ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

ภาคีเครือข่ายจังหวัดเชียงราย ขยายผลพื้นที่ต้นแบบพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ สู่ “โครงการที่ดินปันสุข” ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของพี่น้องประชาชนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน UN SDGs

ภาคีเครือข่ายจังหวัดเชียงราย ขยายผลพื้นที่ต้นแบบพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ สู่ “โครงการที่ดินปันสุข” ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของพี่น้องประชาชนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน UN SDGs

ภาคีเครือข่ายจังหวัดเชียงราย ขยายผลพื้นที่ต้นแบบพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ สู่ “โครงการที่ดินปันสุข” ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของพี่น้องประชาชนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน UN SDGs โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

 

เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 66 ที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาพื้นที่ชุมชน โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน พุทธอุทยานดอยอินทรีย์ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นายวราดิศร อ่อนนุช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่เข้ากราบนมัสการพระอาจารย์วิบูลย์ ธมฺมเตโช ที่ปรึกษาเจ้าอาวาสวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ ในฐานะที่ปรึกษาคณะทำงาน 7 ภาคีเครือข่าย ต.ดอยฮาง เพื่อร่วมประชุมสร้างการรับรู้และหารือแนวทางการพัฒนาพื้นที่โครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง SEDZ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาพื้นที่ชุมชน โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน พุทธอุทยานดอยอินทรีย์ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มผู้นำชุมชนพื้นที่ตำบลดอยฮาง โดยมี นายบุญธรรม ทองพิจิตร นายอำเภอเมืองเชียงราย นายปรัชญา พิลึก ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง อำเภอเมืองเชียงราย ในฐานะเลขานุการคณะทำงาน Change for Good จังหวัดเชียงราย ร่วมประชุม

พระอาจารย์วิบูลย์ ธมฺมเตโช ที่ปรึกษาเจ้าอาวาสวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ ได้เมตตากล่าวว่า ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาพื้นที่ชุมชน โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน พุทธอุทยานดอยอินทรีย์ เป็นผลสำเร็จของการน้อมนำศาสตร์พระราชา สู่การเขียนตำราลงดิน การใช้พลัง “บวร” สอดคล้องตามแนวทางขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข จะนำไปสู่การพัฒนาวัดและชุมชนให้มีการจัดการสิ่งแวดล้อมและการจัดการมรดกวัฒนธรรมของวัดให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป โดยมี ท่านสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้นำภาคีเครือข่าย ทั้งราชการส่วนกลาง ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัด และทุกภาคส่วนในพื้นที่ ได้ร่วมกันขยายผลสร้างสิ่งที่เรียกว่า “ความยั่งยืน” เป็นไปด้วยความเรียบร้อยน่าอนุโมทนาเป็นอย่างดี นำมาสู่การพัฒนาพื้นที่โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน ให้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้ที่มีชีวิต และยังเป็นพื้นที่เป้าหมายในการขยายผลการพัฒนาสู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย

นายวราดิศร อ่อนนุช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า พื้นที่โครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง SEDZ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาพื้นที่ชุมชน โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน พุทธอุทยานดอยอินทรีย์ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย แห่งนี้ เป็นพื้นที่นำร่อง การดำเนินงานตามนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ของกระทรวงมหาดไทย จังหวัดเชียงราย ได้กำหนดเขตพื้นที่ดำเนินงานออกเป็น 8 โซน มีพื้นที่รวม 38,000 ไร่ โดยมีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักบันได 9 ขั้น เป็นแนวทางการพัฒนา และการบูรณาการความร่วมมือ 7 ภาคี เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาพื้นที่ SEDZ ประมาณ 58,000 คน ซึ่งขณะนี้ได้รับการประสานงานจากเจ้าของที่ดินในพื้นที่ใกล้เคียงมีความประสงค์จะนำแนวทางการพัฒนาข้างต้น ประยุกต์จัดทำเป็น “โครงการที่ดินปันสุข” เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายผู้ยากไร้ สามารถเข้ามาทำประโยชน์ภายใต้ข้อกำหนดเงื่อนไขที่จะต้องเข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ด้วยศาสตร์พระราชา โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการที่จะสืบสาน รักษา ต่อยอดพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเพื่อเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นพื้นที่แหล่งเรียนรู้การพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (UN SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ

นายวราดิศร อ่อนนุช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมหารือร่วมกันในวันนี้ ที่ประชุมได้มีมติที่จะใช้ที่ดินในโครงการที่ดินปันสุขให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามวัตถุประสงค์ของเจ้าของที่ดิน และมอบหมายให้คณะทำงาน โดยได้รับเมตตาจากพระอาจารย์วิบูลย์ ธมฺมเตโช ร่วมกับนายอำเภอเมืองเชียงราย และภาคีเครือข่าย ดำเนินการพิจารณาคัดกรองผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ โดยจะคัดเลือกจากประชาชนกลุ่มครัวเรือนยากจนที่สามารถพัฒนาได้ในระบบ TPMAP เป็นลำดับแรก และลำดับต่อไปจะคัดเลือกจากผู้ยากไร้ และกลุ่ม “หัวไวใจสู้” โดยกำหนดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานก่อนต่อสัญญาตามโครงการอย่างต่อเนื่อง

“จังหวัดเชียงรายมุ่งหวังให้การขับเคลื่อนโครงการที่ดินปันสุขเป็นไปตามความประสงค์ของเจ้าของที่ดิน และสามารถบรรลุผลสำเร็จในการพัฒนาและยกระดับชีวิตของประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง และสามารถตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดย “ไม่ทิ้งใคร ไว้ข้างหลัง” ยังประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการดำรงชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน” รอง ผวจ.เชียงราย กล่าวในช่วงท้าย

ข้อมูล 

 

Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร : Read More