตเน็ตฟลิกซ์ของไทย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ทั้งยังติดท็อป 10 ไปไกลถึงบราซิลด้วย
ผลงานทั้งสามนี้มีสิ่งหนึ่งเหมือนกัน นั่นคือเป็นผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ของไทย ประเทศที่เริ่มมีตัวตนเป็นที่รู้จักมากขึ้นในตลาดคอนเทนต์ดิจิทัลที่กำลังคึกคักทั่วโลก
รัฐบาลไทยกำลังพุ่งเป้าให้อุตสาหกรรมคอนเทนต์ดิจิทัลเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่จะส่งเสริม และได้แสดงความตั้งใจในการก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านคอนเทนต์ดิจิทัลในอาเซียน ปัจจุบัน ตลาดคอนเทนต์ดิจิทัลของ
ไทยมีมูลค่าอยู่ที่ราว 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยวิดีโอเกมมีส่วนแบ่งมากที่สุด 1.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ไทยเป็นที่ยอมรับมานานแล้วในเรื่องทักษะของครีเอเตอร์ผู้สร้างคอนเทนต์ดิจิทัล และได้รับจ้างทำงานให้กับโปรเจกต์ใหญ่ ๆ ระดับโลกมาแล้วมากมาย อุตสาหกรรมคอนเทนต์ดิจิทัลของไทยมีข้อได้เปรียบทางการ
แข่งขันหลัก ๆ อยู่ที่ทักษะ วินัย และใจรักบริการของศิลปินดิจิทัลในไทย ทั้งยังคุ้มค่า เปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอย่างที่ไทยเป็นที่รู้จักกันดี
เกม “โฮมสวีตโฮม” เป็นผลงานของบริษัทผู้พัฒนาสัญชาติไทยอย่างอิ๊กดราซิล กรุ๊ป (Yggdrazil Group) ซึ่งนำองค์ประกอบความสยองขวัญจากประเพณีและความเชื่อของไทยไปใช้ในการสร้างเกม ซึ่งนักรีวิว
เกมรายหนึ่งในซีโอจีคอนเนกเต็ด (COGconnected) รีวิวไว้ว่า เกมนี้มีจุดเด่นอยู่ที่กลิ่นอายวัฒนธรรม ตำนาน และความเชื่อของคนไทย โดยโฮมสวีตโฮมมีให้เล่นถึง 9 ภาษาด้วยกัน รวมถึงอังกฤษ เยอรมัน จีน
และญี่ปุ่น
ในขณะที่อุตสาหกรรมเกมโตไวกว่า แต่อุตสาหกรรมแอนิเมชันของไทยก็มีประวัติยาวนานกว่า และฝังลึกกับมรดกทางวัฒนธรรมของไทยมากกว่า ตัวละครแอนิเมชันของไทยมักสะท้อน “ความเป็นไทย” ผ่านสีสันและ
ความร่าเริงสดใส โดยภาพยนตร์แอนิเมชันสามมิติเรื่องแรกของไทยอย่าง “ก้านกล้วย” (ซึ่งใช้ชื่อว่า The Blue Elephant ในสหรัฐ) ผลงานจากกันตนา สตูดิโอ ได้เปิดตัวเมื่อปี 2549 จนกลายเป็นผลงานที่
ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในบ็อกซ์ออฟฟิศ และทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตแอนิเมชันคุณภาพสูงในสายตาต่างประเทศ ขณะที่ผลงานความสำเร็จล่าสุดของเดอะมั๊งค์ สตูดิโอ อย่าง “ซี ออฟ เลิฟ” ก็เป็นซีรีส์เด็ก
บนเน็ตฟลิกซ์เรื่องแรกของไทย ตามเป้าหมายในการนำเสนอคอนเทนต์ดั้งเดิมที่คนไทยออกแบบและสร้างสู่สายตาคนทั่วโลก
ซีรีส์ไทยในรอบทศวรรษที่ผ่านมาได้ดังไกลไปทั่วเอเชียและทั่วโลก โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากแพลตฟอร์มสตรีมมิงที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ละครไทยที่โด่งดังในต่างประเทศนั้นมีทั้งบุพเพสันนิวาส (Love Destiny)
และอกเกือบหักแอบรักคุณสามี (My Husband in Law) ส่วน “เด็กใหม่” ซีซัน 2 ก็คว้ารางวัลซีรีส์ทีวียอดเยี่ยมของเอเชีย (Best Asian TV Series Award) จากเวทีเอเชีย คอนเทนต์ส อวอร์ดส์ (Asia
Contents Awards) ที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ มาครองได้สำเร็จ
นักวิจารณ์หลายรายคาดว่า ซีรีส์ไทยจะยังคงเป็นที่นิยมต่อไป เพราะมีตัวละคร โครงเรื่อง และสถานที่น่าสนใจ ทั้งยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมไทยด้วย
รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1867115/thai_digital_content.jpg
คำบรรยายภาพ – คอนเทนต์ดิจิทัลของไทยได้รับการยอมรับอย่างต่อเนื่องในเวทีโลก
Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร : Read More