หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ฉบับที่ 2
ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2565หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศฟิลิปปินส์ ได้เคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนกลางแล้ว คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 13-14 ต.ค. 65 ส่งผลให้ในช่วงวันที่ 14-15 ต.ค. 65 บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร...
สถาบัน TDGA ติวเข้มผู้นำดิจิทัล เติมทักษะด้านนวัตกรรมให้ผู้บริหารผ่านหลักสูตร DTP รุ่นที่ 3
สถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล หรือ TDGA ภายใต้การดำเนินงานของ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรและการปิดการฝึกอบรมหลักสูตรการสร้างกระบวนการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่รัฐบาลดิจิทัล รุ่นที่ 3 (Digital Transformation Program: DTP#3) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ธีรภัทร ประยูรสิทธิ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบประกาศนียบัตรและกล่าวปิดหลักสูตรการฝึกอบรม โดยมี นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และรักษาการผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล...
เชิญชวนสมัครบุคคลหรือองค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริมปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษย์ประจำปี 2565
เชิญชวนสมัครบุคคลหรือองค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้าน เครดิตข่าวจากเว็บไซต์ สมุทรปราการ https://www2.samutprakan.go.th/
หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ฉบับที่ 1
ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2565หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณหัวเกาะประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนกลางในคืนนี้ (12 ตุลาคม 2565) คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 13-14 ต.ค. 65 ส่งผลทำให้ในช่วงวันที่ 14-15 ต.ค. 65 บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดมุกดาหาร กาฬสินธุ์...
คึกฤทธิ์ ปราโมช ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ลาออก! เหตุไม่พอใจได้เงินเดือน ส.ส. เพิ่ม?
img class=”aligncenter” src=”https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2019/05/%E0%B8%A0%E0%B8%9B-%E0%B8%84%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%8A-696×364.jpg” /> ภาพจาก มติชนออนไลน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ยื่น “ลาออก” เพราะไม่พอใจที่รัฐสภาได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2491 อันมีผลให้ ส.ส. ได้เงินเดือนเพิ่มขึ้นนั้น คือ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้แทนจังหวัดพระนคร สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และ ร้อยโทสัมพันธ์ ขันธะชวนะ ผู้แทนจังหวัดนครราชสีมา ไม่สังกัดพรรคการเมือง การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีนั้นจะมีคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นผู้พิจารณาก่อนจะมีการพิจารณาขั้นถัดไปในการประชุมสภาผู้แทนฯ โดยมีการประชุมสภาผู้แทนฯ เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ในการประชุมสภาผู้แทนฯ (สามัญ) วันที่ 16-17 กันยายน พ.ศ. 2491...
3 จังหวัดลุ่มน้ำท่าจีนเตรียมรับมือแม่น้ำท่าจีน และลำห้วยกระเสียวระดับน้ำเพิ่มสูง ในช่วงวันที่ 13 – 16 ต.ค. 65
ปภ.แจ้ง 3 จังหวัดลุ่มน้ำท่าจีนเตรียมรับมือแม่น้ำท่าจีน และลำห้วยกระเสียวระดับน้ำเพิ่มสูง ในช่วงวันที่ 13 – 16 ต.ค. 65วันนี้ (12 ต.ค. 65) เวลา 10.30 น. กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้ง 3 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี...
