ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

อยุธยาขาย “ยางรัก” ส่งตลาดนอกฟันกำไรอย่างงาม แม้ผลิตเองไม่ได้

“รัก” ที่คนไทยใช้เรียก “น้ำรัก” หรือ “ยางรัก” นั้น ไม่สามารถหาได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เพราะสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย ดังนั้น การได้ยางรักมาจึงมี 2 ทาง คือ ได้มาด้วยการซื้อขายแลกเปลี่ยนในฐานะสินค้า และได้มาในฐานะส่วยหรือบรรณาการที่ส่งมาจากรัฐตอนในของแผ่นดิน ซึ่งเป็นแหล่งที่เต็มไปด้วยของป่านานาชนิด เป็นสินค้าที่มีราคาแพง และเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ  ยางรักเป็นหนึ่งในส่วยของป่าสำคัญจากหัวเมืองประเทศราชหรือรัฐตอนในของแผ่นดิน จากทางภาคเหนือ (ล้านนา) และจากทางภาคตะวันออก-ภาคอีสาน (ล้านช้าง) ยางรักจากทั้ง 2 เขตนั้นมีความแตกต่างกัน เพราะชนิดของสายพันธุ์รัก โดยมากแล้วต้นรักจะเติบโตได้ดีในสังคมของไม้ในป่าเต็งรังที่ระดับความสูงตั้งแต่ 100-600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง หรือในเขตภูเขา...

ผ่าตำนานรัก เมื่อนางเมรีได้พระรถเสนเป็นผัว นางพันธุรัตเลี้ยงพระสังข์เป็นลูก

…การที่นางเมรีและนางพันธุรัตเผชิญหน้ากับภาวะความเปล่าเปลี่ยว เป็นความทุกข์ทางใจอย่างหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโชคชะตานำพาให้นางทั้งสองพบกับมนุษย์ แล้วใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน โดยที่นางเมรีได้พระรถเสนเป็นผัว และนางพันธุรัตเลี้ยงพระสังข์เป็นลูก ถึงแม้เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก็เท่ากับเป็น “ทิพย์โอสถ” ชุบย้อมใจนางให้อิ่มเอมเป็นล้นพ้น นางเมรียามที่ครองคู่กับพระรถเสน นางอยู่ในสถานะเมียแก้ว ความประพฤติของนางถอดแบบจากสตรีผู้แสนซื่อ นางเมรีเทิดทูนผัวไว้บนเศียรเกล้า มีหน้าที่ปรนนิบัติรับใช้ผัวมิให้มีความทุกข์ใดมาแผ้วพาน ความสุขที่นางมอบให้ผัวนั้นเกินร้อย แม้เมื่อมีเหตุให้หวาดระแวงว่าผัวจะทอดทิ้ง นางก็ไม่สำแดงอาการวิตกจนเกินเหตุ เพราะกลัวผัวจะเข้าใจตัวนางผิดไป นางซ่อนความวิตกนี้ไว้ในใจเพื่อพิสูจน์ความหวาดระแวงให้คลี่คลายเสียก่อน ดังกรณีที่นางตื่นบรรทมแล้วหวาดหวั่นใจด้วยพระรถเสนมิได้นอนอยู่แนบข้าง นางกำชับให้เหล่านางสนมเที่ยวค้นหาพระรถเสนอย่างเงียบๆ มิให้ท้าวเธอล่วงรู้ ทั้งนี้เพราะ...

ผลวิจัยชี้ เมืองพระนคร กัมพูชา คือหนึ่งในเมืองที่มีผู้อาศัยมากสุดในโลกยุคศตวรรษที่ 13

นครวัด เมืองพระนคร (Angkor) ในกัมพูชา ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวและนักประวัติศาสตร์ทั่วโลกสืบเนื่องจากมีนครวัด (Angkor Wat) โบราณสถานอันทรงคุณค่ายิ่งของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม การศึกษาเชิงประชากรศาสตร์ในเมืองพระนครซึ่งเป็นภูมิภาครอบด้านของนครวัดกลับยังไม่ค่อยมีข้อมูลกระจ่างชัดมากนัก ขณะที่งานวิจัยล่าสุดซึ่งเผยแพร่ในวารสาร Science Advance รายงานว่า จากการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ผู้อยู่อาศัยในเมืองพระนครช่วงศตวรรษที่ 13 อยู่ระหว่าง 700,000-900,000 คน งานวิจัยล่าสุดที่ใช้ชื่อว่า “Diachronic modeling of the population within...

