“ระบบการศึกษา” เครื่องมือผนวก “ล้านนา” ให้กลายเป็นไทยในสมัยรัชกาลที่ 6
เด็กนักเรียนโรงเรียนประชาบาลเมืองเชียงแสน พ.ศ. 2466 (ภาพจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) ต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ในสยามกำเนิดรัฐแบบใหม่ที่บริหารงานแบบรวมศูนย์ ทำให้จำเป็นต้องสลายอำนาจท้องถิ่นเพื่อดึงทรัพยากรและผู้คนมาเป็นของรัฐบาลส่วนกลาง สำหรับกรณีของล้านนา สยามเลือกใช้วิธีของเข้าอาณานิคมผสมผสานกับธรรมเนียมของรัฐจารีต หากยังขาดจิตสำนึกร่วมชาติ รัชกาลที่ 6 จึงทรงใช้ “การศึกษา” เป็นเครื่องมือในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้ ผศ.ดร. เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว ได้ค้นคว้าและเรียบเรียงไว้ ใน “เปิดแผนยึดล้านนา” ในที่นี้ขอคัดย่อเพียงส่วนเกี่ยวกับการมานำเสนอพอสังเขปดังนี้ ครั้งนั้นรัฐบาลสยามเร่งจัดตั้งโรงเรียนตัวอย่างในท้องถิ่น ได้แก่ โรงเรียนหลวงที่รัฐบาลกลางจัดตั้งและอุดหนุน, โรงเรียนประชาบาล ที่เจ้าหน้าที่ปกครองท้องที่, ราษฎร และพระสงฆ์ร่วมมือกัน...
โรงเรียนทหารบกโอกาสของ “สามัญชน” และสถานที่สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
“โรงเรียนทหารสราญรมย์” ที่ภายหลังเปลี่ยนเป็น “โรงเรียนทหารบก” (ภาพจากหนังสือ 2475:เส้นทางคนแพ้) แม้จะมีการวางรากฐานให้กับการผลิตนายทหารตามหลักสูตรสมัยใหม่ด้วยการจัดตั้ง “โรงเรียนทหารสราญรมย์” มาตั้งแต่ พ.ศ. 2430 แต่การรับเข้าเป็น “คะเด็ด” ก็จำกัดเฉพาะพระบรมวงศานุวงศ์ และบุตรนายทหารชั้นสัญญาบัตรเท่านั้น แต่เนื่องจากความจำเป็นที่ต้องขยายกิจการทหารให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของบ้านเมืองโดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ “ร.ศ.112” ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2437 ที่เป็นการคุกคามจากฝรั่งเศส และลัทธิล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตก ทางราชการจึงต้องการนายทหารเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากให้ได้ส่วนสัมพันธ์กับขนาดของกองทัพที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว พ.ศ. 2440 จึงมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง “โรงเรียนทหารสราญรมย์” โดยเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนสอนวิชาทหารบก” และเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “โรงเรียนทหารบก” เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน...
ทหารญี่ปุ่นตบหน้าพระไทย สู่วิกฤตการณ์บ้านโป่ง 18 ธ.ค. 2485
ภาพประกอบเนื้อหา – ทหารญี่ปุ่นเรียงแถวปลดอาวุธต่อหน้านายทหารโซเวียต ช่วงกองทัพรัสเซียเข้าปลดปล่อยแมนจูเรียจากญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ภาพถ่ายเมื่อ ส.ค. 1945 (ภาพจาก AFP) เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2485 พระเพิ่ม สิริพิบูล (เอกสารบางรายการระบุว่าเป็นเณร) จากวัดห้วยกระบอก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เดินทางไปนมัสการเจ้าอาวาสวัดดอนตูม ให้ทานบุหรี่แก่เชลยศึกฝรั่ง ทหารญี่ปุ่นเห็นเข้าเกิดความโกรธและได้เข้าไปตบหน้าพระเพิ่มจนล้มลงกับพื้น ต่อมามีผู้หามพระเพิ่มไปที่ร้านขายยาวัดดอนตูม เมื่อปฐมพยาบาล กรรมกรสร้างรางรถไฟสายมรณะที่อาศัยอยูในวัดจึงสอบถามเหตุ เมื่อได้ทราบเรื่องจากพระเพิ่มก็แสดงความไม่พอใจ...
โอรสแห่งสวรรค์ ไยจึงมีชีวิตที่แสนสั้น? เมื่อจักพรรดิ “จีน” ดื่มยาอายุวัฒนะ แต่ยิ่งตายไว!