ไทยเหนือ-ไทยใต้-คนเมือง ร่องรอยความขัดแย้งของล้านนากับสยาม
ความรู้สึกแบ่งแยกระหว่างไทยเหนือ (ล้านนา) และไทยใต้ (สยาม) เริ่มปรากฏในรายงานของข้าหลวงที่ถูกส่งไปกำกับราชการในเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่ทศวรรษที่ 2430 สาเหตุมาจากการที่ชนชั้นนำสยามเห็นว่าการดำรงอยู่แบบรัฐจารีตของล้านนานั้นเป็นความล้าหลังป่าเถื่อน รวมทั้งรายงานของข้าราชการสยามที่ส่งมายังกรุงเทพฯ มักให้ภาพคนล้านนาว่าเกียจคร้านและมีความเจริญน้อยกว่า ทำให้ข้าราชการสยามที่ถูกส่งขึ้นมามักวางอำนาจใส่คนพื้นเมือง ข้าหลวงใหญ่บางคนก็สร้างความเดือดร้อนให้กับราษฎรและปกป้องพวกพ้องของตนโดยขาดความยุติธรรม ตัวอย่างเช่นใน พ.ศ. 2426 มีรายงานจากข้าหลวงใหญ่ว่าเกิดความขัดแย้งระหว่างบรรดาเจ้านายพื้นเมืองกับทหารสยามถึงขนาดยกพวกไล่ตีกันจนถึงหน้าประตูจวนข้าหลวง ภายหลังยังมีเรื่องวิวาทกันกลางตลาด โดยทหารสยามทำร้ายคนของเจ้าอินทวิชยานนท์ถึงขั้นศีรษะแตก ในรายงานดังกล่าวทหารสยามระบุว่าถูกคนพื้นเมือง “…ด่าว่าอ้ายชาวใต้เปนคำหยาบช้าต่างๆ…” ครั้งนั้นข้าหลวงใหญ่ได้เสนอค่าทำขวัญแต่เจ้าอินทวิชยานนท์ไม่ยอมและยืนยันที่จะนำตัวไปโบย 100 ที แล้วประหารชีวิต ฝ่ายข้าหลวงใหญ่ไม่ยินยอมส่งตัวทหารให้และเลือกลงโทษด้วยการจำตรวน ภายหลังเมื่อกรมหมื่นพิชิตปรีชากรเสด็จขึ้นไปตรวจราชการหัวเมืองล้านนาได้สอบชำระความก็ไม่พบว่าข้าหลวงใหญ่และพรรคพวกมีความผิดจริง...
เจนละ-แตก แยกเป็น 2 แคว้น
ภาพถ่ายนักท่องเที่ยว ณ โบราณสถานในสมโบร์ไพรกุก ในเขตกำพงธม กัมพูชา เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2560 (Sambor Prei Kuk) (TANG CHHIN Sothy / AFP) รัชกาลพระเจ้าภววรมัน เจนละเป็นประเทศราชของอาณาจักรฟูนัน กษัตริย์องค์หนึ่งซึ่งสืบเชื้อสายมาจากฤาษีกัมพูซึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้าเศรษฐวรมัน ทรงเป็นปฏิปักษ์แก่อาณาจักรฟูนัน ในครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 12 มีเจ้าหญิงในพระราชวงศ์องค์หนึ่งทรงเสกสมรสกับเจ้าชายฟูนันที่ทรงพระนามว่า พระเจ้าภววรมัน เจ้าชายองค์นี้ทรงยึดอำนาจและเริ่มต้นปราบปรามอาณาจักรฟูนันโดยความช่วยเหลือจากพระเชษฐาคือ เจ้าชายจิตรเสน ภายใต้รัชกาลของพระเจ้าภววรมันนี้...
เจ้านครเชียงใหม่ ประเทศราชล้านนา ได้เงินเดือนตอบแทนจากรัฐบาลสยามกี่บาท?
