ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

กรมเจ้าท่า จัดระเบียบ อู่ต่อเรือทั่วประเทศ ส่งเสริมมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางน้ำทั้งระบบ

กรมเจ้าท่า จัดระเบียบ อู่ต่อเรือทั่วประเทศ ส่งเสริมมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางน้ำทั้งระบบ

กรมเจ้าท่า จัดระเบียบ อู่ต่อเรือทั่วประเทศ ส่งเสริมมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางน้ำทั้งระบบ

จากนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงคมนาคม ที่ได้มอบหมายให้กรมเจ้าท่า กำกับ ควบคุม ดูแลการประกอบกิจการอู่เรือทั่วประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยทางน้ำทั้งระบบ
นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ด้านปลอดภัย  เปิดเผยว่า จากกรณี เรือ สมูธ ซี 22 เกิดเหตุเพลิงไหม้ ขณะเรือจอดซ่อม ณ อู่เรือรวมมิตรด็อคยาร์ด แม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566 เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดยจากการตรวจสอบพบว่า อู่ต่อเรือดังกล่าว จดทะเบียนเป็นผู้ประกิจการอู่เรือแล้ว แต่เรือลำดังกล่าวจอดอยู่บริเวณท่าเทียบเรือของบริษัท รวมมิตรด็อคยาร์ค จำกัด จึงถือได้ว่าเป็นสถานที่สำหรับให้บริการแก่เดินเรือทะเลที่มีขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอสขึ้นไป โดยมิได้รับอนุญาตตามนัยข้อ 3 (9) และข้อ 4 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58  เรื่อง การควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชนนั้น จึงสั่งการให้ กองกำกับการพาณิชยนาวี (กกพ.) กลุ่มกำกับกิจการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และ จภ.1-7 เขต/สาขา ดำเนินการตรวจสอบอู่เรือทั้งหมด ว่ามีการอนุญาตถูกต้องหรือไม่ พร้อมทั้งให้ กกพ. จัดทำสรุปรายงานการดำเนินการเรื่องอู่เรือทั้งระบบ  
จากการ ตรวจสอบข้อมูลในภาพรวม กองกำกับการพาณิชยนาวี กลุ่มกำกับกิจการขนส่งต่อเนื่อง รายงานในเบื้องต้นว่า จำนวนอู่เรือที่จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบกิจการอู่เรือและได้รับหนังสืออนุญาตฯ ถูกต้องตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 256 ราย โดยมีอู่เรือที่ยังดำเนินการอยู่ 237 ราย และหยุดกิจการไปแล้ว 19 ราย และได้เสนอมาตรฐานในการปฏิบัติงาน การจัดทำคู่มือแนวทางการปฏิบัติงาน (SOP) การกำกับการปฏิบัติตามของอู่เรือ โดยเน้นเฉพาะอู่เรือที่ให้บริการเรือบรรทุกสินค้าอันตราย จำนวน  6 เรื่อง  ดังนี้ 1)เสนอให้มีการแก้ไขการปรับปรุงระเบียบ กฎหมาย ในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน  2) ตรวจสอบสถานที่ตั้งกิจการอู่เรือ เพื่อพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวกับทำเลที่ตั้ง ว่าเหมาะสมกับการประกอบกิจการหรือไม่ 3) ตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงในทุกกิจกรรมการปฏิบัติงานของอู่เรือ  4) ตรวจสอบใบอนุญาตที่เกี่ยวข้อง 5) จัดทำคู่มือวิธีปฏิบัติตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยในอู่เรือ และ 6) กำหนดให้มีหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานประจำอู่เรือเกี่ยวกับความปลอดภัย เพื่อควบคุมกำกับมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานตามระดับงานที่รับผิดชอบ  โดยผู้ปฏิบัติงานประจำอู่เรือต้องผ่านการอบรม หลักสูตรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานตามระดับของงานที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบกิจการอู่เรือมี มาตรฐานด้านความปลอดภัย ลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ ที่กระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินต่อไป
ข้อมูล https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/65962

Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร : Read More