ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานในพิธีลงนาม MOU โครงการ “คลองสำโรงสายน้ำแห่งความรักและความสามัคคี”

เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565 เวลา 10.00 น. นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือโครงการ “คลองสำโรงสายน้ำแห่งความรักและความสามัคคี” ต้นแบบตามนโยบายจังหวัดสมุทรปราการ “รักษ์น้ำ รักษ์คลอง รักสมุทรปราการ” ระหว่าง จังหวัดสมุทรปราการ กับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่คลองสำโรงไหลผ่าน ณ วัดหนามแดง ตำบลบางแก้ว...

พระราชวิจารณ์ในร.5 เรื่องคนไทย “รู้สึกว่าต้องมีเจ้าขุนมูลนาย” กับข้อดีจากมุมมองต่างชาติ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นพระปิยมหาราชของปวงชนชาวไทย ท่านเสด็จลงมาใกล้ชิดกับประชาราษฎร์ ตลอดเวลายาวนานที่บริหารราชการแผ่นดิน มีพระราชหัตถเลขาถึงเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยจำนวนมาก ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้รวบรวมและจัดพิมพ์ไว้ มีหลายฉบับที่เกี่ยวกับนิสัย อัธยาศัย ของประชาชนและข้าราชการไทยยุคนั้น นอกจากนิสัยหลักๆ ดังที่เราได้กล่าววิจารณ์กันมาแล้ว… ยังมีนิสัยรอง ซึ่งน่าที่เราจะสำเหนียกรับรู้ไว้ ดังนี้ องค์ความรู้และสติปัญญา “หนังสือที่ญี่ปุ่นแต่ง ทำทั้งสง่าทำทั้งภูมิให้ฝรั่งเกรงใจ แลอ่อนหวานให้ชมว่าดีด้วย จึงชมว่าเขาฉลาดจริงๆ ไม่ใช่ฉลาดคนเดียว มันฉลาดเป็นกองสองกองเช่นนี้ บ้านเมืองเขาจะไม่เจริญขึ้นสู่ทางมีอำนาจ มีประโยชน์เต็มอย่างไรได้ การที่บ้านเมืองเขาเจริญขึ้นได้สำเร็จดังประสงค์...

แรกมี “คลองมหาสวัสดิ์” คลองแห่งพระราชศรัทธาของรัชกาลที่ 4

คลองมหาสวัสดิ์ บริเวณวัดสาลวัน ไม่ระบุปีที่ถ่าย (ภาพจากหนังสือ มหาสวัสดี 150 ปี มหานทีพระราชทาน, โครงการศิลปศาสตร์อาสา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2553) ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาชว์ภูริชญ์ น้อมเนียน ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยแพร่ วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ.2565  ...

ตำนานเหตุอัศจรรย์เมื่ออัญเชิญ “พระแสงขรรค์ชัยศรี” มาสู่ชื่อพระราชทานจากร. 1

พระแสงขรรค์ชัยศรี (ภาพจากพิชญา สุ่มจินดา, ถอดรหัวพระจอมเกล้า, มติชน 2557)   พระแสงขรรค์ชัยศรีซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์สำคัญนั้น ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. 2327 ชาวประมงเมืองเสียมราฐได้ทอดแหในทะเลสาบเขมร และได้พระแสงขรรค์นี้ขึ้นมา เห็นว่าเป็นของโบราณที่มีความประณีตงดงามมาก เกินกว่าจะเป็นของสามัญชน กรมการเมืองเสียมราฐจึงได้นําพระขรรค์นี้ไปมอบให้กับเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ผู้สําเร็จราชการเมืองพระตะบองและเสียมราฐ ในขณะนั้น ต่อมาเจ้าพระยาอภัยภูเบศรจึงได้นําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับเหตุการณ์อัศจรรย์ของพระแสงขรรค์ชัยศรีไว้ว่า เมื่อวันที่เชิญพระแสงขรรค์มายังพระบรมมหาราชวังนั้นได้เกิดพายุอย่างหนัก มีอสนีบาตหรือฟ้าผ่าลงที่ศาลาลูกขุนใน...