ภาพประกอบเนื้อหา – ภาพเขียน เง็กเซียนฮ่องเต้ (Jade Emperor) ในจินตนาการ ภาพจาก Daoist deity: Jade Emperor. Boston: Museum of Fine Arts สิทธิใช้งาน public domain ว่านซุ่ย…ว่านซุ่ย…ว่านว่านซุ่ย (万岁 万岁 万万岁) หรือที่นักพากย์ละครจีนภาพยนต์จีนแนวพีเรียดมักพากย์โดยแปลเป็นภาษาไทยว่า “ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ หมื่นปี...
ปริศนาเจ้าแม่วัดดุสิต ต้นราชวงศ์จักรี “เจ้า” หรือ “สามัญชน”???
พระบรมรูปพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ประดิษฐานภายในปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระราชวงศ์จักรีเป็นพระราชวงศ์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติ ทั้งพระราชพงศาวดารและตำราประวัติศาสตร์ มีให้ศึกษาประวัติโดยละเอียดจำนวนมาก โดยเฉพาะพระบรมเดชานุภาพ พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ แต่หากสังเกตอย่างดีก็จะพบว่าในบรรดาประวัติพระราชวงศ์หรือพระราชประวัติพระมหากษัตริย์ เรายังขาดแคลนข้อมูลที่กล่าวถึงบางช่วงบางตอน เช่นในภาคปฐมวัยแห่งพระมหากษัตริย์บางพระองค์ เท่ากับว่าเรายังขาดความรู้เรื่อง “วัยเด็ก” ของพระมหากษัตริย์ไทย โดยเฉพาะพระองค์ก่อนรัชกาลที่ ๕ ขึ้นไป ทั้งนี้เป็นเพราะการจดพงศาวดารในยุคก่อนได้เว้นที่จะกล่าวถึงพระราชประวัติก่อนเสวยราชย์ จะด้วยธรรมเนียมหรือด้วยเหตุไม่บังควรอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ทำให้ประวัติศาสตร์ในช่วงดังกล่าวเป็นแต่เพียงภาพรางๆ ไม่แจ่มชัดเท่าที่ควร พระราชพงศาวดารจึงเป็นแต่เพียงเนื้อเรื่องที่ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ “เปิดเผย” ได้ แน่นอนว่าเรื่องราวเหล่านั้นจำเป็นต้องคัดกรองเพื่อการเปิดเผยจริงๆ...
ภาพเขียนสีที่เพิงผา “ตอแล” ภูเขายะลา ถึงภาพใน “ถ้ำศิลปะ” กับข้อมูลเมื่อแรกเริ่มค้นพบ
(ซ้าย) ภาพมุมสูงเมืองยะลา เมื่อราวปี พ.ศ. 2547 (ขวาบน-ล่าง) ภาพเขียนสีที่เพิ่งผา “ตอแล” จ.ยะลา (ภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม เม.ย. 2542) “ตอแล” หรือ “ตอหลัง” เป็นเพิงผาหนึ่งของภูเขายะลา อยู่ในเขตหมู่ 2 บ้านกูเบ ตําบลยะลา อําเภอเมือง จังหวัดยะลา พื้นที่อยู่สูงจากพื้นราบประมาณ 50-60 เมตร มองจากตีนเขาขึ้นไปสามารถเห็นได้ชัดเจน เป็นเพิงผาที่มีพื้นราบกว้างประมาณ...
ประวัติศาสตร์การนั่งจากกรุงศรีฯ-กรุงเทพฯ คนไทยนั่งกันท่าไหน
สตรีชั้นสูงนั่งบนตั่ง ขณะที่บริวารนั่งบนพื้น ถ่ายราวยุค 2410 (ANP-0002-123 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ) “การนั่ง” เป็นหนึ่งในอริยาบถสุดเบสิกมนุษย์เราในปัจจุบันคุ้นเคยกันจนคิดว่าเป็นกิริยาอาการแสนสามัญธรรมดาแต่นั่นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่คนสมัยอยุธยาคิด เมื่อ 300 กว่าปีที่แล้ว ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตจากราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสเดินทางมาถึงอยุธยา ราว 3 เดือนที่พำนักอยู่ดินแดนที่ไม่คุ้นเคยเขาได้บันทึกเรื่องราวหลายแง่มุมที่ประสบพบเจอในสยามอย่างละเอียด บันทึกเล่มนี้ได้กลายเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์อันประมินค่ามิได้กาลต่อมา มีหัวข้อหนึ่งที่สะดุดใจเป็นพิเศษคือ ข้อสังเกตของเดอ ลา ลูแบร์ที่ว่า “ชาวสยามนั่งอย่างไร”...
