ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

พระนางพญาพิษณุโลก (2)

รหัส : c193

ราคา 400.-

พระนางพญาเป็นชื่อพิมพ์พระกรุโบราณ ที่ได้รับการจัดให้อยู่ในชุดหนึ่งในเบญจภาคี สุดยอดพระเครื่องหนึ่งในห้า ของไทย ประวัติของพระนางพญาคือเป็นพระกรุที่มีการขุดพบครั้งแรกในปี พ.ศ.2444 โดยทางวัดนางพญาจังหวัดพิษณุโลก มีการสร้างสร้างศาลาขึ้นบริเวณด้านหน้าของวัด เพื่อเป็นที่พระทับในการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก เพื่อทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลองในครั้งนั้น พอขุดหลุมจะลงเสาของศาลาก็ได้พบพระเครื่องจำนวนมาก ที่มีลักษณะเป็นพระเนื้อดินผสมผงทรงสามเหลี่ยม ปางมารวิชัย ทางวัดจึงได้เก็บรวบรวมไว้ และเมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปถึงวัดนางพญา ทางวัดจึงได้นำพระจำนวนหนึ่งทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระองค์ท่าน พระองค์ทรงนำพระเครื่องนี้แจกจ่ายแก่ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จกันโดยถ้วนกัน

ครั้นต่อมาในราวปี พ.ศ.2470 สมัย พระอธิการถนอม เป็นเจ้าอาวาส องค์พระเจดีย์ด้านตะวันออกของวัดได้พังลง ก็ปรากฏพบพระนางพญาอีกจำนวนหนึ่ง ดังบทความที่ “ท่านตรียัมปวาย” ได้เขียนไว้ในหนังสือ “ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ เล่มที่ 2 เรื่อง นางพญาและพระเครื่องสำคัญ ว่า ‘… มีโอกาสได้พบผู้ใหญ่เลี่ยว ปาลิวณิช นักพระเครื่องอาวุโสของจังหวัดพิษณุโลก ท่านเล่าว่า “กรุพระนางพญา” เป็นพระเจดีย์ที่พังทลายฝังจมดินอยู่บริเวณด้านหน้าของวัด ตรงหน้ากุฏิท่านสมภารถนอม มีการขุดพบพระนางพญา ได้พระเป็นจำนวนมาก ในคราวนั้นปรากฏว่าชาวเมืองพิษณุโลกไม่ได้ให้ความสนใจ ดังนั้น พระนางพญาที่ถูกค้นพบจึงถูกเก็บไว้ที่วัดนางพญา และบางส่วนอาจถูกนำไปบรรจุกรุยังที่อื่นๆ อีกด้วย …’

ตามประวัติความเป็นมาต่างๆ ของ “พระนางพญา วัดนางพญา” เป็นมูลเหตุสำคัญในการอ้างอิงถึงการพบพระนางพญาในกรุอื่นๆ ที่ จ.พิษณุโลก รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการพบพระพิมพ์ที่มีเนื้อหาและพิมพ์ทรงแบบเดียวกันกับพระนางพญาจากกรุวัดนางพญาทุกประการในหลายๆ กรุ อาทิ วัดอินทรวิหาร และวัดเลียบ เป็นต้น สันนิษฐานว่าเป็นพระได้มาในคราวปี พ.ศ.2444 แล้วได้นำมาบรรจุตามกรุพระเจดีย์ต่างๆ ซึ่งจะมีจำนวนมากบ้างน้อยบ้าง และเมื่อผ่านกาลเวลา สภาพองค์พระก็จะแตกต่างกันไปตามสภาพกรุที่บรรจุ

ลักษณะของพระ นางพญา เป็นพระเนื้อดินเผา องค์พระจึงมีหลายสีและหลายขนาดตามลักษณะของพระเนื้อดินเผาทั่วไป พุทธศิลปะเป็นศิลปะผสมผสานระหว่างสุโขทัยและอยุธยา พิมพ์ทรงรูปสามเหลี่ยม มีการตัดขอบแม่พิมพ์ด้วยตอกชิดองค์พระ องค์พระพุทธประทับนั่งงปางมารวิชัย พระเกศเมาลีมีลักษณะคล้ายปลีกล้วย พระหัตถ์ขวาพาดที่พระชานุ (หัวเข่า) พระหัตถ์ซ้ายวางตรงหน้าพระเพลา (หน้าตัก) ในลักษณะอ่อนช้อย ส่วนด้านหลังเป็นหลังเรียบ แต่ด้วยผ่านกาลเวลามาเนิ่นนาน จึงมีรอยเหี่ยวย่นจากการหดตัวของเนื้อมวลสาร โดยสามารถแบ่งแยกพิมพ์ได้ 6 พิมพ์ คือ พิมพ์เข่าโค้ง, พิมพ์เข่าตรง, พิมพ์อกนูนใหญ่, พิมพ์สังฆาฏิ, พิมพ์เทวดา และ พิมพ์อกนูนเล็ก

พระนางพญาที่นำมาให้บูชานี้เป็นพระนางพญาคาดว่าสร้างขึ้นในภายหลังและบรรจุกรุที่วัดนางพญา ซึ่งทางวัดได้เปิดกรุ นำออกให้บูชา มีเนื้อหาสาระของพระดี ถือเป็นพระนางพญาที่บูชาทดแทนรุ่นเก่าได้

Other items you may be interested in:

ตะกรุดมัดจิตสะกดใจชายหญิง อาจารย์สมราชฐ์
รูปหล่อหลวงปู่สรวง วัดหนองคล้า จังหวัดพิจิตร
พระขุนแผนกุมารทองเรียกทรัพย์ เนื้อผงว่านสีดำ หลวงปู่เหลือ วัดท่าไม้เหนือ จ.อุตรดิตถ์
ปลัดขิก 12 ราศี (ปีมะแม) หลวงพ่อไสว วัดปราสาทเขาพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์
เหรียญรุ่นถวายพระพร ปี 2539 หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ(3)
ลูกอมเทียนชัย หลวงพ่อโฉม วัดตำหนัก จ.ปทุมธานี
พระกริ่งขุนแผน เนื้อทองเหลือง พิธีปลุกเสกตำรับล้านนาโบราณ
ตะกรุดเงินนะมหาละลวย อาจารย์สมราชฐ์ ฆราวาส จ.เชียงใหม่
เหรียญพระเจ้าตาเขียว ปี 2541 วัดบ้านเหล่า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
เหรียญหลวงพ่อแดง วัดโพธิ์ลอย จ.ลพบุรี ปี 2522
เหรียญหลวงปู่ขุน โชติโก ปี 2523 วัดสิทธาราม จ.นครราชสีมา
พระผงรูปเหมือนลายกนกครั้งแรก เนื้อผงธูปบูชา หลวงพ่อเกษม เขมโก