ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

เก่งจริงเจอตัวต่อตัว “หมี VS คน” ไฟต์มวยจริงในประวัติศาสตร์ยุโรป ติดยศหมีด้วย

ภาพการแข่งขันการชกมวยระหว่างหมีและคน จัดที่นิวยอร์ก ในค.ศ. 1937 (ภาพจากคลิป Bear Boxing Man จากเว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?time_continue=18&v=2mmKAFiY8K0)   ในประวัติศาสตร์ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า “หมี” สัตว์ขนปุยตัวใหญ่นี้เคยถูกจับมาเข้าร่วมกีฬาการต่อสู้อย่าง “มวย” และ “มวยปล้ำ” กับเหล่ามนุษย์ด้วย ในแรกเริ่มเดิมที การแข่งขันการต่อสู้ระหว่างหมีกับคนนี้ได้รับความนิยมจากคนดูในแถบประเทศยุโรป สมัยกลางศตวรรษที่ 19 จากนั้นจึงถูกนำไปเผยแพร่ในประเทศสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1877 ซึ่งการจัดการแข่งในครั้งนั้น คาดว่าคงจะสร้างความประทับใจให้ชาวอเมริกันอยู่ไม่น้อย เพราะหลังจากนั้นเพียงไม่นาน...

ความหมายและนัยของพิธีสรงน้ำพระมุรธาภิเษก ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับ น้ำสรงพระมูรธาภิเษกจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์   “มุรธาภิเษก” แปลว่า การรดน้ำที่พระเศียร น้ำที่รดเรียกว่า “น้ำมุรธาภิเษก” ที่ผ่านการทำพิธีกรรมมาแล้ว ดังนั้นการสรงพระมุรธาภิเษกจึงเป็นการชำระล้างให้สะอาดและศักดิ์สิทธิ์ ในแง่พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจึงหมายถึง การยกให้หรือการแต่งตั้งโดยการทำพิธีรดน้ำ ซึ่งตามคติความเชื่อของพราหมณ์ ถือว่าการยกให้ผู้ใดเป็นใหญ่ทรงสิทธิ์อำนาจนั้นจะต้องทำด้วยพิธีรดน้ำศักดิ์สิทธิ์ ผศ. ดร. รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อธิบายว่า เนื่องจากสภาพภูมิอากาศในไทยเป็นเมืองร้อน การอาบน้ำเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะการอาบน้ำเพื่อชำระร่างกายให้สะอาดก่อนเข้าพิธีกรรมทางศาสนาซึ่งเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไป แต่การมุรธาภิเษก มีความสำคัญอย่างหนึ่งคือการรดน้ำครั้งนี้คือการเปลี่ยน ได้รับอำนาจ หรือเปลี่ยนสถานะเป็นผู้มีอำนาจอย่างสมบูรณ์สุดในอาณาจักร ธรรมเนียมการมุรธาภิเษกเพื่อสถาปนาอำนาจหรือยกให้บุคคลที่ได้รับการมุรธาภิเษกให้เป็นผู้ยิ่งใหญ่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ของทางศาสนาพราหมณ์ที่มีอายุเก่ากว่าพระพุทธเจ้า...

ทำไม ร.9 ทรงแปรพระพักตร์ยังทิศตะวันออกขณะสรงพระมุรธาภิเษก ความหมายที่กินใจ

ผู้เขียน ห้องเรียนประวัติศาสตร์ศิลป์ เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2562   ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ถือเป็นพระราชประเพณีว่าการที่พระมหากษัตริย์สรงพระมุรธาภิเษก และทรงรับน้ำอภิเษกเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในการพระราชพิธี เพื่อทรงประกาศพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ คำว่า “มุรธาภิเษก” แปลโดยรูปศัพท์ก็คือการรดน้ำเหนือศีรษะนั่นเอง ในการนี้พระมหากษัตริย์จะประทับบนตั่งไม้อุทุมพร หรือไม้มะเดื่อภายในพระมณฑปพระกระยาสนาน จากนั้นจะทรงวักน้ำจากพระครอบพระมุรธาภิเษก สรงพระเจ้าเป็นปฐม เมื่อถึงมหาอุดมมงคลฤกษ์ โหรลั่นฆ้องชัย เจ้าพนักงานภูษามาลาจะได้ไขสหัสธาราโปรยน้ำพระมุรธาภิเษกจากเพดานพระมณฑปถวายพระมุรธาภิเษก อันประกอบด้วย น้ำจากปัญจมหานที น้ำเบญจสุทธคงคา และน้ำจากสระทั้ง 4...

