ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย รวมตัวยื่นหนังสือร้อง ป.ป.ช. – ป.ป.ท. ตรวจสอบ การปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่รัฐ ของกรมศุลกากรและกรมปศุสัตว์ เนื่องจากยังมีขบวนการหมูเถื่อน

เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย รวมตัวยื่นหนังสือร้อง ป.ป.ช. – ป.ป.ท. ตรวจสอบ การปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่รัฐ ของกรมศุลกากรและกรมปศุสัตว์ เนื่องจากยังมีขบวนการหมูเถื่อน

เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย รวมตัวยื่นหนังสือร้อง ป.ป.ช. – ป.ป.ท. ตรวจสอบ การปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่รัฐ ของกรมศุลกากรและกรมปศุสัตว์ เนื่องจากยังมีขบวนการหมูเถื่อน

 

?นายเดือนเด่น ยิ้มแย้ม รองประธานชมรมผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายอุดมศักดิ์ แก้วจันทร์วงษ์ เลขาธิการ ชมรมผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคณะ เป็นกลุ่มตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง เลขาธิการคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งกรมศุลกากรและกรมปศุสัตว์ในการปราบปรามขบวนการหมูเถื่อน โดยไม่เคยเปิดเผยรายชื่อผู้กระทำผิดทั้งที่สามารถเชื่อมโยงไปถึงบริษัทผู้นำเข้าได้ไม่ยาก ขณะที่หมูเถื่อนยังคงมีวางขายปะปนกับหมูไทยในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ สร้างความเดือดร้อนแก่เกษตรกร ทั้งนี้ ป.ป.ช. มี นายพิสิษฐ์ พัฒนกิจจำรูญ ผู้อำนวยการสักนักสืบสวนและกิจการพิเศษ และ ป.ป.ท.มี นายพุฒิพงษ์ เลิศสถิตย์ รองเลขาฯ ปปท. เป็นผู้แทนในการรับหนังสือจากเกษตรกร

 

ทั้งนี้เนื้อหาในหนังสือระบุว่าปัจจุบันเกิด ขบวนการลักลอบนำเข้าหมูเถื่อน เข้ามาในราชอาณาจักรไทยเป็นจำนวนมาก ในลักษณะหมูแช่แข็งบรรจุกล่องใส่ตู้คอนเทนเนอร์เก็บความเย็น กระทั่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูของไทย ทำให้ปริมาณการขายหมูมีชีวิตหน้าฟาร์มในทุกพื้นที่ทั่วประเทศลดลง และส่งผลถึงระดับราคาหมูที่เกษตรกรควรจะได้รับ ตลอดจนเป็นความเสี่ยงในระดับที่อาจทำให้อุตสาหกรรมหมูไทยล่มสลาย เนื่องจากหมูลักลอบนำเข้าส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบตะวันตกทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำลังมีการระบาดของโรค ASF อย่างกว้างขวาง นับเป็นโรคที่สร้างความเสียหายแก่หมูไทยไปแล้วกว่าล้านตัว อีกทั้งในประเทศต่างๆดังกล่าวยังใช้สารเร่งเนื้อแดงในการเลี้ยงหมูกันอย่างเสรีซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค นอกจากนี้จะส่งผลกระทบระยะยาวถึงความมั่นคงทางอาหารของประเทศ ตลอดจนการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ประเทศกำลังต้องการ

และการลักลอบนำเข้าหมูเถื่อนมีการสำแดงเท็จเป็นสินค้าชนิดอื่นเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจโรค เลี่ยงภาษี เลี่ยงการขอใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ ขณะเดียวกันก็มีการวางขายหมูเถื่อนผ่านโซเชียลมีเดียอย่างเปิดเผย โดยเข้าสู่ราชอาณาจักรไทยทั้งด่านชายแดนและท่าเรือต่างๆ ได้อย่างสะดวกราบรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ท่าเรือแหลมฉบัง” ที่มีข้อมูลว่ามีการนำเข้าถึงเดือนละ 1,000 ตู้คอนเทนเนอร์

 

แม้ภาครัฐจะมีการตรวจจับบ้างเป็นระยะแต่ก็เป็นจำนวนน้อยไม่สอดคล้องกับปริมาณหมูในท้องตลาด จึงขอให้ ป.ป.ช.และ ป.ป.ท. ตรวจสอบกระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อทำให้กระบวนการทำงานโปร่งใส นำไปสู่การดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้กระทำผิดอย่างถึงที่สุด อันจะก่อให้เกิความมั่นใจในการประกอบอาชีพเลี้ยงหมูของเกษตรกรไทย เพิ่มผลผลิตหมูให้เข้าสู่สมดุล เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค และสร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่ประเทศต่อไป

ที่มา : 

 

Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร : Read More