เมืองปากสิงห์ (สิงห์ สิงหเสนา) วีรบุรุษเมืองร้อยเอ็ด ผู้ร่วมปราบฮ่อ และ ร.ศ. 112
อนุสาวรีย์สิงห์เมืองปาก (สิงห์ สิงหสนา) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ปู่เมืองปาก” ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดจักรวาลภูมิพินิจ ตำบลหนองหมื่นถ่าน อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด (ภาพสิมวัดจักรวาลภูมิพินิจ จาก www.qrcode.fineart.go.th) สิงห์ สิงหเสนา มีนามสกุลคล้ายๆ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แต่ทั้งสองไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดกัน “สิงห์ สิงหเสนา” ผู้นี้เป็นใคร ผู้ใช้นามปากกาว่า เสมา ไชยกำแหง จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เขียนอธิบายเรื่องนี้ไว้ใน “สิงห์เมืองปาก (สิงห์ สิงหเสนา) จากสามัญชนสู่การเป็นเทพเจ้า ‘คนดีจังหวัดร้อยเอ็ด’ “ (ศิลปวัฒนธรรม...
มอง “พม่า” ผ่านสายตา “สำหรุดปาน” ชาวสงขลาที่เดินทางไปแสวงบุญเมื่อร้อยปีก่อน
เจดีย์ชเวดากอง ภาพถ่ายราวปี คงศ. 1895-1915 นิราศพระธาตุเมืองย่างกุ้ง สะท้อนให้เห็นโลกทรรศน์ของสำหรุดปานที่ทับซ้อนกันสองโลก โลกด้านหนึ่งคือโลกในระดับโลกิยะ การมองโลกเชิงประจักษ์ ดังจะเห็นได้จากการที่สำหรุดปานให้ความสำคัญกับการบรรยายรายละเอียดการเดินทาง สภาพบ้านเมืองและสิ่งต่าง ๆ ที่ตนได้ประสบพบเห็นด้วยตนเอง โลกอีกด้านหนึ่งที่สำหรุดปานให้ความสำคัญสูงกว่าคือโลกในระดับโลกุตระ ดังจะเห็นได้จากความมุ่งมั่นตั้งใจในการเดินทางจาริกแสวงบุญนมัสการพระบรมธาตุยังดินแดนพม่า และยิ่งไปกว่านั้นได้แต่งหนังสือสวดนี้ไว้เพื่อให้นำไปใช้อ่านและสวดให้ญาติพี่น้องมิตรสหายที่ไม่มีโอกาสได้เดินทางมานมัสการพระธาตุด้วยตนเองได้ร่วมฟังและตั้งจิตอนุโมทนาบุญร่วมกัน พม่าในวิถีโลกย์ ดินแดนพม่าเมื่อครั้งสำหรุดปานเดินทางไปนั้นเป็นช่วงเวลาที่ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษและสูญสิ้นราชวงศ์พม่าแล้ว พระเจ้าธีบอกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์คองบองของพม่าถูกอังกฤษถอดจากราชบัลลังก์และนำตัวไปคุมขังไว้ที่เมืองรัตนคีรี บริติชอินเดีย สภาพการณ์ความเป็นไปของพม่าเช่นนี้ไม่ได้เกินเลยความรับรู้ของสำหรุดปาน สันนิษฐานได้ว่าการที่เขาเป็นคนสะเดา ซึ่งอยู่ในเขตต่อแดนบริติชมลายา และเป็นเส้นทางข้ามคาบสมุทรไปสู่ฝั่งอันดามันนั้น ข่าวสารบ้านเมืองต่าง ๆ ของเมืองพม่าย่อมไหลผ่านจากพ่อค้านักเดินทางหรือแม้กระทั่งพระภิกษุที่เดินทางจาริกแสวงบุญเล่าสู่ต่อ...
