ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

ผู้ตรวจดีอีเอส ติดตามผลสำเร็จ ศูนย์ดิจิทัลชุมชน การบริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะสู่ชุมชน โครงการเน็ตประชารัฐ/เครือข่ายอาสาสมัครดิจิทัล (อสด.) ในพื้นที่ จ.ตราด- จ.ระยอง

ผู้ตรวจดีอีเอส ติดตามผลสำเร็จ ศูนย์ดิจิทัลชุมชน การบริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะสู่ชุมชน โครงการเน็ตประชารัฐ/เครือข่ายอาสาสมัครดิจิทัล (อสด.) ในพื้นที่ จ.ตราด- จ.ระยอง

เมื่อวันที่ 18 – 19 สิงหาคม  2565  นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมพร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจข้าราชการเจ้าหน้าที่กรมอุตุนิยมวิทยา ณ สถานีอุตุนิยมวิทยาระยอง และจังหวัดตราด โดยได้เข้าพบหารือข้อราชการกับ นายกัฬชัย เทพวรชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด พร้อมทั้งประชุมร่วมกับหัวหน้าหน่วยงานสังกัดกระทรวงฯ ในพื้นที่ เพื่อรับฟังสรุปผลการดำเนินงานสำคัญ รวมทั้งปัญหา/อุปสรรค พร้อมให้กำลังใจและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานต่าง ๆ อาทิ โครงการยกระดับศูนย์การเรียน ICT ชุมชนสู่ศูนย์ดิจิทัลชุมชน โครงการบริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะสู่ชุมชน โครงการเน็ตประชารัฐ/เครือข่ายอาสาสมัครดิจิทัล(อสด.) โครงการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) โครงการ Smart City การขับเคลื่อนงานดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในระดับจังหวัด เป็นต้น

 

         ในโอกาสเดียวกันนี้ คณะของผู้ตรวจราชการฯ กระทรวงดิจิทัลฯ ได้ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานศูนย์ดิจิทัลชุมชนวิทยาลัยชุมชนตราด ที่มีภารกิจในการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาตรี ซึ่งศูนย์ฯ มีการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือและอุปกรณ์สนับสนุนศูนย์ดิจิทัลที่ได้รับจากกระทรวงฯ ในการให้บริการทางวิชาการ ส่งเสริมการเรียนรู้ และการประกอบอาชีพของท้องถิ่นและชุมชน แก่นักศึกษาและประชาชนทั่วไปในพื้นที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จากนั้นได้เดินทางไปเยี่ยมชมโครงการสินค้าชุมชนของ ปณท. ณ ที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดตราด โดยสินค้าออนไลน์บน www.thailandpostmart.com ของจังหวัดตราด มี 14 รายการ  สินค้าที่ขึ้นชื่อ คือ น้ำมันเหลืองและผลไม้ เช่น ทุเรียน เงาะ ลองกอง เป็นต้นและจุดสุดท้าย คณะได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมโครงการเน็ตประชารัฐบ้านเปร็ดใน หมู่ ๒ ต.ห้วงน้ำขาว อ.เมือง จ.ตราด โดยชุมชนบ้านเปร็ดในตั้งอยู่แถบป่าชายเลน ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางถึง 12,000 ไร่ ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ เป็นทั้งแหล่งไม้ใช้สอย พืชอาหาร สมุนไพร แหล่งอาหาร และแหล่งสร้างรายได้จุนเจือครอบครัว ซึ่งประชาชนในพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำสวนและการประมงเป็นหลัก และมีการค้นพบซากโครงกระดูกปลาวาฬ อายุหลายร้อยปี ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไปได้ โดยชาวบ้านและนักเรียนในพื้นที่มีการใช้ประโยชน์จากโครงการเน็ตประชารัฐในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนได้เป็นอย่างดี

 

**************
ที่มา : https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/58316

Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร : Read More