ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

จังหวัดสมุทรปราการ จัดกิจกรรมทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ในหลวงรัชกาลที่ 9

วันที่ 13 ตุลาคม 2565 เวลา 07.30 น. นายศุภมิตร ชิณศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมด้วยข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า ประชาชน จิตอาสาพระราชทาน ตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง พระสงฆ์ 89 รูป ณ สวนสุขภาพลัดโพธิ์ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ...

หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ฉบับที่ 2

ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2565หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณตอนบนของประเทศฟิลิปปินส์ ได้เคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนกลางแล้ว คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 13-14 ต.ค. 65 ส่งผลให้ในช่วงวันที่ 14-15 ต.ค. 65 บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร...

สถาบัน TDGA ติวเข้มผู้นำดิจิทัล เติมทักษะด้านนวัตกรรมให้ผู้บริหารผ่านหลักสูตร DTP รุ่นที่ 3

สถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล หรือ TDGA ภายใต้การดำเนินงานของ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรและการปิดการฝึกอบรมหลักสูตรการสร้างกระบวนการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่รัฐบาลดิจิทัล รุ่นที่ 3 (Digital Transformation Program: DTP#3) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ธีรภัทร ประยูรสิทธิ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบประกาศนียบัตรและกล่าวปิดหลักสูตรการฝึกอบรม โดยมี นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และรักษาการผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล...

เชิญชวนสมัครบุคคลหรือองค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริมปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษย์ประจำปี 2565

เชิญชวนสมัครบุคคลหรือองค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้าน เครดิตข่าวจากเว็บไซต์ สมุทรปราการ https://www2.samutprakan.go.th/

หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ฉบับที่ 1

ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2565หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณหัวเกาะประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนกลางในคืนนี้ (12 ตุลาคม 2565) คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 13-14 ต.ค. 65 ส่งผลทำให้ในช่วงวันที่ 14-15 ต.ค. 65 บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดมุกดาหาร กาฬสินธุ์...

คึกฤทธิ์ ปราโมช ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ลาออก! เหตุไม่พอใจได้เงินเดือน ส.ส. เพิ่ม?

img class=”aligncenter” src=”https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2019/05/%E0%B8%A0%E0%B8%9B-%E0%B8%84%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%8A-696×364.jpg” /> ภาพจาก มติชนออนไลน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ยื่น “ลาออก” เพราะไม่พอใจที่รัฐสภาได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2491 อันมีผลให้ ส.ส. ได้เงินเดือนเพิ่มขึ้นนั้น คือ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้แทนจังหวัดพระนคร สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และ ร้อยโทสัมพันธ์ ขันธะชวนะ ผู้แทนจังหวัดนครราชสีมา ไม่สังกัดพรรคการเมือง การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีนั้นจะมีคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นผู้พิจารณาก่อนจะมีการพิจารณาขั้นถัดไปในการประชุมสภาผู้แทนฯ โดยมีการประชุมสภาผู้แทนฯ เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ในการประชุมสภาผู้แทนฯ (สามัญ) วันที่ 16-17 กันยายน พ.ศ. 2491...

3 จังหวัดลุ่มน้ำท่าจีนเตรียมรับมือแม่น้ำท่าจีน และลำห้วยกระเสียวระดับน้ำเพิ่มสูง ในช่วงวันที่ 13 – 16 ต.ค. 65

ปภ.แจ้ง 3 จังหวัดลุ่มน้ำท่าจีนเตรียมรับมือแม่น้ำท่าจีน และลำห้วยกระเสียวระดับน้ำเพิ่มสูง ในช่วงวันที่ 13 – 16 ต.ค. 65วันนี้ (12 ต.ค. 65) เวลา 10.30 น. กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้ง 3 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี...