ดูวิธีแก้ถูกทาสีทับ กรณี “หลวงพ่อดำ” วัดโกโรโกโส อยุธยา ถูกทาสีน้ำมันทั้งองค์!

“หลวงพ่อดำ” ก่อนและหลังดำเนินการอนุรักษ์ การทาสีทองทับบนสถาปัตยกรรมในวัด เคยเกิดเป็นประเด็นตั้งคำถามถึงความเหมาะสมมีการถกเถียงกันในวงกว้างในโลกออนไลน์ รวมถึงกรณีทาสีทับ “หลวงพ่อดำ” พระพุทธรูปปางมารวิชัย ปูนปั้นลงรักปิดทอง ณ วัดโกโรโกโส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปี 2560 ขอย้อนกลับไปดูการดำเนินการอนุรักษ์ “หลวงพ่อดำ” ในกรณีนี้ โดยเพจ กลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้เผยแพร่ภาพและข้อมูล เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 ว่า นายสรรินทร์ จรัลนภา นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ...

ฝรั่งเศสท้าทายสิทธิเหนือเขมรของสยาม เพราะผลประโยชน์ทับซ้อน

ความผูกพันระหว่างสยามและเขมรยุคประวัติศาสตร์ปัจจุบัน เริ่มขึ้นเมื่อกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งขึ้นใหม่ๆ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้ทรงอุปถัมภ์เจ้านายน้อยองค์หนึ่งจากเขมร ผู้มีพระนามว่านักองค์เอง ที่ขุนนางไทยพาหลบหนีการกบฏเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เมื่อเจริญวัยขึ้นเจ้านายองค์นี้ก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ปัจจุบันในเขมรโดยราชสำนักไทย มีพระนามว่าสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี ส่วนพระภคินีของพระนารายณ์ฯ คือ นักองค์อีและนักองค์เภา ก็ได้ถวายตัวเป็นบาทบริจาริกาในกรมราชวังบวรฯ อีกด้วย เขมรจึงมีสภาพเป็นประเทศราชของสยามนับแต่นั้น [1] แม้นว่าเขมรจะตกอยู่ในฐานะเมืองขึ้นของสยาม แต่เขมรก็มีสถานะพิเศษกว่าเมืองขึ้นทั่วไป ฝ่ายไทยปกครองเขมรด้วยระบบพ่อปกครองลูก ทั้งยังได้รับอุปการะเชื่อพระวงศ์เขมรทุกพระองค์ให้มีเกียรติและศักดิ์ศรีเทียมเท่าเชื้อพระวงศ์ไทย โดยให้เข้ามาอาศัยพักพิงและมีวังเป็นของตนเองอยู่ในกรุงเทพฯ ฉันญาติสนิท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ทรงเคยยืนยันความรู้สึกนี้ไว้ในลายพระราชหัตถเลขาฉบับหนึ่งถึงพระนโรดมความว่า...

ไม่มีเมืองสระหลวง ในสมัยสุโขทัย

สระหลวง แปลกันตรงๆ แปลว่า สระใหญ่ เป็นชื่อเมืองที่ปรากฏอยู่ในเอกสารที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย-ต้นรัตนโกสินทร์ เช่น ในพระราชพงศาวดาร หนังสือกฎหมายตราสามดวง เป็นต้น ปรากฏเป็นชื่อที่เขียนติดกันกับชื่อเมืองสองแคว ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า เป็นชื่อเก่าของเมืองพิษณุโลกในสมัยสุโขทัย โดยเขียนว่า เมืองสระหลวงสองแคว ไม่มีที่ใดเขียนว่า เมืองสระหลวงเมืองสองแคว เอกสารที่เป็นร้อยแก้วสมัยโบราณไม่ว่าจะเขียนบนหิน หรือบนกระดาษ หรือบนใบลาน แผ่นเงิน แผ่นทอง เวลาเขียนไม่มีเว้นวรรค เขียนไปนานๆ จึงจะมีเครื่องหมายเป็นวงกลมหรืออย่างอื่นคั่นข้อความที่ติดกันเป็นพืดเสียที่หนึ่ง ความจริงมิได้หมายถึงว่าจะเป็นเว้นวรรค...

