ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2565) ฉบับที่ 1

ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 27 เมษายน 2565ในช่วงวันที่ 28 เม.ย. – 2 พ.ค. 65 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับในช่วงวันที่ 1 – 2 พ.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงหนือ และทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ...

เปิดภาพพ่อค้าขายไอศกรีม ในกรุงเทพฯ เมื่อกว่าร้อยปีก่อน

ภาพที่เห็นด้านบนมาจากไปรษณียบัตรหายากสมัยรัชกาลที่ 5 ของสะสม คุณไกรฤกษ์ นานา ในภาพเป็นพ่อค้าหาบเร่กำลังยืนขายไอศกรีมให้กับเด็กๆ ในกรุงเทพฯ พ่อค้ารายนี้น่าจะเป็นชาวจีนอพยพที่เข้ามาเริ่มต้นชีวิตใหม่ภายหลังสัญญาเบาริ่ง พ.ศ. 2398 โดยคุณไกรฤกษ์ ได้กล่าวถึงเหตุที่ชาวจีนอพยพเข้าสยามมากขึ้นหลังการทำสัญญาเบาริ่งว่ามีปัจจัยสำคัญอยู่ 3 ประการคือ “1. เพื่อหลีกหนีความวุ่นวายทางการเมืองในจีน มีการแย่งชิงอำนาจระหว่างชาวจีนด้วยกันเองและการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างเอิกเกริกของขุนนางราชวงศ์ชิง อีกทั้งจีนเพิ่งพ่ายแพ้อังกฤษในสงครามฝิ่น ทั้งยังมีการกบฏเกิดขึ้นทุกหัวระแหง (กบฏไต้เผ็ง) ประชาชนพากันอพยพออกนอกประเทศ ประจวบกับ ‘สนธิสัญญาปักกิ่ง’ ภายหลังสงครามฝิ่นยกเลิกคำสั่งที่เคยห้ามชาวจีนเดินทางออกนอกประเทศ 2. เมืองสยามกำลังเนื้อหอม ภายหลังการทำสัญญาเบาริ่งส่งเสริมให้เศรษฐกิจดี ทำมาค้าขึ้น รัฐบาลสยามเปิดประเทศติดต่อค้าขายกับภาคเอกชนทั่วโลกแทนการผูกขาดของภาครัฐ...

ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสมุทรปราการ ครั้งที่ 4/2565

วันที่ 27 เมษายน 2565 เวลา 13.30 น. นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสมุทรปราการ ครั้งที่ 4/2565 ณ ห้องประชุมปากน้ำ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ โดยมี นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ และคณะกรรมการฯ เข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียง ที่ประชุมได้รับทราบสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด...

คำว่า “เจ้าคุณ” ที่ใช้เรียกสตรีฝ่ายในเมื่อครั้งอดีตสมัย ร.1-6 จากหนังสือ “สาส์นสมเด็จ”

เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 5) ผู้เขียน ธนโชติ เกียรติณภัทร เผยแพร่ วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ.2565   สรุปคำว่า “เจ้าคุณ” ที่ใช้เรียกสตรีฝ่ายในเมื่อครั้งอดีตในสมัยรัชกาลที่ 1-6 จากหนังสือ “สาส์นสมเด็จ” สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่า เจ้าครอก หมายความว่าเป็นเจ้าโดยกำเนิดเจ้าคุณ หมายความว่าเป็นเจ้าโดยคุณ เจ้าคุณที่ใช้เรียกผู้หญิงมีใช้ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ครั้งรัชกาลพระเจ้าเสือ ที่กรมพระเทพามาตย์ไปทูลขอพระราชทานอภัยโทษแก่เจ้าฟ้าเพชรเจ้าฟ้าพร เมื่อครั้งถมบึงหูกวาง พระเจ้าเสือตรัสถามว่า “เจ้าคุณขึ้นมาด้วยกิจธุระอันใด”...

“จักรวรรดิสหรัฐอเมริกา” ผงาดในศึกชิง “คิวบา” จากสเปน สงครามที่พลิกโฉมสหรัฐฯ สู่มหาอำนาจ

การก้าวเข้าสู่มหาอำนาจของสหรัฐอเมริกาและการเสื่อมถอยการเป็นมหาอำนาจของสเปน จักรวรรดินิยมหมายถึงการยึดครองอาณานิคม หรือการขยายอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศหนึ่งเข้าครอบงำอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งจักรวรรดินิยมขยายตัวเป็นอย่างมากในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 เนื่องจากการเติบโตด้านอุตสาหกรรมที่ต้องการตลาดสินค้าและแหล่งวัตถุดิบ การแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในหมู่มหาอำนาจยุโรปรวมทั้งสเปนกำลังดำเนินอยู่อย่างเข้มข้น ส่วนสหรัฐอเมริกาได้มีนโยบายขยายดินแดน (Manifest Destiny) โดยมีจุดหมายที่จะขยายดินแดนจากชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกไปจรดชายฝั่งแปซิฟิก ความขัดแย้งในการแย่งชิงผลประโยชน์ของชาติยุโรปไม่ได้เป็นอุปสรรคมากนักต่อสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสหรัฐอเมริกาดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบโดดเดี่ยว (Isolationism) รวมทั้งวาทะมอนโร (Monroe Doctrine) ที่เตือนไม่ให้ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเข้ามาแผ่อำนาจจักรวรรดินิยมในทวีปอเมริกา หลังสงครามกลางเมืองของสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1865) เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกาได้ขึ้นมาเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเป็นอย่างมาก...

ทำไมเจ้าจอมสดับ ถวายคืนเครื่องเพชรพระราชทาน หลังรัชกาลที่ 5 สวรรคต

เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5   ด้วยรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระภรรยาเจ้าหลายพระองค์ เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอมหลายท่าน ตอนปลายรัชกาลทรงเกิดความกังวลพระทัย โดยเฉพาะเจ้าจอมบางคนที่ไม่มีบุตรว่าจะขาดคนอุปถัมภ์ค้ำชู จึงพระราชทานที่ดิน บ้านเรือน และทรัพย์สินให้กับบุคคลเหล่านี้ ด้วยพระเมตตาสงสารในชะตาชีวิตที่จะต้องตกยากในบั้นปลาย แต่ในความเป็นจริง บางครั้งก็มีการกล่าวหากว่าพระสนมนำของมีค่าออกไปจากวังโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้เกิดการทวงคืนของพระราชทานกันขึ้น ตอนหนึ่งในบทความ “พระราชประสงค์ พระราชดำริ พระราชปรารภ ในสมเด็จพระปิยมหาราช เมื่อก่อนสวรรคต” เผยแพร่ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกันยายน 2554 ไกรกฤษ์ นานา ผู้เขียนบทความ...