ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

อำเภอเชียงคาน มาจากไหน ทำไมชื่อ “เชียงคาน”

“อำเภอเชียงคาน” ตั้งอยู่ที่บ้านท่านาจันทน์ จังหวัดเลย ส่วน “เมืองเชียงคาน” ดั่งเดิมแท้ๆ นั้น ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เยื้องที่ว่าการอำเภอเชียงคานลงไปทางใต้น้ำโขงเล็กน้อย ที่บ้านผาฮด หรือเมืองชนะคราม ในประเทศลาว ชื่อเมืองเชียงคานนั้น มีประวัติมาว่า ขุนคาน กษัตริย์เมืองเชียงทอง โอรสขุนคัว (หรือขุนค้อ) ซึ่งเป็นเชื้อสายของขุนลอ (หรือขุนซัว) เป็นผู้สร้างเมืองเชียงคาน แล้วตั้งชื่อเมืองตามพระนามของพระองค์คือ “คาน” ส่วน “เชียง” นั้นตามธรรมเนียมของล้านนา...

“มาร์กาเร็ต บราวน์” ตำนานสตรีผู้รอดจากไททานิก เผยวิถีชีวิตที่ดิ้นรนจนกลายเป็นเศรษฐินี

โศกนาฏกรรมของเรือไททานิกถูกจารึกในประวัติศาสตร์ฐานะความสูญเสียครั้งใหญ่ของการเดินเรือ เหตุการณ์เรืออับปางเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 จากการสอบสวนแล้วมีผู้เสียชีวิตกว่า 1,500 ราย มีผู้รอดชีวิตเพียง 710 คน ผู้รอดชีวิตซึ่งภายหลังเป็นที่รู้จักมากที่สุดคนหนึ่งคือ มาร์กาเร็ต บราวน์ เหตุการณ์บนเรือ ปี ค.ศ. 1912 ในค่ำคืนเหนือท้องทะเลบนเรือโดยสารลำยักษ์อันโอ่อ่าหรูหราเป็นประวัติศาสตร์อย่างไททานิก มาร์กาเร็ต บราวน์ ผู้โดยสารหญิงในเรือที่อยู่ระหว่างอ่านหนังสือและพักผ่อนบนเตียง ห้องนอนอันหรูหราของเธออยู่ด้านหน้าสุดของชั้นบีบนเรือไททานิก เธอรู้สึกถึงความผิดปกติขึ้นบนเรือพร้อมกับเห็นชายผู้หนึ่งที่ใบหน้าซีดเผือกมาบอกให้เตรียมลงเรือชูชีพ เธอตัดสินใจกลับเข้าไปในห้องหยิบเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สามารถให้ความอบอุ่นกับร่างกายพร้อมเงินจำนวนหนึ่ง...

นักวิชาการม.ออสเตรเลียชี้ กรุงศรีอยุธยามิได้ถูกพม่าเผาทั้งหมด พวกอื่นทำลายหลังกรุงแตก

ข้อสังเกตเรื่องพม่าเผาทำลายกรุงศรีอยุธยาหลังจากตีกรุงศรีฯ เมื่อปี พ.ศ. 2310 เป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงในวงวิชาการมายาวนาน แม้แต่นักวิชาการต่างชาติอย่างออสเตรเลียก็เคยเขียนบทความตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ด้วย บทความชื่อ “ใครทำลายกรุงเก่า (กรุงศรีอยุธยา)?” โดย ดร. บี.เจ. เตรวิล จากศูนย์ประวัติศาสตร์เอเชีย มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Asian History Centre, Australian National University) เผยแพร่ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 เดือนกันยายน 2528 เนื้อหาต่อไปนี้คือเนื้อหาที่คัดลอกมาจากบทความเดิม …ผู้เขียนมีโอกาสดีมากที่ได้ไปทำงานที่กรุงปารีส...

ปัญหาบัญชีราชสํานักสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อรายจ่ายท่วมรายรับ

รัชกาลที่ 7 กับพระบรมวงศานุวงศ์ และเสนาบดี หน้าหอสมุดวชิราวุธ ถนนหน้าพระธาตุ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2469   พระนิพนธ์เรื่อง “สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น ประวัติศาสตร์เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475” (สนพ.มติชน, พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2546) ของ ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล ทรงนิพนธ์ไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2486 เป็นต้นฉบับพิมพ์ดีด ต่อมา ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ...