ความหมายของธรรมเนียม “การสวม” พระมหาพิชัยมงกุฎ ซึ่งเริ่มสมัยรัชกาลที่ 4

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2394 (ภาพจาก หนังสือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก)   ในอดีตพระมหาพิชัยมงกุฎมีความสําคัญเท่าเทียมกับเครื่องราชกกุธภัณฑ์อื่นๆ เมื่อเจ้าพนักงานทูลเกล้าฯ ถวายพระมหาพิชัยมงกุฎในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก็จะทรงรับไว้แล้วทอดวางข้างพระองค์โดยมิได้ทรงสวม กระทั่งในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงได้รับพระมหาพิชัยมงกุฎแล้วทรงสวมพระเศียรอันเป็นประเพณีที่ได้รับอิทธิพลจากราชสํานักยุโรป ซึ่งถือคติว่าพระมหากษัตริย์จะทรงดํารงสภาวะอันสมบูรณ์สูงสุดก็ต่อเมื่อได้ทรงสวมมงกุฎแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฎ   นับแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา จึงถือว่าพระมหาพิชัยมงกุฎเป็นหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ที่มีความสําคัญเป็นอย่างยิ่งและถือว่าในขณะที่ทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นช่วงเวลาที่สําคัญยิ่งในพระราชพิธี โดยพระมหาราชครูพราหมณ์จะทูลเกล้าฯ ถวายพระมหาพิชัยมงกุฎ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงรับและทรงสวมที่พระเศียรด้วยพระองค์เอง เจ้าพนักงานภูษามาลาผู้ใหญ่กราบบังคมแต่งพระมหาพิชัยมงกุฎให้ตรงแล้วผูกพระรัตนกุณฑลเบื้องหลังถวาย ในขณะที่ทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฎนั้น...

นางล้อม เหมชะญาติ สตรีสามัญชนที่รัชกาลที่ 5 ซื้อของฝากพระราชทาน หลังเสด็จประพาสยุโรป

ผู้เขียน ฮิมวัง เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2565   นางล้อมเป็นใคร นางล้อม เหมชะญาติ หรือชื่อจีนคือ “ง่วนฮั่วเส็ง” เป็นธิดาของเจ้าสัวม้าหัว กับนางเปี่ยม เกิดในตระกูลชาวจีนที่มั่งคั่ง ในวัยเด็กนางล้อมชอบเรียนวิชาอย่างบุรุษ คือไม่ได้สนใจใคร่เรียนวิชาการเรือนอย่างสตรีทั่วไปในสมัยนั้น นางล้อมสนใจศึกษาวิชาด้านพาณิชยกรรมหรือการค้าขาย เมื่อเติบโตและแต่งงานกับเจ้าสัวเฮียบหยู นางล้อมจึงได้ช่วยงานในกิจการของครอบครัวสามีและครอบครัวบิดาไปพร้อมกัน ทั้งยังประกอบกิจการของตัวเองต่างหากอีกด้วย ด้วยเพราะเป็นสตรีสามัญผู้มั่งคั่ง มีกิจการการค้ารุ่งเรือง ประกอบกับอุปนิสัยของนางล้อมนั้นเป็นคนใจบุญ มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ชอบทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นเนืองนิจ ทำให้นางล้อมเป็นที่รู้จักมักคุ้นกันโดยถ้วนทั่ว...

