ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

เจนละ-แตก แยกเป็น 2 แคว้น

รัชกาลพระเจ้าภววรมัน เจนละเป็นประเทศราชของอาณาจักรฟูนัน กษัตริย์องค์หนึ่งซึ่งสืบเชื้อสายมาจากฤาษีกัมพูซึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้าเศรษฐวรมัน ทรงเป็นปฏิปักษ์แก่อาณาจักรฟูนัน ในครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 12 มีเจ้าหญิงในพระราชวงศ์องค์หนึ่งทรงเสกสมรสกับเจ้าชายฟูนันที่ทรงพระนามว่า พระเจ้าภววรมัน เจ้าชายองค์นี้ทรงยึดอำนาจและเริ่มต้นปราบปรามอาณาจักรฟูนันโดยความช่วยเหลือจากพระเชษฐาคือ เจ้าชายจิตรเสน ภายใต้รัชกาลของพระเจ้าภววรมันนี้ อาณาจักรเจนละได้แผ่ขยายอาณาเขตไปทางใต้บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง รัชกาลพระเจ้ามเหนทรวรมัน พระเจ้าภววรมันสิ้นพระชนม์โดยมิทรงมีรัชทายาท ดังนั้นพระเชษฐาของพระเจ้าภววรมัน คือเจ้าชายจิตรเสน จึงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติในราว พ.ศ. 1145 ในพระนาม พระเจ้ามเหนทรวรมัน พระองค์ทรงดำเนินพระราโชบายและพระราชกิจที่ริเริ่มมาแต่รัชกาลก่อนต่อไป กับทั้งทรงผนวกดินแดนเมืองกระเตี้ย, มงคลบุรีและบุรีรัมย์...

อากาศแปรปรวนบริเวณประทศไทยตอนบนและฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 7

ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2565บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากสภาพอากาศแปรปรวนที่มีฝนตกหนัก ลมแรง และอุณหภูมิลดลง รวมถึงดูแลสุขภาพไว้ด้วย สำหรับร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคใต้ตอนกลางทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในระยะนี้ จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้ วันที่ 11 ตุลาคม 2565 ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร...

จังหวัดสมุทรปราการ มาจากไหน? ตั้งแต่เมื่อใด?

พระสมุทรเจดีย์กลางน้ำ จังหวัดสมุทรปรากร (ภาพจาก https://www.matichon.co.th/) ชื่อจังหวัดสมุทรปราการ นั้นมีความหมายว่า เมืองหน้าด่านชายทะเล และทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยเมืองมีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน ได้แก่ นครเขื่อนขันธ์, เมืองพระประแดง, เมืองสมุทรปราการ เช่นเดียวกันที่ตั้งของตัวเมือง ซึ่งก็เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของบ้านเมือง ดังนี้ พ.ศ. 1100-1600 ขอมมีอำนาจครอบครองบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ได้มีการตั้งเมืองพระประแดง (เก่า) ที่บริเวณเขตพระโขนง หรือเขตราชบูรณะ กรุงเทพฯ ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพื้นที่ปากแม่น้ำ ซึ่งเป็นชุมชนขนาดเล็ก พ.ศ. 1893 เมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างนครใหม่สถาปนา “กรุงศรีอยุธยา”...

โครงการให้คำปรึกษาและฝึกอบรมเพื่อสนับสนุนการใช้บังคับกฎระเบียบด้านการบินพลเรือนของประเทศไทย (TCARs) โดยมีการลงนามสัญญาในวันแรกของการประชุมสมัชชาสมัยสามัญองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ครั้งที่ 41 ณ สำนักงานใหญ่ ICAO เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา

ในระยะเวลา 5 ปีนับจากนี้ CAAi และ CAAT จะร่วมมือกันในกา ในระยะเวลา 5 ปีนับจากนี้ CAAi และ CAAT จะร่วมมือกันในการสนับสนุนเพื่อเตรียมความพร้อมการเปลี่ยนผ่าน เพื่อนำไปสู่การบังคับใช้กฎระเบียบด้ายการบินพลเรือนในรูปแบบ TCARs ตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ที่ครอบคลุมด้านความสมควรเดินอากาศ (Airworthiness) การปฏิบัติการบิน (Flight Operations) การออกใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ (Personnel...

“พระธาตุพนม” เจดีย์บัวเหลี่ยมลาวล้านช้าง ปรากฏร่องรอย “ศิลปะจาม”

พระธาตุพนมเป็นพระธาตุโบราณประดิษฐานพระอุรังคธาตุ หรือกระดูกส่วนอกของพระพุทธเจ้า แม้พระธาตุพนมจะได้รับการบูรณะซ่อมแซมมาหลายสมัย โดยเฉพาะหลังการพังถล่มเมื่อปี 2518 แต่ก็ยังเผยให้เห็นร่องรอยจากการได้รับอิทธิพลจาก “ศิลปะจาม” อยู่ด้วย พระธาตุพนมมีประวัติการสร้างไม่แน่ชัด มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระธาตุพนมปรากฏในตำนานอุรังคธาตุ โดยกล่าวว่า พระมหากัสสปะได้นำอุรังคธาตุมาประดิษฐานไว้ ณ ดอยกัปปนคีรี หรือภูกำพร้า ซึ่งก็คือพระธาตุพนมนั่นเอง ส่วนประวัติการบูรณะซ่อมแซมแน่ชัดว่ามีอยู่หลายครั้ง เช่น ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช, สมัยพระยาบัณฑิตยโพธิสาลราชกษัตริย์ล้านช้าง และรัชกาลพระยาสุริยวงศาธรรมิกราช เป็นต้น และในสมัยหลังเมื่อปี 2483 บูรณะโดยจอมพล...

พระสงฆ์ไทย กับคิ้วที่หายไป พระสงฆ์ (ไทย) เริ่มโกนคิ้วตั้งแต่เมื่อไหร่?

พระสงฆ์ถือตาลปัตร ภาพพิมพ์ปลายศตวรรษที่ 17 ภาพจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส เมื่อไม่นานนี้มีกระแส “เอาคิ้วเราคืนมา” ในหมู่พระสงฆ์ไทยบางส่วน ทำให้เกิดการถกเถียงกันในวงกว้างว่า พระสงฆ์โกนคิ้วกันตั้งแต่เมื่อไหร่ พระสงฆ์ปัจจุบันควรโกนคิ้ว (ต่อไป) หรือไม่ เพราะการโกนคิ้วไม่มีปรากฏในพระธรรมวินัย สาเหตุของการโกนคิ้วมี 2 กระแส หนึ่งคือ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โกนคิ้วเพื่อแยกพระสงฆ์ไทยกับพม่า ที่ปลอมตัวเป็นพระสงฆ์เข้ามาสืบข่าว สองคือ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อป้องกันไม่ให้พระสงฆ์ลักลอบเข้าไปพระพฤติมิงามกับนามสนมนางในในพระบรมมหาราชวัง รวมถึงป้องกันไม่ให้พระสงฆ์ยักคิ้วหลิ่วตาให้ผู้หญิง ในวิทยานิพนธ์เรื่อง “พระภิกษุข้ามถิ่นอัตลักษณ์ข้ามแดน : ศึกษาเปรียบเทียบพระภิกษุพม่าและพระภิกษุไทใหญ่ในภาคเหนือของประเทศไทย” โดย ศุภสิทธิ์ วนชยางค์กูล (วิทยานิพนธ์ มานุษยวิทยามหาบัณฑิต...