สำรวจร่องรอยที่มาของชื่อ “แม่น้ำเจ้าพระยา” ทำไมเรียกแม่น้ำ “เจ้าพระยา” ?

แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าราชวรดิฐ ขณะมีพิธีสรงสนาน เฉลิมพระปรมาภิไธยเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ ฯ พ.ศ. 2429   คนไทยรู้จัก แม่น้ำเจ้าพระยา เสียจนไม่คิดจะสงสัยว่าทําไมแม่น้ำสายนี้จึงชื่อว่า “เจ้าพระยา” ครั้นเมื่อเกิดสงสัยขึ้นมาก็ไม่รู้จะไปหาคําตอบได้ที่ไหน? สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงกล่าวเอาไว้ว่า— “ที่เราเรียกกันว่าปากน้ำเจ้าพระยาทุกวันนี้ แต่โบราณเรียกว่าปากน้ำพระประแดง ภายหลังเมื่อแผ่นดินงอกทะเลห่างออกไปไกลเมืองพระประแดงจึงเรียกว่าปากน้ำบางเจ้าพระยา ได้เห็นในจดหมายเหตุพระอุบาลีไปเมืองลังกาเมื่อแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ในหนังสือนั้นเรียกว่าปากน้ำบางเจ้าพระยา ทํานองเรียกปากน้ำบางปะกง เข้าใจว่าที่ซึ่งตั้งเมืองสมุทรปราการทุกวันนี้ในเวลานั้นจะเรียก “บางเจ้าพระยา” ” (พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา : 2505 : หน้า 455)...

สมัย ร. 5 จับโจรผู้ร้ายให้เรียบร้อยต้องอาศัย 4 ปัจจัยอะไร

สมัยรัชกาลที่ 5 หลังการปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. 2435 ที่ให้ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งมักได้ผู้ที่เป็นผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ และกลายเป็นที่พึ่งพิงของโจร บางครั้งอาจทำให้เมื่อผู้มีอำนาจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิกเฉยต่อการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้ “โจร” ยังรอดและลอยนวลไปก่อคดีความได้เรื่อยไป เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็วิตกกังวลกับปัญหาดังกล่าว และมีบางรายทำรายงานเสนอผู้บังคับบัญชาในระดับที่สูงขึ้น ตัวอย่างเช่น หลวงโสภณทุจริต ที่เสนอความคิดต่อเรื่องดังกล่าวในหนังสือรายงานถึงเสนาบดีกระทรวงนครบาล ลงวันที่ 1 พฤษภาคม  ร.ศ. 122 (พ.ศ. 2446) ตอนหนึ่งว่า (อ้างอิงตาม “ชาติเสือไว้ลาย”)...

พระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 ระหว่างทรงมี “ความรัก”

รัชกาลที่ 6 กับเจ้าจอมสุวัทนา (พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี) ในวันอภิเษกสมรส   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกลที่ 6 เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระชนมายุ 30 พรรษา ทว่ากลับยังไม่ทรงมี “ความรัก” หรือคู่ครองเลย จนพระบรมราชชนนีของพระองค์ ยังตรัสว่าให้พระองค์ทรงเลือกคู่เสีย จนเมื่อทรงมีพระชนมายุ 40 พรรษา ก็มี “ข่าวดี” เกิดขึ้นในพระราชสํานัก พระวรกัญญาปทาน...

สงกรานต์ 3 วัน 13-15 เม.ย.เริ่มมีเมื่อใด ปีใหม่ไทยในอดีตเปลี่ยนไปมา ชาวบ้านตามตรวจดูวันเอง

เมื่อมีผู้ถามถึงวันขึ้นปีใหม่ของไทย ผู้เขียนก็อดถามไม่ได้ว่าวันขึ้นปีใหม่ของไทยสมัยไหนเพราะไทยเราเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาหลายครั้งหลายหน แรกเริ่มเดิมทีก็คงจะถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้ายเป็นวันขึ้นปีใหม่ เพราะคนโบราณนับข้างแรมเป็นต้นเดือน และเดือนอ้ายก็บอกชัดอยู่แล้วว่าเป็นเดือนแรก ถัดไปก็เดือนยี่ เดือนสาม เดือนสี่ ฯลฯ เป็นแบบไทยแท้ เข้าใจกันว่าที่กําหนดเอาเดือนอ้ายเป็นต้นปีก็เพราะในระยะเวลาระหว่างนั้นอยู่ในฤดูหนาว คือพ้นจากฤดูฝนซึ่งอากาศมืดมัวมาเป็นสว่างเหมือนอย่างเป็นเวลาเช้าจึงได้นับเอาเดือนอ้ายเป็นต้นปี การถือเดือนอ้ายเป็นเดือนขึ้นปีใหม่จะเลิกไปเมื่อใดไม่ทราบได้ แต่คงจะนานมากถ้าถือตามกฎมณเฑียรบาลที่ตั้งขึ้นเมื่อจุลศักราช 720 (พ.ศ. 1901) ก็ไม่ได้กําหนดเดือนอ้ายเป็นเดือนขึ้นปีใหม่แล้ว เพราะกําหนดไว้ว่า เดือน 4 การสัมพัจฉรฉินท์คือพิธีสิ้นปี...