ตำนานคู่ปรับวงการมวย โพล้ง เลี้ยงประเสริฐ vs สุวรรณ นิวาสะวัต
(ซ้าย) โพล้ง เลี้ยงประเสริฐ, (ขวา) สุวรรณ นิวาสะวัต (ภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม ฉบับมีนาคม 2564) โพล้ง เลี้ยงประเสริฐ นักมวยดังจากบ้านท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ เจ้าของฉายา “ยอดมวยเตะ” เป็นนักชกที่มีชื่อเสียงรุ่นเดียวกับ สุวรรณ นิวาสะวัต นักมวยพระนครจากสำนักสวนกุหลาบ เจ้าของฉายา “เอลโมมีฤทธิ์” (เอลโมเป็นชื่อดาราพระเอกภาพยนตร์สมัยนั้น ซึ่งยังเป็นภาพยนตร์เงียบ) ทั่งคู่ต่างขับเคี่ยวกันมาตลอดในสมัยนั้น ภักดี สวนรัตน์ หรือ...
ปัญหาน้ำมันแพงปี 2522 ที่มาของเป็น “เพลงน้ำมันแพง”
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ (ภาพจาก ฯพณฯ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ หนังสืออนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์) ที่ผ่านมาไทยต้องเผชิญกับปัญหา “น้ำมันแพง” หลายครั้ง เช่น พ.ศ. 2516 รัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร, พ.ศ. 2522 รัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์,...
“ภูเขาทอง” กองอิฐใหญ่ที่ถูกทิ้งร้าง มูลเหตุการขุด “คลองผดุงกรุงเกษม” ป้องกันพระนคร
ภูเขาทอง วัดสระเกศ (ภาพจาก หนังสือ ประชุมภาพประวัติศาสตร์ แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชดำริให้สร้าง “ภูเขาทอง” ที่วัดสระเกศ ให้สร้างเป็นพระปรางค์ขนาดใหญ่อย่างภูเขาทองที่อยุธยา แต่เนื่องด้วยชั้นดินอ่อนตัว รับน้ำหนักจำนวนมหาศาลของพระปรางค์ไม่ได้ กระทั่งทรุดลง จึงหยุดก่อสร้างค้างอยู่เพียงฐาน ถูกปล่อยให้รกร้าง กลายเป็นกองอิฐขนาดใหญ่นอกกำแพงพระนคร ตำแหน่งที่ตั้งของภูเขาทองนั้น นับเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของพระนคร เพราะตั้งอยู่ริมคลองมหานาคเชื่อมต่อกับคลองรอบกรุงและคลองหลอด (คลองหลอดวัดราชนัดดาฯ) และอยู่เยื้องกับป้อมมหากาฬ เมื่อเข้าสู่สมัยรัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำริถึงภูเขาทองว่า หากข้าศึกศัตรูเข้ายึดภูเขาทองได้ อาจนำปืนไปตั้งบนภูเขาทอง...
ปิดฉาก “เมืองพระนคร” บ้านเมืองล่มสลาย ผู้คนถูกกวาดต้อน เหตุสงคราม “อยุธยา” บุก “เขมร”
ภาพถ่ายนครวัด เมื่อ ค.ศ. 1866 โดย Emile Gsell เหตุการณ์การล่มสลายของ “เมืองพระนคร” นี้ ในหนังสือ “นครวัดทัศนะเขมร” (สำนักพิมพ์มติชน, 2545) รศ.ดร. ศานติ ภักดีคำ แปล เรียบเรียง และตัดตอนถอดความจากแบบเรียนประวัติศาสตร์เขมรสำหรับชั้นมัธยมและอุดมศึกษา ของ ตฺรึง งา (ออกเสียงว่า ตรึง...
คึกฤทธิ์ ปราโมช ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ลาออก! เหตุไม่พอใจได้เงินเดือน ส.ส. เพิ่ม?
img class=”aligncenter” src=”https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2019/05/%E0%B8%A0%E0%B8%9B-%E0%B8%84%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%8A-696×364.jpg” /> ภาพจาก มติชนออนไลน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ยื่น “ลาออก” เพราะไม่พอใจที่รัฐสภาได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2491 อันมีผลให้ ส.ส. ได้เงินเดือนเพิ่มขึ้นนั้น คือ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้แทนจังหวัดพระนคร สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และ ร้อยโทสัมพันธ์ ขันธะชวนะ ผู้แทนจังหวัดนครราชสีมา ไม่สังกัดพรรคการเมือง การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีนั้นจะมีคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นผู้พิจารณาก่อนจะมีการพิจารณาขั้นถัดไปในการประชุมสภาผู้แทนฯ โดยมีการประชุมสภาผู้แทนฯ เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ในการประชุมสภาผู้แทนฯ (สามัญ) วันที่ 16-17 กันยายน พ.ศ. 2491...
