ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

แรกมี ‘น้ำมันก๊าด’ ใช้ในสยาม ราษฎรไม่คุ้นชินจนเกิดไฟไหม้หลายคดี

วัดชนะสงคราม ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณหน้าวัดมีรถรางไฟฟ้าวิ่งบนถนนจักรพงษ์ ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤษภาคม 2558 ผู้เขียน ดร. นนทพร อยู่มั่งมี เผยแพร่ วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ.2565 การให้แสงสว่างแก่ที่พักอาศัย ในยุคที่กรุงเทพฯ ยามค่ำคืนปราศจากแสงไฟฟ้าซึ่งต้องพึ่งพาแสงสว่างจากตะเกียงน้ำมันเป็นหลัก และแม้จะมีไฟฟ้าในกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2427 แต่แสงสว่างชนิดนี้จำกัดอยู่เฉพาะการใช้งานของรัฐ เช่น ตามท้องถนนบางสาย กับตามบ้านเรือนของผู้มีฐานะซึ่งต้องซื้อหาอุปกรณ์และจ่ายค่าไฟในราคาสูง การที่แสงสว่างจำกัดส่งผลต่อกิจวัตรของผู้คน เช่น ความบันเทิง และการสัญจรของราษฎร เช่นที่ขุนวิจิตรมาตรากล่าวถึงวิถีชีวิตในกรุงเทพฯ ยามค่ำคืน ดังนี้ “มหรสพสมัยโน้น (ยังไม่มีไฟฟ้า) แสดงแต่วันข้างขึ้น ราวขึ้น 8 ค่ำ ไปจนถึงประมาณสามทุ่ม พระจันทร์ยังสว่างอยู่ ข้างแรมเดือนมืดไม่มีแสดง โรงละครนฤมิตรที่วัดสระเกศเท่าที่ข้าพเจ้าจำได้แสดงตอนบ่าย พอถึงเย็นก็เลิก ต่อมาเมื่อข้าพเจ้าเริ่มไปอยู่กรุงเทพฯ มีไฟฟ้าแล้ว คือเพิ่งเริ่มจะมีโดยเฉพาะตามถนนนั้นขึงสายไฟฟ้าขวางระหว่างตึก ดวงโคมไฟฟ้าห้อยติดกับสายอยู่กลางถนนแต่สูงมาก แสงไฟก็ริบหรี่ไม่สว่าง คนเดินอาศัยร้านเจ๊กเขียนหวย ซึ่งมีตะเกียงกระจกตั้งโต๊ะสว่างไปสองข้างถนนระยะห่างๆ กันไปสว่างมากกว่าไฟฟ้า ไฟฟ้าเมื่อแรกมีนี้ ถ้าเป็นข้างขึ้นพระจันทร์สว่าง ไฟดับหมด พอถึงข้างแรมพระจันทร์มืดจึงเปิดไฟ สลับไปอย่างนี้ทุกข้างขึ้นข้างแรม ส่วนตามตึกบ้านเรือนที่ต้องการใช้ไฟฟ้า คิดค่าเช่าเป็นดวงๆ ละ 6 สลึง (หนึ่งบาทห้าสิบสตางค์) ดวงหนึ่งไฟ 10 แรงเทียน จะติดกี่ดวงก็ได้ตามราคาที่คิดเป็นดวง เท่าที่เห็นใช้กันเพียงหนึ่งหรือสองดวงเท่านั้น ไฟฟ้าดีอย่างหนึ่งเป็นการบอกเวลา คือเวลาสองทุ่มตรง ไฟจะดับแวบหนึ่งให้รู้ว่าสองทุ่ม ใครมีนาฬิกาก็ตั้งจากไฟฟ้าได้ทันที” แหล่งเชื้อเพลิงที่ให้แสงสว่างยามค่ำคืนที่สำคัญคือน้ำมันมะพร้าว จนกระทั่งราวพุทธศตวรรษที่ 25 หรือช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ราษฎรในกรุงเทพฯ เริ่มใช้น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงให้แสงสว่างซึ่งตรงกับระยะเวลาเดียวกับที่เมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการใช้เชื้อเพลิงชนิดนี้ เช่นที่สุราบายา ในเกาะชวา ราษฎรพื้นเมืองใช้น้ำมันก๊าดหลังปี พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864) ผลจากเชื้อเพลิงชนิดใหม่ปรากฏในรูปของคดีไฟไหม้จำนวนมากเนื่องจากความไม่คุ้นชินของบรรดาราษฎร เช่นที่พระยาอนุมานราชธนกล่าวไว้ ดังนี้ “เขาว่าเมื่อมีน้ำมันก๊าดใช้ใหม่ๆ มักเกิดไฟไหม้บ้านเรือนบ่อยๆ เพราะไปเข้าใจว่าเหมือนน้ำมันมะพร้าว ไม่รู้พิษสงของมันว่า มันลุกผึบได้ทันทีถ้าใกล้ไฟ พอรู้ก็หวาดเกรงกัน จึงยังมีผู้ดื้อใช้น้ำมันมะพร้าวอยู่ก็เป็นอันมาก ถ้าซื้อน้ำมันก๊าดทั้งปีบมาใช้ เวลาจะเปิดเอาปีบน้ำมันออก ถ้าอยู่ในสวน ก็ต้องหิ้วปีบไปเปิดหรือเก็บไว้ในสวนให้ห่างไกลจากตัวเรือน เพราะกลัวจะระเบิดเกิดลุกเป็นไฟไหม้บ้านเรือนขึ้น” ราษฎรในเมืองหลวงสามารถซื้อหาน้ำมันก๊าดได้จากโรงขายน้ำมันของชาวจีน พร้อมกับซื้อตะเกียงสำหรับให้แสงสว่างที่มีขายในกรุงเทพฯ อีกด้วย เช่น คดีไฟไหม้ตึกแถวอำแดงผาด ย่านถนนเฟื่องนคร เมื่อปี พ.ศ. 2450 ให้รายละเอียดดังนี้ “วันนี้เวลาบ่าย 3 โมงอำแดงช่วยได้วานผู้มีชื่อคือนายเคล้าซึ่งอยู่ห้องเดียวกันไปซื้อตะเกียงแก้วตั้ง คือดวงที่ลุกขึ้นนี้ จากร้านสี่กั๊กเสาชิงช้า ครั้นเมื่อซื้อมาแล้ว นายเคล้าเปนผู้เติมน้ำมันในคืนวันเดียวกันนั้นเองเวลา 2 ทุ่มเศษ ข้าพเจ้าได้ลองจุดแล้วเอาไปตั้งริมฝา พอจุดขึ้นไฟในตะเกียงก็พุบขึ้นโคมแตกน้ำมันก็ไหลซึมไปตามพื้นไปอิกห้องหนึ่ง คือห้องของอำแดงเจิมไปลุกที่หมอน 1 ใบ ที่นอนน้ำมันผ้าห่มปะลังเก้ด 1 ผืน”...