(ซ้าย) เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์, (ขวา) เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้านครเชียงใหม่ ประเพณีการปกครองบ้านเมืองในหัวเมืองประเทศราชล้านนาแต่เดิมมานั้น บรรดาเจ้านคร เจ้านาย และขุนนางในพื้นเมืองนั้น หาได้มีรายได้เป็นเงินเดือนหรือเบี้ยหวัดเงินปีเช่นเจ้านายกรุงสยาม หากแต่บรรดาเจ้าประเทศราช เจ้านาย และขุนนางในพื้นที่นั้น “มีการกะเกณฑ์ให้ราษฎรมาทำการต่างๆ ตามประเพณีเมือง มีการหาบหามสิ่งของเดินทาง แลมาเข้าเวรประจำทำการ ณ ที่ต่างๆ ปีหนึ่งมีกำหนดคนหนึ่งต้องทำการตั้งแต่เดือนหนึ่งถึงสี่เดือน อีกประการหนึ่งมีราษฎรบางจำพวก ซึ่งต้องเสียสร่วยต่างๆ เปนสิ่งของแลเงิน มีมากบ้างน้อยบ้างไม่เสมอน่ากัน” เนื่องจากการเกณฑ์แรงงานและส่วยได้สร้างความเดือดร้อนแก่ราษฎรจนไม่มีเวลาทำมาหาเลี้ยงชีพ ฉะนั้นในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิรยศิริ) ราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยขึ้นไปจัดระเบียบปกครองในหัวเมืองประเทศราชล้านนาใน พ.ศ. 2442 จึงมีราษฎรที่ต้องเกณฑ์นั้นมาร้องทุกข์ต่อพระยาศรีสหเทพเป็นจำนวนมาก บางรายถึงแก่ยอมจะเสียเงินถึงปีละ 20 บาท เป็นค่าแรงแทนเกณฑ์ พระยาศรีสหเทพจึงได้หารือและตกลงกันกับบรรดาเจ้าประเทศราชล้านนาให้เลิกการเกณฑ์แรงงานและส่วยจากราษฎร และให้เปลี่ยนมาเรียกเก็บเงินจากชายฉกรรจ์ในพื้นที่เป็นค่าแรงแทนเกณฑ์ โดยกำหนดให้เจ้านคร เจ้านาย และขุนนางประเทศราชล้านนาได้รับส่วนแบ่งเงินค่าแรงแทนการเกณฑ์แรงงานเป็นเงินจำนวนมากน้อยตามฐานะของบุคคลมาตั้งแต่ พ.ศ. 2442 ต่อมาในยุคที่มีชาวตะวันตกและคนในบังคับเข้ามาขอรับสัมปทานตัดฟันไม้สักในเขตแขวงนครเชียงใหม่ นครลำปาง นครลำพูน และเมืองแพร่ บรรดาเจ้านครและเจ้านายซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของป่าไม้ในเขตแขวงเมืองเหล่านั้น ต่างก็ได้รับผลประโยชน์จากค่าสัมปทานป่าไม้มากบ้างน้อยบ้างตามจำนวนไม้สักที่ถูกตัดทอนออกจากป่า เงินประเภทนี้เรียกกันว่า “เงินค่าตอไม้” แต่เนื่องจากการเรียกเก็บเงินค่าตอไม้ที่บรรดาเจ้านครและเจ้านายเรียกเก็บมาแต่เดิมนั้น ล้วนมีปัญหารั่วไหลทั้งในการที่ผู้รับสัมปทานแจ้งจำนวนไม้ที่ตัดฟันต่ำกว่าความเป็นจริง ซ้ำร้ายยังถูกผู้แทนเจ้าของป่าไม้ที่ออกไปตรวจเก็บเบียดบังเงินค่าตอไม้ไปเป็นของตนอีกไม่น้อย จนเมื่อมีการจัดตั้งกรมป่าไม้ขึ้นแล้ว เจ้าของป่าไม้จึงได้รับเงินส่วนแบ่งค่าตอไม้เพิ่มขึ้นตามจำนวนที่รัฐบาลสยามสามารถจัดเก็บค่าภาคหลวงจากผู้รับสัมปทานป่าไม้ เงินเดือนเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้านครเชียงใหม่ ภายหลังจากเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้านครลำปาง ได้รับพระราชทานเงินบรรดาศักดิ์สำหรับตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองเป็นคนแรกในหัวเมืองประเทศราชล้านนาแล้ว ต่อมาในตอนปลายปี ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451) เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้านครเชียงใหม่ ก็ได้มีศุภอักษรลงไปกราบทูล พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ความตอนหนึ่งว่า “ตามที่ได้รับพระราชทานผลประโยชน์อยู่ คือ 1 ส่วนแบ่งค่าตอไม้ 2 ส่วนแบ่งค่าแรงแทนเกณฑ์ แล 3 เงินเดือน