ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

รปอ.ณัฏฐิญา นำทีมขึ้นเหนือ แนะผู้ประกอบการผลไม้ปรับตัวตามเทรนด์โลก เชื่อมโยงต้นน้ำป้อนวัตถุดิบ พร้อมเป็น Hero สร้างนักธุรกิจชุมชนอย่างยั่งยืน

รปอ.ณัฏฐิญา นำทีมขึ้นเหนือ แนะผู้ประกอบการผลไม้ปรับตัวตามเทรนด์โลก เชื่อมโยงต้นน้ำป้อนวัตถุดิบ พร้อมเป็น Hero สร้างนักธุรกิจชุมชนอย่างยั่งยืน

รปอ.ณัฏฐิญา นำทีมขึ้นเหนือ แนะผู้ประกอบการผลไม้ปรับตัวตามเทรนด์โลก เชื่อมโยงต้นน้ำป้อนวัตถุดิบ พร้อมเป็น Hero สร้างนักธุรกิจชุมชนอย่างยั่งยืน

 

จังหวัดเชียงราย – เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 นางสาวณัฏฐิญา  เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมและให้กำลังใจ พร้อมให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการ บ้านผลไม้ เชียงราย พร้อมด้วย นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางกฤษนันท์ ทะวิชัย อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย นายพงษ์เกษม โพธิ์แก้ว อุตสาหกรรมจังหวัดพะเยา และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม โดยมี นางนริชา กุลนานันท์ กรรมการบริหาร บจก. บ้านผลไม้ (ประเทศไทย) และนางสาวสุทัตตา ปัทมโยธิน ผู้จัดการ บจก. บ้านผลไม้ (ประเทศไทย) ให้การต้อนรับ ณ บ้านผลไม้ จังหวัดเชียงราย

บ้านผลไม้ นับเป็นธุรกิจขนาดเล็กๆ ที่ก่อร่างจากการเป็นธุรกิจครอบครัว ของนางนริชาฯ ที่อาศัยความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และประสบการณ์การทำงานของตนมาทำธุรกิจด้านเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อเป็นฟันเฟืองและต่อยอดชุมชนให้เกิดธุรกิจ ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง จนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยดำเนินการแปรรูปผักและผลไม้ด้วยความใส่ใจ เน้นคุณภาพเป็นหลักสำคัญ และดูแลสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่แต่งกลิ่น ไม่เติมสี ใช้น้ำตาลน้อยหรือไม่ใช้เลย ใช้สารเคมีพื้นฐานเท่าที่มีความจำเป็น แต่ยังคงให้รสชาติเหมือนผลไม้จริงใกล้เคียงธรรมชาติ ผ่านกรรมวิธีการผลิตแบบตู้อบลมร้อนที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมครัวเรือน ปัจจุบันมีการแปรรูปผลิตจากผลไม้มากกว่า 15 ชนิด วางจำหน่ายตาม Modern Trade ต่าง ๆ และส่งออกไปยังต่างประเทศ

รสอ.รก.รปอ. ได้กล่าวชมเชยบ้านผลไม้ ว่ามีความสามารถในการพัฒนาธุรกิจโดยนำองค์ความรู้ที่มีมาต่อยอดสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์จนประสบความสำเร็จ และที่สำคัญยังช่วยกระจายรายได้ให้กับชุมชน สามารถสร้างธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งบ้านผลไม้นับเป็นธุรกิจด้านเกษตรอุตสาหกรรม ที่จำเป็นต้องพึ่งพาผลผลิตทางการเกษตรเป็นหลัก มักประสบปัญหาที่ควบคุมได้ยาก เช่น ด้านการควบคุมคุณภาพ ปริมาณผลผลิต และราคา จึงควรเชื่อมโยงเครือข่ายกับเกษตรกร ในลักษณะ Contract Farming เพื่อป้อนวัตถุดิบอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานทั้ง GMP HACCP มาตรฐาน มอก.เอส รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยศึกษาแนวโน้มการตลาดสมัยใหม่ เช่น แนวโน้มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ อาจมีการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ หรือกลุ่มผู้สูงอายุที่เน้นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและคุณค่าทางโภชนาการ ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่าง สร้างจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ สามารถบ่งบอกอัตลักษณ์ของชุมชน พร้อมการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาซื้อสินค้าในชุมชน เป็นต้น

ทั้งนี้ กระทราวงอุตสาหกรรม มีหน่วยงานในการกำกับดูแลที่พร้อมให้บริการเพื่อช่วยยกระดับให้บริษัทมีศักยภาพสูงขึ้น เริ่มตั้งแต่โครงการปั้นนักธุรกิจให้ดีพร้อม เพื่อช่วยพัฒนาองค์ความรู้ให้เป็นนักธุรกิจมืออาชีพพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง ศูนย์ดีพร้อม ITC และสถาบันอาหาร ช่วยเรื่องการพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ SME D Bank, DIPROM Pay ให้บริการด้านสินเชื่อ เป็นต้น

ข้อมูล 

 

Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร : Read More