ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

คณะครุศาสตร์ มรภ.ยะลา จัดกิจกรรม PLC ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ รุ่นที่ 2

คณะครุศาสตร์ มรภ.ยะลา จัดกิจกรรม PLC ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ รุ่นที่ 2

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรม PLC ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนปลายทางโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 2

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประธานเปิดกิจกรรม PLC ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับโรงเรียนปลายทางโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 2 และกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำวิจัยชุมชนสำหรับครูพี่เลี้ยง ภายใต้การดำเนินงานโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อให้เกิดการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกันระหว่างโรงเรียนหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพและชุมชนในพื้นที่ โรงเรียนปลายทางของนักศึกษาครูในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 2 อีกทั้งพัฒนาครูพี่เลี้ยงให้มีองค์ความรู้ในการทำวิจัยชุมชน และพัฒนาการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันผลิต แหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพและชุมชน ระหว่างวันที่ 12 – 13 กันยายน 2565 ณ โรงแรมญันนะตีย์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รักษาราชการแทนอธิการบดี มรภ.ยะลา กล่าวว่า กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้เริ่มโครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน (ครูรัก(ษ์)ถิ่น) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 โดยมีเป้าหมายในการเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูให้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน สามารถพัฒนาเด็กและเยาวชนตามพื้นฐานและศักยภาพที่แตกต่างกัน ดำเนินการหรือจัดให้มีการศึกษา วิจัย หรือค้นคว้าแนวทางในการพัฒนาครู ให้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความรู้ และมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้เรียนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา

โดยมีแรงจูงใจที่เหมาะสมรวมทั้งส่งเสริมหรือสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสถาบันต้นแบบในการผลิตและพัฒนาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นหนึ่งในสถาบันที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นสถาบันผลิตและ พัฒนาครูในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น มาแล้วจำนวน 3 รุ่น นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 ปีการศึกษา 2564 และ ปีการศึกษา 2565

มหาวิทยาลัยจึงดำเนินการจัดทำโครงการเพื่อพัฒนานักศึกษาทุน ที่อยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัย โดยศักยภาพนักศึกษาผู้รับทุนผ่านกิจกรรมเสริม การเรียนรู้ การฝึกปฏิบัติจริงในบริบทพื้นที่ห่างไกล ทั้งด้านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ทักษะ ในการพัฒนาชุมชน และทักษะอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล การดูแลและให้คำปรึกษานักศึกษาผู้รับทุนอย่างเหมาะสมและใกล้ชิด และการส่งเสริมให้นักศึกษาผู้รับทุนเกิดจิตสำนึกความเป็นครูและรักถิ่นฐานบ้านเกิดตนเอง รวมถึงการพัฒนาการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันผลิต โรงเรียนปลายทางหรือหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และชุมชน ด้วยกิจกรรมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และการพัฒนาครูพี่เลี้ยงในด้านการออกแบบการเรียนการสอน

ข้อมูล 

https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220913085119814

 

Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร : Read More