จีนเผยรายงานดัชนีการค้า-การขนส่งทางท่าเรือ มุ่งเชื่อมโยงห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานในยุคดิจิทัล
ในงานสัมมนาการค้าทางท่าเรือและทางบกแห่งชิงเต่าประจำปี 2565 (Qingdao Land-Sea Linkage Seminar) ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565 ได้มีการเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยรายงานดัชนีการพัฒนาศูนย์กลางการขนส่งสินค้าระดับสากลของประเทศสมาชิกในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (International Shipping Hub Development Index — RCEP Regional Report) ปี 2565 รายงานดัชนีสินค้าท่าเรือขนส่ง โดยซินหัว-เอสพีจี (Xinhua-SPG Port Commodity Index Report) ปี 2565 และรายงานดัชนีการค้าทางเรือของประเทศสมาชิกฯ (RCEP Seaborne Trade Index Report) ปี 2565 โดยผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า โครงสร้างพื้นฐานในการเชื่อมโยงที่มีมาตรฐานสูงสำหรับห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทาน สามารถเกิดขึ้นได้โดยการชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่แม่นยำในด้านการค้าขายสินค้าโภคภัณฑ์ผ่านท่าด่านต่าง ๆ รวมทั้งบรรลุการเชื่อมโยงที่มีประสิทธิภาพระหว่างการขนส่งสินค้าผ่านท่า สินค้าโภคภัณฑ์ และการค้าขาย
รายงานดัชนีการพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการค้าระดับสากล (ISHDI) ประจำปี 2565 ของประเทศสมาชิกในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ที่รวบรวมโดยทีมบริการข่าวเศรษฐกิจของสำนักข่าวซินหัว (China Economic Information Service) เป็นดัชนีประเมินท่าเรือขนส่งและการขนส่งระดับสากลที่เปิดตัวทั่วโลก โดยเน้นที่องค์ประกอบด้านความสามารถในการแข่งขันของศูนย์กลางการขนส่งสินค้าที่อิงจากดัชนีการพัฒนาศูนย์กลางการขนส่งสินค้าซินหัว-บอลติก (Xinhua — Baltic International Shipping Center Development Index) มีจุดมุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้ร่วมมือได้อย่างราบรื่นและสนับสนุนการพัฒนาท่าขนส่งสินค้าร่วมกัน
ดัชนี ISHDI รวมไว้ซึ่งตัวบ่งชี้รองทั้งหมด 17 ตัว แบ่งออกเป็น 5 มิติหลัก ซึ่งได้แก่ ความสามารถของโครงสร้างพื้นฐาน บริการการดำเนินงาน การเชื่อมต่อเครือข่าย ความชาญฉลาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของท่าขนส่งสินค้า และความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจในพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมือง ทีมงานโครงการ ISHDI ได้ศึกษาการพัฒนาของท่าและศูนย์กลางขนส่งสินค้าของประเทศสมาชิกในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค โดยเลือกศูนย์กลางการขนส่งหลักจำนวน 29 แห่งในประเทศสมาชิกฯ ตามขนาดและสถานะตัวแทน ศูนย์กลางเหล่านี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ระดับ A-D นำโดยท่าเรือเซี่ยงไฮ้และท่าเรือสิงคโปร์ซึ่งเป็นศูนย์กลางการขนส่งระดับ A ที่มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมการขนส่งทั่วโลก เซี่ยงไฮ้และสิงคโปร์ยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งชั้นนำของโลกอีกด้วย ขณะที่ท่าเรือหนิงโป-โจวซาน ท่าเรือชิงเต่า ท่าเรือเซินเจิ้น และท่าเรือปูซาน ถูกจัดอยู่ในระดับ B ซึ่งไม่เพียงมีข้อได้เปรียบที่สำคัญในด้านความสามารถด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมต่อเครือข่าย แต่ยังมีลักษณะเฉพาะของตนเอง เช่น การบริหารจัดการที่ดี และนวัตกรรมชั้นนำ เป็นต้น
ส่วนดัชนีสินค้าท่าเรือขนส่ง โดยซินหัว-เอสพีจี ถูกพัฒนาและรวบรวมโดยกลุ่มท่าซานตง (Shandong Port Group) และทีมบริการข่าวเศรษฐกิจของสำนักข่าวซินหัว เปิดตัวครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2564 ที่เมืองชิงเต่า ประกอบด้วยดัชนีราคาน้ำมันดิบ ดัชนีแร่เหล็กคงคลังรายการเข้าและขาออก ดัชนีโค้กคงคลังรายการเข้าและออก ดัชนีราคาเหล็กแท่ง และดัชนีราคาเหล็กแผ่นรีดร้อน ในปีนี้ยังมีการเผยแพร่ดัชนีราคาแร่เหล็กและดัชนีราคาโค้ก สร้างระบบการตรวจสอบที่ครอบคลุมราคาแร่เหล็กและสินค้าโภคภัณฑ์โค้ก สินค้าคงคลัง และสถานะการเข้าและออกในท่าเรือของกลุ่มท่าซานตง ทั้งนี้ มีแผนที่จะพัฒนาหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องในระบบดัชนีตัวหลัง ครอบคลุมท่าขนส่งสินค้าแห่งอื่น ๆ ตามแนวชายฝั่ง เพื่อรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทสินค้าที่ได้เปรียบของท่าเรือต่าง ๆ
สำหรับรายงานดัชนีการค้าทางเรือของประเทศสมาชิกฯ ประจำปี 2565 ได้รวมเอาข้อมูลจาก 14 ประเทศสมาชิกยกเว้นลาวมาวิจัย และเลือกสินค้าหลัก 6 ประเภท ได้แก่ ตู้คอนเทนเนอร์ แร่เหล็ก ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติเหลว และรถยนต์ ซึ่งคิดเป็นราวสองในสามของปริมาณการค้าทางทะเลทั้งหมดของประเทศสมาชิก RCEP สะท้อนแนวโน้มการพัฒนาการค้าทางทะเลประจำปีของประเทศสมาชิกฯ ในสองมิติ ได้แก่ ปริมาณการค้าโดยรวมและปริมาณการค้าทางทะเล สำหรับดัชนีดังกล่าวอยู่ที่ 101.1 ในปี 2564 ซึ่งเกินกว่าระดับสูงสุดก่อนการระบาดของโควิด-19 (2562) รายงานยังชี้ให้เห็นถึงผลดีต่อการค้าทางทะเลของภูมิภาคนี้ในอนาคต ผลักดันให้ดัชนีการค้าทางทะเลของกลุ่มประเทศสมาชิกฯ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยการเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกในการค้า รวมถึงการพัฒนากฎระเบียบข้อบังคับในภูมิภาคเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
การขนส่งทางทะเลเป็นวิธีการขนส่งหลักสำหรับการค้าทั่วโลก และท่าเรือคือศูนย์กลางและสะพานเชื่อม คุณหวง โหยวฟาง (Huang Youfang) ประธานสถาบันการเดินเรือแห่งประเทศจีนแห่งที่ 8 และรองประธานสหพันธ์โลจิสติกส์และการจัดซื้อแห่งประเทศจีน เชื่อว่าการเชื่อมต่อดิจิทัลจะทำให้ดัชนีที่ได้รับการยกระดับทั้งสาม ช่วยเพิ่มสถานะของท่าเรือในฐานะศูนย์กลางการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ สร้างความร่วมมือที่ราบรื่น และช่วยให้ท่าเรือทั่วโลกเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากรและบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน
ที่มา: China Economic Information Service
Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร : Read More