ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

กรมทางหลวงชนบท ส่งเสริมเศรษฐกิจการคมนาคมขนส่ง ยกระดับมาตรฐานทางตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

กรมทางหลวงชนบท ส่งเสริมเศรษฐกิจการคมนาคมขนส่ง ยกระดับมาตรฐานทางตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

กรมทางหลวงชนบท ส่งเสริมเศรษฐกิจการคมนาคมขนส่ง ยกระดับมาตรฐานทางตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

ซ่อมสร้างผิวทางลาดยางและปรับปรุงผิวทางลาดยางเดิม นำกลับมาใช้ใหม่ ถนนสาย นย.2011 จังหวัดนครนายก เสร็จสมบูรณ์

กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม ดำเนินโครงการซ่อมสร้างผิวทางลาดยางและปรับปรุงผิวทางลาดยางเดิมนำกลับมาใช้ใหม่ (HOT MIX In – Place Recycling แบบ RE – Paving) บนถนนทางหลวงชนบทสาย นย.2011 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 – บ้านพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายกเสร็จสมบูรณ์ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจการคมนาคมขนส่ง รองรับปริมาณจราจรและรถบรรทุกที่สูงเพิ่มมากขึ้น ยกระดับมาตรฐานทาง และเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อแนวท่อก๊าซที่วางอยู่ในสายทาง ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปัจจุบันโครงการมีความคืบหน้ากว่า 70% ขณะนี้อยู่ระหว่างบดอัดชั้นพื้นทางปูผิวจราจรแอสฟัลท์ติกคอนกรีต และดำเนินการงานอำนวยความปลอดภัย ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2566
เนื่องจากสายทางดังกล่าวเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญ มีการขนส่งสินค้าเชื่อมระหว่างอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก กับอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ส่งผลให้มีปริมาณการจราจรสูงถึง 14,000 คัน/วัน ประกอบกับเป็นหนึ่งในเส้นทางที่ ทช. ได้อนุญาตให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ดำเนินการก่อสร้างโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 (ระยอง – แก่งคอย) ซึ่ง ทช. ได้ตรวจสอบพบว่าถนนทางหลวงชนบทสาย นย.2011 ได้รับผลกระทบจากการวางท่อก๊าซธรรมชาติ ทช. จึงได้สรุปแนวทางการซ่อมบำรุงถนนสายดังกล่าวเป็นรูปแบบวิธีการซ่อมบำรุงด้วยวิธีซ่อมสร้างผิวทางลาดยางและปรับปรุงผิวทางลาดยางเดิมนำกลับมาใช้ใหม่ (HOT MIX In – Place Recycling แบบ RE – Paving) และถนนผิวทางคอนกรีตบนถนนทางหลวงชนบทสาย นย.2011 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 – บ้านพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ช่วง กม. ที่ 0+000 – 10+094 ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก ปตท. รวมทั้งสิ้น 234.770 ล้านบาท

ข้อมูล 

 

Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร : Read More