ไทยเหนือ-ไทยใต้-คนเมือง ร่องรอยความขัดแย้งของล้านนากับสยาม

ความรู้สึกแบ่งแยกระหว่างไทยเหนือ (ล้านนา) และไทยใต้ (สยาม) เริ่มปรากฏในรายงานของข้าหลวงที่ถูกส่งไปกำกับราชการในเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่ทศวรรษที่ 2430 สาเหตุมาจากการที่ชนชั้นนำสยามเห็นว่าการดำรงอยู่แบบรัฐจารีตของล้านนานั้นเป็นความล้าหลังป่าเถื่อน รวมทั้งรายงานของข้าราชการสยามที่ส่งมายังกรุงเทพฯ มักให้ภาพคนล้านนาว่าเกียจคร้านและมีความเจริญน้อยกว่า ทำให้ข้าราชการสยามที่ถูกส่งขึ้นมามักวางอำนาจใส่คนพื้นเมือง ข้าหลวงใหญ่บางคนก็สร้างความเดือดร้อนให้กับราษฎรและปกป้องพวกพ้องของตนโดยขาดความยุติธรรม ตัวอย่างเช่นใน พ.ศ. 2426 มีรายงานจากข้าหลวงใหญ่ว่าเกิดความขัดแย้งระหว่างบรรดาเจ้านายพื้นเมืองกับทหารสยามถึงขนาดยกพวกไล่ตีกันจนถึงหน้าประตูจวนข้าหลวง ภายหลังยังมีเรื่องวิวาทกันกลางตลาด โดยทหารสยามทำร้ายคนของเจ้าอินทวิชยานนท์ถึงขั้นศีรษะแตก ในรายงานดังกล่าวทหารสยามระบุว่าถูกคนพื้นเมือง “…ด่าว่าอ้ายชาวใต้เปนคำหยาบช้าต่างๆ…” ครั้งนั้นข้าหลวงใหญ่ได้เสนอค่าทำขวัญแต่เจ้าอินทวิชยานนท์ไม่ยอมและยืนยันที่จะนำตัวไปโบย 100 ที แล้วประหารชีวิต ฝ่ายข้าหลวงใหญ่ไม่ยินยอมส่งตัวทหารให้และเลือกลงโทษด้วยการจำตรวน ภายหลังเมื่อกรมหมื่นพิชิตปรีชากรเสด็จขึ้นไปตรวจราชการหัวเมืองล้านนาได้สอบชำระความก็ไม่พบว่าข้าหลวงใหญ่และพรรคพวกมีความผิดจริง...

เจนละ-แตก แยกเป็น 2 แคว้น

ภาพถ่ายนักท่องเที่ยว ณ โบราณสถานในสมโบร์ไพรกุก ในเขตกำพงธม กัมพูชา เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2560 (Sambor Prei Kuk) (TANG CHHIN Sothy / AFP) รัชกาลพระเจ้าภววรมัน เจนละเป็นประเทศราชของอาณาจักรฟูนัน กษัตริย์องค์หนึ่งซึ่งสืบเชื้อสายมาจากฤาษีกัมพูซึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้าเศรษฐวรมัน ทรงเป็นปฏิปักษ์แก่อาณาจักรฟูนัน ในครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 12 มีเจ้าหญิงในพระราชวงศ์องค์หนึ่งทรงเสกสมรสกับเจ้าชายฟูนันที่ทรงพระนามว่า พระเจ้าภววรมัน เจ้าชายองค์นี้ทรงยึดอำนาจและเริ่มต้นปราบปรามอาณาจักรฟูนันโดยความช่วยเหลือจากพระเชษฐาคือ เจ้าชายจิตรเสน ภายใต้รัชกาลของพระเจ้าภววรมันนี้...

เจ้านครเชียงใหม่ ประเทศราชล้านนา ได้เงินเดือนตอบแทนจากรัฐบาลสยามกี่บาท?

(ซ้าย) เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์, (ขวา) เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้านครเชียงใหม่ ประเพณีการปกครองบ้านเมืองในหัวเมืองประเทศราชล้านนาแต่เดิมมานั้น บรรดาเจ้านคร เจ้านาย และขุนนางในพื้นเมืองนั้น หาได้มีรายได้เป็นเงินเดือนหรือเบี้ยหวัดเงินปีเช่นเจ้านายกรุงสยาม หากแต่บรรดาเจ้าประเทศราช เจ้านาย และขุนนางในพื้นที่นั้น “มีการกะเกณฑ์ให้ราษฎรมาทำการต่างๆ ตามประเพณีเมือง มีการหาบหามสิ่งของเดินทาง แลมาเข้าเวรประจำทำการ ณ ที่ต่างๆ ปีหนึ่งมีกำหนดคนหนึ่งต้องทำการตั้งแต่เดือนหนึ่งถึงสี่เดือน อีกประการหนึ่งมีราษฎรบางจำพวก ซึ่งต้องเสียสร่วยต่างๆ เปนสิ่งของแลเงิน มีมากบ้างน้อยบ้างไม่เสมอน่ากัน” เนื่องจากการเกณฑ์แรงงานและส่วยได้สร้างความเดือดร้อนแก่ราษฎรจนไม่มีเวลาทำมาหาเลี้ยงชีพ ฉะนั้นในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสหเทพ (เส็ง  วิรยศิริ) ราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยขึ้นไปจัดระเบียบปกครองในหัวเมืองประเทศราชล้านนาใน พ.ศ. 2442 จึงมีราษฎรที่ต้องเกณฑ์นั้นมาร้องทุกข์ต่อพระยาศรีสหเทพเป็นจำนวนมาก บางรายถึงแก่ยอมจะเสียเงินถึงปีละ 20 บาท เป็นค่าแรงแทนเกณฑ์ พระยาศรีสหเทพจึงได้หารือและตกลงกันกับบรรดาเจ้าประเทศราชล้านนาให้เลิกการเกณฑ์แรงงานและส่วยจากราษฎร และให้เปลี่ยนมาเรียกเก็บเงินจากชายฉกรรจ์ในพื้นที่เป็นค่าแรงแทนเกณฑ์ โดยกำหนดให้เจ้านคร เจ้านาย และขุนนางประเทศราชล้านนาได้รับส่วนแบ่งเงินค่าแรงแทนการเกณฑ์แรงงานเป็นเงินจำนวนมากน้อยตามฐานะของบุคคลมาตั้งแต่ พ.ศ. 2442 ต่อมาในยุคที่มีชาวตะวันตกและคนในบังคับเข้ามาขอรับสัมปทานตัดฟันไม้สักในเขตแขวงนครเชียงใหม่ นครลำปาง นครลำพูน และเมืองแพร่ บรรดาเจ้านครและเจ้านายซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของป่าไม้ในเขตแขวงเมืองเหล่านั้น ต่างก็ได้รับผลประโยชน์จากค่าสัมปทานป่าไม้มากบ้างน้อยบ้างตามจำนวนไม้สักที่ถูกตัดทอนออกจากป่า เงินประเภทนี้เรียกกันว่า “เงินค่าตอไม้”  แต่เนื่องจากการเรียกเก็บเงินค่าตอไม้ที่บรรดาเจ้านครและเจ้านายเรียกเก็บมาแต่เดิมนั้น ล้วนมีปัญหารั่วไหลทั้งในการที่ผู้รับสัมปทานแจ้งจำนวนไม้ที่ตัดฟันต่ำกว่าความเป็นจริง ซ้ำร้ายยังถูกผู้แทนเจ้าของป่าไม้ที่ออกไปตรวจเก็บเบียดบังเงินค่าตอไม้ไปเป็นของตนอีกไม่น้อย จนเมื่อมีการจัดตั้งกรมป่าไม้ขึ้นแล้ว เจ้าของป่าไม้จึงได้รับเงินส่วนแบ่งค่าตอไม้เพิ่มขึ้นตามจำนวนที่รัฐบาลสยามสามารถจัดเก็บค่าภาคหลวงจากผู้รับสัมปทานป่าไม้ เงินเดือนเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้านครเชียงใหม่ ภายหลังจากเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้านครลำปาง ได้รับพระราชทานเงินบรรดาศักดิ์สำหรับตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองเป็นคนแรกในหัวเมืองประเทศราชล้านนาแล้ว ต่อมาในตอนปลายปี ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451) เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้านครเชียงใหม่ ก็ได้มีศุภอักษรลงไปกราบทูล พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ความตอนหนึ่งว่า “ตามที่ได้รับพระราชทานผลประโยชน์อยู่ คือ 1 ส่วนแบ่งค่าตอไม้ 2 ส่วนแบ่งค่าแรงแทนเกณฑ์ แล 3 