ไทยเหนือ-ไทยใต้-คนเมือง ร่องรอยความขัดแย้งของล้านนากับสยาม
ความรู้สึกแบ่งแยกระหว่างไทยเหนือ (ล้านนา) และไทยใต้ (สยาม) เริ่มปรากฏในรายงานของข้าหลวงที่ถูกส่งไปกำกับราชการในเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่ทศวรรษที่ 2430 สาเหตุมาจากการที่ชนชั้นนำสยามเห็นว่าการดำรงอยู่แบบรัฐจารีตของล้านนานั้นเป็นความล้าหลังป่าเถื่อน รวมทั้งรายงานของข้าราชการสยามที่ส่งมายังกรุงเทพฯ มักให้ภาพคนล้านนาว่าเกียจคร้านและมีความเจริญน้อยกว่า ทำให้ข้าราชการสยามที่ถูกส่งขึ้นมามักวางอำนาจใส่คนพื้นเมือง ข้าหลวงใหญ่บางคนก็สร้างความเดือดร้อนให้กับราษฎรและปกป้องพวกพ้องของตนโดยขาดความยุติธรรม ตัวอย่างเช่นใน พ.ศ. 2426 มีรายงานจากข้าหลวงใหญ่ว่าเกิดความขัดแย้งระหว่างบรรดาเจ้านายพื้นเมืองกับทหารสยามถึงขนาดยกพวกไล่ตีกันจนถึงหน้าประตูจวนข้าหลวง ภายหลังยังมีเรื่องวิวาทกันกลางตลาด โดยทหารสยามทำร้ายคนของเจ้าอินทวิชยานนท์ถึงขั้นศีรษะแตก ในรายงานดังกล่าวทหารสยามระบุว่าถูกคนพื้นเมือง “…ด่าว่าอ้ายชาวใต้เปนคำหยาบช้าต่างๆ…” ครั้งนั้นข้าหลวงใหญ่ได้เสนอค่าทำขวัญแต่เจ้าอินทวิชยานนท์ไม่ยอมและยืนยันที่จะนำตัวไปโบย 100 ที แล้วประหารชีวิต ฝ่ายข้าหลวงใหญ่ไม่ยินยอมส่งตัวทหารให้และเลือกลงโทษด้วยการจำตรวน ภายหลังเมื่อกรมหมื่นพิชิตปรีชากรเสด็จขึ้นไปตรวจราชการหัวเมืองล้านนาได้สอบชำระความก็ไม่พบว่าข้าหลวงใหญ่และพรรคพวกมีความผิดจริง...
เจนละ-แตก แยกเป็น 2 แคว้น
ภาพถ่ายนักท่องเที่ยว ณ โบราณสถานในสมโบร์ไพรกุก ในเขตกำพงธม กัมพูชา เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2560 (Sambor Prei Kuk) (TANG CHHIN Sothy / AFP) รัชกาลพระเจ้าภววรมัน เจนละเป็นประเทศราชของอาณาจักรฟูนัน กษัตริย์องค์หนึ่งซึ่งสืบเชื้อสายมาจากฤาษีกัมพูซึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้าเศรษฐวรมัน ทรงเป็นปฏิปักษ์แก่อาณาจักรฟูนัน ในครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 12 มีเจ้าหญิงในพระราชวงศ์องค์หนึ่งทรงเสกสมรสกับเจ้าชายฟูนันที่ทรงพระนามว่า พระเจ้าภววรมัน เจ้าชายองค์นี้ทรงยึดอำนาจและเริ่มต้นปราบปรามอาณาจักรฟูนันโดยความช่วยเหลือจากพระเชษฐาคือ เจ้าชายจิตรเสน ภายใต้รัชกาลของพระเจ้าภววรมันนี้...
เจ้านครเชียงใหม่ ประเทศราชล้านนา ได้เงินเดือนตอบแทนจากรัฐบาลสยามกี่บาท?