ใครเป็นผู้ถวายน้ำอภิเษก? ในพระราชพิธีบรมราชภิเษก

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ประทับพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ทรงแปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพาเป็นปฐม นายควง อภัยวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายน้ำอภิเษก (ภาพจากหนังสือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กระทรวงวัฒนธรรม 2560)   พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 นี้ ประกอบด้วยพิธีสรงน้ำพระมุรธาภิเษก, พิธีถวายน้ำอภิเษก, พิธีถวายสิริราชสมบัติและเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ฯลฯ  สำหรับ “น้ำ” ที่ต้องใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกต้องใช้น้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ประกอบพระราชพิธีสำคัญนี้ได้แก่ น้ำจากสระ...

พระบรมราโชบายทางการทหารของรัชกาลที่ 5 ในฐานะ “กษัตริย์-พ่อ”

การแสดงแสนยานุภาพทางการทหารของกองกำลังสยามบริเวณท้องสนามหลวง (ภาพจาก หนังสือสยามรัฐวัฒนาใต้ฟ้าพระสยามมินทร, โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ธันวาคม 2551)   การปฏิรูปกองทัพตามอย่างตะวันตกของสยามเริ่มขึ้นตั้งแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มแรกของการปฏิรูปกองทัพได้มีการว่าจ้างร้อยเอก อิมเปย์ (Captain Impey) นายทหารกองทัพอังกฤษที่ประจําการอยู่ในประเทศอินเดียเข้ามาเป็นครูฝึกทหารให้แก่กรมทหารอาสาลาวและกรมทหารอาสาเขมร โดยเรียกกองทหารหน่วยนี้ว่า “ทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรป” ต่อมาได้มีนายทหารชาวต่างชาติทั้งชาวอังกฤษ เช่น ร้อยเอก โทมัส ยอร์ช น็อกซ์ (Captain Thomas George Knox)...

ทำไม รัชกาลที่ 5 งดเงินเดือนเสนาบดี-ปลัดทูลฉลองที่ขาดเฝ้าในพระราชพิธีโสกันต์?

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (ภาพตกแต่งเพิ่มเติมจากไฟล์ต้นฉบับของ AFP PHOTO) ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับตุลาคม 2562 ผู้เขียน วิภัส เลิศรัตนรังษี เผยแพร่ วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2565   …แม้ว่าพระราชพิธีจะเป็นกิจของพระเจ้าแผ่นดินก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่าพระเจ้าแผ่นดินจะเป็นองค์ประธานในการพระราชพิธีต่างๆ นั้นเสมอไป เพราะมีอย่างน้อย 2 พระราชพิธีที่จะต้องให้เสนาบดีสวมบทบาท “เป็นผู้ได้รับสมมต” (สะกดตามต้นฉบับ...

“สยาม” ถูกใช้เรียกชื่อประเทศเป็นทางการสมัยรัชกาลที่ 4

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ   “…พิจารณาไปในเรื่องเมืองพม่าที่กล่าวในหนังสือต่างๆ ได้ความรู้ใหม่อีกอย่างหนึ่งว่า พม่าไม่ได้เรียกประเทศของตนว่า ‘พม่า’ เรียกว่า ‘กรุงอังวะ’ พระเจ้าแผ่นดินถึงเมื่อตั้งราชธานีอยู่ที่อื่น ที่สุดจนถึงพระเจ้าสีป่อก็เรียกว่า ‘พระเจ้าอังวะ’ น่าพิศวงว่าเหตุใดจึงมาเหมือนกันกับไทยที่เรียกประเทศสยามว่า ‘กรุงศรีอยุธยา’ และเรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า ‘พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา’ มาจนตลอดรัชกาลที่ ๓ เพิ่งมาเรียกชื่อ ‘สยาม’ ในทางราชการตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา” (กรมพระยาดำรงฯ, เล่ม ๘,...

วิถีของพระยาวินัยสุนทร (วิม พลกุล) นายทหารผู้กล้าวิวาทะโต้เถียงร.6

รัชกาลที่ 6 ทรงฉายพระฉายาลักษณ์ร่วมกับราชองครักษ์ (ภาพจากหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพพระยาอนิรุทธเทวา) ผู้เขียน รัชตะ จึงวิวัฒน์ เผยแพร่ วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565   ในประวัติศาสตร์ไทยมีบุคคลไม่กี่รายที่กล้าคัดค้านพระเจ้าแผ่นดินแบบตรงไปตรงมา ยิ่งเป็นทหารด้วยแล้วยิ่งมีน้อยราย พระยาวินัยสุนทร (วิม พลกุล) เป็นตัวอย่างของคนกลุ่มน้อยที่กล้าประพฤติเช่นนั้น ซึ่งนอกจากจะไม่โดนลงโทษแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ยังพระราชทานรางวัลให้อีกด้วย แต่เมื่อกาลมาถึงยุคเปลี่ยนผ่าน...