เงินเดือน อยู่แล้วนั้น ไม่ใคร่จะพอจับจ่ายใช้สรอย แลส่วนแบ่งค่าตอไม้นั้นบางปีก็ได้มากบ้างน้อยบ้างไม่เป็นยุติไม่สดวกกับการใช้สรอย เจ้านครเชียงใหม่ ขอพระราชทานรับเป็นเงินเดือนให้เป็นอัตราประจำเดือนละ 25,960 บาท หรือ ปีละ 311,100 บาท ไม่รับพระราชทานส่วนแบ่งค่าตอไม้ แลค่าแรงแทนเกณฑ์ต่อไป”  การที่เจ้านครเชียงใหม่ขอพระราชทานพระมหากรุณาคราวนี้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มีพระดำริว่า “ควรจะให้เป็นไปได้เช่นได้เคยกำหนดให้แก่เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตเจ้านครลำปางมาแล้ว” จึงมีลายพระหัตถ์กราบทูลให้ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงพิจารณาดำเนินการต่อไป เมื่อเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติทรงสอบสวนเรื่องราวแล้วได้ความว่า “ผลประโยน์ที่รัฐบาลได้เคยให้แก่เจ้านครเชียงใหม่อยู่แล้ว คือ 1 ส่วนแบ่งค่าตอไม้เทียบดูใน 6 ปี คงได้ถัวอยู่ในปีละ 138,861 บาทเศษ 2 ส่วนแบ่งค่าแรงแทนเกณฑ์เทียบดูใน 6 ปีคงได้ถัวอยู่ในปีละ 41,461 บาทเศษ แล 3 เงินเดือนปีละ 60,000 บาท รวมเป็นเงินอยู่ในปีละ 240,277 บาทเศษ” จึงได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า “ตามที่เจ้านครเชียงใหม่ขอนั้นสูงกว่าจำนวนที่ได้เทียบมาแล้วมากนัก แลทั้งส่วนแบ่งค่าตอไม้ที่เคยได้ตามรายปีสังเกตดูมีจำนวนข้างลดลงมากกว่าขึ้น ถ้าจะผ่อนให้เพียงเดือนละ 20,000 บาท หรือ ปีละ 240,000 บาทจะพอควร เพราะเจ้านครลำปางก็ได้เคยพระราชทานมาแล้ว เดือนละ 15,000 บาท หรือปีละ 180,000 บาท เจ้านครเชียงใหม่จึ่งควรจะได้สูงกว่าเจ้านครลำปางสักหน่อย ด้วยผลประโยชน์ของเจ้านครเชียงใหม่ที่เคยได้รับพระราชทานนั้นสูงกว่าเจ้านครลำปางอยู่แล้ว” ภายหลังจากที่เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้ “ว่ากล่าวกับเจ้านครเชียงใหม่เป็นอันเห็นชอบว่า คงขอรับพระราชทานเพียงเดือนละ 20,000 บาท หรือ ปีละ 240,000 บาทนั้น แต่เมื่อมีโอกาสจะขอรับพระราชทานขึ้นบ้างในภายหลัง” แล้ว เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ได้ตกลงยกเงินผลประโยชน์ที่เคยได้รับอยู่ทั้งสิ้นให้เป็นของหลวง และได้รับพระราชทานเงินบรรดาศักดิ์เจ้าผู้ครองเมืองเดือนละ 20,000 บาท มาตั้งแต่เดือนเมษายน ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452) แต่คงได้รับพระราชทานมาเพียงเดือนมกราคม ร.ศ. 128 เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ก็ถึงแก่พิราลัยเสียเมื่อวันที่ 5 มกราคม ร.ศ. 128 จึงได้รับพระราชทานเงินบรรดาศักดิ์หรือเงินเดือนสำหรับตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เพียง 10 เดือนเต็มเท่านั้น เงินเดือนเจ้าแก้วนวรัฐฯ เจ้านครเชียงใหม่ อนึ่ง ก่อนที่เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์จะถึงแก่พิราลัยนั้น เจ้าอุปราชแก้ว เมืองนครเชียงใหม่ ก็ได้ยื่นเรื่องราวต่อเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยว่า “ผลประโยชน์ที่ได้รับพระราชทานจากค่าตอ จะขอถวายเป็นหลวง ขอรับพระราชทานเป็นเงินเดือนเพิ่มขึ้นจากอัตราที่ได้รับพระราชทานอยู่เดือนละ 600 บาท” ในคราวนั้นกระทรวงมหาดไทยได้ “คิดเทียบดูผลประโยชน์ที่ได้ แลได้ถามเจ้าอุปราชจะเพิ่มให้อีกเดือนละ 600 บาท เจ้าอุปราชก็พอใจ” ...

