ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

แนวคิดการจัดรูปแบบระบบห้วงอากาศ

แนวคิดการจัดรูปแบบระบบห้วงอากาศ

               

                    ฝ่ายมาตรฐานบริการการเดินอากาศ (Air Navigation Service Standards Department) สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.)
ดำเนินการจัดทำร่างข้อบังคับ กพท. ว่าด้วยห้วงอากาศ โดยเป็นข้อบังคับฯ เกี่ยวกับการใช้ห้วงอากาศที่ใช้ในการเดินอากาศให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย
ห้วงอากาศแห่งชาติ และได้มีการจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อให้การจัดทำร่างข้อบังคับฯ ดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ใช้งานห้วงอากาศ
และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด โดยได้มีการดำเนินกิจกรรมไปแล้วทั้งสิ้น 3 ครั้ง ได้แก่

1. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้นต่อร่างข้อบังคับของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยห้วงอากาศ ในวันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2565 เวลา 09.30 – 16.00 น.
โดยเป็นการประชุมทางไกลแบบ Video Teleconference ผ่านทาง Microsoft Team โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมทั้งสิ้นจำนวน  36 หน่วยงาน ประกอบไปด้วยหน่วยงานความมั่นคง
หน่วยงานราชการ ผู้ดำเนินการเดินอากาศ ผู้ประกอบกิจการการบินพลเรือน โรงเรียนการบิน ผู้ให้บริการจราจรทางอากาศ และผู้ดำเนินงานสนามบิน โดย ฝ่ายมาตรฐานบริการการเดินอากาศ
กพท. ได้รับข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์จากผู้เกี่ยวข้องในทุกด้าน เพื่อใช้ในการปรับปรุงร่างข้อบังคับฯ ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการปฏิบัติการบินในประเทศไทย

2. ให้การสนับสนุนกรมยุทธการทหารอากาศ กองทัพอากาศ ในการส่งวิทยากรบรรยายเรื่องการปรับปรุงห้วงอากาศตามร่างข้อบังคับของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยห้วงอากาศ
ในวันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.30 – 16.00 น. โดยเป็นการบรรยายทางไกลแบบ Video Teleconference ให้กับผู้แทนจากทุกกองบินภายใต้สังกัดกรมยุทธการทางอากาศเพื่อให้มีความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และผลประโยชน์ที่ทุกฝ่ายจะได้รับจากการพัฒนาระบบห้วงอากาศของประเทศตามแนวคิด Flexible Use of Airspace (FUA) 

3. จัดประชุมหารือการออกข้อบังคับ กพท. ว่าด้วยห้วงอากาศ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 เวลา 09.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมสุวรรณภูมิ ชั้น 6 กพท. โดยเป็นการหารือภายใน กพท.
เพื่อทำความเข้าใจร่างข้อบังคับฯ และหารือการดำเนินการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยครบถ้วน โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
เป็นประธานการปประชุม และมีผู้แทนจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม จำนวน 7 ฝ่าย ได้แก่ สำนักกฎหมาย ฝ่ายสมควรเดินอากาศและวิศวกรรมการบิน ฝ่ายมาตรฐานปฏิบัติการบิน
ฝ่ายมาตรฐานสนามบิน ฝ่ายมาตรฐานสถาบันฝึกอบรมและผู้ประจำหน้าที่ ฝ่ายบริหารงานปฏิบัติการการเดินอากาศ และฝ่ายมาตรฐานบริการการเดินอากาศ

                    กพท. จะดำเนินการปรับร่างข้อบังคับฯ ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการปฏิบัติการบินในประเทศไทย โดยคาดว่าจะดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นอย่างเป็นทางการภายในปี พ.ศ. 2565 เพื่อให้ร่างข้อบังคับฯ มีผลบังคับใช้ภายในปี พ.ศ. 2566 ต่อไป

 

Read More

Credit ข่า : สำนักงานการบินพลเรือนแห่ง ประเทศไทย : https://www.caat.or.th/