หน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มทบ.38 จิตอาสาพระราชทาน ร่วมกิจกรรมบริจาคโลหิต เนื่องในโอกาสมหามงคล วันเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565

วันที่ 7 สิงหาคม 2565 ที่ธนาคารเลือด อาคารสิริเวชรักษ์ชั้น 3 โรงพยาบาลน่าน ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน พันโทชรินทร์ สุวรรณะ ผู้บัญชาการศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทาร มณฑลทหารบกที่ 38 นำกำลังพล และนักศึกษาวิชาทหาร จิตอาสาพระราชทาน ชั้นปีที่ 3 จำนวน 15 นาย ร่วมบริจาคโลหิต เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่...

กกต.จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จัดโครงการสร้างจิตสำนึกพลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย

กกต.จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จัดโครงการสร้างจิตสำนึกพลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย ที่ห้องประชุมแควใหญ่ ชั้น 6 อาคารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ผศ.จรายุทธ ประทีปวรกาญจน์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี เป็นประธานเปิดโครงการสร้างจิตสำนึกพลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย โดยมี นายนิรันดร์ บุญราช พนักงานการเลือกตั้งชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานจัดการเลือกตั้งและการมีส่วนร่วม นายธนกฤต สนองสิทธิ์ นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ นายจิติพล ประดิษฐ์พันธ์ พนักงานการเลือกตั้ง ร่วมเป็นวิทยากร...