เจนละ-แตก แยกเป็น 2 แคว้น

รัชกาลพระเจ้าภววรมัน เจนละเป็นประเทศราชของอาณาจักรฟูนัน กษัตริย์องค์หนึ่งซึ่งสืบเชื้อสายมาจากฤาษีกัมพูซึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้าเศรษฐวรมัน ทรงเป็นปฏิปักษ์แก่อาณาจักรฟูนัน ในครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 12 มีเจ้าหญิงในพระราชวงศ์องค์หนึ่งทรงเสกสมรสกับเจ้าชายฟูนันที่ทรงพระนามว่า พระเจ้าภววรมัน เจ้าชายองค์นี้ทรงยึดอำนาจและเริ่มต้นปราบปรามอาณาจักรฟูนันโดยความช่วยเหลือจากพระเชษฐาคือ เจ้าชายจิตรเสน ภายใต้รัชกาลของพระเจ้าภววรมันนี้ อาณาจักรเจนละได้แผ่ขยายอาณาเขตไปทางใต้บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง รัชกาลพระเจ้ามเหนทรวรมัน พระเจ้าภววรมันสิ้นพระชนม์โดยมิทรงมีรัชทายาท ดังนั้นพระเชษฐาของพระเจ้าภววรมัน คือเจ้าชายจิตรเสน จึงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติในราว พ.ศ. 1145 ในพระนาม พระเจ้ามเหนทรวรมัน พระองค์ทรงดำเนินพระราโชบายและพระราชกิจที่ริเริ่มมาแต่รัชกาลก่อนต่อไป กับทั้งทรงผนวกดินแดนเมืองกระเตี้ย, มงคลบุรีและบุรีรัมย์...

อากาศแปรปรวนบริเวณประทศไทยตอนบนและฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 7

ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2565บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากสภาพอากาศแปรปรวนที่มีฝนตกหนัก ลมแรง และอุณหภูมิลดลง รวมถึงดูแลสุขภาพไว้ด้วย สำหรับร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคใต้ตอนกลางทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในระยะนี้ จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้ วันที่ 11 ตุลาคม 2565 ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร...

จังหวัดสมุทรปราการ มาจากไหน? ตั้งแต่เมื่อใด?