(ซ้าย) เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์, (ขวา) เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้านครเชียงใหม่ ประเพณีการปกครองบ้านเมืองในหัวเมืองประเทศราชล้านนาแต่เดิมมานั้น บรรดาเจ้านคร เจ้านาย และขุนนางในพื้นเมืองนั้น หาได้มีรายได้เป็นเงินเดือนหรือเบี้ยหวัดเงินปีเช่นเจ้านายกรุงสยาม หากแต่บรรดาเจ้าประเทศราช เจ้านาย และขุนนางในพื้นที่นั้น “มีการกะเกณฑ์ให้ราษฎรมาทำการต่างๆ ตามประเพณีเมือง มีการหาบหามสิ่งของเดินทาง แลมาเข้าเวรประจำทำการ ณ ที่ต่างๆ ปีหนึ่งมีกำหนดคนหนึ่งต้องทำการตั้งแต่เดือนหนึ่งถึงสี่เดือน อีกประการหนึ่งมีราษฎรบางจำพวก ซึ่งต้องเสียสร่วยต่างๆ เปนสิ่งของแลเงิน มีมากบ้างน้อยบ้างไม่เสมอน่ากัน” เนื่องจากการเกณฑ์แรงงานและส่วยได้สร้างความเดือดร้อนแก่ราษฎรจนไม่มีเวลาทำมาหาเลี้ยงชีพ ฉะนั้นในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิรยศิริ) ราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยขึ้นไปจัดระเบียบปกครองในหัวเมืองประเทศราชล้านนาใน พ.ศ. 2442 จึงมีราษฎรที่ต้องเกณฑ์นั้นมาร้องทุกข์ต่อพระยาศรีสหเทพเป็นจำนวนมาก บางรายถึงแก่ยอมจะเสียเงินถึงปีละ 20 บาท เป็นค่าแรงแทนเกณฑ์ พระยาศรีสหเทพจึงได้หารือและตกลงกันกับบรรดาเจ้าประเทศราชล้านนาให้เลิกการเกณฑ์แรงงานและส่วยจากราษฎร และให้เปลี่ยนมาเรียกเก็บเงินจากชายฉกรรจ์ในพื้นที่เป็นค่าแรงแทนเกณฑ์ โดยกำหนดให้เจ้านคร เจ้านาย และขุนนางประเทศราชล้านนาได้รับส่วนแบ่งเงินค่าแรงแทนการเกณฑ์แรงงานเป็นเงินจำนวนมากน้อยตามฐานะของบุคคลมาตั้งแต่ พ.ศ. 2442 ต่อมาในยุคที่มีชาวตะวันตกและคนในบังคับเข้ามาขอรับสัมปทานตัดฟันไม้สักในเขตแขวงนครเชียงใหม่ นครลำปาง นครลำพูน และเมืองแพร่ บรรดาเจ้านครและเจ้านายซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของป่าไม้ในเขตแขวงเมืองเหล่านั้น ต่างก็ได้รับผลประโยชน์จากค่าสัมปทานป่าไม้มากบ้างน้อยบ้างตามจำนวนไม้สักที่ถูกตัดทอนออกจากป่า เงินประเภทนี้เรียกกันว่า “เงินค่าตอไม้” แต่เนื่องจากการเรียกเก็บเงินค่าตอไม้ที่บรรดาเจ้านครและเจ้านายเรียกเก็บมาแต่เดิมนั้น ล้วนมีปัญหารั่วไหลทั้งในการที่ผู้รับสัมปทานแจ้งจำนวนไม้ที่ตัดฟันต่ำกว่าความเป็นจริง ซ้ำร้ายยังถูกผู้แทนเจ้าของป่าไม้ที่ออกไปตรวจเก็บเบียดบังเงินค่าตอไม้ไปเป็นของตนอีกไม่น้อย จนเมื่อมีการจัดตั้งกรมป่าไม้ขึ้นแล้ว เจ้าของป่าไม้จึงได้รับเงินส่วนแบ่งค่าตอไม้เพิ่มขึ้นตามจำนวนที่รัฐบาลสยามสามารถจัดเก็บค่าภาคหลวงจากผู้รับสัมปทานป่าไม้ เงินเดือนเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้านครเชียงใหม่ ภายหลังจากเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้านครลำปาง ได้รับพระราชทานเงินบรรดาศักดิ์สำหรับตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองเป็นคนแรกในหัวเมืองประเทศราชล้านนาแล้ว ต่อมาในตอนปลายปี ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451) เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้านครเชียงใหม่ ก็ได้มีศุภอักษรลงไปกราบทูล พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ความตอนหนึ่งว่า “ตามที่ได้รับพระราชทานผลประโยชน์อยู่ คือ 1 ส่วนแบ่งค่าตอไม้ 2 ส่วนแบ่งค่าแรงแทนเกณฑ์ แล 3 เงินเดือน