รัชกาลที่ 5 ทรงส่งกรมดำรงฯ ทรงราชการลับ หลังอังกฤษปล่อยข่าวดิสเครดิตไทย

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากพระองค์จะเสด็จประพาสราชสํานักต่างประเทศหลายแห่งระหว่างการเสด็จประพาสยุโรป ราชสำนักสยามยังมีโอกาสต้อนรับราชอาคันตุกะสำคัญๆ เช่น การเสด็จเยือนไทยของ มกุฎราชกุมารนิโคลาสแห่งรัสเซีย ใน พ.ศ. 2434 ซึ่งไทยคาดหวังว่า การมาเยือนของมหาอำนาจอย่างรัสเซียในฐานะมิตรประเทศกับไทยจะทำให้ชาติตะวันตกอื่น ที่คิดจะรุกรานไทยเกิดความยำเกรง ดูก็เหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่เมื่อเกิด “ปฏิบัติการสกัดดาวรุ่ง” อันนำไปสู่ “ราชการลับ” ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ รายละเอียดเรื่องนี้เป็นอย่างไร? ไกรฤกษ์ นานา เขียนไว้ใน “ประวัติศาสตร์นอกตำราฯ”  ซึ่งขอสรุปพอสังเขปได้ว่า พ.ศ. 2434 เมื่อมีข่าวตื่นเต้นแพร่สะพัดไปทั่วว่า...

“บทละครพูด” พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6 เครื่องมือที่ทรงใช้สื่อสารกับสาธารณะ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉายร่วมกับเหล่าเสือป่า (ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)   ในบรรดาพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระมุงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 งานพระราชนิพนธ์เป็นพระราชกรณียกิจหนึ่งที่พระองค์ทรงใส่พระทัยยิ่ง ตลอดพระชนมายุทรงมีงานพระราชนิพนธ์มากกว่า 1,200 เรื่อง ซึ่งในจำนวนนั้นมี “บทละครพูด” งานพระราชนิพนธ์ที่เป็นที่รู้จักและแพร่หลายในรัชกาลของพระองค์ รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดเป็นจำนวนมาก ทั้งบทละครที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นมาใหม่ และบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงแปลหรือแปลงงานจากต้นฉบับภาษาต่างประเทศ งานนิพนธ์ประเภทละครของพระองค์ได้รับอิทธิพลจากงานประพันธ์ของกวีต่างชาติหลายคน เช่น เอมิเล่ แฟแบร์ (Émile...