พระสมุทรเจดีย์กลางน้ำ จังหวัดสมุทรปรากร (ภาพจาก https://www.matichon.co.th/) ชื่อจังหวัดสมุทรปราการ นั้นมีความหมายว่า เมืองหน้าด่านชายทะเล และทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยเมืองมีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน ได้แก่ นครเขื่อนขันธ์, เมืองพระประแดง, เมืองสมุทรปราการ เช่นเดียวกันที่ตั้งของตัวเมือง ซึ่งก็เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของบ้านเมือง ดังนี้ พ.ศ. 1100-1600 ขอมมีอำนาจครอบครองบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ได้มีการตั้งเมืองพระประแดง (เก่า) ที่บริเวณเขตพระโขนง หรือเขตราชบูรณะ กรุงเทพฯ ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพื้นที่ปากแม่น้ำ ซึ่งเป็นชุมชนขนาดเล็ก พ.ศ. 1893 เมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างนครใหม่สถาปนา “กรุงศรีอยุธยา”...

โครงการให้คำปรึกษาและฝึกอบรมเพื่อสนับสนุนการใช้บังคับกฎระเบียบด้านการบินพลเรือนของประเทศไทย (TCARs) โดยมีการลงนามสัญญาในวันแรกของการประชุมสมัชชาสมัยสามัญองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ครั้งที่ 41 ณ สำนักงานใหญ่ ICAO เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา

ในระยะเวลา 5 ปีนับจากนี้ CAAi และ CAAT จะร่วมมือกันในกา ในระยะเวลา 5 ปีนับจากนี้ CAAi และ CAAT จะร่วมมือกันในการสนับสนุนเพื่อเตรียมความพร้อมการเปลี่ยนผ่าน เพื่อนำไปสู่การบังคับใช้กฎระเบียบด้ายการบินพลเรือนในรูปแบบ TCARs ตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ที่ครอบคลุมด้านความสมควรเดินอากาศ (Airworthiness) การปฏิบัติการบิน (Flight Operations) การออกใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ (Personnel...

“พระธาตุพนม” เจดีย์บัวเหลี่ยมลาวล้านช้าง ปรากฏร่องรอย “ศิลปะจาม”

พระธาตุพนมเป็นพระธาตุโบราณประดิษฐานพระอุรังคธาตุ หรือกระดูกส่วนอกของพระพุทธเจ้า แม้พระธาตุพนมจะได้รับการบูรณะซ่อมแซมมาหลายสมัย โดยเฉพาะหลังการพังถล่มเมื่อปี 2518 แต่ก็ยังเผยให้เห็นร่องรอยจากการได้รับอิทธิพลจาก “ศิลปะจาม” อยู่ด้วย พระธาตุพนมมีประวัติการสร้างไม่แน่ชัด มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระธาตุพนมปรากฏในตำนานอุรังคธาตุ โดยกล่าวว่า พระมหากัสสปะได้นำอุรังคธาตุมาประดิษฐานไว้ ณ ดอยกัปปนคีรี หรือภูกำพร้า ซึ่งก็คือพระธาตุพนมนั่นเอง ส่วนประวัติการบูรณะซ่อมแซมแน่ชัดว่ามีอยู่หลายครั้ง เช่น ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช, สมัยพระยาบัณฑิตยโพธิสาลราชกษัตริย์ล้านช้าง และรัชกาลพระยาสุริยวงศาธรรมิกราช เป็นต้น และในสมัยหลังเมื่อปี 2483 บูรณะโดยจอมพล...

พระสงฆ์ไทย กับคิ้วที่หายไป พระสงฆ์ (ไทย) เริ่มโกนคิ้วตั้งแต่เมื่อไหร่?

