ติดตามผ่านช่อง : Siammongkol Youtube Channel

ภาพเขียนสีที่เพิงผา “ตอแล” ภูเขายะลา ถึงภาพใน “ถ้ำศิลปะ” กับข้อมูลเมื่อแรกเริ่มค้นพบ

“ตอแล” หรือ “ตอหลัง” เป็นเพิงผาหนึ่งของภูเขายะลา อยู่ในเขตหมู่ 2 บ้านกูเบ ตําบลยะลา อําเภอเมือง จังหวัดยะลา พื้นที่อยู่สูงจากพื้นราบประมาณ 50-60 เมตร มองจากตีนเขาขึ้นไปสามารถเห็นได้ชัดเจน เป็นเพิงผาที่มีพื้นราบกว้างประมาณ 10-12 เมตร ยาวประมาณ 18-20 เมตร ด้านหนึ่งจดหน้าผาสูงชัน และอีกด้านหนึ่งจดผนังหินปูน การเดินทางขึ้นสู่เพิ่งผา “ตอแล” ไม่ยากมากนัก ใช้ช่องทางเดินในป่าที่ไม่รกไต่ขึ้นไปจนถึงเพิงผา จุดนี้เองจะพบภาพเขียนสีแห่งใหม่ ผู้เขียนบทความเชื่อว่า...

5 เมษายน วันคล้ายวันเกิดนายกรัฐมนตรีไทย สัญญา-ธานินทร์-ชาติชาย

วันที่ 5 เมษายน ตรงกับวันคล้ายวันเกิดของนายกรัฐมนตรีประเทศไทย 3 คนคือ นายสัญญา ธรรมศักดิ์, นายธานินทร์ กรัยวิเชียร และพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งทั้งสามท่านล้วนแต่มีความเกี่ยวข้องกันเชื่อมโยงกันอยู่บางประการ และหากมองในมุมทางการเมืองจะเห็นว่าเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองที่มีความคล้ายคลึงกันในสมัยที่ทั้งสามท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สัญญา ธรรมศักดิ์ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2450 ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2545 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่...

วารสาร “นักล่าอาณานิคม” ตีแผ่สัญญารัชกาลที่ 5 ทำไมสยามสละ “นครวัด” ?

ลานหินสู่ประตูทางเข้าปราสาทนครวัด ภาพวาดลายเส้นโดยกิโอด์ จากรูปสเก๊ตช์ของมูโอต์ ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกันยายน 2549 ผู้เขียน ไกรฤกษ์ นานา เผยแพร่ วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ.2565 เรื่องของเมืองเขมรที่เกี่ยวข้องกับสยาม ดูผิวเผินเหมือนจบลงตั้งแต่ในรัชกาลที่ 4 การที่สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ พระราชบุตรบุญธรรมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตัดสินพระทัยขอความคุ้มครองจากฝรั่งเศส และตัดความสัมพันธ์กับทางกรุงเทพฯ อย่างไม่เหลือเยื่อใย การโยกย้ายเมืองหลวงเก่าที่สยามตั้งให้จากอุดงมีชัยมาเป็นพนมเปญ จบลงด้วยการที่สยามเสียดินแดนเขมรส่วนนอกในรัชกาลนั้น พงศาวดารไทยก็แทบจะไม่กล่าวถึงราชสำนักเขมรอีกเลย จวบจนปี...

ทำไมคนไทยค้าขายสู้คนจีนไม่ได้ ถ้า “ขยัน-ประหยัด-อดทน” เท่ากัน?

สำเพ็ง เมื่อพ.ศ. 2452 เป็นย่านการค้า และแหล่งเที่ยวกลางคืน มีแหล่งรื่นรมณ์เกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งโรงโสเภณี โรงบ่อน และโรงสูบฝิ่น   “คนจีนค้าขายเก่ง” แถมยังขยันและอดทน เหมือนเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้คนทั่วไปมองว่าชาวจีนประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจเมื่อเทียบกับคนไทย แต่ถ้ามองให้ลึกไปกว่านั้นโดยใช้ข้อมูลจากงานวิจัย นอกเหนือจากบุคลิกหรือลักษณะนิสัยส่วนตัวแล้ว ยังมีข้อสังเกตจากปัจจัยอื่นที่น่าสนใจซึ่งทำให้ชาวไทยค้าขายไม่เก่งเท่าชาวจีน เหตุผลที่คนสนใจอย่างลักษณะนิสัยเรื่อง “ความขยัน”, “ประหยัด” และ “อดทน” เมื่อดูจากงานวิจัยของสุวิทย์ ธีรศาสวัต เรื่อง “ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมืองไทยตั้งแต่รัชสมัยพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถึงสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2310-2394)” จะพบว่า...

กำเนิด “คนชั้นกลางในเมือง” ผลพวงจากเศรษฐกิจบูม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

หาบเร่แผงลอยในกรุงเทพฯ ภาพถ่ายราวทศวรรษ 2480-2500 (ภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม ฉบับธันวาคม 2551) ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับธันวาคม 2551 ผู้เขียน ณัฏฐพงษ์ สกุลเดี่ยว เผยแพร่ วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2565 การขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ได้ทำให้เกิดคนกลุ่มใหม่ขึ้นในสังคมไทย นั่นคือ “กลุ่มคนชั้นกลางในเมือง”...

การสร้างเมือง ‘มัณฑะเลย์’ กับตำนานความสยดสยองของธรรมเนียมพม่า

ประตูพระราชวังหลวงมัณฑะเลย์   เนื่องจากเมืองหลวงเก่าอย่างอังวะและอมรปุระนั้นเกี่ยวข้องกับการประสบความอัปยศและความพ่ายแพ้ที่น่าโศกเศร้าของพม่า ที่มีต่ออังกฤษในสงครามทั้งสองครั้ง เมื่อปี 1824-1826 และปี 1852 พระเจ้ามินดง กษัตริย์พม่า จึงโปรดให้สร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่ นั่นคือเมืองมัณฑะเลย์ ให้ยิ่งใหญ่และมีความวิจิตรงดงาม เมืองมัณฑะเลย์เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 1857 พระเจ้ามินดงทรงย้ายราชสำนักมายังเมืองหลวงใหม่เมื่อปี 1858 หลังจากสร้างเพียงพระราชวังเสร็จเท่านั้น กระทั่งเมืองมัณฑะเลย์สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 1861 เพราะความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ต่ออังกฤษ ที่ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งกำลังคน กำลังทรัพย์ กำลังใจ และผืนแผ่นดิน ทำให้ทรงตัดสินใจย้ายเมืองหลวง...

ทำไม “เจ้านายไทย” สมัยก่อนใช้ชีวิตกลางคืนตื่นบรรทม 6 โมงเย็นแม้ราชการใช้เวลาออฟฟิศแล้ว

สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ในรัชการที่ 5 (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)   ราชการไทยเริ่มทำงานแบบเต็มเวลาในระบบแบบ “ออฟฟิศ” ตามตะวันตกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่เมื่อบุคลากรจากต่างแดนเข้ามาประสบตารางเวลาทำงานของเจ้านายไทยในราชวงศ์จักรีแล้วก็ยังแปลกใจกับการทำงานที่ เจ้านาย หลายพระองค์ทรงใช้ชีวิต (ทั้งทรงงานและการส่วนพระองค์) ในเวลากลางคืน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นช่วงที่เริ่มนำระบบทำงานแบบเต็มเวลาในออฟฟิศมาใช้ในระบบราชการเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2418 และถูกนำมาใช้เต็มรูปแบบในทุกกระทรวงในพ.ศ. 2435 (กรมพระยาดำรงราชานุภาพ,...