มอง “พม่า” ผ่านสายตา “สำหรุดปาน” ชาวสงขลาที่เดินทางไปแสวงบุญเมื่อร้อยปีก่อน

นิราศพระธาตุเมืองย่างกุ้ง สะท้อนให้เห็นโลกทรรศน์ของสำหรุดปานที่ทับซ้อนกันสองโลก โลกด้านหนึ่งคือโลกในระดับโลกิยะ การมองโลกเชิงประจักษ์ ดังจะเห็นได้จากการที่สำหรุดปานให้ความสำคัญกับการบรรยายรายละเอียดการเดินทาง สภาพบ้านเมืองและสิ่งต่าง ๆ ที่ตนได้ประสบพบเห็นด้วยตนเอง โลกอีกด้านหนึ่งที่สำหรุดปานให้ความสำคัญสูงกว่าคือโลกในระดับโลกุตระ ดังจะเห็นได้จากความมุ่งมั่นตั้งใจในการเดินทางจาริกแสวงบุญนมัสการพระบรมธาตุยังดินแดนพม่า และยิ่งไปกว่านั้นได้แต่งหนังสือสวดนี้ไว้เพื่อให้นำไปใช้อ่านและสวดให้ญาติพี่น้องมิตรสหายที่ไม่มีโอกาสได้เดินทางมานมัสการพระธาตุด้วยตนเองได้ร่วมฟังและตั้งจิตอนุโมทนาบุญร่วมกัน พม่าในวิถีโลกย์ ดินแดนพม่าเมื่อครั้งสำหรุดปานเดินทางไปนั้นเป็นช่วงเวลาที่ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษและสูญสิ้นราชวงศ์พม่าแล้ว พระเจ้าธีบอกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์คองบองของพม่าถูกอังกฤษถอดจากราชบัลลังก์และนำตัวไปคุมขังไว้ที่เมืองรัตนคีรี บริติชอินเดีย สภาพการณ์ความเป็นไปของพม่าเช่นนี้ไม่ได้เกินเลยความรับรู้ของสำหรุดปาน สันนิษฐานได้ว่าการที่เขาเป็นคนสะเดา ซึ่งอยู่ในเขตต่อแดนบริติชมลายา และเป็นเส้นทางข้ามคาบสมุทรไปสู่ฝั่งอันดามันนั้น ข่าวสารบ้านเมืองต่าง ๆ ของเมืองพม่าย่อมไหลผ่านจากพ่อค้านักเดินทางหรือแม้กระทั่งพระภิกษุที่เดินทางจาริกแสวงบุญเล่าสู่ต่อ ๆ กันมา สำหรุดปานได้ถ่ายทอดเหตุแห่งโศกนาฏกรรมที่พม่าตกเป็นอาณานิคมอังกฤษไว้ในงานของเขาด้วย “…จักกล่าวราวเรื่องบุรี ...

ร.๕ ทรงเปิดเดินรถไฟสายหลวงและสายราษฎร์! สายหลวงเปิด ๒๖ มีนา สายราษฎร์เปิด ๑๑ เมษา!!

วันที่ ๒๖ มีนาคม ถือกันว่าเป็น “วันสถาปนากิจการรถไฟไทย” จากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่างสถานีกรุงเทพฯ-อยุธยา เป็นระยะทาง ๗๑ กิโลเมตรในวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๔๓๙ ถึงวันนี้ก็แสดงว่าเรามีรถไฟมา ๑๒๖ ปีแล้ว เส้นทางช่วงนี้เป็นช่วงแรกของการสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งเป็นสายแรกของประเทศ มีระยะทาง ๒๖๕ กิโลเมตร ทรงประกอบพระราชพิธีพระฤกษ์เริ่มสร้างมาตั้งแต่วันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๓๔ เมื่อเสร็จไปถึงอยุธยาแล้วจึงทรงเปิดให้ประชาชนได้ใช้ก่อนในวันที่...

รัชกาลที่ 5 กับ “อีเบส” ทำไม “อีเบส” เป็นสุนัขทรงเลี้ยงที่พระองค์ต้องระวัง

ภาพประกอบเนื้อหา – พระรูปหมู่เจ้านายฝ่ายใน (แถวหน้าจากซ้าย) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐสารี สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี (แถวหลังจากซ้าย) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ในภาพมีสุนัขทรงเลี้ยงหมอบอยู่ชิดติดกับกรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี มีความเป็นไปได้สูงว่าคือ...

ประวัติศาสตร์การนั่งจากกรุงศรีฯ-กรุงเทพฯ คนไทยนั่งกันท่าไหน

“การนั่ง” เป็นหนึ่งในอริยาบถสุดเบสิกมนุษย์เราในปัจจุบันคุ้นเคยกันจนคิดว่าเป็นกิริยาอาการแสนสามัญธรรมดาแต่นั่นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่คนสมัยอยุธยาคิด เมื่อ 300 กว่าปีที่แล้ว ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตจากราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสเดินทางมาถึงอยุธยา ราว 3 เดือนที่พำนักอยู่ดินแดนที่ไม่คุ้นเคยเขาได้บันทึกเรื่องราวหลายแง่มุมที่ประสบพบเจอในสยามอย่างละเอียด บันทึกเล่มนี้ได้กลายเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์อันประมินค่ามิได้กาลต่อมา มีหัวข้อหนึ่งที่สะดุดใจเป็นพิเศษคือ ข้อสังเกตของเดอ ลา ลูแบร์ที่ว่า “ชาวสยามนั่งอย่างไร” ชวนให้ฉงนว่าชาวสยามนั่งไม่เหมือนคนชาติอื่นหรือ ซึ่งราชทูตฝรั่งเศสอธิบายเรื่องนี้ว่า “ชาวสยามนั่งอย่างไร กิริยาอย่างเรียบร้อยที่ชาวสยามใช้ในการนั่งนั้น ก็เหมือนกับการนั่งแบบชาวสเปญ กล่าวคือขัดสมาธิและเขามีความชินกับการนั่งแบบนี้...

