ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

แนะพัฒนาการดูแลระดับต่ำ ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต แต่ไม่ถึงขั้นป่วย ปิดช่องว่าง สร้างโอกาส เพิ่มความเป็นธรรม

แนะพัฒนาการดูแลระดับต่ำ ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต แต่ไม่ถึงขั้นป่วย ปิดช่องว่าง สร้างโอกาส เพิ่มความเป็นธรรม

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวบรรยายประเด็น เปิดทรรศนะเชิงประเด็นสุขภาพจิต จิตเวช จิตสังคมในปัจจุบันกับนโยบายที่เกี่ยวข้องในเวทีเสวนา “ปิดช่องว่าง สร้างโอกาส เพิ่มความเป็นธรรม กับประเด็นสุขภาพจิต จิตเวชและจิตสังคม” ว่า ปัจจุบันแบ่งสุขภาพจิตเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มป่วยและไม่ป่วย ซึ่งในกลุ่มไม่ป่วยก็สามารถมีปัญหาสุขภาพจิตได้ เช่น ปัญหาการฆ่าตัวตายที่มากกว่า ร้อยละ 50 ไม่ได้ป่วย ความรุนแรงในสังคมมากกว่า ร้อยละ 95 ไม่ได้ป่วยทางจิตเวช

ขณะเดียวกันกลุ่มป่วยทางจิตเวชมี 2 ประเภทคือ ประเภทโรคพบบ่อย มีความชุกมากกว่า ร้อยละ 5 ของจำนวนประชากร เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล สารเสพติด เด็กสมาธิสั้น และประเภทมีความรุนแรงมาก เช่น โรคจิต โรคไบโพลาร์ กลุ่มเด็กออทิสติก

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การบำบัด โดยไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ครอบคลุมด้านจิตเวชด้วยอัตราการเข้าถึงบริการชัดเจนมาก แต่พบปัญหาด้านคุณภาพ ดูแลต่อเนื่องให้กลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ หลักสำคัญของการดูแลทางการจิตสังคม พบว่าคนทั่วไปไม่ได้ต้องการความเข้มข้นสูง แต่ต้องการในระดับต่ำ หากดูแลให้คนไม่ต้องมาคลินิกจิตเวช โดยให้แพทย์ทั่วไป แพทย์ครอบครัวช่วยดูแล หรือให้บริการผ่านระบบไอที ก็ช่วยลดการใช้บุคลากรและนำมาสู่กลุ่มผู้ป่วยที่จำเป็นที่มีไม่ถึงร้อยละ 20 ที่ต้องการการดูแลเข้มข้น ต้องพบจิตแพทย์ นักบำบัด

ทางออกสำคัญคือ การพัฒนาการดูแลระดับต่ำ เพื่อดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต แต่ไม่ถึงขั้นป่วย เช่น ความเครียด ที่ต้องได้รับคำปรึกษาเบื้องต้น โดยปัญหาส่วนใหญ่คือผู้ป่วยไม่ยอมรับตัวเอง ทำให้ครอบครัว หน่วยงานไม่ส่งเข้ารักษา อาการก็ยิ่งมากขึ้น ก็จะรบกวนการทำงาน ดังนั้น ปัญหาไม่ได้อยู่ว่าป่วยหรือไม่ป่วย แต่อยู่ที่ว่าเขาได้รับการรักษาหรือไม่

ข้อมูล https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG221028144357724

Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร : Read More