ฤๅกรมหลวงพิชิตปรีชากร “เม้ม” สาวเหนือนำถวายร.5 จนถูกเนรเทศ? กับเหตุสตรี 3 ผัว ร.ศ. 112

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ต้นราชสกุลคัคณางค์ ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกุมภาพันธ์ 2554 ผู้เขียน หลง ใส่ลายสือ เผยแพร่ วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ.2565   หากจะพูดถึงประวัติศาสตร์ในแนวเกร็ด หรือพงศาวดารกระซิบ ดูเหมือนว่าในช่วงรัชกาลที่ 5 จะมีเรื่องทํานองนี้อยู่มากที่สุด เรื่องนี้ก็เช่นกัน เป็นประวัติศาสตร์บอกเล่าถึงการที่ทรงถูก “เม้ม” สาวเชียงใหม่ ซึ่งทางเจ้าเชียงใหม่ส่งมาถวายตัว แต่ไม่ถึงมือท่าน...

ต้นเค้าแห่งนาม “วังไกลกังวล” ที่พักผ่อนสำราญพระราชอิริยาบถ ณ ชายทะเลหัวหิน

พระตำหนักเปี่ยมสุข หรือพระตำหนักใหญ่ วังไกลกังวล (ภาพจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, อ้างใน แพทย์หญิงกรรณิการ์ ตันประเสริฐ. “จดหมายเหตุวังไกลกังวลสมัยรัชกาลที่ 7”. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มติชน, 2548) ที่มา จดหมายเหตุวังไกลกังวลสมัยรัชกาลที่ 7 ผู้เขียน แพทย์หญิงกรรณิการ์ ตันประเสริฐ เผยแพร่ วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2565...

ค้นหลักฐานศึกอะแซหวุ่นกี้ กับ “ธรรมเนียมการดูตัว” สะท้อนอะไรได้บ้าง

“อะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวเจ้าพระยาจักรี” ภาพประกอบในหนังสือเรียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 2   ธรรมเนียมการดูตัวและอิทธิพลของวรรณกรรมแปลในพระราชพงศาวดาร ธรรมเนียมการขอดูตัวนี้ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การสงครามไทย กรรณิการ์ สาตรปรุง ให้ความเห็นไว้ในหนังสือเรื่องราชาธิราช สามก๊ก และไซ่ฮั่น : โลกทัศน์ชนชั้นนำไทย ว่าธรรมเนียมการขอดูตัวทหารที่เก่งกล้าสามารถของฝ่ายตรงข้ามเป็นวัฒนธรรมการทำสงครามของมอญ ดังที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมแปลเรื่องราชาธิราช ซึ่งแปลและเรียบเรียงในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๘ โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตัวอย่างที่คล้ายคลึงกัน เช่น ตอนพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องขอดูตัวสมิงอังวะมังศรี ทั้งยังเอาพานพระศรี เครื่องทองคำสำรับหนึ่งกับอานม้าเครื่องทองใส่เรือน้อยมาพระราชทานอีกด้วย นอกจากนี้ยังปรากฏอิทธิพลของวรรณกรรมแปลเรื่องอื่นในศึกอะแซหวุ่นกี้ เช่นตอนที่เมืองพิษณุโลกขาดเสบียง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ถอนทัพออกจากเมืองพิษณุโลก...

ต่อกระดูก-วางยาพิษ-ใช้ยาสั่ง โนว์ฮาวปราชญ์ชาวบ้านเมืองสุรินทร์ในอดีต

วิถีชีวิตชาวสุรินทร์ในอดีต เมื่อถึงฤดูแล้งผู้หญิงและเด็ก หาบกระเชอมารอตักน้ำจากบ่อช่วงฤดูแล้ง เจ็ยป่วยก็อาศัยความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน (ภาพจาก “100 เรื่อง เมืองสุรินทร์”)   การต่อกระดูก เคลื่อนย้ายเส้นเอ็น และใช้ยาพิษต่าง ๆ ที่เคยได้เห็นได้ยินในภาพยนต์จีนกำลังภายในบ่อยครั้ง และบางเรื่องก็มีอยู่ในจริง แต่มันไม่ใช่แค่จริงในประวัติศาสตร์ของจีนเท่านั้น ในประเทศไทย ปราญช์ชาวบ้านของเราก็มีความรู้ในเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบทห่างไกล ดังกรณีตัวอย่างของปราญช์ชาวบ้าน จังหวัดสุรินทร์ อัน-ชาวกัมพูชาที่เป็นหนึ่งในคณะผู้นำทางให้ เอเตียน แอมอนิเยร์ นักสำรวจชาวฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามาในประเทศกัมพูชา,...

วิถี “ตลาดน้อย” ยุคตั้งต้น ชุมชน “จีน” กับความเฟื่องฟูที่ถูกผนวกรวมกับย่านสำเพ็ง

บรรยากาศแม่น้ำเจ้าพระยาสมัยก่อน (ภาพจากหนังสือ “Twentieth Century Impressions of Siam”)   ย่านตลาดน้อย เป็นชุมชนจีนที่เกิดขึ้นมาจากการขยายตัวของสำเพ็งซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยที่บรรดาชาวจีนต่างพากันเรียกตลาดแห่งใหม่ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของสำเพ็งซึ่งถือเป็นตลาดใหญ่ในขณะนั้นว่า “ตะลัคเกียะ” ซึ่งแปลเป็นไทยว่า “ตลาดน้อย” และด้วยความที่อยู่ใกล้กับสำเพ็งมากในบางครั้งตลาดน้อยจึงถูกเรียกในฐานะส่วนหนึ่งของสำเพ็งด้วย สภาพโดยทั่วไปของตลาดน้อยมีลักษณะใกล้เคียงกับย่านเก่าอื่นๆ ในกรุงเทพฯ เช่น กฎีจีน ที่เป็นผลมาจากการผสมผสานกันระหว่างผู้คนหลายกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาโดยเริ่มเป็นชุมชนที่หนาแน่นมากขึ้นภายหลังจากกรุงศรีอยุธยาแตก ผู้คนจึงพากันอพยพลงมาทางใต้ และบางส่วนได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบางกอก รวมทั้งกลุ่มคริสต์ศาสนิกชนชาวโปรตุเกสที่อพยพมารวมกันอยู่ที่วัดซางตาครู้สที่กุฎีจีน ซึ่งเป็นชุมชนใหญ่ในสมัยธนบุรี แต่ต่อมาเกิดขัดแย้งกับบาทหลวงฝรั่งเศส จึงได้แยกตัวมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณตลาดน้อย ซึ่งก็อยู่ใกล้ๆ กับลานประหารนักโทษบริเวณป่าช้าวัดตะเคียน (วัดมหาพฤฒาราม) จึงให้ชื่อวัดใหม่ว่า “กาลวารี” ซึ่่งเป็นชื่อลานประหารนักโทษในเมืองเยรูซเล็มที่ใช้ตรึงกางเขนพระเยซู ต่อมาเรียก...

เจ้าจอมมารดาวาด สนมในร.4 ลือกันว่าคือหัวโจกในวัง ฤๅเป็นผู้ “ให้ยกพวกตีบริวารเจ้าจอมอื่น”?

ท้าววรจันทร ถ่ายเมื่ออายุ 45 ปี พร้อมกรมหมื่นพิทยลาภพพฤฒิยากร (อุ้ม)   ราชสำนักไทยมีนางในผู้มากความสามารถคับคั่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทำอาหาร บริหารจัดการ ศิลปะการแสดง และการละคร ซึ่งหากพูดถึงฝ่ายในที่เก่งกาจเรื่องการละครแล้ว ย่อมไม่พ้นชื่อ เจ้าจอมมารดาวาดในรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นนางละครหลวงและได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าจอมมารดาวาดได้เป็นท้าววรจันทร และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น โดยเฉพาะเรื่องความเป็น “หัวโจก” เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 4 ได้รับฝึกสอนด้านการละครตั้งแต่เด็ก...

รัชกาลที่ 4 ทรงจัดการอย่างไรกับเรื่อง “ช้างเหยียบนา พญาเหยียบเมือง”

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4   สำนวนไทยที่ว่า “ช้างเหยียบนา พญาเหยียบเมือง” หรือบ้างเขียนว่า “ช้างเหยียบนา พระยาเหยียบเมือง” ก็มี ไม่ว่าจะเป็น “พญา” หรือ “พระยา” ก็ได้ความที่ใกล้เคียงกันว่า เมื่อเจ้าใหญ่ นายโต ไปถึงที่ใดก็เกิดความเสียหายกับพื้นที่นั้น พญา (พระยา) เหยียบเมืองเสียหายขนาดไหน? ต้องย้อนกลับไปดูวรรคก่อนหน้าที่ว่า “ช้างเหยียบนา” ก็จะเห็นภาพชัดเจน...

จินตนาการประชาธิปไตย “ที่แท้จริง” ของกษัตริย์สยาม : รัชกาลที่ 6

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับมิถุนายน 2553 ผู้เขียน ปรามินทร์ เครือทอง เผยแพร่ วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2562 จินตนาการประชาธิปไตยของรัชกาลที่ 6 หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ปีกว่าเท่านั้น ก็มีคณะทหารหนุ่ม “เสี่ยงตาย” คิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง แม้จะยังไม่มีมติที่แน่นอนว่าจะเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบใด แต่ก็มี 2 แนวทางที่คณะนายทหารหนุ่มต้องการระหว่าง...

ที่มาของ “การกระทำสัตย์ปฏิญาณสาบานตน” ของไทย

พระราชครูวามเทพมุนี เชิญ พระแสงศร อ่านโองการ ในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา 25 มีนาคม 2512 (ภาพจาก พระราชพิธีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร, กรมศิลปากร 2542)   ปัจจุบันก่อนที่ผู้นำฝ่ายบริหารสำคัญของแต่ละประเทศในโลก เช่น นายกรัฐมนตรี, ประธานาธิบดี ฯลฯ จะรับตำแหน่งหน้าที่ จำเป็นต้องมี “การกระทำสัตย์ปฏิญาณสาบานตน” โดยอาจเรียกแตกต่างกันไป เช่น...

ทำไมเรียก “อัสสัมชัญ”? เผยสาเหตุบาทหลวงตั้งโรงเรียนย่านบางรัก-ร.5ทรงพระราชทานทุน

นักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ (ภาพจาก หอสมุดแห่งชาติ)   ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการศึกษาจากพระราชหฤทัยที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้ทัดเทียมอารยประเทศ ในช่วงเวลานั้นมีโรงเรียนที่เกิดจากการอุปถัมภ์หลายแห่ง หนึ่งในนั้นคือโรงเรียนที่ภายหลังพัฒนากลายมาเป็นโรงเรียนอัสสัมชัญ ในกลุ่มโรงเรียนที่ได้เริ่มมีมากขึ้นในรัชกาลที่ 5 กลุ่มหนึ่งเป็นโรงเรียนที่อุปถัมภ์โดยกลุ่มหมอสอนศาสนาชาวตะวันตก ทั้งนิกายโปรเตสแตนต์ และโรมันคาทอลิก สำหรับกลุ่มโรมันคาทอลิก ช่วงเวลานั้นมีชุมชนคาทอลิกกระจายอยู่ในสยาม 5 แห่ง หนึ่งในนั้นคือชุมชนคาทอลิกย่านบางรัก โดยมีวัดอัสสัมชัญ เป็นศูนย์กลาง ในปี พ.ศ....

ความทุกข์ในพระราชหฤทัยรัชกาลที่ 5 เมื่อสยามต้องเสียดินแดน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤษภาคม 2560 ผู้เขียน ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2562   “—เป็นการจำเป็นที่เราต้องละวางเขตรแดน อันเราได้ปกปักรักษามาแล้วช้านานนับด้วยร้อยปีเสียเป็นอันมาก โดยผู้ที่ต้องการไม่มีข้อใดจะยกขึ้นกล่าวทวงถามเอาโดยดี นอกจากใช้อำนาจได้—” เป็นข้อความในพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีถึงพระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช พระราชโอรสซึ่งทรงกำลังศึกษาวิชาการทหารบกอยู่ ณ ประเทศเดนมาร์ก เป็นพระราชปรารภถึงความทุกข์ในพระราชหฤทัยที่เกิดจากการคุกคามของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจนักล่าอาณานิคมตะวันตก ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญ...

ร. 4 ทรงเปลี่ยนธรรมเนียม “เสด็จฯเลียบพระนคร” ให้ ปชช.เฝ้าชมพระบารมีเป็นครั้งแรก

(ขอบคุณภาพจาก เพจ JS100)   พระราชพิธีที่ถูกกล่าวถึงเสมอและเป็นขั้นตอนสำคัญที่นับเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกคือ “การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร” ธรรมเนียมนี้อาจสืบเนื่องมาจากพิธีราชสูยะซึ่งมีการแห่แหนผู้ที่เป็นกษัตริย์หลังเสร็จสิ้นพระราชพิธีในขั้นตอนการรับมอบราชสมบัติ และการทำสัตย์สาบานว่าจะปกครองบ้านเมืองอย่างเป็นธรรม ความหมายของการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครกระทำขึ้นเพื่อ ประกาศพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ให้เป็นที่ประจักษ์แก่อาณาประชาราษฎร์ เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงเปลี่ยนความหมายของการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร เป็นการเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระรัตนตรัยตามพระอารามหลวงที่สำคัญโดยทางสถลมารค (ทางบก) และทรงชลมารค (ทางเรือ) เพื่อให้ราษฎรได้เฝ้าพระบารมีทั้งฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี ในการนี้ทรงเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมการเข้าเฝ้าโดยให้ราษฎรสามารถชมพระบารมีไม่ต้องปิดประตูบ้านเรือนเมื่อกระบวนเสด็จผ่านเหมือนอย่างแต่ก่อนมา ซึ่งทำให้เกิดธรรมเนียมการตั้งเครื่องบูชาสักการะจากบรรดาราษฎรเมื่อกระบวนเด็จผ่านนับแต่นั้นมา   ข้อมูลจาก นนทพร อยู่มั่งมี. “พระราชพิธีและพิธีอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก”, เสวยราชสมบัติกษัตรา,...

ข้อมูลมณฑปพระกระยาสนาน จุดสำคัญในพิธีสรงพระมุรธาภิเษก จากพระราชนิพนธ์ร.5

ภาพปกมณฑปพระกระยาสนาน   ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก “มณฑปพระกระยาสนาน” เป็นสถานที่สำหรับพระมหากษัตริย์สรงสนานในพิธีสรงพระมุรธาภิเษก โดยจะประดิษฐานบริเวณชาลารอยต่อพระที่นั่งไพศาลทักษิณ กับ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง  ในพระราชนิพนธ์ “พระราชพิธีสิบสองเดือน” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพระบรมราชาธิบายเรื่องสรงพระมุรธาภิเษกว่าเป็นธรรมเนียมมีมาแต่โบราณ อย่างไรก็ตาม การสรงพระมุรธาภิเษกนี้มิได้มีเฉพาะในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเท่านั้น มีปรากฏในวันพระราชพิธีอื่น ๆ เช่น พระราชพิธีสงกรานต์และวันเถลิงศก พระราชพิธีวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น การสรงพระมุรธาภิเษกที่รัชกาลที่ 5 กล่าวถึงในพระราชนิพนธ์นั้นเกี่ยวข้องกับพระราชพิธีสงกรานต์ (ในหัวข้อการพระราชกุศลก่อพระทรายและตีข้าวบิณฑ์) มีพระบรมราชาธิบายการสรงพระมุรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแต่เพียงประกอบบริบทเท่านั้น แม้จะมิได้มีพระบรมราชาธิบายโดยตรง แต่ในเนื้อความนั้นสามารถนำมาประกอบความรู้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกได้ไม่น้อย พระแท่นสรงพระมุรธาภิเษกสนาน ในพระราชพิธีเถลิงพระราชมณเฑียร ณ...