อยู่แล้วนั้น ไม่ใคร่จะพอจับจ่ายใช้สรอย แลส่วนแบ่งค่าตอไม้นั้นบางปีก็ได้มากบ้างน้อยบ้างไม่เป็นยุติไม่สดวกกับการใช้สรอย เจ้านครเชียงใหม่ ขอพระราชทานรับเป็นเงินเดือนให้เป็นอัตราประจำเดือนละ 25,960 บาท หรือ ปีละ 311,100 บาท ไม่รับพระราชทานส่วนแบ่งค่าตอไม้ แลค่าแรงแทนเกณฑ์ต่อไป” การที่เจ้านครเชียงใหม่ขอพระราชทานพระมหากรุณาคราวนี้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มีพระดำริว่า “ควรจะให้เป็นไปได้เช่นได้เคยกำหนดให้แก่เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตเจ้านครลำปางมาแล้ว” จึงมีลายพระหัตถ์กราบทูลให้ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงพิจารณาดำเนินการต่อไป เมื่อเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติทรงสอบสวนเรื่องราวแล้วได้ความว่า “ผลประโยน์ที่รัฐบาลได้เคยให้แก่เจ้านครเชียงใหม่อยู่แล้ว คือ 1 ส่วนแบ่งค่าตอไม้เทียบดูใน 6 ปี คงได้ถัวอยู่ในปีละ 138,861 บาทเศษ 2 ส่วนแบ่งค่าแรงแทนเกณฑ์เทียบดูใน 6 ปีคงได้ถัวอยู่ในปีละ 41,461 บาทเศษ แล 3 เงินเดือนปีละ 60,000 บาท รวมเป็นเงินอยู่ในปีละ 240,277 บาทเศษ” จึงได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า “ตามที่เจ้านครเชียงใหม่ขอนั้นสูงกว่าจำนวนที่ได้เทียบมาแล้วมากนัก แลทั้งส่วนแบ่งค่าตอไม้ที่เคยได้ตามรายปีสังเกตดูมีจำนวนข้างลดลงมากกว่าขึ้น ถ้าจะผ่อนให้เพียงเดือนละ 20,000 บาท หรือ ปีละ 240,000 บาทจะพอควร เพราะเจ้านครลำปางก็ได้เคยพระราชทานมาแล้ว เดือนละ 15,000 บาท หรือปีละ 180,000 บาท เจ้านครเชียงใหม่จึ่งควรจะได้สูงกว่าเจ้านครลำปางสักหน่อย ด้วยผลประโยชน์ของเจ้านครเชียงใหม่ที่เคยได้รับพระราชทานนั้นสูงกว่าเจ้านครลำปางอยู่แล้ว” ภายหลังจากที่เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้ “ว่ากล่าวกับเจ้านครเชียงใหม่เป็นอันเห็นชอบว่า คงขอรับพระราชทานเพียงเดือนละ 20,000 บาท หรือ ปีละ 240,000 บาทนั้น แต่เมื่อมีโอกาสจะขอรับพระราชทานขึ้นบ้างในภายหลัง” แล้ว เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ได้ตกลงยกเงินผลประโยชน์ที่เคยได้รับอยู่ทั้งสิ้นให้เป็นของหลวง และได้รับพระราชทานเงินบรรดาศักดิ์เจ้าผู้ครองเมืองเดือนละ 20,000 บาท มาตั้งแต่เดือนเมษายน ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452) แต่คงได้รับพระราชทานมาเพียงเดือนมกราคม ร.ศ. 128 เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ก็ถึงแก่พิราลัยเสียเมื่อวันที่ 5 มกราคม ร.ศ. 128 จึงได้รับพระราชทานเงินบรรดาศักดิ์หรือเงินเดือนสำหรับตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เพียง 10 เดือนเต็มเท่านั้น เงินเดือนเจ้าแก้วนวรัฐฯ เจ้านครเชียงใหม่ อนึ่ง ก่อนที่เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์จะถึงแก่พิราลัยนั้น เจ้าอุปราชแก้ว เมืองนครเชียงใหม่ ก็ได้ยื่นเรื่องราวต่อเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยว่า “ผลประโยชน์ที่ได้รับพระราชทานจากค่าตอ จะขอถวายเป็นหลวง ขอรับพระราชทานเป็นเงินเดือนเพิ่มขึ้นจากอัตราที่ได้รับพระราชทานอยู่เดือนละ 600 บาท” ในคราวนั้นกระทรวงมหาดไทยได้ “คิดเทียบดูผลประโยชน์ที่ได้ แลได้ถามเจ้าอุปราชจะเพิ่มให้อีกเดือนละ 600 บาท เจ้าอุปราชก็พอใจ” ...
เจนละ-แตก แยกเป็น 2 แคว้น
รัชกาลพระเจ้าภววรมัน เจนละเป็นประเทศราชของอาณาจักรฟูนัน กษัตริย์องค์หนึ่งซึ่งสืบเชื้อสายมาจากฤาษีกัมพูซึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้าเศรษฐวรมัน ทรงเป็นปฏิปักษ์แก่อาณาจักรฟูนัน ในครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 12 มีเจ้าหญิงในพระราชวงศ์องค์หนึ่งทรงเสกสมรสกับเจ้าชายฟูนันที่ทรงพระนามว่า พระเจ้าภววรมัน เจ้าชายองค์นี้ทรงยึดอำนาจและเริ่มต้นปราบปรามอาณาจักรฟูนันโดยความช่วยเหลือจากพระเชษฐาคือ เจ้าชายจิตรเสน ภายใต้รัชกาลของพระเจ้าภววรมันนี้ อาณาจักรเจนละได้แผ่ขยายอาณาเขตไปทางใต้บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง รัชกาลพระเจ้ามเหนทรวรมัน พระเจ้าภววรมันสิ้นพระชนม์โดยมิทรงมีรัชทายาท ดังนั้นพระเชษฐาของพระเจ้าภววรมัน คือเจ้าชายจิตรเสน จึงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติในราว พ.ศ. 1145 ในพระนาม พระเจ้ามเหนทรวรมัน พระองค์ทรงดำเนินพระราโชบายและพระราชกิจที่ริเริ่มมาแต่รัชกาลก่อนต่อไป กับทั้งทรงผนวกดินแดนเมืองกระเตี้ย, มงคลบุรีและบุรีรัมย์...
จังหวัดสมุทรปราการ มาจากไหน? ตั้งแต่เมื่อใด?
พระสมุทรเจดีย์กลางน้ำ จังหวัดสมุทรปรากร (ภาพจาก https://www.matichon.co.th/) ชื่อจังหวัดสมุทรปราการ นั้นมีความหมายว่า เมืองหน้าด่านชายทะเล และทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยเมืองมีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน ได้แก่ นครเขื่อนขันธ์, เมืองพระประแดง, เมืองสมุทรปราการ เช่นเดียวกันที่ตั้งของตัวเมือง ซึ่งก็เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของบ้านเมือง ดังนี้ พ.ศ. 1100-1600 ขอมมีอำนาจครอบครองบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ได้มีการตั้งเมืองพระประแดง (เก่า) ที่บริเวณเขตพระโขนง หรือเขตราชบูรณะ กรุงเทพฯ ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพื้นที่ปากแม่น้ำ ซึ่งเป็นชุมชนขนาดเล็ก พ.ศ. 1893 เมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างนครใหม่สถาปนา “กรุงศรีอยุธยา”...
“พระธาตุพนม” เจดีย์บัวเหลี่ยมลาวล้านช้าง ปรากฏร่องรอย “ศิลปะจาม”
พระธาตุพนมเป็นพระธาตุโบราณประดิษฐานพระอุรังคธาตุ หรือกระดูกส่วนอกของพระพุทธเจ้า แม้พระธาตุพนมจะได้รับการบูรณะซ่อมแซมมาหลายสมัย โดยเฉพาะหลังการพังถล่มเมื่อปี 2518 แต่ก็ยังเผยให้เห็นร่องรอยจากการได้รับอิทธิพลจาก “ศิลปะจาม” อยู่ด้วย พระธาตุพนมมีประวัติการสร้างไม่แน่ชัด มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระธาตุพนมปรากฏในตำนานอุรังคธาตุ โดยกล่าวว่า พระมหากัสสปะได้นำอุรังคธาตุมาประดิษฐานไว้ ณ ดอยกัปปนคีรี หรือภูกำพร้า ซึ่งก็คือพระธาตุพนมนั่นเอง ส่วนประวัติการบูรณะซ่อมแซมแน่ชัดว่ามีอยู่หลายครั้ง เช่น ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช, สมัยพระยาบัณฑิตยโพธิสาลราชกษัตริย์ล้านช้าง และรัชกาลพระยาสุริยวงศาธรรมิกราช เป็นต้น และในสมัยหลังเมื่อปี 2483 บูรณะโดยจอมพล...