ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมเปิดตัว ไก่เบขลา ส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยง ลดเวลาการเลี้ยงจาก 6 เดือน เหลือ 3.5 เดือน ในเทศกาล “ไก่เบขลา” “จากเบตงสู่สงขลา … กำเนิดใหม่แห่งไก่เบตง” ในงานเกษตรภาคใต้ ครั้งที่ 28

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมเปิดตัว ไก่เบขลา ส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยง ลดเวลาการเลี้ยงจาก 6 เดือน เหลือ 3.5 เดือน ในเทศกาล “ไก่เบขลา” “จากเบตงสู่สงขลา … กำเนิดใหม่แห่งไก่เบตง” ในงานเกษตรภาคใต้ ครั้งที่ 28

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอเชิญชม เทศกาล “ไก่เบขลา” ครั้งที่ 1 “จากเบตงสู่สงขลา … กำเนิดใหม่แห่งไก่เบตง” ในวันที่ 20 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 น. ณ ลานพิธีเปิดงานเกษตรภาคใต้ ครั้งที่ 28 คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ภายในงาน มีการนำเสนอผลงานวิจัยและโอกาสทางธุรกิจในการเลี้ยง “ไก่เบขลา” แบบครบวงจร การมอบรางวัลประกวดตั้งชื่อไก่ลูกผสมเบตง มีการปรุงโชว์อาหารไก่เบขลา โดย

– เชฟก๊อต ภานุพันธุ์ มัณฑนานนท์ (Executive chef) โรงแรมคราม พัทยา ผู้ท้าชิงในการแข่งขันเชฟกระทะเหล็กประเทศไทย (อาหารไทย)

– บังอาลี อะห์ลัม ไก่ อบ โอ่ง ของดีเมืองจะนะ ยอดขายวันละ 2,000 – 3,000 ตัว

– และเชฟชมรมสัตวบาล ม.อ. กับไก่ย่างสูตรดั้งเดิมในตำนานเด็กภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ไก่เบขลา พัฒนาสายพันธุ์โดย สาขาวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์และการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา โดยการใช้ไก่ พ่อพันธุ์ไก่เบตงพันธุ์แท้ (ซึ่งเป็นไก่เนื้อพื้นเมืองของอำเภอเบตง จังหวัดยะลา มีจุดเด่น คือ เนื้อแน่น หนังกรอบ ไขมันน้อย คอลลาเจนสูง ทำให้ไก่เบตง มีชื่อเสียงจนเป็นเอกลักษณ์) ผสมกับไก่แม่พันธ์ทางการค้า เลี้ยงที่ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จึงให้ชื่อว่า ไก่เบขลา (เบ ได้ลดทอนจากคำว่า เบตง เอาแค่ “เบ” ตัด “ตง” ออก เพราะว่าเป็นไก่เบตงที่นำมาผสมพันธุ์ให้เป็นไก่เบตงลูกผสม ขลา ได้ลดทอนจากคำว่า สงขลา เอาแค่ “ขลา” ตัดคำว่า “สง” ออก เพราะว่าได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ที่คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา: ตั้งชื่อและออกแบบโลโก้โดย คุณอนันต์ มะเกะ)

การเลี้ยงไก่เบขลาช่วยลดระยะเวลาในการเลี้ยงลงมาเหลือเพียง 3.5 เดือน เมื่อเปรียบเทียบกับการเลี้ยงไก่เบตงที่ต้องใช้เวลาในการเลี้ยงถึง 6 เดือน จึงจะได้น้ำหนักตัว 2 กิโลกรัม จึงทำให้การเลี้ยงไก่เบขลาช่วยลดต้นทุนค่าอาหาร และค่าแรงงานในการเลี้ยง นอกจากนี้ ไก่เบขลายังมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี มีอัตราตายต่ำ เพียง ร้อยละ 1-2 ภายใต้สภาพการเลี้ยงแบบเปิด

นอกจากนี้ ดร.ธัญจิรา เทพรัตน์ หัวหน้าสาขาวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์และการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์ และทีมงาน เปิดเผยว่า สาชาวิชายังได้จัดแสดงผลงานนิทรรศการไก่เบตง เพื่อเผยแพร่ข้อมูลงานวิจัยที่สามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงไก่ลูกผสมเบตงและผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิช และถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่ให้กับผู้ที่สนใจ โดยจะมีการจัดแสดงพันธุ์ การเลี้ยง และผลงานวิจัย ณ บริเวณแปลงสาธิต คณะทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระหว่างวันที่ 12 – 21 สิงหาคม 2565 อีกด้วย

ข้อมูล 

https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220817121626948

 

Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร : Read More