เกิดชาติหน้าขอให้ชนะอังกฤษ-ปณิธานก่อนตายของ “ซายาซาน” ผู้นำกบฏพม่า

ภาพซายาซาน ที่่ตีพิมพ์ลงบนธนบัตรราคา 90 จัต (ภาพจาก “กบฏเกือก เมื่ออิระวดีกรุ่น”) “เกิดชาติหน้าครั้งใดขอให้ข้าพิชิตอังกฤษตลอดไป” คือคำกล่าวสุดท้ายก่อนตายของ ซายาซาน ซายาซาน (Saya San) ซายา แปลว่าอาจารย์ ส่วนซานเป็นชื่อของเขา ซายานเกิดเมื่อปี 2422 ในสมัยพระเจ้าธีบอเป็นกษัตริย์ พี่ชายซายาซานถูกอังกฤษสังหารเสียชีวิต ซายาซานบวชเป็นพระ และเป็นหมอยาแผนโบราณ เขาเดินทางไปรักษาโรคทั่วประเทศพม่า จึงได้รับการเคารพเรียกว่า ซายา หรือ อาจารย์...

พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินคนแรกของไทย ผู้ให้กำเนิดกองทัพอากาศ

ภาพประกอบเนื้อหา – เครื่องบินออร์วิลล์ไรท์ ที่มาทำการบินในประเทศไทย ปี 2454 (ภาพจาก “อนุสรณ์เฉลิมอากาศ”) พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) (พ.ศ. 2430-2495) เกิดที่ตำบาลบ้านไร่ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี นักบินคนแรกของประเทศ และเป็นผู้วางรากฐานให้เกิดกองทัพอากาศ จากหน่วยงานการบินเล็ก ต้นปี 2454 ชาติตะวันตกได้นำเครื่องบินแบบออร์วิลล์ไรท์ ขนาด 50...

7 ตุลาคม 2463 “เรือหลวงพระร่วง” เรือรบลำแรกของไทย มาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา

ในปี 2457 ประเทศไทยได้มีการจัดซื้อเรือรบสำหรับการป้องกันพระราชอาณาจักรทางทะเล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง ราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยาม เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2457 เพื่อเป็นผู้ดำเนินการเรี่ยไรเงินจากประชาชนทั่วประเทศ สำหรับจัดหาเรือรบดังกล่าว และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (ม.ร.ว.ลพ สุทัศน์) เป็นสภานายกและเหรัญญิก ของสมาคมฯ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สมทบด้วย 80,000 บาท, สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ...

แฟชั่นไว้หนวดของไทยมาจากไหน? เมื่อโกนทิ้งก็ไม่ดี ปล่อยไว้ก็ไม่ดี

หนวด เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นชายที่สำคัญอย่างหนึ่งไม่แพ้มัดกล้ามเนื้อและรูปร่างอันบึกบึน เพราะการไว้หนวดของผู้ชายนั้นเป็นการเสริมความคมเข้มของใบหน้าและสร้างเสน่ห์ได้อย่างดี การมีหนวดของผู้ชายยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ใหญ่ที่น่าเชื่อถือเกรงขามได้อีกด้วย แต่ที่มาของการไว้หนวดในไทยมาจากไหน? ท่ามกลางกระแสแฟชั่นของผู้ชายที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานั้น การไว้หนวดของผู้ชายกลายเป็นแฟชั่นที่แทบจะไม่เคยตกยุค แม้ผู้ชายในยุคหนึ่งนิยมใบหน้าที่เกลี้ยงเกลาแต่ในยุคถัดมาการไว้หนวดก็อาจเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมอีกครั้งก็ได้ เช่นในปัจจุบันที่กระแสฮิปสเตอร์ที่มาแรงในสังคมไทย ทำให้ชายหนุ่มไทยเริ่มไว้หนวดเคราและตกแต่งอย่างดีเพื่อเสริมสร้างเสน่ห์ให้กับตนเอง คนไทยส่วนมากไม่ค่อยมีหนวดและไม่ค่อยไว้หนวดถึงจะมีก็ไม่ใคร่จะดกดำเหมือนกับฝรั่งและแขก เราอาจเคยได้ยินชื่อ “นายจัน หนวดเขี้ยว” แห่งบ้านบางระจัน แต่นั่นก็ไม่อาจเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่าคนไทยชอบไว้หนวด (ยังมิพักต้องพูดถึงว่าเหตุการณ์และบุคคลในตำนานบ้านบางระจันทร์นั้นในทางประวัติศาสตร์มีข้อถกเถียงกันอย่างไรบ้าง) เอนก นาวิกมูล ได้ลองสอบค้นถึงที่มาของการไว้หนวดของชายไทยในหนังสือ “แรกมีในสยาม ภาค 1” (จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์แสงดาว) และเสนอว่าบรรดาชายไทยที่ไว้หนวดนั้นก็ต้องมาแยกออกเป็น...

