ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

โฆษก สธ. เผยผลวิจัยการฝังเข็มร่วมนวดทุยหนา ช่วยลดความปวดในผู้ป่วยโรคกระดูกคอเสื่อม องศาเคลื่อนไหวของคอเพิ่มขึ้น

โฆษก สธ. เผยผลวิจัยการฝังเข็มร่วมนวดทุยหนา ช่วยลดความปวดในผู้ป่วยโรคกระดูกคอเสื่อม องศาเคลื่อนไหวของคอเพิ่มขึ้น

โฆษก สธ. เผยผลวิจัยการฝังเข็มร่วมนวดทุยหนา ช่วยลดความปวดในผู้ป่วยโรคกระดูกคอเสื่อม องศาเคลื่อนไหวของคอเพิ่มขึ้น

โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เผย ผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสาธารณสุข ใช้การฝังเข็มร่วมกับการนวดทุยหนาเสริมประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยโรคกระดูกคอเสื่อม ช่วยลดระดับความปวด กล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก คลายตัว

 

 โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เผย ผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสาธารณสุข ใช้การฝังเข็มร่วมกับการนวดทุยหนาเสริมประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยโรคกระดูกคอเสื่อม ช่วยลดระดับความปวด กล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก คลายตัว องศาการเคลื่อนไหวคอเพิ่มขึ้นทุกทิศทาง ค่าบ่งชี้การไหลเวียนเลือดทางห้องปฏิบัติการดีขึ้น ชี้เป็นอีกทางเลือกในการรักษาควบคู่กับการทำกายภาพบำบัดและปรับพฤติกรรมตามหลักการยศาสตร์

         นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นพ.ทรงคุณวุฒิระดับ 11) และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการ MIU (MOPH Intelligence Unit) เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ 19 สาขา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ สาขาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน โดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ทำการศึกษาวิจัยการใช้ศาสตร์การแพทย์แผนจีน และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการสาธารณสุข โดยใช้การฝังเข็มร่วมกับการนวดทุยหนา ในการรักษาผู้ป่วยโรคกระดูกคอเสื่อม (Cervical Spondylosis) ซึ่งพบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ จากการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกและข้อต่อบริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอ และยังพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการก้มเล่นสมาร์ทโฟน นั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน ร่วมกับการใช้ท่าทางไม่เหมาะสม ทำให้กระดูกสันหลังและคอโค้งงอ ผิดรูป หมอนรองกระดูกและข้อต่อกระดูกคอค่อยๆ เสื่อม ส่งผลให้การเคลื่อนไหวผิดปกติ มีอาการปวดบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก และอาจปวดร้าวลงแขน มือและปลายนิ้วมือ

         “ผลการวิจัยในกลุ่มตัวอย่าง 674 ราย ที่รักษาโรคกระดูกคอเสื่อม ด้วยการนวดทุยหนาโดยวิธี กด คลึง ถู บีบ ดัด หรือกลิ้ง ที่บริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ สะบักและจุดปวด รวมถึงตำแหน่งจุดฝังเข็มที่สำคัญจากนั้นฝังเข็มที่จุดฝังเข็มบริเวณต้นคอระหว่างกระดูกคอข้อที่ 2-7 (C2-C7) จุดปวด (Trigger Point) จุดบนเส้นลมปราณ และเสริมจุดฝังเข็มตามอาการ พบว่า ผู้ป่วยมีระดับความปวดลดลง องศาการเคลื่อนไหวของคอเพิ่มขึ้นทุกทิศทาง มีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น และผลการตรวจค่าบ่งชี้การไหลเวียนเลือดทางห้องปฏิบัติการดีขึ้น เมื่อเทียบกับก่อนการรักษา” นพ.รุ่งเรืองกล่าว

         นายแพทย์รุ่งเรืองกล่าวต่อว่า การรักษาด้วยการฝังเข็มร่วมกับการนวดทุยหนา เป็นการใช้หลักธรรมชาติบำบัดและตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน เน้นการปรับสมดุลร่างกาย ซึ่งมีความปลอดภัยและไม่พบผลข้างเคียที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยอาจพบเพียงรอยช้ำ กล้ามเนื้ออักเสบจากการนวด หรืออ่อนเพลียได้ในผู้ป่วยบางราย และอาการจะหายเป็นปกติภายใน 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล จึงสามารถใช้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และยังสามารถนำไปพัฒนาวิธีการรักษาโรคกระดูกคอเสื่อมที่มีความปลอดภัยได้ โดยมีข้อแนะนำให้มีการติดตามผลการรักษาทุก 3 เดือนเพื่อศึกษาระยะเวลาอาการกำเริบของโรคในระยะยาว รวมทั้งดำเนินการควบคู่กับการทำกายภาพบำบัดและปรับพฤติกรรมตามหลักการยศาสตร์ (ergonomics) เพื่อเสริมประสิทธิภาพการรักษาให้ดียิ่งขึ้น

ข้อมูล https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/67508

Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร : Read More