ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

พาณิชย์ ย้ำ ปริมาณสินค้า ต้องตรงกับที่แจ้งไว้บนฉลาก หากพบการฉวยโอกาส แจ้ง 1569 ได้ทันที

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ปรับราคาสินค้า แต่ไปปรับลดปริมาณสินค้าลงนั้น ระบุว่า ไม่สามารถทำได้ เพราะหากปริมาณสินค้าที่ได้รับไม่ตรงกับที่แจ้งไว้บนฉลากข้างถุง จะเข้าข่ายผิดกฎหมายและต้องถูกดำเนินคดี โดยประชาชนสามารถแจ้งหากพบกรณีดังกล่าวได้ที่สายด่วน 1569 เจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจสอบในทันที ทั้งนี้ หากปริมาณบนฉลากระบุเท่าใด ต้องเป็นไปตามนั้น จะปรับลดลงไม่ได้ เว้นแต่การลดปริมาณให้สอดคล้องกับที่ระบุบนฉลาก และจำหน่ายในราคาที่เหมาะสม จึงจะสามารถทำได้ อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบ ยังไม่พบการกระทำดังกล่าว แต่อาจมีการฉวยโอกาสเกิดขึ้นจริง ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากพบเห็นแจ้งได้ทันทีที่สายด่วน 1569 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์...

พุทธศาสนิกชนร่วมกิจกรรมเวียนรอบองค์พระปฐมเจดีย์ เนื่องในวันอาสาฬหบูชา ประจำปี 2565

วันที่ 13 กรกฎาคม 2565 ที่บริเวณพระวิหารหลวง องค์พระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม พร้อมด้วย นายกเหล่ากาชาดจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ นักเรียน นักศึกษา และพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดนครปฐม ร่วมพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ และเวียนเทียนประทักษิณรอบองค์พระปฐมเจดีย์ เนื่องในวันอาสาฬหบูชา ประจำปี 2565 ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา...

แข่งทำเมนูคาว หวาน อนุรักษ์อาหารพื้นบ้าน หลาดริมน้ำท่าแพท่าสาป

กลุ่มแม่บ้านกว่า 20 คน จาก 6 หมู่บ้านในพื้นที่ตำบลท่าสาป จังหวัดยะลา ร่วมกันส่งทีมเข้าประชันฝีมือการทำอาหารพื้นบ้านและขนมพื้นบ้าน ในงาน“ชิม Shop หลาดริมน้ำท่าแพท่าสาป” กันอย่างคึกคัก โดยบางทีมเคยผ่านการแข่งขันมาแล้ว ส่วนบางทีมก็มาเป็นครั้งแรก ทำให้ตื่นเต้นบ้าง แต่ทุกทีมก็พกใจกันมาเต็มร้อยมั่นใจที่จะคว้าชัยกันทุกคน ในส่วนของการแข่งขันนั้น แต่ละทีมก็จะต้องทำอาหารและขนม 3 อย่างให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยแล้วแต่ว่าจะทำอย่างใดก่อนหลังอย่างแรกเป็นแกงมัสมั่นไก่ เมนูอาหารไทยสุดอร่อย ซึ่งทุกทีมก็ได้จัดเตรียมวัสดุในประกอบอาหาร ทั้ง ไก่ กะทิ พริกแกง...

จังหวัดเพชรบุรี ร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน จัดกิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจ ฟื้นฟูการท่องเที่ยว

นางสาวมิ่งขวัญ บุญโภคัย ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า จังหวัดเพชรบุรีร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน จังหวัดเพชรบุรี และสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว “ท่องเที่ยวเดือนมหามงคล สนุกเต็มที่ดีต่อโลก” กำหนดจัดกิจกรรมขึ้น ในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายปลายเดือนกรกฎาคม และ 2 สัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคมนี้ ในพื้นที่อำเภอแก่งกระจาน และอำเภอหนองหญ้าปล้อง เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาในหลวงรัชกาลที่ 10 วันที่ 28...

“ผงซักฟอกสุขใจ” ความสะอาดคือสิ่งที่จำเป็น ผู้ว่าฯสุราษฎร์ฯ เน้นสุขภาพประชาชนต้องมาก่อน

นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดจวนแจกถุงปันสุขส่งต่อความห่วงใยให้แก่ประชาชนกลุ่มเปราะบางและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในปัจจุบัน จำนวน 900 ถุง โดยมีนายมนตรา พรมสินธุ ปลัดจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายสุเชาว์ ทูโมสิก นายอำเภอพนม จิตอาสาพระราชทาน อาสาสมัคร เจ้าหน้าที่สำนักงานจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมแจกจ่ายถุงปันสุขในครั้งนี้ โดยภายในถุงปันสุขประกอบด้วย เครื่องอุปโภคบริโภค ข้าวสาร อาหารแห้ง อาหารสำเร็จรูป น้ำดื่ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนกลุ่มเปราะบาง และผู้ที่ได้รับผลกระทบในสถานการณ์ในปัจจุบัน...

วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ทำไมต้องตักบาตรด้วยข้าวเหนียว?