บทบาทพลเมืองสยาม ในการปราบกบฏบวรเดช 2476

ภาพถ่ายประชาชนจำนวนมากมาต้อนรับทหารที่ไปปราบกบฏกลับถึงกรุงเทพฯ ที่หน้าสถานีหัวลำโพง เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2476 (ภาพจากสมุดภาพพระยาพหลพลพยุหเสนา ภาค 2 : ปราบกบฏ พ.ศ. 2476. ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ : บรรณาธิการ. สำนักพิมพ์ต้นฉบับ, 2558) สำรวจบทบาทพลเมืองสยาม ในการปราบกบฏบวรเดช พ.ศ. 2476 เมื่อประชาชนร่วมบริจาค และอวยพรรัฐในการปราบกบฏ...

สุนทรภู่ไปนมัสการ สถูป “พระประธม” ก่อนเป็น “พระปฐมเจดีย์”

โอ้หน้าหนาวคราวนี้เป็นที่สุด ไม่มีนุชแนบชมเมื่อลมหวน พี่เห็นนางห่างเหยังเรรวน มิได้ชวนเจ้าไปชมประธมประโทน กลอนนิราศพระประธมของสุนทรภู่ ที่ยกมาข้างต้นนั้น แสดงว่าสุนทรภู่เดินทางไปนมัสการ “พระประธม” ในฤดหนาว นักวรรณคดีเชื่อว่าสุนทรภู่นั่งเรือออกจากกรุงเทพฯ-ธนบุรีเมื่อวันจันทร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 12 ตรงกับวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2385 หลังลาสิกขาบทแล้ว (ยังอยู่ในแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2367-2394)...

กำเนิดพจนานุกรมในโลก กำเนิดพจนานุกรมในไทย

อิซิดอร์ ออฟ เซอวิลล์ นักบวชชาวสเปน ผู้จัดทำ Etymologicae พจนานุกรมที่มีเนื้อหามากถึง 20 เล่ม พจนานุกรม คือ “น. หนังสือว่าด้วยถ้อยคำในภาษาใดภาษาหนึ่ง เรียงตามลำดับตัวอักษร โดยทั่วๆ ไปจะบอกความหมายและที่มาของคำเป็นต้นด้วย.” (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554) แล้ว “พจนานุกรม” ที่ใช้ค้นคว้าความหมายของคำต่างๆ เกิดขึ้นในโลกนี้ และในเมืองไทยเกิดขึ้นเมื่อใด เราจึงมีพจนานุกรม… ที่คุ้นเคยใช่ในปัจจุบัน...

6 ตุลาในมุมนิธิ เอียวศรีวงศ์-ธงชัย วินิจจะกูล อดีตที่เผยอัปลักษณ์ 5 อย่างของสังคมไทย

สำรวจ 6 ตุลา ในมุมมองของนิธิ เอียวศรีวงศ์ และธงชัย วินิจจะกูล กับอดีตที่เผยอัปลักษณ์ 5 อย่างของสังคมไทย ภายหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เกิดความตื่นตัวทางการเมืองในสังคมไทยอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในหมู่นักศึกษาประชาชน มีการจัดกิจกรรมทางการเมืองเพื่อต่อต้านความไม่เป็นธรรมในสังคมอันเนื่องมาจากอำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรมหลายประการ ความดุเดือดของการปะทะทางความคิดด้านการเมืองในสังคมไทยสั่งสมมายาวนานตลอด กระทั่งชนวนเหตุมาจุดขึ้นอีกจากการเดินทางกลับประเทศไทยของจอมพลถนอม กิตติขจร ที่สร้างความไม่พอใจให้กับนักศึกษาประชาชน องค์ประกอบและสถานการณ์หลายอย่างทำให้บรรยากาศบานปลาย วันที่ 6 ตุลาคม...

