ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

รมว.สุชาติ ส่ง ‘ที่ปรึกษา’ เปิดสัมมนาหนุนนายจ้างพัฒนาฝีมือลูกจ้าง รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของประเทศ

รมว.สุชาติ ส่ง ‘ที่ปรึกษา’ เปิดสัมมนาหนุนนายจ้างพัฒนาฝีมือลูกจ้าง รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของประเทศ

  วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสัมมนา เรื่อง สิทธิประโยชน์จากกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โดยมี หัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดเพชรบุรี และผู้เข้าร่วมสัมมนา ร่วมต้อนรับ ณ ห้องประชุมเดอะการ์เด้น ชั้น 2 โรงแรมลองบีช ชะอำ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

          นางธิวัลรัตน์ กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กระทรวงแรงงาน ภายใต้การกำกับดูแลของ ท่านสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยต่อแรงงานทุกกลุ่ม รวมทั้งสถานประกอบกิจการ โดยเฉพาะสถานประกอบกิจการที่อยู่ในข่ายบังคับตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงมีนโยบายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่วยเหลือสถานประกอบกิจการที่ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ในปี พ.ศ. 2565  โดยปรับลดจำนวนลูกจ้างที่ต้องพัฒนาทักษะฝีมือ จากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ไม่ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน  ลดอัตราการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน จากเดิมอัตราร้อยละ 1 เหลือร้อยละ0.5 และขยายระยะเวลาการยื่นขอรับรองหลักสูตรจากเดิมภายใน 60 วัน เป็นภายใน 90 วันเป็นต้น

          นางธิวัลรัตน์ กล่าวต่อว่า การสัมมนาในครั้งนี้จัดขึ้นโดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 35 เพชรบุรีมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้ ความเข้าใจ สามารถดำเนินการตามแนวทางการปฏิบัติงานได้ถูกต้อง และสถานประกอบกิจการได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุดจากพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานฉบับนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานนั้นเป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี “ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์” เพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงานให้แก่สถานประกอบกิจการ ตอบสนองการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยให้ผู้ประกอบกิจการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะฝีมือแก่ลูกจ้างของตนเอง ให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน รวมทั้งพัฒนาปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยสถานประกอบกิจการได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการจัดฝึกอบรม รวมทั้งได้รับสิทธิและประโยชน์อื่นๆ อีกด้วย
ที่มา : 

 

Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร : Read More