ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

รู้จัก “แม่น้ำแม่กลอง”

ต้นน้ำแม่กลองบริเวณแควน้อยกับแควใหญ่ไหลมาบรรจบกันที่ปากแพรก อ.เมือง จ.กาญจนบุรี (ภาพจากหนังสือ แม่น้ำแม่กลอง : พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม)   แม่น้ำแม่กลอง เป็นแม่น้ำสำคัญทางซีกตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ถือกำเนิดจากหุบเขาและที่สูงในเทือกเขาถนนธงชัย – ตะนาวศรีที่กั้นเขตแดนประเทศไทยออกจากประเทศพม่า ต้นกำเนิดของแม่น้ำนี้อยู่ในเขตจังหวัดตากและจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งแยกลำน้ำนี้ออกเป็นสองแคว แควที่อยู่ในเขตจังหวัดตาก เรียกว่า แควใหญ่ หรือ แควศรีสวัสดิ์ แควที่เกิดในเขตจังหวัดกาญจนบุรี เรียกว่า แควน้อย หรือ แควไทรโยค ทั้งสองแควนี้ไหลมาสมทบกัน ณ ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี กลายเป็นแม่น้ำใหญ่เรียกว่า แม่น้ำแม่กลอง ไหลผ่านอำเภอเมือง อำเภอท่าม่วง...

อบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาครูผู้สอนคณิตศาสตร์ด้วยวิจัยในชั้นเรียนและการสร้างนวัตกรรมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประจำปี ๒๕๖๕ โดย สพป.มุกดาหาร

อบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาครูผู้สอนคณิตศาสตร์ด้วยวิจัยในชั้นเรียนและการสร้างนวัตกรรมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประจำปี ๒๕๖๕ โดย สพป.มุกดาหาร วันเสาร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุมคุรุมุกดา สพป.มุกดาหาร นายวรรณสิทธิ์ คำเพราะ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร เป็นประธานเปิด "การอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาครูผู้สอนคณิตศาสตร์ด้วยวิจัยในชั้นเรียนและการสร้างนวัตกรรมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประจำปี ๒๕๖๕" และบรรยายพิเศษ พร้อมด้วย คณะศึกษานิเทศก์...

“เสียมราบ” ชื่อนี้มาจากไหน ฤาเพิ่งถูกนำมาใช้สมัยกรุงรัตนโกสินทร์?

พระสงฆ์เดินผ่านบริเวณปราสาทนครวัด ในจังหวัดเสียมราบ ของกัมพูชา เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2000 (AFP PHOTO/Philippe Lopez)   คำว่า “เสียมราบ” หรือ “เสียมเรียบ” เป็นชื่อจังหวัดอันเป็นที่ตั้งของปราสาทนครวัดอันโด่งดังของกัมพูชา มีการอธิบายว่ามาจากตำนานที่ พระร่วงผู้นำชาวเสียม (สยาม) ไปหมอบราบด้วยความเกรงกลัวอำนาจพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ สถานที่บริเวณดังกล่าวจึงถูกเรียกกันว่า “เสียมราบ” นั่นเอง (ตำนานดังกล่าวมาจากเอกสารเขมรที่น่าจะแปลในราว รัชกาลที่ 4-5 เพราะมีการตีพิมพ์ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5) ศานติ ภักดีคำ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเขมรบอกว่า นี่แสดงให้เห็นว่า...

“ฐานห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งแรกในไทย” ร่องรอยบริเวณร.4 ทอดพระเนตรสุริยุปราคา

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าเมืองสิงคโปร์และแขกชาวต่างประเทศ ที่หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์   18 สิงหาคม 2411 ที่หาดหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จมาทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ณ ที่แห่งนี้ ซึ่งพระองค์ทรงได้คำนวณปรากฏการณ์ดังกล่าวไว้ล่วงหน้าถึงสองปี ปัจจุบันนี้ (รายงานเมื่อ พ.ศ. 2559) ยังเหลือร่องรอยซากโบราณสถานของนักดาราศาสตร์ต่างประเทศที่เข้ามาสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ในครั้งนี้ด้วย ซึ่งเหลืออยู่ในปัจจุบันนี้ 5 แห่ง  ในเขตอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า...