“วังวินด์เซอร์” : วังลูกหลวง นอกปราการกำแพงวัง

อิเหนา ตอนปันหยีชนไก่ในเมืองกาหลัง (ภาพเขียนสีฝุ่น พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน) พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น นับเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามหลังหนึ่งของไทย ด้วยมีรูปแบบอาคารเป็นแบบฝรั่งตามพระราชนิยมสมัยพระพุทธเจ้าหลวง ตัวอาคารก่ออิฐมั่นคงแข็งแรง ผนังฉาบปูนทาสี มีลวดลายปูนปั้นประดับสวยงาม เช่นเดียวกับภายในอาคารที่ตกแต่งแบบฝรั่ง ทั้งเครื่องเรือนและภาพเขียนสีประดับผนัง ภาพเขียนเหล่านั้นนอกจากจะสวยงามแล้ว ยังมีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ศิลป์ เนื่องจากเป็นประจักษ์พยานการเปลี่ยนแปลงงานจิตรกรรมไทยที่เขียนแบบสมัยใหม่ อาศัยหลักทัศนียภาพวิทยา (Perspective) มาแก้ปัญหามิติที่สามหรือความลึกของภาพได้ โดยใช้วิธีจัดองค์ประกอบให้ภาพมีระยะใกล้ไกล ส่วนรายละเอียดในภาพนั้นยังเป็นภาพเขียนแบบไทยอยู่ เป็นการผสมผสานสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่ และศิลปะตะวันออกกับตะวันตกเข้าด้วยกัน เนื้อหาของภาพยังสะท้อนให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยในยุคสมัยนั้น...

กบฏสมณทูตไทย : กรมหมื่นเทพพิพิธ พระสงฆ์อยุธยาร่วมมือชาวสิงหล โค่นล้มกษัตริย์ลังกา?

ภาพวาดพระเจ้ากีรติศรีราชสิงหะ ทรงแต่งตั้งพระแวลิวิฏะ สรณังกร เป็นพระสังฆราช (ภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม ฉบับธันวาคม 2551) ภาพแห่งความสำเร็จกอปรด้วยเสียงแซ่ซ้องสรรเสริญของชาวลังกาทุกหมู่เหล่า ที่เชื่อว่าการประดิษฐานพระพุทธศาสนาบนผืนเกาะลังกาสำเร็จเสร็จสิ้นเรียบร้อยดีงาม อีกทั้งเพราะมีหนังสือมากหลายทั้งของไทยและลังกาประเทศบันทึกยืนยันเป็นหลักฐาน แลสังเกตได้ว่าผู้บันทึกเหตุการณ์ครั้งนั้น ส่วนใหญ่เป็นศิษย์ของพระสังฆราชสรณังกรแทบทั้งสิ้น จึงต้องยกย่องสรรเสริญถึงเกียรติคุณของอาจารย์แห่งตน โดยเชื่อกันว่าพระสังฆราชสรณังกรนั้นเป็นอภิชาตบุตรผู้มาบังเกิดเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในยามมืดมนอนธการโดยแท้ แต่มีหลักฐานอีกส่วนหนึ่ง กล่าวคือ หนังสือสาสนาวตีระนะวระนะนาวะและหนังสือหาริสปัตตุราชาวลิยะ ซึ่งแต่งขึ้นภายหลังเหตุการณ์กำเนิดสยามวงศ์ประมาณ 1 ศตวรรษ และจดหมายเหตุของชาวฮอลันดา อีกทั้งเอกสารของนักบันทึกประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสนามว่า เดอ ลา เนโรเด...

ปรีดี พนมยงค์ ว่าความคดี “พลาติสัย” จนชนะ ทั้งที่ไม่มีใครรับเป็นทนาย

ปี 2462 นายปรีดี พนมยงค์ อาสาเป็นทนายความให้จำเลย คือ นายลิ่มซุ่นหงวน ใน “คดีประทุษร้ายส่วนแพ่ง” หรือ “คดีพลาติสัย” โดยได้ขออนุญาตเป็นพิเศษต่อผู้พิพากษาเจ้าของคดี เพราะขณะนั้นนายปรีดีอายุ 19 ปี ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และยังศึกษาวิชากฎหมาย โรงเรียนกฏหมายกระทรวงยุติธรรม บรรดาทนายความอาวุโสพากันยิ้มเยาะทนายหน้าใหม่อย่างนายปรีดีที่ไม่มีใครรู้จัก และยังไม่เคยว่าความมาก่อนเลยในชีวิต อาสาว่าความในคดีที่ไม่มีใครยอมเป็นทนายให้ และนายปรีดียังว่าความชนะคดีในที่สุด ทำให้มีชื่อเสียงในวงวิชาชีพกฎหมาย คดีดังกล่าวนั้น อัยการสมุทรปราการเป็นโจทก์ฟ้องนายลิ้มซุ่นหงวน...