พระสงฆ์ถือตาลปัตร ภาพพิมพ์ปลายศตวรรษที่ 17 ภาพจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส เมื่อไม่นานนี้มีกระแส “เอาคิ้วเราคืนมา” ในหมู่พระสงฆ์ไทยบางส่วน ทำให้เกิดการถกเถียงกันในวงกว้างว่า พระสงฆ์โกนคิ้วกันตั้งแต่เมื่อไหร่ พระสงฆ์ปัจจุบันควรโกนคิ้ว (ต่อไป) หรือไม่ เพราะการโกนคิ้วไม่มีปรากฏในพระธรรมวินัย สาเหตุของการโกนคิ้วมี 2 กระแส หนึ่งคือ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โกนคิ้วเพื่อแยกพระสงฆ์ไทยกับพม่า ที่ปลอมตัวเป็นพระสงฆ์เข้ามาสืบข่าว สองคือ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อป้องกันไม่ให้พระสงฆ์ลักลอบเข้าไปพระพฤติมิงามกับนามสนมนางในในพระบรมมหาราชวัง รวมถึงป้องกันไม่ให้พระสงฆ์ยักคิ้วหลิ่วตาให้ผู้หญิง ในวิทยานิพนธ์เรื่อง “พระภิกษุข้ามถิ่นอัตลักษณ์ข้ามแดน : ศึกษาเปรียบเทียบพระภิกษุพม่าและพระภิกษุไทใหญ่ในภาคเหนือของประเทศไทย” โดย ศุภสิทธิ์ วนชยางค์กูล (วิทยานิพนธ์ มานุษยวิทยามหาบัณฑิต...

อากาศแปรปรวนบริเวณประทศไทยตอนบนและฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 6

ฉบับที่ 6 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2565บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิลดลงกับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส สำหรับภาคกลางตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งเกิดขึ้นในวันที่ 11 ตุลาคม 2565 ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากสภาพอากาศแปรปรวนที่มีฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง และอุณหภูมิลดลง รวมถึงดูแลสุขภาพไว้ด้วย สำหรับร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคใต้ตอนกลางทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในระยะนี้...

DGA ร่วมลงนามกับกระทรวงการคลัง และสำนักงานสำนักงาน ก.ล.ต. ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลระบบศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ หรือเว็บไซต์ bizportal.go.th เพื่อการยื่นคำขอและการออกใบอนุญาต E-licensing

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA ร่วมลงนาม ระหว่างกระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) โดยมี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้เกียรติเป็นประธานและร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลระบบศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ เพื่อการยื่นคำขอและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-licensing) ในวันที่ 10 ตุลาคม 2565 ณ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลัง โดยข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลักในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของหน่วยงานแต่ละฝ่ายในการให้บริการสำหรับการยื่นคำขอและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Licensing)...

สมัยแรก พระป่า-พระธรรมยุต ก่อนพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นอย่างไร

พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เมื่อกล่าวถึง “พระป่า” ภาพที่นึกถึงก็เป็น พระที่ออกไปธุดงค์ แสวงหาสถานที่สงบๆ เพื่อบำเพ็ญสมาธิภาวนา โดยพระป่าที่ได้รับการยกย่องในสายพระป่าที่ได้รับการยอกย่องเป็น “พระอาจารย์ใหญ่สายวัดป่า” ก็ต้องยกให้ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่มีศิษย์เป็นพระธุดงคกรรมฐาน ที่ชาวบ้านศรัทธาจำนวนมาก โดยเฉพาะทางจังหวัดอุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร อุบลราชธานี นครราชสีมา ขอนแก่น ฯลฯ แล้วก่อนหน้า พระอาจาย์มั่น ภูริทัตโต พระป่า-ธรรมยุต สมัยแรกเป็นอย่างไร คำถามนี้ ธัชชัย...

“รักที่จากไปไกล” ของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกฯ คนแรกของไทย

พระยามโนปกรณ์นิติธาดาและคุณหญิงนิตย์ (ภาพจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) ชีวิตสมรสของพระยามโนปกรณ์นิติธาดานั้นเริ่มจากการพบรักกับคุณนิตย์ สาณะเสน บุตรีพระยาวิสูตรโกษา (ฟัก สาณะเสน) และคุณหญิงสมบุญ ที่ลอนดอน ภายหลังที่คุณนิตย์กลับจากประเทศอังกฤษแล้ว ได้มีการจัดงานสมรสเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 คุณนิตย์ในเวลาต่อมาได้เป็นคุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดา แม้ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน แต่ก็มีชีวิตสมรสที่ราบรื่นตลอดมา คุณหญิงนิตย์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการเป็นนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รวม 2 วาระ วันที่...