ตามติดปฏิบัติการ พระเจ้าตาก “ตามล่า” รัชทายาทกรุงศรีอยุธยา

ภาพวาด สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสิน)โดย “ปิยะดา” (ประเวส สุขสมจิตร) จากศิลปวัฒนธรรม ฉบับสิงหาคม 2546 ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับมีนาคม 2558 ผู้เขียน ปรามินทร์ เครือทอง เผยแพร่ วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ.2565   นับจากวันแรกที่พระเจ้าตากยกทัพหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาก่อนเสียเมืองนั้น ไม่มีหลักฐานฟันธงได้แน่ชัดว่า ในวันนั้นทรงมีเป้าหมายในการครอบครองราชบัลลังก์กรุงศรีอยุธยาหรือไม่ เพราะความคิดนั้นเพิ่งเริ่มมาชัดเจนมากขึ้นเอาตอนที่เดินทัพมาถึงเมืองระยอง และประกาศตัวเป็น “เจ้า” ที่นั่น แต่เส้นทางการขึ้นสู่ราชบัลลังก์ของพระเจ้าตากไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด แน่นอนว่าขณะนั้นศรัทธาของประชาราษฎรที่มีต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์กรุงศรีอยุธยาจะเสื่อมสูญลงไปจนหมดสิ้นแล้ว เนื่องจากไม่สามารถปกปักษ์รักษาพระพุทธศาสนา อาณาประชาราษฎร พระราชวงศ์ ตลอดจนแผ่นดินให้รอดพ้นจากภัยสงคราม จนกระทั่งต้องเสียบ้านเสียเมืองให้กับผู้รุกราน...

6 เมษายน วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

“ณ วันเสาร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 5 ลุศักราช 1144 ปีขาน จัตวาศก เพลาสองโมงเศษศุขสวัสดิฤกษ [ตรงกับวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325] เสด็จเข้าพระนครปราบดาภิเศก อดิเรกเฉกชมสมบัติ จักรพรรดิ์ตราพร้อมถวาย 12 พระกำนัล 12 พระคลัง แล้วมีพระราชโองการรับสั่ง ให้ตั้งกรุงเทพมหานคร ยังฝั่งบุรพทิศ...

“พระบาง” จากลาวสู่สยาม มาเพราะ “การเมือง” ส่งกลับเพราะ “ความเชื่อ”

ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับมกราคม 2556 ผู้เขียน ปฐมพงษ์ สุขเล็ก เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2565   บทนํา จากเอกสารทางประวัติศาสตร์ฉบับต่าง ๆ โดยเฉพาะสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ที่กล่าวถึงการศึกสงครามระหว่างราชสํานักไทยและอาณาจักรใกล้เคียง มักกล่าวถึงฝ่ายที่มีชัยชนะได้ขนย้ายทรัพย์สินมีค่า แผ้วถางทําลายเมืองกวาดต้อนไพร่พลรวมถึงเหล่าเจ้านายเชื้อพระวงศ์กลับสู่เมืองของตน หรือในสมัยนี้อาจจะเรียกว่า “ค่าปฏิกรรมสงคราม” เป็นค่าชดเชยความเสียหายที่ผู้ชนะเรียกร้องจากผู้พ่ายแพ้ ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงอํานาจที่เหนือกว่า อีกทั้งเป็นนัยสําคัญที่การขนย้าย หรือทําลายสิ่งของบางอย่าง...

ทองลง 1.สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบ เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์และการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นปัจจัยกดดันตลาด นอกจากนี้…อ่านต่อ

ทองลง 1.สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบ เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์และการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นปัจจัยกดดันตลาด นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับปัจจัยลบจากการที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกมาสนับสนุนให้เฟดเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ย 2.(-ทอง)ราคาทองถูกกดดันจากการแข็งค่าขึ้นของดอลลาร์ ซึ่งลดความน่าดึงดูดของทอง โดยทำให้สัญญาทองมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่น 3.SPDRลดการตุนทอง2.68ตันหลังจากครั้งที่แล้วลดการตุนไป1.75ตัน แนวโน้มตั้งแต่เดือนมค.สะสมแล้วทั้งสิ้น+111.64ตัน SPDRลดการตุนทอง2.68ตันปิดที่1087.30ตัน ราคาทองหน้าเหมือง(HUI)ลด7.78ปิดที่311.09 ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน(USDX)เพิ่มจาก99.00ปิดที่99.61 นายตลาดทอง http://www.taradthong.com/node/7088 ตลาดทองดอทคอมTARADTHONG.COM  สมัครสมาชิกตลาดทอง คลิก!!! อ่านเพิ่มเติม ทองลง 1.สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบ เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์และการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นปัจจัยกดดันตลาด นอกจากนี้...