ญาติออกญาวิไชเยนทร์โผล่ โต้ประวัติสายตระกูลเป็นขุนนาง

ออกญาวิไชเยนทร์ (บ้างเรียกพระยาวิไชยเยนทร์) หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนเมษายน 2540 อาจารย์ภูธร ภูมะธน เขียนเล่าประสบการณ์ที่ได้พบกับ “ญาติ” ของออกญาวิไชเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน ขุนนางต่างชาติสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) ถึง 2 คราวด้วยกันไว้ในบทความชื่อ “ญาติออกญาวิชาเยนทร์โผล่ โต้ประวัติสายตระกูลเป็นขุนนาง แจงหลักฐานตั้งแต่สมัยพระนารายณ์” การพบทั้ง 2 ครั้งเกิดขึ้นได้อย่างไร, มีหลักฐานหรือข้อมูลอะไรที่น่าสนใจ ฯลฯ อาจารย์ภูธร ภูมะธนเล่าไว้ดังนี้...

หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ขอปฏิเสธ! “ข้าพเจ้าไม่ใช่คอมมูนิสต์”

พระยานโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทยได้มอบหมายให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เป็นผู้ร่างโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้น ซึ่งหลวงประดิษฐ์ฯ จัดพิมพ์เอกสารดังกล่าว เรียกว่า “เค้าโครงการเศรษฐกิจ” หรือ “สมุดปกเหลือง” ใน พ.ศ. 2476 โดยยึดมาจากหลัก 6 ประการของคณะราษฎร กรณีเค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ถูกกล่าวหาว่ามีแนวโน้มไปทางคอมมิวนิสต์ และโจมตีตัวหลวงประดิษฐ์ว่าเป็นพวกคอมมิวนิสต์เช่นกัน พระยามโนปกรณ์นิติธาดาจึงได้ออกกฎหมายว่าด้วยคอมมิวนิสต์ขึ้นมา และบีบบังคับให้หลวงประดิษฐ์ฯ เดินทางออกนอกประเทศ ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2476 แม้หลวงประดิษฐ์ฯ จะเดินทางออกนอกประเทศไปแล้ว แต่ความแตกแยกทางการเมืองยังไม่จบสิ้น พระยามโนปกรณ์นิติธาดาจึงประกาศงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ซึ่งทำให้หลายฝ่ายไม่พอใจ...

ความหมายของธรรมเนียม “การสวม” พระมหาพิชัยมงกุฎ ซึ่งเริ่มสมัยรัชกาลที่ 4

ในอดีตพระมหาพิชัยมงกุฎมีความสําคัญเท่าเทียมกับเครื่องราชกกุธภัณฑ์อื่นๆ เมื่อเจ้าพนักงานทูลเกล้าฯ ถวายพระมหาพิชัยมงกุฎในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก็จะทรงรับไว้แล้วทอดวางข้างพระองค์โดยมิได้ทรงสวม กระทั่งในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงได้รับพระมหาพิชัยมงกุฎแล้วทรงสวมพระเศียรอันเป็นประเพณีที่ได้รับอิทธิพลจากราชสํานักยุโรป ซึ่งถือคติว่าพระมหากษัตริย์จะทรงดํารงสภาวะอันสมบูรณ์สูงสุดก็ต่อเมื่อได้ทรงสวมมงกุฎแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฎ นับแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา จึงถือว่าพระมหาพิชัยมงกุฎเป็นหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ที่มีความสําคัญเป็นอย่างยิ่งและถือว่าในขณะที่ทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นช่วงเวลาที่สําคัญยิ่งในพระราชพิธี โดยพระมหาราชครูพราหมณ์จะทูลเกล้าฯ ถวายพระมหาพิชัยมงกุฎ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงรับและทรงสวมที่พระเศียรด้วยพระองค์เอง เจ้าพนักงานภูษามาลาผู้ใหญ่กราบบังคมแต่งพระมหาพิชัยมงกุฎให้ตรงแล้วผูกพระรัตนกุณฑลเบื้องหลังถวาย ในขณะที่ทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฎนั้น พราหมณ์พิธีเป่าสังข์ขับบัณเฑาะว์ประโคมแตรสังข์ดุริยางค์ ทหารยิงปืนถวายคำนับ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถาทั่วพระราชอาณาจักร ข้อมูลจาก ผศ. ดร. พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์...