อยู่แล้วนั้น ไม่ใคร่จะพอจับจ่ายใช้สรอย แลส่วนแบ่งค่าตอไม้นั้นบางปีก็ได้มากบ้างน้อยบ้างไม่เป็นยุติไม่สดวกกับการใช้สรอย เจ้านครเชียงใหม่ ขอพระราชทานรับเป็นเงินเดือนให้เป็นอัตราประจำเดือนละ 25,960 บาท หรือ ปีละ 311,100 บาท ไม่รับพระราชทานส่วนแบ่งค่าตอไม้ แลค่าแรงแทนเกณฑ์ต่อไป” การที่เจ้านครเชียงใหม่ขอพระราชทานพระมหากรุณาคราวนี้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มีพระดำริว่า “ควรจะให้เป็นไปได้เช่นได้เคยกำหนดให้แก่เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตเจ้านครลำปางมาแล้ว” จึงมีลายพระหัตถ์กราบทูลให้ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงพิจารณาดำเนินการต่อไป เมื่อเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติทรงสอบสวนเรื่องราวแล้วได้ความว่า “ผลประโยน์ที่รัฐบาลได้เคยให้แก่เจ้านครเชียงใหม่อยู่แล้ว คือ 1 ส่วนแบ่งค่าตอไม้เทียบดูใน 6 ปี คงได้ถัวอยู่ในปีละ 138,861 บาทเศษ 2 ส่วนแบ่งค่าแรงแทนเกณฑ์เทียบดูใน 6 ปีคงได้ถัวอยู่ในปีละ 41,461 บาทเศษ แล 3 เงินเดือนปีละ 60,000 บาท รวมเป็นเงินอยู่ในปีละ 240,277 บาทเศษ” จึงได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า “ตามที่เจ้านครเชียงใหม่ขอนั้นสูงกว่าจำนวนที่ได้เทียบมาแล้วมากนัก แลทั้งส่วนแบ่งค่าตอไม้ที่เคยได้ตามรายปีสังเกตดูมีจำนวนข้างลดลงมากกว่าขึ้น ถ้าจะผ่อนให้เพียงเดือนละ 20,000 บาท หรือ ปีละ 240,000 บาทจะพอควร เพราะเจ้านครลำปางก็ได้เคยพระราชทานมาแล้ว เดือนละ 15,000 บาท หรือปีละ 180,000 บาท เจ้านครเชียงใหม่จึ่งควรจะได้สูงกว่าเจ้านครลำปางสักหน่อย ด้วยผลประโยชน์ของเจ้านครเชียงใหม่ที่เคยได้รับพระราชทานนั้นสูงกว่าเจ้านครลำปางอยู่แล้ว” ภายหลังจากที่เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้ “ว่ากล่าวกับเจ้านครเชียงใหม่เป็นอันเห็นชอบว่า คงขอรับพระราชทานเพียงเดือนละ 20,000 บาท หรือ ปีละ 240,000 บาทนั้น แต่เมื่อมีโอกาสจะขอรับพระราชทานขึ้นบ้างในภายหลัง” แล้ว เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ได้ตกลงยกเงินผลประโยชน์ที่เคยได้รับอยู่ทั้งสิ้นให้เป็นของหลวง และได้รับพระราชทานเงินบรรดาศักดิ์เจ้าผู้ครองเมืองเดือนละ 20,000 บาท มาตั้งแต่เดือนเมษายน ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452) แต่คงได้รับพระราชทานมาเพียงเดือนมกราคม ร.ศ. 128 เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ก็ถึงแก่พิราลัยเสียเมื่อวันที่ 5 มกราคม ร.ศ. 128 จึงได้รับพระราชทานเงินบรรดาศักดิ์หรือเงินเดือนสำหรับตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เพียง 10 เดือนเต็มเท่านั้น เงินเดือนเจ้าแก้วนวรัฐฯ เจ้านครเชียงใหม่ อนึ่ง ก่อนที่เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์จะถึงแก่พิราลัยนั้น เจ้าอุปราชแก้ว เมืองนครเชียงใหม่ ก็ได้ยื่นเรื่องราวต่อเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยว่า “ผลประโยชน์ที่ได้รับพระราชทานจากค่าตอ จะขอถวายเป็นหลวง ขอรับพระราชทานเป็นเงินเดือนเพิ่มขึ้นจากอัตราที่ได้รับพระราชทานอยู่เดือนละ 600 บาท” ในคราวนั้นกระทรวงมหาดไทยได้ “คิดเทียบดูผลประโยชน์ที่ได้ แลได้ถามเจ้าอุปราชจะเพิ่มให้อีกเดือนละ 600 บาท เจ้าอุปราชก็พอใจ” ...