ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

หัวหน้าผู้ตรวจราชการฯ ลงพื้นที่น่านตรวจราชการรอบ 1 มอบนโยบายการทำงาน “ใช้หัวและใจ” ขับเคลื่อนแผนงานปี 2566 มุ่งยกระดับ “ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน”

หัวหน้าผู้ตรวจราชการฯ ลงพื้นที่น่านตรวจราชการรอบ 1 มอบนโยบายการทำงาน “ใช้หัวและใจ” ขับเคลื่อนแผนงานปี 2566 มุ่งยกระดับ “ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน”

หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่น่านตรวจราชการรอบ 1 มอบนโยบายการทำงาน “ใช้หัวและใจ” ขับเคลื่อนแผนงานปี 2566 มุ่งยกระดับ “ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน”

 

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการกรณีปกติ รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. โดยมีนายอนิรุทธ์ โพธิหล้า อุตสาหกรรมจังหวัดน่าน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เข้าร่วมประชุมรับการตรวจราชการพร้อมรับมอบนโยบายในการปฏิบัติงาน

โดย หน.ผู้ตรวจฯ ได้เน้นย้ำนโยบาย MIND ที่ท่านปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมให้ไว้เป็นแนวการทำงานของทุกหน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรม โดย “ใช้หัวและใจ” ขับเคลื่อนแผนงานปี 2566 มุ่งยกระดับ “ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน” 4 มิติ คือ 1) ความสำเร็จทางธุรกิจ การปรับธุรกิจให้เหมาะสมกับโลกอนาคต 2) การดูแลสังคมโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งยามปกติ และเมื่อเกิดวิกฤต 3) การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่ตอบโจทย์ไทยและประชาคมโลก 4) การกระจายรายได้ให้แก่ประชาชน และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เน้น “การสร้างงาน สร้างอาชีพ” และกระตุ้นผู้ประกอบการให้ดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise : SE) ทำงานร่วมกับชุมชน และเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ประชาชนในพื้นที่อย่างจริงจัง

ซึ่งเป้าหมายของนโยบายมุ่งเน้นให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดใช้ MIND “ใช้หัวและใจ” ทำงานให้บรรลุเป้าหมายโดย “ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน” เน้นย้ำให้ทุกโรงงานในพื้นที่ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพตอบโจทย์การทำงานมุ่งสู่ความสำเร็จทั้ง 4 มิติตามนโยบายของกระทรวง ทั้งในด้านผลิตภาพและการดูแลสิ่งแวดล้อม ใส่ใจชุมชนและร่วมพัฒนาอาชีพ กระจายรายได้ให้ชุมชนโดยรอบโรงงาน

โดยที่ หน.ผู้ตรวจฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะการตรวจราชการ ดังนี้ 1. การตรวจกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรม เน้นย้ำให้เร่งรัดการตรวจกำกับดูแล โรงงานอุตสาหกรรมที่มีน้ำเสีย มลพิษทางอากาศ และโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงจะเกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย (ซึ่งต้องการให้มีการตรวจกำกับ 100% ของโรงงานในพื้นที่) เพื่อป้องกันปัญหาข้อร้องเรียนของผลกระทบที่เกิดจากการประกอบการของโรงงานต่อชุมชนโดยรอบโรงงาน พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการหากมีปัญหาอุปสรรคในการประกอบธุรกิจในพื้นที่

2. เน้นย้ำให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเตรียมการสำรวจและคัดเลือก สถานประกอบการเป้าหมาย เพื่อกรอกข้อมูลลงในระบบ I-Single Form พร้อมทั้งมอบหมายเจ้าหน้าที่ให้ศึกษาการใช้งานระบบ I-Single Form ให้มีความชำนาญ พร้อมสำหรับการเป็นที่ปรึกษาให้ความรู้การใช้งานระบบฯ ต่อสถานประกอบการในพื้นที่
3. การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว (GI) เน้นย้ำให้เร่งประชาสัมพันธ์ ชี้แจงถึงความสำคัญของการเข้าร่วมโครงการพร้อมเชิญชวนสมัครเข้าร่วมโครงการฯ พร้อมเตรียมยกระดับการขอรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวให้ผู้ประกอบการต่อไป
4. การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย (กลุ่มเกษตรกร หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกษตร) เข้าร่วมโครงการ OPOAI-C ควรมุ่งเน้นส่งเสริมกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการโรงงานหรือสุ่มเสี่ยงจะได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการโรงงาน เพื่อลดผลกระทบจากเรื่องร้องเรียนและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมทั้งประสานความร่วมมือระหว่างโรงงานกับชุมชนที่ได้รับการพัฒนาจากโครงการเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
5. การเน้นย้ำให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดประชาสัมพันธ์พร้อมช่วยคัดเลือกและเสนอรายชื่อโรงงานในพื้นที่ ที่มีการประกอบการที่ดีเป็นแบบอย่างได้ มีการดำเนินงานครบ 4 มิติตามนโยบายของ กระทรวงอุตสาหกรรม (อย่างน้อย 5 สถานประกอบการ) เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นและอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมของกระทรวงอุตสาหกรรม

สุดท้าย ได้ให้กำลังใจในการปฏิบัติงานของ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดและขอให้ปฏิบัติงานอย่างบูรณาการกับทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการ และประชาชนต่อไป

ข้อมูล 

 

Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร : Read More