วัดปทุมวนาราม ในสมัยรัชกาลที่ 4 (ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)   ปัจจุบันในเทศกาลบุญอย่าง “เข้าพรรษา” ที่วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร จะมีประเพณี “ตักบาตรข้าวเหนียว” ซึ่งธรรมเนียมการตักบาตรด้วยข้าวเหนียวที่วัดแห่งนี้มานานแล้ว และดูเหมือนอาจจะมีการปฏิบัติมาช้านานแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2495 ม.ร.ว. แน่งน้อย ศักดิ์ศรี ก็เคยแปลกใจเมื่อสุภาพสตรีท่านหนึ่งทักว่า “ทำไมไม่ตักบาตรด้วยข้าวเหนียว?” เพราะพระจากวัดปทุมวนารามที่ท่านตักบาตรจนคุ้นเคยก็ไม่ได้พูดสำเนียงอีสานเลย  คำถามดังกล่าวก็กลายมาเป็นบทความชื่อ “วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ทำไมต้องตักบาตรด้วยข้าวเหนียว?” เรื่องนี้ต้องย้อนกลับถึงที่มาของการสร้างวัดปทุมวนาราม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะสร้าง “พระอภิเนาว์นิเวศน์” ที่ประทับของพระองค์ในสวนขวา ณ บริเวณพื้นที่ที่ถูกทิ้งร้างไป...

“ปลาพระราชทาน” ยุคแรกๆ ของรัชกาลที่ 9 ไม่ไช่ปลานิล แต่เป็นปลาหมอเทศ

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ขณะพระราชทานพันธุ์ปลาหมอเทศ (ภาพจาก สารานุกรมพระราชกรณียกิจฯ)   ปลานิลเป็น “ปลาพระราชทาน” ที่สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตประเทศญี่ปุ่น ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมาร น้อมเกล้าถวายแก่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งพระองค์ท่านทรงทดลองเลี้ยงในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ต่อมาในปี 2509 จึงได้พระราชทานลูกปลาพันธุ์จำนวน 10,000 ตัว แก่กรมประมงเพื่อแจกจ่ายไปยังสถานีประมงประจำจังหวัดและนำลูกปลาที่ได้จาการขยายพันธุ์แจกจ่ายแก่ราษฎรต่อไป แต่ก่อนหน้า “ปลานิลพระราชทาน” นั้นมี “ปลาหมอเทศพระราชทาน” มาแล้ว...

BEDO ชวนร่วมงานครบรอบ 15 ปี ชม ชิม ช้อป สินค้า “15 ปี BEDO ตำรับเศรษฐกิจชีวภาพชุมชน”

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ เบโด้ (BEDO) กำหนดจัดงาน“ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว 2565 ภายใต้แนวคิด “15 ปี BEDO ตำรับเศรษฐกิจชีวภาพชุมชน” นำขบวนสินค้าจากป่าครอบครัวมาจัดแสดงและจำหน่าย เพื่อขยายผลการดำเนินงานตามหลักการ BEDO-BCG โดยมีกลุ่มเครือข่าย “ชุมชน BEDO กว่า 100 ชุมชน” จากทั่วประเทศ เข้าร่วมแสดงผลงาน ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ...

“เทียนหลง” เปิดตัวแคมเปญดูแลเด็กกล้ามเนื้ออ่อนแรง

  เทียนหลง (Tianlong) ร่วมกับศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (SMA) ในประเทศจีน (องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรสำหรับผู้ป่วยโรค SMA) และโรงพยาบาลสมทบแห่งที่สองของมหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง (The Second Affiliated Hospital of Xi'an Jiaotong University) เปิดตัวแคมเปญเพื่อมอบการดูแลเอาใจใส่เด็กที่ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (SMA) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลงเรื่อย ๆ...

ชาวสยามดื่มเบียร์ตั้งแต่เมื่อไหร่? จากเหล้าพื้นเมืองถึงบ.บุญรอด โดยพระยาภิรมย์ภักดี

ร้านขายเหล้าของคนจีน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเหล้าโรง (ภาพจาก “สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ”) ผู้เขียน ดำ บ้านญวน เผยแพร่ วันพฤหัสที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2564   เครื่องดื่มประเภทของมึนเมานั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกวัฒนธรรมในโลก ในบางวัฒนธรรมมันทำหน้าที่ยารักษาโรค ในบางวัฒนธรรมก็ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่การทำหน้าที่เป็นเครื่องมือที่ใช้ปลดปล่อยผู้คนออกจากโลกแห่งความจริงหรือใช้ในการสร้างความรื่นรมย์ในชีวิตของมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่มีร่วมกันในทุกวัฒนธรรม เบียร์เป็นเครื่องดื่มมึนเมาประเภทหนึ่งมีประวัติความเป็นมายาวนาน และว่ากันว่าเป็นเครื่องดื่มเมรัยที่เก่าแก่ที่สุดของโลก กำเนิดของเบียร์อาจเป็นสิ่งที่ได้มาเพราะโชคช่วยเพราะมันเกิดขึ้นจากการหมักตัวของธัญพืชและน้ำในยุคอารยธรรมเมโสโปเตเมีย จากนั้นเบียร์ก็ได้ถูกพัฒนากรรมวิธีในการทำมากขึ้นละซับซ้อนขึ้นเพื่อให้รสชาติที่ดีขึ้น ต่อมาในยุคอียิปต์นั้นเบียร์ยังถูกใช้ในพิธีกรรมและอยู่ในวัฒนธรรมการดื่มของกษัตริย์ฟาโรห์ นอกจากนี้เบียร์ยังเป็นยาที่สามารถรักษาอาการป่วยไข้ได้อีกด้วย (อุทิศ เหมะมูล:...