พระราชวิจารณ์บ้านเมืองไทยของร.7 หลังทรงสละราชสมบัติ ชมปรีดี พนมยงค์ แม้ “เป็นคนอันตราย”

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ที่มา ศิลปวัฒนธรรม พฤษภาคม 2551 ผู้เขียน พ.อ.ผศ.ดร. ศรศักร ชูสวัสดิ์ เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2565   พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 มีพระราชหัตถเลขาตอบนายเจมส์ แบ็กซเตอร์ (James Baxter) ที่ปรึกษาการคลัง เนื้อหาใจความนั้นปรากฏพระราชวิจารณ์สำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมืองหลังทรงสละราชสมบัติ...

“วันหยุดราชการ” ในอดีตของไทยหยุดวันอะไรกัน?

สำหรับมนุษย์เงินเดือนวันหยุดในแต่ละปีที่ชวนฝันที่สุด คงต้องยกให้ วันหยุดสงกรานต์ และปีใหม่ (แต่ถ้าใครทำงานกับหน่วยงานต่างประเทศ อาจเป็นคริสต์มาส หรือตรุษจีนแทน) เพราะได้หยุดยาวตั้งแต่ 3-5 วัน จนถึง 15 วันก็มี ขึ้นอยู่กลับแต่ละหน่วยงาน แต่วันนี้เราอยากชวนท่านไปดู “วันหยุดราชการ” ซึ่งเอกชนใช้อ้างอิงในการกำหนดวันหยุดของแต่ละหน่วยงาน แล้วในอดีตที่ผ่าน ราชการกำหนดวันอะไรเป็นวันหยุดกันบ้าง เริ่มจากวันหยุดราชการสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2456[1] ก่อนที่จะดูว่ามีวันหยุดอะไรบ้าง มาดูเหตุผลในการให้หยุดก่อน รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชดำริถึงวันหยุดว่า “การหยุดนั้นมี...

เหตุใด? รัชกาลที่ 4 ทรงประกาศห้ามมิให้เล่นแอ่วลาว

หลังจากสงครามเจ้าอนุวงศ์สิ้นสุดลงในปี พ.ศ.2371 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สยามมีอิทธิพลเหนือดินแดนอาณาจักรล้านช้างทั้งหมด กองทัพสยามได้กวาดต้อนชาวลาวจากเมืองเวียงจันทน์และเมืองอื่นๆ ที่อยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงมาเป็นเชลยศึก และให้อพยพชาวลาวที่กวาดต้อนมา ไปไว้ตามเมืองต่างๆ เช่น สระบุรี ลพบุรี และสุพรรณบุรี เป็นต้น เชลยศึกชาวลาวได้นำศิลปะการแสดงติดตัวมาด้วย คือ การขับลำและการเป่าแคน ที่ชาวสยามเรียกว่า “แอ่วลาว” หรือ “ลาวแคน” เป็นการขับลำที่มีเสียงแคนเป็นเสียงประสานทำนอง ผู้เล่นมีสองคนคือหมอลำ เป็นผู้ขับร้อง และหมอแคน ผู้ทำหน้าที่เป่าแคนให้เป็นทำนองประกอบในการขับลำ การเล่นแอ่วลาวหรือลาวแคนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ในชุมชนชาวลาวที่อาศัยอยู่แถบเมืองสระบุรี เมืองลพบุรี...

ป้ายหินสุสานบูเช็คเทียนทำไมไร้อักษรจารึกสดุดี?

บูเช็คเทียน-จักรพรรดินีหนึ่งเดียวของจีน ป้ายหินหน้าสุสานพระองค์กลับไม่มีคำจารึกสดุดีสักตัวอักษร บูเช็คเทียน (武则天) (พระราชสมภพ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 624 – สวรรคต 16 ธันวาคม ค.ศ. 705) จักรพรรดินีเพียงพระองค์เดียว ในประวัติศาสตร์ของจีน พระองค์เริ่มถวายตัวรับใช้ในวังด้วยการไต่เต้าจากตําแหน่งนางสนมชั้นตรี และก้าวขึ้นสู่ราชบัลลังก์ด้วยการสถาปนาราชวงศ์ต้าโจว (大周) เป็นผลสําเร็จในที่สุด (ระหว่าง ค.ศ. 690-705 เป็นยุคที่ราชวงศ์ถังเปลี่ยนชื่อเป็นต้าโจว) หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์...

ฤๅพระเพทราชา ทรงใช้ “หมอทำเสน่ห์” เพื่อให้พระราชธิดาของพระนารายณ์หลงใหล

กรมหลวงโยธาเทพทรงเป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ซึ่งมีหลักฐานยืนยันว่า พระนารายณ์ทรงพระราชทานเกียรติยศและอำนาจให้กับพระราชธิดาพระองค์นี้อย่างที่ไม่เคยมีกษัตริย์พระองค์ใดทรงปฏิบัติเช่นนี้มาก่อน ทำให้พระองค์ทรงมีพระอำนาจและอิทธิพลสูงในราชสำนักตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ แต่เมื่อพระนารายณ์เสด็จสวรรคตโดยไม่มีรัชทายาทสืบราชสมบัติ ชะตาชีวิตของกรมหลวงโยธาเทพต้องพลิกผัน เมื่อพระเพทราชาผู้เป็นเสนาบดีได้ปราดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ และทรงสถาปนาให้พระนางเป็นอัครมเหสีฝ่ายซ้ายในขณะที่พระองค์ยังทรงเศร้าโศกจากการจากไปของพระบิดาและน่าจะทรงคับแค้นใจไม่น้อยกับการกระทำของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ อย่างไรก็ดี แม้พระเพทราชาจะทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดในราชอาณาจักร แต่พระองค์ก็ไม่อาจใช้กำลังอำนาจบังคับกรมหลวงโยธาเทพได้ตามอำเภอใจ พระองค์จึงจำต้องใช้ “เวทย์มนต์” ในการแก้ปัญหา ดังพระราชพงศาวดารที่กล่าวว่า “…ทรงพระกรุณาให้หาหมอทำเสน่ห์ ครั้นได้หมอมาแล้วก็ให้ทำตามวิธีการเสน่ห์ และกรมหลวงโยธาเทพก็ให้คลั่งไคล้ใหลหลงทรงพระกันแสงถึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นกำลัง ครั้นเสด็จพระราชดำเนินไปครั้งหลังจึงยอม…”   The post ฤๅพระเพทราชา ทรงใช้ “หมอทำเสน่ห์” เพื่อให้พระราชธิดาของพระนารายณ์หลงใหล appeared first...

ความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (ตอนที่สิบ)

ในการพิจารณาว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชอำนาจในทางปฏิบัติแค่ไหนนั้น ในตอนที่แล้ว ได้ชี้ให้เห็นว่า เมื่อเปรียบเทียบพระมหากษัตริย์กับเสนาบดีกระทรวงต่างๆในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (เปลี่ยนรัชกาลในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2453) จะพบความแตกต่างในความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับเสนาบดีกระทรวงต่างๆ ด้วยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พระมหากษัตริย์ทรงมีความ “อาวุโส” และ “ความเป็นผู้นำ” เพราะส่วนใหญ่ผู้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีล้วนแต่เป็น “พระอนุชา” หรือไม่ก็เป็นเสนาบดีที่เคยเป็นผู้อยู่ภายใต้การนำของพระมหากษัตริย์มาก่อน อีกทั้งพระมหากษัตริย์เป็นผู้ริเริ่มการปฏิรูประบบราชการแผ่นดิน จัดตั้งกระทรวงทบวงกรมขึ้นและเป็นผู้แต่งตั้งบุคคลที่พระองค์ทรงเห็นสมควรลงในตำแหน่งต่างๆ ส่วนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ในช่วงต้นรัชกาล บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีล้วนแต่เป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งสืบเนื่องมาแต่รัชกาลก่อน และมีความ “อาวุโส” กว่าพระองค์แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเสนาบดีที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์หรือขุนนางสามัญชน ผู้เขียนได้กล่าวถึงกรณีกระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหมและกระทรวงธรรมการไปแล้ว และคราวที่แล้วได้กล่าวถึงการตั้งเสนาบดีคนแรกของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ...