ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองแผนงานโครงการชุมชน จังหวัดสมุทรปราการการ ครั้งที่ 4/2565

วันที่ 1 กันยายน 2565 เวลา 15.00 น. นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองแผนงานโครงการชุมชน จังหวัดสมุทรปราการการ ครั้งที่ 4/2565  ณ ห้องประชุม 2 ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ โดยมีคณะอนุกรรมการฯ เข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียง
ที่ประชุมร่วมรับทราบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองแผนงานโครงการชุมชนกองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดสมุทรปราการ 3 จำนวน 5 คณะ กรอบงบประมาณของกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ขนาดใหญ่ และขนาดกลาง การจัดสรรกรอบงบประมาณกองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดสมุทรปราการ 3 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดย กกพ. ได้อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดทำแผนงานประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดสมุทรปราการ 3 จำนวน 166.07 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงบประมาณในการบริทารจัดการ จำนวน 23.56 ล้านบาท และงบประมาณโครงการชุมชน จำนวน 142.51 ล้านบาท
นอกจากนี้ที่ประชุมร่วมพิจารณาปฏิทินการทำงานของคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองแผนงานโครงการชุมชนกองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดสมุทรปราการ 3 หลักเกณฑ์การพิจารณาความเหมาะสมด้านราคาและความครบถ้วนของเอกสารประกอบการเสนอแผนงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อให้การจัดทำแผนงานโครงการชุมชนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติ กกพ. จึงเห็นควรให้มีขั้นตอนการพิจารณากลั่นกรองโครงการชุมชน ดังนี้
1. โครงการที่นำเสนอแผนงานต้องผ่านการสำรวจความต้องการของประชาชนในพื้นที่ประกาศ (ผ่านการประชาคมในพื้นที่)
2. การตั้งชื่อโครงการควรให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่ทำและสะท้อนการดำเนินงานอย่างแท้จริง ตามหลักเกณฑ์การตั้งซื่อ ประกอบด้วย “โครงการ”+ ประเภทโครงการ + รายละเอียด + สถานที่ (หมู่บ้าน/ตำบล/จังหวัด)
3. การนำเสนอแผนงานต้องสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของกองทุนฯ
4. ระยะเวลาดำเนินโครงการกำหนดให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ
5. การนำเสนองบประมาณ ควรพิจารณาความเหมาะสมด้านราคา ดังนี้
– กรณีการจัดซื้อจัดจ้าง ให้ใช้ราคากลางของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นราคาอ้างอิง อาทิ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง เป็นต้น กรณีไม่มีราคากลางของหน่วยงานราชการอ้างอิง ให้สืบราคาจากท้องตลาด (ร้านค้าท้องถิ่น, ราคาในเว็บไซต์, ราคาในห้างสรรพสินค้า ฯลฯ เป็นราคาอ้างอิง) อย่างน้อย 3 ราย
– กรณีงานก่อสร้าง/ปรับปรุง ให้ใช้ราคากลางของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นราคาอ้างอิง อาทิ กรมบัญชีกลาง บัญชีราคาค่าวัสดุก่อสร้างและค่าแรงงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตัชนีราคาวัสดุก่อสร้างของกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น กรณีไม่มีราคากลางของหน่วยงานราชการอ้างอิง ให้สืบราคาจากผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายเป็นราคาอ้างอิง อย่างน้อย 3 ราย ทั้งนี้ การสืบราคาจากท้องตลาดและการสืบราคาจากผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย เป็นราคาอ้างอิง ให้ระบุชื่อบริษัท/ห้างหุ้นส่วน/เว็บไซต์ที่สืบราคาให้ชัดเจน
6. สำนักงานกองทุนฯ ดำเนินการจัดทำแบบตรวจกลั่นกรองโครงการชุมชน เพื่อสรุปรายละเอียดการดำเนินโครงการ งบประมาณที่ขอรับการสนับสนุนตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารประกอบการเสนอแผนงานโครงการชุมชนปี 2566 และรวบรวมเพื่อจัดส่งเอกสารดังกล่าวให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการดำเนินโครงการ
และความเหมาะสมด้านราคา โดยแบ่งประเภทการพิจารณา ดังนี้ 1) ด้านอาคาร การก่อสร้าง และโครงสร้างพื้นฐาน มีโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสมุทรปราการ เป็นผู้พิจารณา 2) ด้านการสาธารณสุข มีสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ เป็นผู้พิจารณา 3) ด้านการจัดซื้อและจัดจ้าง มีคลังจังหวัดสมุทรปราการ เป็นผู้พิจารณา 4) ด้านการศึกษา มีศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นผู้พิจารณา 5) ด้านการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน และส่งเสริมอาชีพ มีเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ และพัฒนาการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นผู้พิจารณา
ที่มา: สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรปราการ




เครดิตข่าวจากเว็บไซต์ สมุทรปราการ https://www2.samutprakan.go.th/