รัชกาลที่ 4 ทรงทราบเรื่อง การวิ่งเต้นติดสินบน ขอเป็นเจ้าเมือง แล้วท่านก็ทรงประกาศว่า”ใจมันมิใช่ใจคนเปนผีโหงผีห่า”

“ใจมันมิใช่ใจคนเปนผีโหงผีห่า” รัชกาลที่ 4 ทรงทราบเรื่อง การวิ่งเต้นติดสินบน ขอเป็นเจ้าเมือง แล้วท่านก็ทรงประกาศข้อความตอนหนึ่งว่า “ใจมันมิใช่ใจคนเปนผีโหงผีห่า “…ผู้ที่อยากจะเปนผู้สำเร็จราชการหัวเมือง สู้เปนหนี้ สินกู้ยืมท่านผู้อื่น สู้เสียดอกเบี้ยมาเสียสินบน ไปได้เปนผู้สำเร็จราชการเมืองเหล่านี้นั้น ขอให้ท่านทั้งปวงตั้งแต่ ผู้ดีตลอดไปจนไพร่รู้จักเถิดว่า ใจมันมิใช่ใจคนเปนผีโหงผีห่า สู้เสียเงินเสียทองเปนหนี้เปนสินผูกดอกท่านผู้อื่นไป ด้วยคิดว่าจะไปกินเลือดเนื้อมนุษย์ เถือเนื้อมนุษย์ หรือเอาเลือดมนุษย์ในเมืองนั้นมาใช้หนี้ได้ทันประสงค์ จึงคิดการดังนั้น ก็เพราะการในหัวเมืองเปนการไกลพระเนตรพระกรรณ ไกลหูไกลตาท่านผู้หลักผู้ใหญ่ จะพูดจะทำบังคับบัญชาอะไรไปคดๆ โกงๆ ก็อาจจะทำไปได้ทุกอย่าง...

“สวนจิตรลดา” โครงการส่วนพระองค์ในหลวงรัชกาลที่ ๙

ภาพประกอบเนื้อหา – พิธีทำขวัญแม่โพสพ ณ แปลงนาทดลอง สวนจิตรลดา ๒๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๔ (ภาพจาก สารานุกรมพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรอบ ๖๐ ปี แห่งการครองราชย์)   โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เริ่มต้นจากการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงปราถนาให้พสกนิกรอยู่ดีมีความสุขตามอัตภาพ โดยเฉพาะเกษตรกร เนื่องจากเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของประเทศไทย จากการแปรพระราชฐานไปจังหวัดต่างๆ ทรงพบว่าเกษตรกรยังประสบปัญหาในการประกอบอาชีพอยู่มาก อาจเป็นปัจจัยให้ประเทศพัฒนาได้ไม่เต็มที่ จึงทรงมุ่งมั่นพัฒนาการเกษตรไทยให้เจริญก้าวหน้า...

ภาพของพระเจ้าอยู่หัว “รัชกาลที่ 5” ตัวแทนของพระองค์ที่คนคิดถึงก่อนสิ่งใด

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5   วันที่ 23 ตุลาคม พุทธศักราช 2453 ข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นำมาซึ่งความตระหนกตกใจอย่างใหญ่หลวงต่อพสกนิกรชาวไทยในยุคนั้น เพราะพระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมใจของคนทั้งแผ่นดินมายาวนานกว่ารัชสมัยใดๆ ของกรุงรัตนโกสินทร์ การจากไปอย่างกะทันหันทำให้ผู้คนเสียขวัญอย่างมาก “สี่แผ่นดิน” บทประพันธ์อมตะอันเลื่องลือของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช สะท้อนภาพให้เห็นความสมจริงในวันวิปโยคนั้นว่ามีการพูดถึงภาพของพระเจ้าอยู่หัวเป็นตัวแทนของพระองค์ที่คนคิดถึงก่อนสิ่งใดหมด “แต่เรื่องพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตนั้น พลอยไม่เคยนึกถึงเลย เพราะนึกไปไม่ถึงด้วยเป็นเรื่องใหญ่ ถ้าหากว่ายายเทียบไม่เหลวไหลแล้วและข่าวนี้เป็นความจริงก็เท่ากับว่าหลักหรือแกนของโลกมนุษย์ที่พลอยรู้จักนั้นสลายลง ความเชื่อถือในข่าวร้ายที่ได้ยินเพิ่มมากขึ้นทุกระยะที่หัวใจเต้น พลอยเหลือบดูพระบรมรูปแผ่นใหญ่ที่ติดไว้ในที่สูง...