รับสมัครเข้าอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สหวิชาชีพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน กรณีเด็กถูกละเมิดทางเพศออนไลน์

  Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร : Read More

ประชาสัมพันธ์ ขอความเมตตาอนุเคราะห์ช่วยซื้อที่ดิน เพื่อมอบให้โรงพยาบาลสังคม อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย

  Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร : Read More

ขอเชิญร่วมรับชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565

ขอเชิญร่วมรับชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 . ระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2565 ณ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ Credit : ข่าวประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร...

สถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าในวัยเด็กและการได้รับค่าแรงต่ำต่อเนื่องยาวนาน เชื่อมโยงกับความเสี่ยงเกิดภาวะสมองเสื่อมและการเสื่อมถอยของความจำที่เกิดขึ้นเร็วกว่า

ความขาดแคลนเชิงสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงความเสียเปรียบด้านละแวกที่อยู่อาศัยและค่าแรงต่ำต่อเนื่องยาวนาน มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงสูงกว่าที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อม สมรรถนะการทำงานรู้คิดของสมองที่ต่ำกว่า และการเสื่อมถอยของความจำที่เกิดขึ้นเร็วกว่า จากงานศึกษาวิจัยหลายงานที่นำเสนอในวันนี้ภายในงานประชุมนานาชาติของสมาคมอัลไซเมอร์ ประจำปี 2565 หรือ Alzheimer's Association International Conference(R) (AAIC(R)) 2022 ซึ่งจัดขึ้นในเมืองซานดิเอโกและทางออนไลน์ สถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ( SES) ซึ่งสะท้อนการวัดทั้งในเชิงสังคมและเศรษฐกิจของประสบการณ์การทำงานของบุคคล ตลอดจนการเข้าถึงทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจและตำแหน่งทางสังคมของปัจเจกบุคคลหรือของครอบครัว มีความเชื่อมโยงกับทั้งสุขภาพในเชิงกายภาพและเชิงสรีรศาสตร์และสุขภาวะ งานวิจัยที่ศึกษาผลกระทบของสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจต่อการทำงานรู้คิดของสมองมีเพิ่มมากขึ้น ในการนี้ ข้อค้นพบสำคัญที่นำเสนอภายในงานประชุม...

ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานในพิธีมอบอุปกรณ์การสอนช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR)

วันที่ 8 สิงหาคม 2565 เวลา 10.30 น. นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานในพิธีมอบอุปกรณ์การสอนช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) ตามโครงการฝึกอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน จิตอาสา CPR เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จังหวัดสมุทรปราการ ปีงบประมาณ 2565 ณ ห้องประชุมสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์...

เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนที่ใช้เวลาถึง 5 แผ่นดิน จึงได้ก่อสร้าง?

เขื่อนเจ้าพระยาทอดขวางแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาท มีสะพานเชื่อมพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำ และประตูน้ำติดกับเขื่อนเพื่อให้เรือล่องผ่านเขื่อนไปมาได้ ภาพถ่ายเมื่อเขื่อนเปิดใช้งาน พ.ศ. 2500 (ภาพจาก “ประวัติศาสตร์ชัยนาท”) เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนทดน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างอยู่บนแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จังหวัดชัยนาท ในโครงการชลประทานใหญ่เจ้าพระยาใหญ่ ที่มีแนวคิดในการก่อสร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ก็มีอันต้องเลื่อนโครงการออกไปถึง 2 ครั้ง กว่าจะได้ลงมือดำเนินและแล้วเสร็จก็ผ่านมาถึงสมัยรัชกาลที่ 9 เหตุขัดข้องในการสร้าง “เขื่อนเจ้าพระยา” นี้ กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม เขียนไว้ในหนังสือเล่มพิเศษชื่อ “ประวัติศาสตร์ชัยนาท” (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ....