ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

เปิดแผนรองรับสถานการณ์น้ำทุกมิติ โดยเฉพาะฤดูแล้งที่กำลังมาถึง (5 มี.ค.เข้าสู่ฤดูร้อน) จัดสรรน้ำแบบคุ้มค่า ประโยชน์สูงสุด ตัดวงจรแล้งซ้ำซาก ขาดแคลนน้ำ!!

เปิดแผนรองรับสถานการณ์น้ำทุกมิติ โดยเฉพาะฤดูแล้งที่กำลังมาถึง (5 มี.ค.เข้าสู่ฤดูร้อน) จัดสรรน้ำแบบคุ้มค่า ประโยชน์สูงสุด ตัดวงจรแล้งซ้ำซาก ขาดแคลนน้ำ!!

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้วางแผนบริหารจัดการน้ำ (แผน 20 ปี 2561-2580)ไว้อย่างเป็นระบบสำหรับฤดูแล้งที่จะมีนี้ สำรวจสถานการณ์น้ำล่าสุด เดือนมี.ค. 2566

แหล่งน้ำทั่วประเทศ : มีปริมาณน้ำใช้การ 32,862 ล้าน ลบ.ม. (57%) แบ่งเป็น

 

-แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 26,128 ล้าน ลบ.ม. (55%)

-ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,595 ล้าน ลบ.ม. (71%)

-ขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,139 ล้าน ลบ.ม. (62%)

 

พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก : เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ ปริมาณน้ำใช้การ 9, 857 ล้าน ลบ.ม. (54%)

การจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. 2565 ถึงปัจจุบัน)

-อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 26,113 ล้าน ลบ.ม. (55%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 12,345 ล้าน ลบ.ม. (56%)

-พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 5,147 ล้าน ลบ.ม. (60%)

 

การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์

คณะอนุกรรมการอำนวยการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ประชุม ครั้งที่ 1/2566 (2 มี.ค. 2566 ) รับทราบผลการดำเนินงานมาตรการฤดูแล้ง ปี 65/66 และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าสำหรับฤดูฝน ปี 2566 และเห็นชอบ (ร่าง) มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 66 จำนวน 12 มาตรการ รวมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับมาตรการอย่างเคร่งครัด เพื่อแก้ไขปัญหาด้านน้ำในทุกมิติ ทั้งน้ำแล้ง น้ำท่วมและคุณภาพน้ำ ไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน

 

10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง 2565/2566

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง 2565/2566 (1 พ.ย. 2565) และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2566 เพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการสร้างอาชีพ รายได้ และการจ้างแรงงานให้กับประชาชนหรือผู้ได้รับผลกระทบ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านน้ำต้นทุน ด้านความต้องการใช้น้ำ และด้านการบริหารจัดการ จำนวน 10 มาตรการ ดังนี้

 

1. ด้านน้ำต้นทุน ประกอบด้วย 3 มาตรการ

(1.) เร่งเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภท โดยเร่งเก็บน้ำ สูบทอยน้ำ คือการสูบน้ำเป็นทอด ๆ จากแหล่งน้ำไปสู่พื้นที่เป้าหมาย ส่วนเกินในช่วงปลายฤดูฝนไว้ใช้ในฤดูแล้ง

(2.) เฝ้าระวังและเตรียมจัดหาแหล่งน้ำสำรอง พร้อมวางแผน เตรียมเครื่องจักรเครื่องมือในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ โดยคาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ พร้อมทั้งติดตามและประเมินสถานการณ์ตลอดฤดูแล้ง

(3.) ปฏิบัติการเติมน้ำ โดยจัดทำแผนปฏิบัติการฝนหลวง รองรับพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ และแผนปฏิบัติการ และปฏิบัติการเติมน้ำใต้ดินในพื้นที่ที่มีศักยภาพ

 

2. ด้านความต้องการใช้น้ำ ประกอบด้วย 4 มาตรการ

(1.) กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน และควบคุมการใช้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนให้เป็นไปตามแผนและมีประสิทธิภาพ

(2.) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคการเกษตร โดยส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชเพื่อลดการใช้น้ำและนำเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการน้ำ

(3.) เตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำนอง โดยการสนับสนุนจัดสรรน้ำเตรียมแปลงเพาะปลูกนารอบที่ 1 (นาปี) และจัดทำแผนการรับน้ำเข้า-ออกพื้นที่ลุ่มต่ำในการเพาะปลูกพืชและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

(4.) เฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำสายรอง รวมถึง แหล่งน้ำที่รับน้ำจากภาคอุตสาหกรรมการเกษตร และชุมชน รวมทั้งเตรียมแผนปฏิบัติการรองรับกรณีเกิดปัญหาและแจ้งเตือนพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบ

 

3. ด้านการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 3 มาตรการ

(1.) เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน ที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำโดยสร้างความรู้ ความเข้าใจในการวางแผน การใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่มีอยู่ และเตรียมจัดหาน้ำสำรอง และกักเก็บให้มีน้ำเพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภค

(2.) สร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์สถานการณ์และแผนบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการใช้น้ำอย่างประหยัดและเป็นไป ตามแผนที่กำหนด

(3.) ติดตามและประเมินผลการด าเนินงานให้เป็นไปตามแผน และหากพบการขาดแคลนน้ำหรือภัยแล้งให้รายงานมายัง กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) รวมทั้งประเมินผล การดำเนินงานตามมาตรการ พร้อมสรุปบทเรียน

ข้อมูล 

 

Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร : Read More