“ในหลวงรัชกาลที่ ๙” ทรงเก็บพระบรมอัฐิ “สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี”

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเก็บพระบรมอัฐิสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ทรงน้ำพระสุคนธ์ในขันทองคำลงยา (ภาพจาก จดหมายเหตุงานพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗. กรมศิลปากร, ๒๕๒๙.)   พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงเก็บพระบรมอัฐิสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ (ภาพจาก จดหมายเหตุงานพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่...

“พระศรีรัตนเจดีย์” ซ้อนอยู่ใน “พระเมรุมาศ” แนวคิดและความหมายในการวางผังพระเมรุมาศ รัชกาลที่ ๙

หากมองพระเมรุมาศจากกึ่งกลางของทางเข้านอกรั้วราชวัติทางทิศเหนือจะสามารถมองเห็นยอดพระศรีรัตนเจดีย์ซ้อนอยู่ในพระเมรุมาศบุษบกประธาน ที่มา หนังสือ “สู่ฟ้าเสวยสวรรค์” สำนักพิมพ์มติชน ผู้เขียน ธัชชัย ยอดพิชัย (หนึ่งในผู้เขียนหนังสือ “สู่ฟ้าเสวยสวรรค์”) เผยแพร่ วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2560   แนวคิดและความหมายในการวางผังพระเมรุมาศ รัชกาลที่ ๙ แนวคิดในการจัดวางผังพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะเชื่อมโยง สัมพันธ์กับศาสนสถานที่สำคัญในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์บริเวณรอบมณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยตำแหน่งที่ตั้งพระเมรุมาศบุษบกประธาน ที่ตั้งของพระจิตกาธานสำหรับถวายพระเพลิงพระบรมศพ เป็นจุดตัดของแนวแกนที่สำคัญ...

“ถนนสีลม” มาจากไหน??

ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤษภาคม 2536 ผู้เขียน สุมิตรา จันทรเ์งา เผยแพร่ วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ.2562   ความเป็นมาของถนนทุกสายรวมทั้งถนนสีลม ๑ ใน ๓ ถนนแรกที่ก่อสร้างขึ้นในพระนครรัตนโกสินทร์ย่อมผูกพันอย่างแยกไม่ออกจากจุดที่ตั้งแรกเริ่มของ “กรุงเทพฯ” อันเป็นเมืองท่า ศูนย์กลางการค้าและการปกครองของชาวบางกอก ตั้งแต่ครั้งที่สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์และทรงเลือกที่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ตามชัยภูมิ “นาคนาม” ในตำราพิชัยสงครามคือมีน้ำโอบรอบภูเขา หรือถ้าไม่มีภูเขาหรือมีน้ำโอบรอบก็ได้ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น...

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลที่ 9 และเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชระหว่างทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 (AFP) ที่มา ศิลปวัฒนธรรม พฤษภาคม 2530 ผู้เขียน ส.พลายน้อย เผยแพร่ วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ.2562   จากบทความ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกและเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ศิลปวัฒนธรรม พฤษภาคม 2530 ตามพระราชประเพณีเดิมของไทย เมื่อสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินได้เสด็จผ่านพิภพ ก็ยังไม่ถือว่าเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ ทรงเป็นแต่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน บัตรหมายในราชการก็ยังขานพระยศอย่างเดิม...

เบี้ยแก้ หลวงปู่เจือวัดกลางบางแก้ว

อิทธิคุณเบี้ยแก้ วัดกลางบางแก้ว  หลวงปู่เจือ  ปิยสีโล   รายการนี้ทางเราไม่มีให้บูชาแล้ว   กันถูกกระทำย่ำยี กันคุณผีคุณคนคุณไสยเวทย์อาถรรพณ์ ยาสั่ง ฝังรูปฝังรอยผีเข้า เจ้าสิงมิลงเลย กันไข้ป่าสารพัดผีป่า โป่ง โป้ง ผีเปิ่ง ผีปอบกองกอย พาให้ผิดท่าหลงทาง เข้าสิงให้วิกลจริตพลุ่งพล่าน เฉียบพลันอยากตายด้วยอัตวินิบาตกรรม ผูกคอล่อพิษ โดดน้ำ ลุยไฟ โดดสูง จูงค่าง...